ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: กระบวนการของ..จิตเดิมแท้  (อ่าน 2301 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
กระบวนการของ..จิตเดิมแท้
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 17, 2014, 10:17:09 am »
0


กระบวนการของจิตเดิมแท้

    การปฏิบัติสมาธินั้น ผู้ปฏิบัติให้ดูที่จิตเป็นหลัก อาการว่างของจิต อาการสงบของจิต จนความคิดหาย จนตัวตนหาย ลมหายใจหาย แล้วจิตจะเข้าสู่กระบวนการของจิตเดิมแท้ สิ่งที่ว่ามาเป็นเบื้องต้นของการอบรมจิต จิตเมื่อไม่อบรมแล้ว จิตก็จะไม่รู้ความจริง สมาธิก็คือ การทำใหจิตเข้าสู่จิตเดิมแท้นั่นเอง จิตเดิมแท้ก่อนที่มันจะถูกครอบงำจากความคิด เมื่อจิตถูกครอบงำจากความคิดแล้ว จิตก็จะไม่เป็นตัวของตัวเอง จิตตกอยู่บนโลกมายาสมมติ

    เมื่อเราอบรมจิต จิตก็จะแยกตัวออกมาเป็นอิสระจากความคิด เป็นตัวของมันเอง เป็นความจริงของมันด้วยความเดิมแท้ ด้วยความจริงของมันนี่เอง จิตดวงนี้มันถึงไปรู้ความจริงเรียกว่าการรู้แจ้งเห็นจริง อาการรู้แจ้งเห็นจริงนี้เป็นอาการที่จิตไปรู้ความจริงที่แท้จริง ไม่ใช่ความจริงที่สมมติบัญญัติกำหนดหมายไว้ แต่เป็นความจริงที่มีอยู่จริงของมัน เมื่อจิตเดิมแท้รู้ความจริงของมันได้แล้ว มันก็เป็นแนวทางปัญญาสู่ความหลุดพ้น

    เมื่อเรารู้ความจริงที่เป็นปรากฏการณ์ความจริงที่แท้จริง ที่เกิดทั้งกายเรียกว่ารูป ที่เกิดทั้งใจที่เรียกว่านาม ทั้งรูปและนามเราเห็นปรากฏการณ์มันจริงๆ โดยที่ไม่มีการเข้าไปปรุงแต่ง เหตุที่เกิดขึ้นกับรูปเป็นยังไง เย็น ร้อน อ่อน แข็ง พวกนี้ต่างๆ ที่เกิดกับรูปมันเป็นยังไง ตัวจิตเห็นอาการที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง จริงๆ ไม่มีการปรุงแต่ง


     :96: :96: :96:

    อาการที่เกิดขึ้นกับใจที่เป็นนาม ความสุข ความทุกข์ ความดีใจ ความเสียใจ ความอิจฉาริษยาต่างๆ ที่เกิดขึ้นเป็นนาม จิตดวงนี้ก็เห็นตามความเป็นจริงที่มันเกิดขึ้น คือเห็นทั้งรูปและนามตามความเป็นจริงของมัน แต่เมื่อตกอยู่ภายใต้เงื่อนไขของสมมติบัญญัติ จิตก็จะเกิดปัญญาเท่าทัน เท่าทันทุกระยะของรูปและนามที่มันปรากฏขึ้น ไม่หลง ไม่ปรุง ไม่ยึด เท่าทันไปทุกกระบวนการ ซึ่งเมื่อจิตดำเนินไปในทางนี้แล้ว ก็เป็นเบื้องต้นของแนวทางสู่ความหลุดพ้น

