ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: กราบหลวงพ่อโต วัดไร่พริก กับปริศนาที่ไม่รู้ ทำไมต้องถวายปลาทูนึ่งแก้บน(ชมภาพ)  (อ่าน 3875 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28456
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

ผู้เขียนสะดุดกับภาพนี้ "ถวายปลาทูนึ่ง" ทราบจากการสอบถามแม่ค้าแถวนั้น "เป็นการแก้บน"
เมื่อสิ่งที่ผู้ที่มากราบไหว้ขอ จาก องค์หลวงพ่อโต ได้สำเร็จ สมความปรารถนา แต่ที่มาไม่มีใครบอกได้ว่า "ทำไม"


กราบหลวงพ่อโต วัดไร่พริก
กับปริศนาที่ไม่รู้ ทำไมต้องถวายปลาทูนึ่งแก้บน
Posted by รินรู้ดี

แม้ผ่านวันที่ 1 มกราคม มาหนึ่งสัปดาห์แล้ว แต่ยังนับว่าเป็นช่วงเทศกาลปีใหม่ ผู้เขียนยังใช้เวลานี้สร้างสิริมงคลให้กับตัวเอง สร้างขวัญและกำลังใจ เพื่อเริ่มการใช้ชีวิตประจำวัน ด้วยอย่างมั่นใจและไม่ประมาท และนับเป็นครั้งแรกที่ได้เดินทางไปสักการะบูชา หลวงพ่อโต วัดอินทรวิหาร หรือวัดไร่พริก บางขุนพรหม ซึ่งเป็นวัดที่สร้างมาตั้งแต่ กรุงศรีอยุธยาตอนปลาย

ความสำคัญที่ทำให้ ผู้เขียนเดินทางไปไหว้พระขอพรปีใหม่ คงเหมือนๆ กับ ทุกๆ ท่าน นั่นคือ วัดอินทรวิหาร เป็นวัดที่ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดนี้ กับมีพระพุทธรูปปางอุ้มบาตร นามว่า พระศรีอริยเมตตไตรย ซึ่งเป็น พระพุทธรูปปางอุ้มบาตรกลางแจ้งที่ใหญ่สุดในโลก ความสูงจากพื้นถึงยอดเกต 32 เมตร สร้างขึ้นโดย สมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี ในรัชกาลที่ 4 แต่สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี ท่านมรณภาพลงเสียก่อน สร้างได้เพียงถึงพระนาภี (สะดือ)

ต่อมาอีกประมาณ 60 ปี ตกในรัชสมัยรัชกาลที่ 7 จึงสร้างสำเร็จ ซึ่งยอดเกตของหลวงพ่อโต บรรจุพระบรมสารีกธาตุ จากศรีลังกา เป็นประวัติโดยย่อๆ ที่ได้จากการเที่ยวชมภายในวัด











ภายในบ่อน้ำพระพุทธมนต์ มีประชาชนที่เข้าไปนั่งภาวนาสมาธิ และสวดคาถาชินบัญชร จนผู้เขียนไม่กล้าบันทึกภาพ ยอมรับว่า ศรัทธา ทำให้เกิดพลังอย่างแท้จริง ผู้เขียนกลับออกมาออกมาด้วยความอิ่มเอิบใจ และหากมีโอกาสจะต้องกลับไป สักการะบูชาองค์หลวงพ่อโต อีกอย่างแน่นอน


ขอบคุณภาพและบทความจาก 'บล็อกของคุณรินรู้ดี'
http://www.oknation.net/blog/rinrudee/2012/01/08/entry-1
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28456
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


ประวัติวัดอินทรวิหาร พระอารามหลวง

ชื่อ : วัดอินทรวิหาร พระอารามหลวง
ฐานะ : พระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิดสามัญ
ที่ตั้งปัจจุบัน :    เลขที่ 144 ถนนวิสุทธิกษัตริย์ แขวงบางขุนพรหม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
เนื้อที่ : จำนวน 21 ไร่ 1 งาน 65 ตารางวา
ขอบเขต : ทิศเหนือ ติดถนนกรุงเกษม
            ทิศใต้ ติดถนนวิสุทธิกษัตริย์
            ทิศตะวันออก ติดถนนเทเวศร์ ซอย 1
            ทิศตะวันตก ติดถนนสามเสน สี่แยกบางขุนพรหม


วัดอินทรวิหาร พระอารามหลวง เป็นวัดเก่าแก่ สร้างขึ้นสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายประมาณปี พ.ศ. 2295 ไม่ปรากฏนามผู้สร้าง อุโบสถแต่เดิมแบบเตาเผาปูน กุฏิฝากระแชงอ่อน   
    เดิมชื่อ "วัดไร่พริก" เพราะเป็นวัดที่ปลูกอยู่ใกล้สวนผักของชาวจีน
    ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น "วัดบางขุนพรหม" ตามชื่อของหมู่บ้านซึ่งมีขุนพรหมเป็นหัวหน้าหมู่บ้าน


