ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: สมเด็จโตศึกษา "วิปัสสนาธุระและมายาศาสตร์" จากใคร.?  (อ่าน 2976 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

การศึกษาวิปัสสนาธุระและมายาศาสตร์ของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ

การศึกษาวิปัสสนาธุระและมายาศาสตร์ของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ นั้น สันนิษฐานว่าท่านจะได้เล่าเรียนในหลายสำนัก ด้วยในสมัยนั้น (โดยเฉพาะในรัชกาลที่ ๒) การศึกษาวิปัสสนาธุระเจริญแพร่หลายนัก มีครูอาจารย์ผู้ทรงเกียรติคุณอยู่มากดังกล่าวแล้ว
    แต่ที่ทราบเป็นแน่นอนนั้นว่า ในชั้นเดิมท่านได้เล่าเรียนในสำนักเจ้าคุณอรัญญิก (แก้ว) วัดอินทรวิหาร
    และในสำนักเจ้าคุณบวรวิริยะเถระ (อยู่) วัดสังเวชวิศยาราม


    และดูเหมือนจะได้เล่าเรียนจนมีความรู้เชี่ยวชาญแต่เมื่อยังเป็นสามเณร ด้วยปรากฏว่า
    เมื่อเป็นสามเณรนั้น ครั้งหนึ่งท่านได้เอาปูนเต้าเล็ก ๆ ไปถวายเจ้าคุณบวรฯ ๑ เต้า กับถวายพระในวัดนั้นองค์ละ ๑ เต้า เวลานั้นไม่มีใครสนใจ มีพระองค์หนึ่งเก็บปูนนั้นไว้ แล้วปั้นเป็นลูกกลม ๆ สัก ๓-๔ ลูก ภายหลังกลายเป็นลูกอมศักดิ์สิทธิ์เลื่องลือกันขึ้นดังนี้


    ต่อมาในภายหลัง ได้เข้าศึกษามายาศาสตร์ต่อที่สำนักพระอาจารย์แสง จังหวัดลพบุรีอีกองค์หนึ่ง พระราชนิพนธ์สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ในคราวเสด็จประพาศมณฑลอยุธยาเมื่อปีขาล พ.ศ. ๒๔๒๑ ความตอนหนึ่งว่า
    "....ขรัวแสง คนทั้งปวงนับถือกันว่าเป็นผู้มีวิชา เดิมตั้งแต่เมืองลพบุรีเข้าลงไปเพลที่กรุงเทพฯ ได้ เป็นคนกว้างขวาง เจ้านายขุนนางรู้จักหมด ได้สร้างพระเจดีย์สูงไว้องค์หนึ่งที่วัดมณีชลขันธ์
   (คือวัดเกาะ ซึ่งเจ้าพระยายมราช (เฉย) ต้นสกุล ยมาภัย สร้าง)
    ตัวไม่ได้อยู่ที่วัดนี้ หน้าเข้าพรรษาไปจำพรรษาอยู่ที่วัดอื่น ถ้าถึงออกพรรษาแล้วมาปลูกโรงอยู่ริมพระเจดีย์ ๒ องค์นี้ ซึ่งก่อเองคนเดียวไม่ยอมให้คนอื่นช่วย ราษฎรที่นับถือพากันช่วยเรี่ยไรอิฐปูน และพระเจดีย์องค์นี้เจ้าของจะทำแล้วเสร็จตลอดไป หรือจะทิ้งผู้อื่นช่วย เมื่อตายแล้ว ไม้ได้ถามดู ของเธอก็สูงดีอยู่.....



พระอาจารย์องค์สำคัญที่สุดของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ คือ สมเด็จพระสังฆราช "ไก่เถื่อน (สุก)
    สมเด็จพระสังฆราช (สุก) พระองค์นี้ เดิมอยู่วัดท่าหอย ริมคลองคูจาม ในแขวงจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (ดูพระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์รัชกาลที่ ๑) เมื่อรัชกาลที่ ๑ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงอาราธนามาตั้งเป็นพระราชาคณะที่พระญาณสังวร


ด้วยทรงเห็นว่าเป็นผู้มีชื่อเสียงในทางวิปัสสนาธุระเป็นที่นับถือของชนทั้งหลาย ถึงกับกล่าวกันว่า ทรงไว้ซึ่งเมตตาพรหมวิหารแก่กล้าถึงกับสามารถเลี้ยงไก่เถื่อน ให้เชื่องได้เหมือนไก่บ้าน ทำนองเดียวกับที่สรรเสริญพระสุวรรณสาม โพธิสัตว์ในเรื่อชาดก
    ต่อมาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นสมเด็จพระสังฆราช ในรัชกาลที่ ๒ เมื่อพ.ศ. ๒๓๖๓
    คนทั้งหลายจึงพากันถวายพระฉายานามว่า "พระสังฆราชไก่เถื่อน" และได้เสด็จมาประทับ ณ วัดมหาธาตุเพียง ๑ ปี ก็สิ้นพระชนม์ทรงพระชันษาได้ ๙๐ เมื่อถวายพระเพลิงศพแล้ว โปรดฯ ให้ปั้นรูปบรรจุอัฎฐิไว้ในกุฏีหลังหนึ่ง ด้านหน้าพระอุโบสถ