    เพราะในที่สุดแล้วพระนิพพานก็เริ่มต้นมาจากการที่รู้สิ่งต่างๆ เหล่านี้ แต่ถ้าสมาธิทำไปแล้ว ได้สมาธิแล้ว แต่ก็ยังไม่ได้มีการพิจารณา หรือถอดความคิดเป็นส่วนๆ ก็จะเป็นสมาธิที่ยังอยู่ในโลกียะ เป็นโลกียะอภิญญา เป็นสมาธิที่นำไปใช้แก้ปัญหาต่างๆ ในโลก สามารถแก้ปัญหาต่างๆ ได้ แต่สมาธิที่ได้แบบนี้นั้นจะไม่ถึงพระนิพพาน เป็นการแก้เรื่องราวความฝันในปัจจุบัน แต่ว่าฝันไม่มีวันหมด ฝันเรื่องนี้จบ ก็ไปแก้เรื่องอื่นๆ ต่อ



  แต่ผู้ที่เห็นพระนิพพานแล้วจะเห็นว่า ถ้าเราเริ่มสำนึกแล้วคงไม่เอาความรู้นี้มาแก้ความฝันเพียงเล็กๆ น้อยๆ อย่างนี้ เพราะว่าอีกไม่นานฝันนี้จบไป ฝันใหม่ก็ยังมีอีก เข้าไปแก้ให้หมดฝันไปเลยดีกว่า ดีกว่าไปแก้ฝันนี้ให้ช่วงต่อไปเป็นฝันดี ถ้ามีกำลังรู้อย่างนี้แล้ว ถอนรากถอนโคนมันเลยจะดีกว่า

    มุ่งไปว่าเมื่อความฝันนี้จบแล้ว ความฝันเรื่องใหม่จะไม่มีได้อย่างไร เราจะจบความฝันได้อย่างไร ถอดรหัสความคิดความฝันนี้ได้อย่างไร เป็นการหมดอัตตา นี่เป็นแนวทางที่ปฏิบัติที่ปฏิบัติมากี่ยุคกี่สมัยก็เป็นแบบนี้ ผู้ปฏิบัติฟังธรรมะเยอะๆ พอฟังไปมันก็ไต่ไปเรื่อย จิตเมื่อมันสงบแล้ว มันก็เกิดปัญญา


     :25: :25: :25:

    ตอนแรกๆ ก็อย่าไปพะวงอยู่กับการทำสมาธิว่าจะต้องเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ สมาธิจริงๆ พอจิตมันสงบตัวลงไปมันก็แยกออกมาจากความคิด เมื่อมันเป็นอิสระแล้ว อาการที่เราสามารถสังเกตได้คือ กายเบา ความรู้สึกทางกายจะหายไป เหมือนกับตัวหายไป จิตเบา ลมหายใจหาย ความคิดหาย ไอ้ตัวจิตที่เป็นตัวเดิมแท้ของมันก็จะแยกตัวออกมา แยกออกจากกลุ่มความคิด นี่คืออาการสมาธิเบื้องต้น

    อาการนี้ทำให้เรารู้ว่าจิตมันเริ่มแยกออกจากความคิด ต่อไปจิตมันก็เริ่มรู้เรื่องโลก เรื่องธรรมะ อาจจะเรียกได้ว่าเป็นภูมิวิปัสสนา เกิดความรู้ อาการผุดรู้ขึ้น รู้เรื่องแต่ว่าไม่ได้อยู่ในสมมติบัญญัติ รู้ตามความเป็นจริงของมัน จิตมันก็ไปสร้างสติขึ้นมาให้แข็งแรงขึ้น ตัวสตินี้มันก็เห็นความจริงของโลกที่เกิดขึ้น ความจริงของรูปที่เกิดขึ้นไปทางใด ความจริงของนามที่เกิดขึ้นไปทางใด อะไรที่เกิดขึ้นกับโลก ตัวจิตนี้อาศัยสติเป็นเครื่องมือให้เห็นความจริงของมัน เฝ้าดูอยู่จนเห็นความจริงที่เกิดขึ้น เท่าทันสิ่งที่เกิดขึ้นกับรูปกับนาม.


ที่มา http://www.thaipost.net/tabloid/160214/86077
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