ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: เมื่อเพื่อนบอกว่า "อย่าไปหลงกับการทำสมาธิ"  (อ่าน 4360 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

รักหนอ

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +22/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 369
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
วันหนึ่ง ได้สนทนากับเพื่อนที่นับถือกันท่านหนึ่ง แล้วได้พูดถึงเรื่องสมาธิ

 ร.( รักหนอ )  พี่ไม่ฝึกสมาธิ บ้างหรือคะ

 พ ( เพื่อน )   ไม่

 ร.  ทำไมคะ

 พ  พี่ไปหลงฝึกทำสมาธิ มาตั้ง 20 ปีแล้วไม่เห็นได้ประโยชน์อะไรเลย

 ร. ทำไมไม่ได้ประโยชน์ อะไรคะ

 พ มันดับกิเลสไม่ได้ และไม่ได้เป็นทางแห่งพระนิพพาน

 ร. อย่างนั้นควรทำอย่างไร คะ

 พ  เจริญสติ ดูการเคลื่อนไหว ฝึกอิริยาบถ กำหนดรู้ด้วยใจ รู้ทัน และ วาง

 ร. ต้องอาศัยสมาธิ ด้วยหรือป่าวคะ

 พ. ไม่จำเป็นต้องมีสมาธิ มีสติ ระลึกรู้ มีสติตามเห็น รู้เห็น และ ปล่อยวาง จำไว้นะ

     อีกอย่างอย่าไปหลงมัวงม อยู่ในเรื่องสมาธิ อันนั้นดับกิเลสไม่ได้จริง นะ

 ร.  คะ

 ----------------------------------------------------------

เพื่อน  ๆ มีความเห็นว่าอย่างไรคะ
บันทึกการเข้า

samapol

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 304
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: เมื่อเพื่อนบอกว่า "อย่าไปหลงกับการทำสมาธิ"
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มกราคม 11, 2011, 01:34:09 pm »
0
ประโยค คล้าย ๆ กับที่ผมเคยพูกกับเพื่อน ๆ หลายคนเลยครับ

เวลาถูกชักชวนให้ไปนั่งกรรมฐาน ผมเองเป็นศิษย์ในสายป่าพง เองก็ไม่ค่อยชอบนั่งสมาธิครับ

นั่งสัก 15 - 20 นาทีก็เลิก ต่อมาเปลี่ยนแนวไปในสายวัดป่า ไปศึกษาที่ สถาบันจิตตานุภาพ

วัดธรรมมงคล แต่ เรื่องสมาธิ ผมเองก็ยังไม่ก้าวหน้าเท่าที่ตั้งใจ คือ ตั้งใจจะปฏิบัติ ฌาน 1 ให้ได้ครับ

เพราะทิ้งชีวิตแบบนำธรรมแบบปัญญา เจริญสติ มาแล้วเกือบ 25 ปีแล้ว ก็ยังละกิเลส แบบ พระโสดาบัน

ไม่ได้จริง ๆ ผมติดตามอ่านเรื่อง กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ และทดสอบดูบ้างแล้วรู้สึก พระอาจารย์

ท่านมีอะไรเป็นพิเศษ และ อธิบายเข้าใจง่าย สามารถปฏิบัติตามได้ทันที แต่ก็ยังไม่ได้ตัดสินใจขึ้น

กรรมฐาน นะครับ เพราะอยากจะศึกษาไปก่อน

   ดังนั้น คนที่มักปฏิเสธเรื่อง สมาธิ มักจะไม่มีสมาธิ ผมการันตี ได้เลยว่า คุณธรรม ไม่ก้าวหน้าเท่าไหร่

หรอก เพราะอริยมรรคประกอบด้วย สมาธิ โพชฌงค์ ก็มี สมาธิ สติปัฏฐาน ก็มี สมาธิ อินทรีย์ ก็มี พละ 5 ก็มี

สิกขา 3 ก็ขาด สมาธิ ไม่ได้ เพียงแต่ต้องมีสมาธิ ระดับไหนเท่านั้น ผมเคยฟัง และ เรียนในสาย สติปัฏฐาน

กล่าวว่า เพียงขณิกะสมาธิ ก็สามารถเห็นธรรมได้ แต่ผมขอพูดตรง ๆ ก็แล้วกันว่า ถ้าคิด ขณิกะสมาธิ เข้าใจ

หลักธรรมได้ผมว่าอาจจะผิดพลาด คนที่จะมีบารมีธรรมแบบนี้ อัตรา 1 : 1000 ผมให้มากไปหรือป่าว แต่ผมเอง

ไม่ใช่ 1 ใน อัตรานี้รู้กำลังตัวเอง

  ดังนั้นจะเห็น ครูบา อาจารย์ พระสงฆ์ ผู้ปฏิบัติ สมถะกรรมฐาน จะแนะนำการเจริญ วิปัสสนา ที่ อุปจาระสมาธิ

เป็นต้นไป ซึ่งผมได้เข้าศึกษาพระอภิธรรม ที่วัดมหาธาตุ ก็ทราบว่า อนุสสติ ที่สนับสนุนคุณธรรม 3 อย่างก็คือ

พุทธานุสสติ มีอานิสงค์ 1.ได้อุปจาระสมาธิ 2. ได้ อุคคหนิมิต 3. ได้เป็นพระโสดาบัน

  ซึ่งพอไล่เรียง ประวัติ และ กรรมฐานในประเทศไทยเท่าที่ทราบ ทุกคนก็ปฏิบัติ พุทธานุสสติ กรรมฐานกันเป็น

