ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: “เจ้าพระยา” ในชื่อแม่น้ำเจ้าพระยา ได้จากเทวรูปขอม  (อ่าน 891 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28484
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

แม่น้ำเจ้าพระยาใกล้ปากอ่าวตรงเมืองสมุทรปราการ หรือบางเจ้าพระยาเดิม ที่เป็นต้นเค้ากลายเป็นชื่อให้แม่น้ำทั้งสายในภายหลัง


“เจ้าพระยา” ในชื่อแม่น้ำเจ้าพระยา ได้จากเทวรูปขอม

เจ้าพระยา ในชื่อแม่น้ำเจ้าพระยา หมายถึงเทวรูป 2 องค์ ฝีมือช่างแบบขอม (เขมร) เมืองละโว้ (ลพบุรี)
    เจ้า คือ เทวรูปแบบขอม,
    พระยา คือ พญาแสนตาและพญาบาทสังฆกร พบที่คลองสำโรง (จ. สมุทรปราการ) ระหว่าง พ.ศ. 2034-2072

ต่อมา พระยาละแวกยกทัพตีอยุธยา หลังเสียกรุงครั้งแรก (พ.ศ. 2112) แล้วเชิญเทวรูป 2 องค์ ไปกัมพูชา ไม่รู้เอง แต่ผมรู้จากอาจารย์ 2 ท่าน คือ อ. รุ่งโรจน์ ภิรมย์อนุกูล (ม. รามคำแหง) กับ อ. ประภัสสร์ ชูวิเชียร (ม. ศิลปากร)

เทวรูป 2 องค์ คนแต่ก่อนเรียกอย่างยกย่องด้วยคำเขมรศักดิ์สิทธิ์ว่า “กัมรเตง” แล้วเพี้ยนเป็น “พระประแดง” เมืองพระประแดงแรกสุด(เป็นที่รู้กันมานานว่า) อยู่คลองเตย (กรุงเทพฯ) เคยย้ายไปอยู่ที่เมืองปากน้ำ (สมุทรปราการ) จึงเรียกปากน้ำว่าบางเจ้าพระยา ตั้งแต่ยุคสมเด็จ พระนารายณ์ฯ

แล้วเรียกปากแม่น้ำตรงนั้นว่า ปากแม่น้ำบางเจ้าพระยา นานเข้าจนทุกวันนี้ก็กร่อนเหลือว่า แม่น้ำเจ้าพระยา มีคำอธิบายโดยตรงของ อ. ประภัสสร์ ชูวิเชียร จะคัดมา ดังนี้


แผนที่แสดงแม่น้ำเจ้าพระยาตั้งแต่ปากน้ำ (บางเจ้าพระยา) จนถึงพระนครศรีอยุธยา สมัยสมเด็จ พระนารายณ์ฯ [วาดใหม่โดยชาวฝรั่งเศส เมอชิเออร์ เดอ ลา มาร์ แองจินี (Mons de La mar Ingenie) ตามต้นฉบับรูปเดิมแต่ลดขนาดภาพให้เล็กลง เพื่อถวายพระเจ้าแผ่นดินฝรั่งเศส (ภาพจาก A New Historical Relation of the Kingdom of Siam. Monsieur De La Loubere, 1688)]


บางเจ้าพระยา ชื่อเก่าก่อนแม่น้ำเจ้าพระยา
โดย ประภัสสร์ ชูวิเชียร

ชื่อของแม่น้ำเจ้าพระยา กล่าวกันว่ามาจากที่แม่น้ำนี้ไหลอกปากอ่าวตรงที่มีหมู่บ้านชื่อบางเจ้าพระยา ในสมัยโบราณ แต่เหตุใดจึงมีชื่อดังนั้น แม่น้ำเจ้าพระยาใกล้ปากอ่าวตรงเมืองสมุทรปราการ หรือบางเจ้าพระยาเดิม ที่เป็นต้นเค้ากลายเป็นชื่อให้แม่น้ำทั้งสายในภายหลัง

