กรรมฐาน มัชฌิมา > ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน

จุดเด่นของกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ครับ

(1/9) > >>

นักเดินทาง:
วันนี้ จะมา กล่าวเปรียบเทียบ จุดเด่นของกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ครับ
( ตามความเห็นของผม นะครับ ผิดถูกช่วย กันชี้แนะ นะครับ )

ขอไปทำตามรางดีกว่า เพราะพิมพ์ในนี้ไม่สวยพิมพ์ยาก
แต่ขอเปิดประเด็นกระทู้วันนี้ก่อนนะครับ



ถูกผิดอย่างไร ท้วงติงกันได้ ด้วยธรรม นะครับ

 :25: :25: :25:

ส่วนหัวข้อแต่ละข้อนั้น ในแนวคิดผมเป็นอย่างไร จะมาชี้แจงกันในภายหลัง นะครับ

 :49: :coffee2:

axe:
ติดตามข้อมูล ที่มา ของ 31 รายการที่นำเสนอไว้ ครับ

  :49: :coffee2:

pimpa:
ข้อมูล น่าติดตามคะ อยากฟังคำวิเคราะห์ ด้วยคะ เป็นเรื่องที่ควรสนับสนุนคะ

 :88: :25:

นักเดินทาง:
1. มีอายุ ผู้สืบทอด ชัดเจน

     กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ นั้นมีที่ไป ที่มา บันทึกสืบทอดกันมาอย่างเป็นระบบ

     โดยองค์ต้นกรรมฐาน คือ พระพุทธเจ้า พระสารีบุตร พระราหุล ( และ พระอาจารย์ของพระราหุล )

     มาในยุค สุวรรณภูมิ ก็มี พระโสณะ พระอุตตระ ในสายการเผยแผ่

ลำดับการสืบทอด พระกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=1651.0

 พอจะเคลียร์ข้อที่ 1 ที่ผมให้คะแนน แบบเต็มเลยครับ คือสามารถหาบันทึกได้ง่าย โดยเฉพาะหนังสือประวัติการสืบทอดพระกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ที่จัดทำโดยคณะ 5 วัดราชสิทธาราม โดยพระครูสิทธิสังวรนั้น จัดได้ว่ามีบันทึก การสืบทอดที่อ่านได้ง่าย ครับ

 

ติดตามภาพ และ เนื้อหาได้ที่ลิงก์ด้านล่าง
http://rajasit5.blogspot.com/

raponsan:
พระครูสังฆรักษ์วีระ ฐานวีโร คณะ ๕ วัดราชสิทธาราม
     พระสมถะ-วิปัสสนากรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ  ข้าพเจ้าได้รวบรวม และเรียบเรียงมาจาก พระคัมภีร์กรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ  ฝ่ายเถรวาท ซึ่งถือตามคติที่พระอรหันต์พุทธสาวก ที่ได้วางหลักพระธรรมวินัย และธรรมปฏิบัติเป็นแบบแผนไว้เมื่อครั้งตติยสังคายนา และนับถือแพร่หลายมาในประเทศ ไทย พม่า ลังกา ลาว และกัมพูชา 

     เป็นของเก่า สืบทอดต่อมาโดยสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร (สุก ไก่เถื่อน) วัดราชสิทธาราม แต่ได้มาอธิบาย พระกรรมฐานของเก่าขึ้นใหม่ เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจง่าย  และเพิ่มศรัทธา ให้มีผู้เข้ามาปฏิบัติธรรม ของเก่าดั่งเดิมกันมากขึ้น เป็นการจรรโลงการปฏิบัติธรรมของเก่ามิให้ เสื่อมสลาย สูญสิ้นไป 
   
     สมดังปณิธาน ของสมเด็จพระสังฆราช ไก่เถื่อน และพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย  ที่ได้ทรงกระทำสังคายนาพระกรรมฐานมัชฌิมา ภาคปฏิบัติเอาไว้ ตั้งแต่ปีพระพุทธศักราช ๒๓๖๔

   พระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับนี้ เป็นของเก่าเล่าเรียนปฏิบัติ สืบต่อกันมาช้านาน แต่ครั้งพุทธกาลโดยพระราหุลเถรเจ้า ทรงเป็นต้นสาย สืบต่อมา ถึงครั้งตติยสังคายนา นำเข้ามาสู่ลังกา  และนำเข้ามาสู่สุวรรณภูมิ โดยพระโสณเถรเจ้า พระอุตระเถรเจ้า  พระองค์ท่านได้นำพระพุทธศาสนาเข้ามาเผยแพร่ในดินแดนสุวรรณภูมิ พร้อมพระสมถะ-วิปัสสนากรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ผ่านยุคผ่านสมัยเรื่อยมาจนถึงยุคศรีทวารวดี