     อนึ่งในตอนที่ถูกอาราธนามาจากวัดท่าหอยนั้น ท่านขออยู่วัดอรัญญิก จึงโปรดให้อยู่วัดพลับ แล้วสร้างพระอารามหลวงเพิ่มเติมออกมาอีก และเจ้านายที่ทรงผนวชในรัชกาลที่ ๑ นั้น ต้องไปศึกษาวิปัสสนาธุระในสำนักสมเด็จพระสังฆราช (ขณะที่ทรงเป็นพระญาณสังวร)
     พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าฯ ก็ดี พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ก็ดี
     ตลอดจนพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ก็ดี ล้วนเคยศึกษาวิปัสสนาธุระมาจากสมเด็จพระญาณสังวร (สุก) ทั้งนั้น 



   
     อัจฉริยภาพในการสร้างพระสมเด็จฯนั้น เข้าใจว่า
     เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ได้รับการศึกษามาจากพระอาจารย์พระองค์นี้
 
     กล่าวคือ พระวัดพลับของสมเด็จพระสังฆราช(สุก)นี้ สร้างตอนดำรงสมณศักดิ์เป็นพระญาณสังวร ครองวัดพลับ

      (วัดนี้อยู่ในคลองบางกอกใหญ่ ฝั่งเหนือ จังหวัดธนบุรี เป็นวัดโบราณมีมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ตัววัดเดิมอยู่ทางด้านริม เดี๋ยวนี้ค่อนไปทางตะวันตก )

     เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ทรงอาราธนา พระอาจารย์สุก (สังฆราชไก่เถื่อน) มาจากวัดหอย จังหวัดพระนาคศรีอยุธยานั้น ท่านขออยู่วัดอรัญญิก จึงโปรดให้อยู่วัดพลับแล้วสร้างพระอารามหลวงเพิ่มเติมขยายออกมาอีก
     สมเด็จพรพระญาณสังวรนี้ ทรงเป็นพระอาจารย์ทางคันถธุระและวิปัสสนาธุระเจ้านายมาตั้งแต่รัชกาลที่ ๑ เป็นต้นมา พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าฯ ก็ดี ล้วนเคยศึกษาวิปัสสนาธุระ ในสำนักสมเด็จพระญาณสังวร (สุก) ทั้งนั้นที่วัดนี้ยังมีตำหนักจันทร์ ซึ่งเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ เมื่อทรงผนวช

    นอกจากนี้พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ยังโปรดให้ซ่อมพระอาราม แล้วพระราชทานเปลี่ยนนามวัดเสียใหม่ว่า "วัดราชสิทธาราม" ถึงในรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ โปรดให้สร้างพระเจดีย์ ทรงเครื่องไว้ข้างหน้าพระอาราม ๒ องค์
     องค์หนึ่งนามว่า "พระศิราลพเจดีย์" พระเจดีย์องค์นี้ทรงอุทิศถวายพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ
     อีกองค์หนึ่ง ทรงขนานนามว่า "พระศิราจุมพฎเจดีย์" (พระเจดีย์พระองค์นี้ทรงสร้างเป็นส่วนพระองค์เอง ทั้งนี้เพื่อเป็นที่ระลึกว่า ได้เคยมาทรงศึกษาพระวิปัสสนา ในสำนักสมเด็จพระญาณสังวร (สุก) )


     เมื่อพิเคราะห์ดูแล้วจะเห็นได้ว่า มีลักษณะของเนื้อ
     เหมือนเนื้อของพระสมเด็จฯ (ของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ) ที่สุด
     แต่พระวัดพลับมีอายุในการสร้างสูงกว่าพระสมเด็จฯ

     ฉะนั้นจึงกล่าวได้ว่า เจ้าพระคุณสมเด็จฯ เอาแบบอย่างส่วนผสมผสานมาดัดแปลง
     และยิ่งพระสมเด็จฯพิมพ์ทรงหลังเบี้ยด้วยแล้วก็ยิ่งสังเกตได้ว่า ดัดแปลงเค้าแบบมาจากพระวัดพลับทีเดียว



    อนึ่ง การทรงไว้ซึ่งความเมตตากรุณา อันเป็นที่รักแห่งมนุษย์และสัตว์เดรัจฉานนั้นเจ้าพระคุณสมเด็จฯ มีคุณลักษณะคล้ายคลึงสมเด็จพระสังฆราชพระอาจารย์พระองค์นี้มาก
     เข้าใจว่าเจ้าพระคุณสมเด็จฯ มีความเลื่อมใสและเจริญรอยตามพระอาจารย์แทบทุกอย่าง
     นอกจากนี้ เจ้าพระคุณสมเด็จฯ จะได้ศึกษาวิปัสสนาธุระมายาศาสตร์มาเป็นเวลาช้านานอย่างไรไม่ปรากฏ ปรากฏ
     แต่ว่าท่านได้ศึกษาจนมีความรู้ความชำนาญ ทั้งในคันถธุระ,วิปัสสนาธุระ และมายาศาสตร์   
     กับมีคุณวุฒิอย่างอื่นประกอบกันเป็นอันมาก ท่านจึงเป็นผู้ทรงคุณวิเศษเป็นมหัศจรรย์ยิ่งนัก
     นับได้ว่าเป็นวิสามัญบุรุษ หรืออัจฉริยบุคคลที่หาได้ยากที่สุดในโลกคนหนึ่ง
     ความที่กล่าวข้อนี้มีมูลความจริง ที่จะพิสูจน์ได้ จากเรื่องราวในชีวประวัติของท่านซึ่งจะบรรยายต่อไปข้างหน้า


ขอบคุณภาพและบทความจาก
http://www.horasadthai.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=362900&Ntype=1
http://www.madchima.net/,http://www.khaosod.co.th/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 14, 2013, 11:53:47 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