เมื่อสมัยอยุธยา รัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 พ.ศ. 2041 พงศาวดารกล่าวว่าขณะที่ขุดลอกคลองสำโรงและคลองทับนางตรงใกล้ปากน้ำที่ตื้นเขินอยู่นั้น ได้ขุดพบเทวรูปสององค์ ชื่อพระยาแสนตา กับบาทสังขกร แล้วได้เคลื่อนย้ายไปประดิษฐานในเมืองใกล้ปากน้ำ ชุมชนนั้นจึงได้ชื่อว่า พระประแดง กลายมาจากคำว่า กมรเตง ที่แปลว่า เจ้า ใช้สำหรับเรียกเทวรูปของเขมรแต่โบราณ แม้พระยาละแวกขนกลับไปกัมพูชาในรัชกาลสมเด็จพระมหาธรรมราชาก็ยังมีความทรงจำกับชื่อที่ติดค้างอยู่กับพื้นที่ว่ามีความศักดิ์สิทธิ์อยู่ แม้จะผ่านลงมาจนถึงสมัยกรุงเทพฯ แล้วก็ตาม

ต่อมาแผ่นดินงอกทำให้ปากน้ำเคลื่อนออกไป จึงต้องลงไปสร้างชุมชนใหม่ให้ใกล้ปากน้ำยิ่งขึ้น มีหลักฐานว่าชื่อบางเจ้าพระยาอยู่ในเอกสารไทยและต่างชาติสมัยอยุธยาตอนปลาย ราว พ.ศ. 2200 ลงมา แต่เรียกกันในเอกสารทางการว่าเมืองสมุทรปราการ


แม่น้ำเจ้าพระยาใกล้ปากอ่าวตรงเมืองสมุทรปราการ หรือบางเจ้าพระยาเดิม ที่เป็นต้นเค้ากลายเป็นชื่อให้แม่น้ำทั้งสายในภายหลัง


เมื่อลองแปลความหมายของ พระประแดง ซึ่งมาจากคำว่า กมรเตง ในภาษาเขมรออกเป็นภาษาไทย ก็ได้คำว่า “เจ้า” ซึ่งหมายถึงผู้เป็นใหญ่ มาประกอบกับชื่อของหนึ่งในสองเทวรูปคือ พระยาแสนตา ก็จะได้คำว่า เจ้าพระยา โดยไม่ยาก

จึงเชื่อว่าคนชั้นหลังซึ่งได้ย้ายชุมชนที่ควบคุมปากน้ำ จากตำแหน่งที่เมืองพระประแดงเดิม (อยู่ตรงคลองเตย ตามข้อสันนิษฐานของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพและสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์) ลงมาอยู่ที่ปากน้ำใหม่ได้ติดเอาความทรงจำชื่อเมืองเก่าคือพระประแดงลงมาด้วย แต่ได้แปลความหมายของชื่อเมืองตามสัญลักษณ์สำคัญกลับออกมาเป็นภาษาปากคนไทย คือ บางเจ้าพระยา

ดังนั้นตามข้อสันนิษฐานนี้ ชื่อ(บาง)เจ้าพระยา จึงอาจมีที่มาจากชื่อเมืองปากน้ำรุ่นเก่าคือเมืองพระประแดง จากนั้นเมื่อชุมชนปากน้ำย้ายลงมาก็ยังเรียกชื่อตามเดิมเป็นบางเจ้าพระยา

และคำว่าบางเจ้าพระยาหายไปเพราะถูกตั้งขึ้นเป็นเมืองสมุทรปราการในสมัยรัชกาลที่ 2 กลายมาเรียกปากน้ำเจ้าพระยา ก่อนใช้เป็นชื่อแม่น้ำทั้งสายอย่างน้อยตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 เป็นต้นมา



ผู้เขียน : สุจิตต์ วงษ์เทศ
ที่มา : มติชนออนไลน์
เผยแพร่ : 16 มิ.ย. 59
ท้องถิ่นมีชุมชน ในสยามรัฐรายวัน ฉบับวันพุธที่ 25 พฤษภาคม 2559
http://www.matichon.co.th/news/176994
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 17, 2016, 09:26:00 pm โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