ส่วนใหญ่ โดยภาวนาว่า พุทโธ เป็นต้น ผมจึงเห็นว่าแท้ที่จริง ประเทศไทยเรา ภาวนามาถูกทางตามกรรมฐานเก่า

ซึ่งพอไล่ประวัติไปก็เป็น กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ พอเข้่าศึกษาในเว็บจึงรู้ รากฐานของกรรมฐาน แท้จริง

ก็มาจากสายเก่า อันเป็นกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ โดยมี พระโสณะ พระอุตตระ เป็นผู้นำมาเผยแผ่ใน

เขตสุวรรณภูิมิ และ เจดีย์ ที่เรานับถือว่ายิ่งใหญ๋ในประเทศ ก็คือ ปฐมเจดีย์ อันเป็นการก่อสร้างจัดทำโดยศิษย์

กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ในอาณัติ ของพระอาจารย์โสณะ และ พระอาจารย์อุตตระ


  พอพิมพ์เรื่องนี้แล้ว ผมก็อดจะแปลกใจ ว่าทำไม กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ พระสงฆ์ไทยเราปัจจุบัน

นั้นไม่รู้จัก และมิหนำซ้ำ ยังคัดค้านที่จะเรียนด้วย ก็เพราะเหตุว่า พระสงฆ์ยุคปัจจุบันเน้นหนักและเชื่อแนวทางว่า

การปฏิบัติ วิปัสสนา นั้นไม่ต้องมีสมาธิ ถึงขั้นอุปจาระสมาธิ ตามแนวพม่า เป็นแน่แท้ ซึ่งผมเองก็ผิดทางมาหลาย

ปีต่อต้านการนั่งสมาธิ มานานพอสมควร เดี๋ยวนี้เริ่มฝึกสมาธิ และ ก็เริ่มเห็นธรรมละเอียดเพิ่มขึ้นจึงรู้ได้ว่า

  ยถาภูตญาณทัศศนะ จะเกิดขึ้นได้ ต้องมีจิตเป็นสมาธิ ตั้งแต่ อุปจาระสมาธิ เป็นต้นไป

 :25: Aeva Debug: 0.0005 seconds.
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 11, 2011, 05:12:28 pm โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า

prachabeodee

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 135
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: เมื่อเพื่อนบอกว่า "อย่าไปหลงกับการทำสมาธิ"
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: มกราคม 11, 2011, 02:17:10 pm »
0
จริงๆแล้ว...ทั้งสมาธิและปัญญาต้องพึ่งพากันเกื้อหนุนกันไม่ว่าสายปัญญา(สุขวิปัสสโก)หรือสายสมาธิ (ฌาณ,อภิญญา)....คือต้องได้ส่วนที่เหมาะสมจึงจะส่งผลให้เกิดเป็นเกิดมีขึ้นได้.(เป็นมรรคเป็นผล).....
รู้ด้วยวิปัสสนาก็ไม่มีผลถ้าสมาธิอ่อน(เป็นวิปัสสนึกไป-เป็นความฟุ้งซ้านไป) ในทางกลับกันถ้าสมาธิมากไปก็จะหลงหรือติด,หรือจิตไม่ออกมารับอารมณ์นิ่งจนเป็นฌาณไป (ไม่รู้เห็นตามความเป็นจริง-ไม่เห็นภาวะเกิดดับ)....
...............................................................
นี่ก็คือเหตุผลหนึ่งที่ ถูกบางคนต่อว่าสายสมาธิมากว่า....ชอบหลบ,ติดสุข,ไม่สามารถพ้นกิเลสได้......แต่จริงๆแล้วถ้าคนๆนั้นสามารถยกจิตออกมาเห็นความเป็น(จริงวิปัสสนา)ได้ ก็สามารถก้าวล่วงพ้นสิ่งที่ติดอยู่ได้(อาจเป็นติดสุข,ติดในความสงบ,ติดในความสว่าง,ติดในฌาณหลงในความสามารถทางฌาณ,แม้กระทั้งติดในรู้ติดในเห็น)เป็นส่วนที่มีผลจริงเพราะมีสมาธิที่ดีลองรับอยู่.......
บันทึกการเข้า

nongmai

  • สมาชิก
  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 51
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: เมื่อเพื่อนบอกว่า "อย่าไปหลงกับการทำสมาธิ"
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: มกราคม 11, 2011, 09:47:18 pm »
0
 :coffee2:

อันที่จริงคนพูด อาจจะยังไม่ได้อะไรสักอย่างเลย เพราะพูดแล้วขัดกับหลักการภาวนา

 สติ พัฒนา เป็น สมาธิ

 อย่างไรก็ไม่พ้นสมาธิ

 :08:
บันทึกการเข้า

kindman

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 272
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: เมื่อเพื่อนบอกว่า "อย่าไปหลงกับการทำสมาธิ"
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: เมษายน 03, 2012, 11:48:53 am »
0
อ่านคำถามแล้ว อยากให้พระอาจารย์แสดงความเห็นครับ เพื่อเป็นแนวทางแก่ผู้ศึกษาปฏิบัติต่อไปครับ

 :25: :c017:
บันทึกการเข้า