        ต่อมาประมาณปีพระพุทธศักราช ๖๐๙–๖๕๓ พระอุปติสสะเถรเจ้า แห่งลังกาทวีป ได้นำเอาพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ซึ่งเป็นพระกรรมฐาน ภาคปฏิบัติ อันทรงจำสืบกันมา นำมาแต่งจารึกลงเป็นอักษร เรียงลำดับ เรียงหมวดหมู่พระกรรมฐานไว้เป็นภาคปริยัติ เรียกว่า คัมภีร์วิมุตติมรรค เพื่อให้ผู้ปฎิบัติพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ มาแล้ว ได้ศึกษาหาความรู้ภาคปริยัติต่อไป

        ต่อมาประมาณปีพระพุทธศักราช ๙๕๖ พระพุทธโฆสะ ได้นำคัมภีร์วิมุตติมรรค มาแต่งเป็น พระคัมภีร์วิสุทธิมรรค  เพื่อแสดงปัญญา ให้ได้มาซึ่งคัมภีร์อรรถคาถา

        แต่การบอกพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ยังคงบอกต่อๆกันมา ในภาคปฏิบัติ และจำสืบกันมาเรื่อยๆ เพื่อป้องกันการชี้นำ และเกิดอุปาทาน และจิตหลอน จึงสืบต่อมาจนถึงยุคศรีทวารวดี  ยุคสุโขทัย  ยุคอยุธยา  และยุครัตนโกสินทร์ 

   ในยุครัตนโกสินทร์นี้เอง พระสมถะ-วิปัสสนากรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ได้เริ่มเสื่อมถอยลงเรื่อยๆ ประมาณปีพระพุทธศักราช ๒๓๖๔  พระสงฆ์ สามเณร ปะขาว ชี   เริ่มประพฤติปฏิบัติพระกรรมฐานมัชฌิมา ออกนอกลู่ นอกทาง ของการปฏิบัติพระกรรมฐานมัชฌิมา แต่ก่อนมา  ไม่ปฏิบัติเป็นขั้น เป็นตอน ทำให้พระพุทธศาสนาภาคปฏิบัติ ค่อยๆเสื่อมถอยลง 

        ต่อมาล้นเกล้าฯรัชกาลที่ ๒ จึงได้ให้ชุมนุมพระสงฆ์ วิปัสสนา-พระกรรมฐานมัชฌิมา มาร่วมกัน ทำสังคายนาพระกรรมฐานมัชฌิมาไว้     และทรงแต่งตั้งภิกษุ ไปเป็นพระอาจารย์บอกพระสมถะ-วิปัสสนากรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ต่อจากนั้นสมถะ-วิปัสสนานากรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ จึงได้มีมาจนทุกวันนี้ ซึ่งบางสมัยก็เจริญ บางสมัยก็เสื่อม โดยความไม่รู้ทั่วถึง   จึงต้องมีการฟื้นฟู ผดุงรักษา พระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับไว้

   ฉะนั้น โบราณจารย์ พระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ แต่ปางก่อนทั้งหลาย จึงได้กล่าว เป็นคติพยากรณ์ถึงการรักษาแบบแผน การปฏิบัติพระกรรมฐานมัชฌิมา  แบบลำดับ ไว้เป็น ๓ คาบว่า
   ลัชชี รักขิสสติ   ภิกษุลัชชีจักรักษา  ลัชชีรักขิสสติ  ภิกษุลัชชีจักรักษา   ลัชชีรักขิสสติ    ภิกษุลัชชีจักรักษา     ดังเช่น..หลวงปู่สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรมหาเถรเจ้า (สุก ไก่เถื่อน) ดังนี้ เป็นต้น

คู่มือสมถะ-วิปัสสนากรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ
สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรมหาเถรเจ้า(สุก ไก่เถื่อน)
วัดราชสิทธาราม ราชวรวิหาร(พลับ) บางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ
พิมพ์เพื่อเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษามหาราช ปีมหามงคล ๒๕๕๐
อ้างอิง
คำนำจากหนังสือ "คู่มือ สมถะ-วิปัสสนากรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ"
ของสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรมหาเถรเจ้า (สุก ไก่เถื่อน) 
วัดราชสิทธาราม ราชวรวิหาร (พลับ) กรุงเทพฯ
พระครูสังฆรักษ์วีระ ฐานวีโร  รวบรวม เรียบเรียง
ขอบคุณภาพจาก http://www.somdechsuk.org/

     ตำนานการสืบทอดที่ชัดเจนและยาวนานของกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ เป็นจุดแข็งของกรรมฐานครับ :s_good: :s_good: :s_good:

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป