ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ความศรัทธา มีผลต่อการปฏิบัติ ภาวนาเป็นอย่างมาก  (อ่าน 5742 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0


มีการถกเถึยงเรื่องนี้ กันมากแต่ในความเป็นจริงแล้ว ศรัทธา นั้นมีผลต่อการปฏิบัติภาวนาเป็นอย่างมาก สำหรับท่านที่ถือเอาพระรัตนตรัย เป็นสรณะแล้ว ไม่พึงใช้หลักกาลามสูตร เพราะ หลักกาลามสูตร ใช่กับผู้ที่ไม่ได้เป็นพุทธบริษัท หากท่านต้องใช้หลักกาลามสูตร ในขณะท่านเป็น พุทธบริษัทโดยเฉพาะในเรื่องการภาวนา ที่นับถือพระพุทธเจ้า คือพระพุทธานุสสติ ก็ไม่สมควรที่จะเป็นพุทธบริษัท เพราะ พุทธบริษัท ต้องมี ตถาคตโพธิสัทธา เชื่อมั่นเคารพ และศรัทธา ต่อการตรัสูรู้ของพระพุทธเจ้า

    ถามจะรู้ได้อย่างไร ? ว่าสิ่งที่แสดงไว้ถูกต้อง ไม่ใช่เป็นหลักธรรมที่ผิด

    รู้ได้ตรงที่ ปฏิบัติไม่ได้ นำทุกข์ออกไม่ได้ ไม่เห็นอนิจจตา ทุกขตา

    ดังนั้นความศรัทธา มีผลต่อการปฏิบัติเป็นอย่างมาก

    มีตัวอย่างในครั้งพุทธกาลมากมาย อย่างเช่น พระสารีบุตร มีปัญญามาก ความศรัทธาจึงมีน้อย สำเร็จธรรมด้วยการปฏิบัติภาวนา ใช้เวลา 15 วัน ส่วนพระโมคคัลลานะ มีปัญญารองลงมา ใช้เวลา 7 วัน ส่วนบรรดาลูกศิษย์ซึ่งมีปัญญาในระดับชนทั่วไป สำเร็จธรรมภายในวันนั้น ดังนั้นอุปสรรคของการภาวนา ข้อหนึ่งที่สำคัญก็คือ ญาณัง หมายถึงรู้มาก รู้เกิน ดังนั้นในกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ จึงไม่เน้นการสอนธรรมให้ล่วงหน้า ซึ่งที่ผ่านมาลูกศิษย์หลายคน พยายามจะสอบถามธรรมล่วงหน้า ที่สูงขึ้นไป ด้วยที่ตัวเองปฏิบัติยังไม่ได้ ดังนั้นส่วนตัวยังไม่เคยสอนใครในธรรมที่สูง ในปัจจุบัน เพราะว่า กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับนั้นต้องเรียนธรรมไปตามลำดับ ไม่ได้เรียนเพื่อเอาไปพูด หรือ วิเคราะห์ แต่เรียนไปเพื่อภาวนาปฏิบัติ เพื่อให้พ้นจากสังสารวัฏ เป็นเป้าหมาย

    ดังนั้นท่านที่อ่อนศรัทธา ก็จะเชื่องช้า ในการปฏิบัติไปตามลำดับ

    ขอให้ท่านทั้งหลาย ศรัทธาในพระกรรมฐาน เชื่อมั่นต่อพระกรรมฐาน

        ต่อไปนี้เป็นวิธีการสำรวจ ว่าท่านเป็นผู้ศรัทธาในกรรมฐาน หรือไม่ ?

