ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: เข้าใจการปฏิบัติใช้สมาธินำ หรือ ปัญญานำ แบบส่วนตัว  (อ่าน 3132 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ครูนภา

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +25/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 608
  • ภาวนา ร่วมกับพวกท่าน แล้วสุขใจ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
การปฏิบัติธรรมมีแบบปฏิบัติที่สำคัญๆ อยู่ 2 แบบ

1. ใช้สมาธินำก่อน แล้วค่อยใช้ปัญญาตาม

2. ใช้ปัญญานำก่อน(แต่จิตจะต้องมีกำลังของสมาธิพอสมควร)

1. ใช้สมาธินำ
เช่น นั่งสมาธิ อาจจะใช้อานาปานสติ กำหนดรู้ที่ลมหายใจเข้า-ออก
ตอนนี้จิตกับลมหายใจจะเป็นอันเดียวกัน
กำหนดไปๆ จนจิตแยกออกมาจากลมหายใจกลายมาเป็นผู้มารู้ลม
ที่กำลังเข้า-ออกแทน แต่ไม่มีคำว่าลมหายใจแล้ว แต่ก็ยังไม่ใช่ปัญญา
(ตอนนี้เป็นสมาธิระดับลึก ต้องเอาปัญญามาพิจารณา แล้วจิตจะถอน
ออกมาจากสมาธิลึกเล็กน้อยเพื่อที่จะพิจารณาความจริงได้)
เพราะถ้าไม่พิจารณาว่า ลมคือลม จิตคือจิต แยกจากกัน ก็จะเป็นสมถะ
แต่ถ้ารู้แบบแยกจากกันได้ ก็จะเป็นวิปัสสนา ว่า ลม(หายใจ)ไม่ใช่เรา
(ใช้ผลจากกำลังสมาธิลึก ทำให้จิตตั้งมั่น แล้วถอยจิตออกมาเล็กน้อย)
แล้วอาจจะพิจารณาไปอีกว่าลมนี้ก็มีเกิดขึ้น-ตั้งอยู่(ยังมีสภาพเป็นลม)
และดับไป เท่านั้นเอง  แล้วลมนี้มาจากไหน ก็มาจากการยังมีอยู่ของร่างกาย
แล้วร่างกายมีสภาพอย่างไร ก็ใช้อสุภะมาพิจารณา หรือพิจารณาแยกกาย
ออกมากองทีละส่วน หาความจริงของร่างกายนั้นไม่ได้(สายพระป่า)
แต่การพิจารณากายทั้งหมด ใช้สมาธิไม่ใช่ระดับลึก แต่ต้องมีสมาธิบ้าง
อีกอย่างที่สำคัญคือ ข้อมูลความเป็นจริงของร่างกาย หรือข้อมูลที่เราจะเอา
มาพิจารณาจะต้องมีเก็บอยู่ในสัญญาขันธ์(ความจำ)บ้าง ไม่เช่นนั้น
เราจะเอาอะไรมาพิจารณาไม่ได้เลย ดังนั้นข้อมูลจึงสำคัญ
ข้อมูลนั้นได้มาจาก การฟัง, การอ่าน(สุตตมยปัญญา) แล้วเอามาคิด
พิจารณา (ภาวนามยปัญญา) และ ใคร่ครวญจนเกิดปัญญาอย่างแท้จริง(จินตมยปัญญ)
สรุป  สมาธิ--- ปัญญา(สติที่พิจารณาใคร่ครวญจนเกิดปัญญาหรือสัมมาสติ)---สัมมาสมาธิ(ความ ตั้งมั่นของจิตที่ต่อเนื่องมั่นคงอยู่กับความกระจ่างแจ้งในความเป็นจริงของ ความจริงอยู่ในใจหรือในจิต จิตจะตั้งมั่นอยู่กับปัญญาที่เกิดขึ้น)

2. ใช้ปัญญานำก่อน
เริ่ม จาก การได้รับข้อมูลความจริง(สัมมาทิฏฐิ)ได้มาจาก การฟัง, การอ่าน(สุตตมยปัญญา) แล้วเอามาคิดพิจารณา (ภาวนามยปัญญา) และ ใคร่ครวญจนเกิดปัญญา
อย่างแท้จริง(จินตมยปัญญ)
การนำข้อมูลความจริงจากที่พระพุทธเจ้าได้ทรงตรัสรู้ หรือได้รับฟังจากครูบาอาจารย์
มานั้น เราต้องนำมาคิด ใคร่ครวญ ทบทวน อยู่บ่อยๆ(สัมมาสติ)
การทำแบบนี้ก็จะทำให้เกิดสัมมาสมาธิได้ แต่เป็นสัมมาสมาธิระดับอ่อน  จนคิดบ่อยๆ
พิจารณาบ่อยๆ จนหยั่งลึกเข้าไปในจิต จนจิตเป็นผู้รู้ผู้ตื่นได้อย่างแท้จริง
จึงจะเป็นสัมมาสมาธิที่ตั้งมั่นทรงตัวอยู่กับจิตได้มากขึ้น
สรุป  ปัญญา(สัมมาสติ)---สมาธิ(สัมมาสมาธิ)