ต่อมา สมัยกรุงธนบุรี ประมาณปี พ.ศ. 2321 พระเจ้าสิริบุญสารผู้ครองนครศรีสัตนาคนหุต ได้ยกกองทัพรุกรานมาถึงบ้านดอนมดแกง (จังหวัดอุบลราชธานี – ปัจจุบัน) ได้จับพระลอ ผู้ซึ่งสวามิภักดิ์ในพระบรมโพธิสมภาพของพระเจ้ากรุงธนบุรี แล้วทำการประหารเสีย มื่อพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงทราบก็ทรงขัดเคองพระทัย จึงโปรดฯ ให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกเป็นแม่ทัพพร้อมด้วยพระสุรสีห์กรีฑาทัพขึ้นไปปราบปรามและสามารถตีเมืองเวียงจันทน์แตก ส่วนพระเจ้าสิริบุญสารได้ลี้ภัยไปอาศัยในแดนญวน

ภายหลังเสร็จศึกสคราม สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้นำตัวเจ้าอินทวงศ์ โอรสในพระเจ้าสิริยุญสารลงมากรุงธนบุรีด้วย และโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าอินทวงศ์และคณะพำนักตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนอยู่ ณ บริเวณตำบลไร่พริก (แขวงบางขุนพรหม – ปัจจุบัน) เจ้าอินทวงศ์มีศักดิ์เป็นน้าชายของเจ้าน้อยเขียว เจ้าเมืองเวียงจันทน์ ธิดาคนหนึ่งของเจ้าอินทวงศ์นามว่า เจ้าทองสุก กับเจ้าน้อยเขียว ได้เป็นพระสนมในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก

ต่อมาเจ้าอินทวงศ์ได้มีศรัทธาดำเนินการบูรณปฏิสังขรณ์เปลี่ยนแปลงรูปทรงอุโบส ก่ออิฐถือปูนเป็นแบบที่ยังปรากฏอยู่ทุกวันนี้ และสร้างศาลาพร้อมกับขุดคลองเหนือใต้และด้านหลังวัด เมื่ออารามมีความมั่นคงดีแล้ว จึงอาราธนาท่านเจ้าคุณอรัญญิกเถร (ด้วง) ผู้เรืองในวิปัสสนาธุระและใจดีมาช่วยเป็นภาระธุระในกิจการของสงฆ์ และถือเป็นเจ้าอาวาสรูปแรกที่มีหลักฐานปรากฏยืนยัน

ในแผ่นดินรัชกาลที่ 3 พระองค์เจ้าอินทร์ ในกรมพระราชวังบวรมหาศักดิ์พลเสพย์ ได้บูรณปฏิสังขรณ์พระอุโบสถซึ่งยังคงปรากฏมาจนปัจจุบัน ครั้นถึงแผ่นดินในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ตัดถนนผ่านกลางวัดบางขุนพรหม วัดบางขุนพรหม จึงกลายเป็น 2 วัดคือวัดบางขุนพรหมนอก (วัดใหม่อมตรส – ปัจจุบัน) และวัดบางขุนพรหมใน (วัดอินทรวิหาร พระอารามหลวง – ปัจจุบัน) เนื่องจากอยู่ภายในเขตวังเทวะเวสม์ที่พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นใหม่ (จึงเรียกชื่อว่า "วัดบางขุนพรหมใน")





การเรียกชื่อวัด
    - ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ไม่พบหลักฐานการเรียกชื่ออย่างเป็นทางการนิยมเรียกกันว่า "วัดไร่พริก" ต่อมาเปลี่ยนเป็น "วัดบางขุนพรหม"
    - เรียกชื่อวัดนี้ว่า "วัดอินทร์" หรือ "วัดอินทาราม" ตามนามของผู้ปฏิสังขรณ์ ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น
    - พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร. 6) ได้โปรดเกล้าฯ ให้คณะสงฆ์เปลี่ยนนามวัด เนื่องจากชื่อเดิมไปพ้องกับวัดอินทราม (ใต้) บางยี่เรือใต้ (ธนบุรี) สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ (ม.ร.ว. ชื่น นภวงศ์) แห่งวัดบวรนิเวศวิหาร เป็นผู้ขนานนามว่า "วัดอินทรวิหาร" ประมาณปี พ.ศ. 2470 และยังคงใช้ชื่อนี้ตราบกระทั่งปัจจุบัน
    - ต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 9) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ยกฐานะจากวัดราษฎร์ขึ้นเป็นพระอารามหลวง เมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ.2543 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ณ วันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ.2543 ดังนั้นจึงมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า "วัดอินทรวิหาร พระอารามหลวง"


ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก
http://www.watindharaviharn.org/watindharaviharn.php
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