      1. ถ้าท่านปฏิบัิติกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ตามขั้นตอน ทุกวัน อย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง ชื่อว่ายังมีศรัทธา อยู่

      2. ในขณะภาวนากรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ไม่สอดแทรกวิธีการอื่นๆ เข้าไปอันนอกจากการสอนของครูอาจารย์ อันนี้ชื่อว่าท่านยังมีศรัทธา อยู่

      3. หมั่นเรียนท่องจำ ทบทวน ในลำดับพระกรรมฐาน ตามที่ครูอาจารย์ประสิทธิ์ให้ อันนีชื่อ่ว่าท่านยังมีศรัทธาในพระกรรมฐาน อยู่

        ในข้อนี้ประสบกับลูกศิษย์หลายท่าน จำขั้นตอนไม่ได้แสดงให้เห็นว่า ไม่มีความใส่ใจในกรรมฐาน ชื่อฐานจำไม่ได้ ทำทุกวัน จำไม่ได้เป็นไปได้อย่างไร โดยท่านที่เข้าพระยุคลหก กับจำพระยุคลหกไม่ได้ ไล่ลำดับไม่ถูก เมื่อเข้าสะกด ก็บอกชั้นสะกดไม่ได้ เข้าสับบอกลำดับไม่ได้ อย่างนี้เป็นต้นแสดงว่าไม่ได้ใส่ใจในขั้นตอนของพระกรรมฐาน ที่เรียกว่าลำดับพระกรรมฐาน ถ้าท่านทั้งหลายเป็นอย่างที่แสดงไว้อย่างนี้ แสดงว่ายังไม่ได้ศรัทธาในพระกรรมฐาน
   
      4.หมั่นแจ้งกรรมฐาน เมื่อมีโอกาส ถ้าท่านทั้งหลาย ได้พบครูอาจารย์ให้หมั่นแจ้งกรรมฐาน แสดงว่ามีความศรัทธากรรมฐาน คนที่แจ้งกรรมฐาน คือคนที่ยังคงเส้นคงวาในพระกรรมฐาน

       มีหลายท่านที่พบ ไม่ปฏิบัติกรรมฐาน ต่อเนื่องแต่แจ้งกรรมฐาน อันนี้ก็จะทราบอยู่ อย่างนี้ใช้ไม่ได้ กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ปฏิบัติอย่างทั่วไป ก็ประมาณ 30 นาทีขึ้น อันนี้จะรู้อยู่เพราะลำดับกรรมฐาน ก็มีอยู่ประมาณนี้ขึ้นไป

      5.ความพอกพูนธรรม เป็นผลจากการภาวนา ในเรื่องธรรมจะตื่นขึ้นไปเรื่่อย ๆ ไม่ใช่การรู้เอง แต่เป็นการรู้ตาม เป็นผลจากการภาวนา ตามลำดับกรรมฐาน ท่านก็จะดวงตาเห็นธรรม คือดวงตาที่เข้าไปเห็นธรรม ดังนั้นท่านที่ยังมีความเคารพศรัทธา ปฏิบัติกรรมฐาน มาอย่างต่อเนื่องก็จะเข้าใจธรรมเพิ่มขึ้น อันนี้เรียกว่า ดวงตาเห็นธรรม อย่าไปเข้าใจผิดว่า ฉันรู้ของฉันเอง บุคคลที่จะรู้เองมีเพียงท่านเดียว คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้น ของเราเรียกว่า ได้ธรรมจักษุ เห็นแล้วก็ไม่ทิ้งธรรม ไม่หวั่นไหว ไม่ง่อนแง่น ไม่คลอนแคลน


      สรุปแล้ว ท่านทั้งหลาย มีความศรัทธาในพระกรรมฐาน ดีหรือยัง ก็อ่านตรวจสอบกันตรงนี้ เลยนะจ๊ะจะเลือกอย่างไร เป็นสิทธิ์ของเท่านทั้งหลาย ดังนั้นขอให้ท่านทั้งหลาย อย่ามาท้อแท้เพราะการปฏิบัติที่ไม่จริงจังของตนเอง แต่จงถามตนเองกลับไปว่า เราปฏิบัติจริงจังในพระกรรมฐาน แล้วหรือยัง ขนาดครูอาตมาภาวนาอย่างจริงจัง ยังต้องสองปี ท่านทั้งหลายกระทำถึงขั้นจริงจังหรือยัง หรือเพียงนึกว่าจะทำ ว่าภาวนา ทำวันละ 5 นาทีแล้วก็บอกว่า ทำแล้ว หรือบางวันไม่ได้ทำเลย อาทิตย์ไม่ได้ภาวนาเลย แล้วบอกว่าศรัทธาได้อย่างไร

     ขอให้ท่านทั้งหลาย ทบทวนความศรัทธา ในพระกรรมฐาน ในตนเองกัน ทุกท่าน และจงก้าวเข้าไปสู่เป้าหมายที่ท่านต้องการด้วยกำลังของท่าน และได้ดวงตาเห็นธรรม กันโดยไว เทอญ.

    เจริญธรรม / เจริญพร

     ;)
     
   
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 30, 2012, 10:41:56 am โดย arlogo »
บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: ความศรัทธา มีผลต่อการปฏิบัติ ภาวนาเป็นอย่างมาก
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กรกฎาคม 30, 2012, 10:49:02 am »
0
งมงาย หรือ ศรัทธา ถ้าเราภาวนาอย่างเดียวโดยไม่ใช้ปัญญา
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=8332.0


บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา

เสกสรรค์

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 419
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ความศรัทธา มีผลต่อการปฏิบัติ ภาวนาเป็นอย่างมาก
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กรกฎาคม 30, 2012, 01:09:20 pm »
0
สาธุ สาธุ สาธุ เป็นธรรมที่ทบทวน ที่น่าจะต้องพิจารณามากขึ้นผมเองอ่านแล้วก็ยังทราบตนเองเลยครับ ไม่ได้ภาวนากรรมฐาน ทุกวันครับ ไม่ใช่แต่กรรมฐาน มัชฌิมา ด้วยนะครับ แทบจะทุกกรรมฐาน แต่จะเน้นเรื่องการเจริญสติไว้มากกว่า การนั่งหลับตาครับ

   :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า

painting

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 72
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ความศรัทธา มีผลต่อการปฏิบัติ ภาวนาเป็นอย่างมาก
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: กรกฎาคม 30, 2012, 09:23:43 pm »
0
ไม่มีอะไร เกิดขึ้นมาลอย ๆ ครับ

   การภาวนาที่ ภาวนาไม่ได้ ต้องกลับไปดูปัญหา ด้วยครับ

   1.ไมปฏิบัตตามขั้นตอน
   2.ไม่ได้ภาวนาเลย
   3.ไม่ใส่ใจ
   4.ไม่มีความศรัทธา
 

 ;)
บันทึกการเข้า

modtanoy

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-5
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 213
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ความศรัทธา มีผลต่อการปฏิบัติ ภาวนาเป็นอย่างมาก
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: สิงหาคม 03, 2012, 12:50:34 pm »
0
อย่าเชื่อ 10 ประการ (กาลามสูตร)

กาลามสูตรกังขานิยฐาน 10

หมายถึง วิธีปฎิบัติในเรื่องที่ควรสงสัย หรือหลักความเชื่อ ที่ตรัสไว้ในกาลามสูตร

 

1.อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการฟังตามกันมา (มา อนุสฺสเวน)

2.อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการถือสีบๆกันมา (มา ปรมฺปราย)

3.อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการเล่าลือ (มา อิติกิราย)

4.อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการอ้างตำรา หรือคัมภีร์ (มา ปิฏกสมฺปทาเนน)

5.อย่าปลงใจเชื่อ เพราะตรรก (มา ตกฺกเหตุ)

6.อย่าปลงใจเชื่อ เพราะอนุมาน (มา นยเหตุ)

7.อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล (มา อาการปริวิตกฺเกน)

8.อย่าปลงใจเชื่อ เพราะเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว (มา ทิฏฐินิชฺฌานกฺขนฺติยา)

9.อย่าปลงใจเชื่อ เพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าจะเป็นไปได้ (มา ภพฺพรูปตาย)

10.อย่าปลงใจเชื่อ เพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้เป็นครูของเรา (มา สมโณ โน ครูติ)

ต่อเมื่อใด รู้เข้าใจด้วยตนว่า ธรรมเหล่านั้น เป็นอกุศล เป็นกุศล มีโทษ ไม่มีโทษ เป็นต้นแล้ว จึงควรละหรือถือปฏิบัติตามนั้น

สูตรนี้ในบาลีเรียกว่า เกสปุตติสูตร ที่ชื่อกาลามสูตร เพราะทรงแสดงแก่ชนเผ่ากาละมะ แห่งวรรณะกษัตริย์ ที่ชื่อเกสปุตติยสูตร เพราะพวกกาละมะนั้นเป็นชาวเกสปุตตะนิคม ในแคว้นโกศล ไม่ให้เชื่องมงายไร้เหตุผลตามหลัก 10 ข้อ

ตัวอย่าง

 1.อย่าได้ยึดถือตามถ้อยคำที่ได้ยินได้ฟังมา ประเภท "เขาว่า" "ได้ยินมาว่า" ทั้งหลาย

 2.อย่าได้ยึดถือถ้อยคำสืบๆกันมา ประเภท "ใครๆว่า" "โบราณว่า" ตามกระแส

 3.อย่าได้ยึดถือโดยความตื่นข่าวว่า เข่าว่าอย่างนี้ ประเภทข่าวลือ ข่าวโคมลอย ทั้งหลาย

 4.อย่าได้ยึดถือโดยอ้างตำรา อย่าไปตามตำรามากนัก ตำราว่าอย่างนั้น ต้องออกมาเป็นอย่างนั้น เท่านั้น เป็นอย่างอื่นไปไม่ได้เด็ดขาด เพราะอย่าลืมว่า ตำราบางเล่ม คนแต่งก็มั่วมาบ้าง เขียนไม่ครบบ้าง ใส่ไข่เอาเองบ้าง คนมีกิเลสไปแก้ไขตำรา คนมีผลประโยขน์ ไม่แก้ไขตำราเท่ากับเราโดนหลอก

5.อย่าได้ยึดถือโดยนึกเดาเอาเอง เช่น เข้าใจเอาเอง หรือข้อมูลไม่พอ ใจร้อนเดาสุ่มเอา มั่วๆ เอา

6.อย่าได้ยึดถือโดยการคาดคะเน การคาดการณ์ตามประวัติศาสตร์ ตามสถิติ ความน่าจะเป็น ซึ่งอาจจะผิดก็ได้ เพราะเห็นแค่ร้อย อย่าเหมาว่าที่ร้อยเอ็ดจะเป็นไปด้วย

7.อย่าได้ยึดถือตรึงตามอาการ อย่าเห็นว่าอาการแบบนี้ น่าจะเป็นแบบนี้ ให้คิดเผื่อๆไว้ด้วย เช่น เห็นคนไข้เป็นแบบที่เคยรักษาคนอื่นๆมาก่อน อย่าไปตรึกเอาเองว่าเป็นแบบนั้น เห็นเงาก็จ่ายยาได้ เพราะเหนือฟ้ายังมีฟ้า อย่าเข้าข้างตนเอง นั่งสมาธิเห็นโน่น เห็นนี้     อย่านึกว่าเป็นจริง เพราะอาจจะเป็นจิตหลอกจิต

8.อย่าได้ยึดถือโดยชอบใจว่า ต้องกันกับทิฐิของตัว อย่าเอาความเห็นของตนเป็นใหญ่ อะไรที่ตรงกับที่ตนคิดไว้เท่านั้นที่เชื่อได้ คนคิดแบบนี้ ดื้อตายชัก
9.อย่าได้ยึดถือโดยเชื่อว่าผู้พูดสมควรจะเชื่อได้ ระวังจะโดนหลอก อย่าลืมว่า สี่เท้ายังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง

10.อย่าได้ยึดถือโดยความนับถือว่าสมณะนี้เป็นครูของเรา การยึดอาจารย์ของตนเองมากไป ก็ไม่ดี ควรทำตาม ทดสอบดู ถ้าผิดพลาดก็ไม่ต้องเชื่อ ถ้าทำแล้วดีขึ้นก็แสดงว่าเชื่อได้

ที่มา : http://www.easyinsurance4u.com/buddha4u/kalamasutta.htm

 

การใช้ความศรัทธา อาจจะทำให้เสีย มรรค ผล ได้คะ เพราะชาวพุทธที่ดี ควรใคร่ครวญด้วยปัญญาคะ

 
บันทึกการเข้า

นินนินนิน

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 65
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ความศรัทธา มีผลต่อการปฏิบัติ ภาวนาเป็นอย่างมาก
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: สิงหาคม 03, 2012, 01:00:14 pm »
0
คุณ modtanoy น่าจะเข้าใจอะไรคลาดเคลื่อนในเรื่อง ศรัทธา นะครับ
ผมคิดว่า ชาวพุทธที่ตั้งมั่นในพระรัตนตรัย กันแล้วคงไม่ต้องมาตั้งแท่น ไล่กาลามสูตร กับพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ผมว่าพวกที่กระทำอย่างนี้ ตรวจสอบพระสูตร ซ้ำไปซ้ำมา นี้เป็น

    พวก โรคจิต ย้ำคิด ย้ำทำ นะครับ

  ความศรัทธา เป็น อริยธนะ แต่ความศรัทธา มีได้สมบูรณ์ได้ ด้วยสัมมาทิฏฐิ คุณอย่าเอาคำว่า งมงาย มาปนกับ ศรัทธา ในที่นี้เขาแยกกันออกไปแล้วนะครับ ในหัวข้อ งมงาย กับ ศรัทธา

   :49: :67:
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ความศรัทธา มีผลต่อการปฏิบัติ ภาวนาเป็นอย่างมาก
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: สิงหาคม 03, 2012, 01:25:25 pm »
0
 
     
        กาลามสูตรมีมากกว่า 10 ข้อ!!!
        http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=5851.0



        ขอให้พิจารณาข้อธรรมในกาลามสูตรให้ตลอดสาย หลังจากข้อ ๑๐ จะมีดังนี้

        เมื่อใด ท่านทั้งหลายรู้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านี้เป็นอกุศล ธรรมเหล่านี้เป็นโทษ
        ธรรมเหล่านี้ วิญญูชนติเตียน ธรรมเหล่านี้ใครยึดถือปฏิบัติถ้วนถึงแล้วแล้ว
        จะเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความทุกข์
        เมื่อนั้น ท่านทั้งหลายพึงละเสีย


        เมื่อใด ท่านทั้งหลายรู้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านี้เป็นกุศล ธรรมเหล่านี้ไม่มีโทษ
        ธรรมเหล่านี้ วิญญูชนสรรเสริญ ธรรมเหล่านี้ใครยึดถือปฏิบัติถ้วนถึงแล้วแล้ว
        จะเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข
        เมื่อนั้น ท่านทั้งหลายพึงถือปฏิบัติบำเพ็ญ

         :25:

ชื่อกาลามสูตรที่ถูกต้องคือ "เกสปุตตสูตร" อยู่ใน
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐  บรรทัดที่ ๔๙๓๐ - ๕๐๙๒.  หน้าที่  ๒๑๒ - ๒๑๘.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=20&A=4930&Z=5092&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=505
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: ความศรัทธา มีผลต่อการปฏิบัติ ภาวนาเป็นอย่างมาก
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: สิงหาคม 09, 2012, 12:16:52 pm »
0
อนุโมทนา กับทุกความเห็น ขอให้ทุกท่าน ทบทวนให้เข้าใจกับเป้าหมายในการภาวนาในภายในของตนเองก็จะกระจ่างแจ่มใส ในการภาวนาขึ้นมาได้
 
  อย่างไรการภาวนาในพระพุทธศาสนา ก็ต้องใช้ความเชื่อความเลื่อมใส ไม่ครางแครง กับพระรัตนตรัย นะจ๊ะ
เป็นคุณสมบัติ ของชาวพุทธระดับ พระโสดาบันเป็นต้นไป

  ;)
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