เมื่อจิตมีความตั้งมั่นมากขึ้น  ข้อมูลความจริงที่ซึมซับลงไปอยู่ในจิตใต้สำนึกมากขึ้น
สติก็จะเกิดเองได้บ่อยขึ้นไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบถใด
อยากจะพิจารณา แต่นึกอะไรไม่ออก...
ดังนั้น ตัวปัญญาหรือข้อมูลความจริงจึงสำคัญมากๆ ควรมีมากๆ
ดึงขึ้นมา นึกขึ้นมาได้เพื่อเอามาสอนจิตของเราเอง  ถ้าข้อมูลที่มีอยู่ไม่พอ
แล้วเราจะดึงความจริงจากตรงไหนมาพิจารณาล่ะ
ขอให้ทุกท่านเจริญในความจริงตามพระสัทธรรมคำสอนของ
องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยเร็วด้วยกันทุกท่าน

จากคุณ    : nongmew321
http://www.pantip.com/cafe/religious/topic/Y10223503/Y10223503.html
บันทึกการเข้า
ศรัทธา ปัญญา ขันติ ความเพียร คุณสมบัติผู้ภาวนา
ขอเป็นกัลยาณมิตร กับทุกท่าน ที่เป็นกัลยาณมิตร

นาตยา

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +9/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 136
  • ขอเป็นกัลยาณมิตร กับทุกท่านที่เป็นกัลยาณมิตร
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: เข้าใจการปฏิบัติใช้สมาธินำ หรือ ปัญญานำ แบบส่วนตัว
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 11, 2011, 08:26:43 am »
0
พุทธศาสนสุภาษิตกล่าวว่า การฝึกจิตการข่มจิตเป็นความดี เพราะว่าถ้าทำได้สำเร็จก็จะมีความสุข เพราะจิตที่ฝึกดีแล้วนั่นแหละจสามารถนำสุขมาให้ได้จริง ฝึกจิตข่มจิตได้เพียงใด ก็จะมีความสุขเพียงนั้น

ความจริงมีอยู่ว่า ความสุขของทุกคนไม่ได้เกิดแต่อื่น แต่เกิดแต่จิตของตนเท่านั้น ที่เข้าใจว่าความสุขอยู่ที่นั่นอยู่ที่นี่ ความสุขอยู่ที่คนนั้นอยู่ที่คนนี้ หรือความสุขอยู่ที่สิ่งนั้นสิ่งนี้ นั่นเป็นความเข้าใจผิด

ที่จริงความสุขเกิดแต่จิต ความสุขอยู่ที่จิต ถ้าจิตไม่เป็นสุขแล้ว ผู้ใดอื่น อะไรอื่น ก็หาอาจทำให้เกิดความสุขได้ไม่ เงินทองแม้มากมายมหาศาล ยศฐาบัดาศักดิ์แม้ยิ่งใหญ่ บ้านเรือนตึกรามแม้มโหฬาร วงศ์สกุลแม้สูงส่ง ก็ไม่อาจทำให้เป็นสุขได้ ถ้าใจไม่เป็นสุข ถ้าจิตเป็นทุกข์ คือเร้าร้อนอยู่ด้วยกิเลส มีโลภ โกรธ หลง เป็นสำคัญ

อารมณ์ที่น่าใคร่ทั้งหลายที่มักจะมีอำนาจเหนือจิตใจที่เบา ที่อ่อน นั่นแหละเป็นเหตุสำคัญแห่งความทุกข์ความร้อนของจิต เมื่อเห็นความจริงนี้แล้ว ก็ย่อมจักยินดีอบรมจิตของตนให้พ้นจากอำนาจของกิเลส ให้เป็นจิตที่อ่อนต่ออำนาจของความดีงาม แต่ให้หนักให้แข็งต่ออำนาจของความไม่ดีไม่งามทั้งหลาย

เมื่อใดสามารถ อบรมจิตได้ ข่มจิตได้ แม้เพียงพอสมควร จึงจิตให้พ้นจากความอ่อนต่อความชั่วร้าย คือสิ่งที่น่าใคร่น่าปรารถนาพอใจทั้งหลาย แม้เพียงพอสมควร ก็จะได้รู้รสความสุขที่แตกต่างจากความสุขที่เป็นความร้อนเช่นที่พากันเสวย อยู่ พากันคิดอยู่ว่า เป็นความสุขที่พอใจแล้ว


สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=9951

บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28450
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: เข้าใจการปฏิบัติใช้สมาธินำ หรือ ปัญญานำ แบบส่วนตัว
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 11, 2011, 10:49:13 am »
0
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ 
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓
ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
ยุคนัทธวรรค ยุคนัทธกถา


             [๕๓๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
             สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ โฆสิตาราม ใกล้พระนครโกสัมพี
ณ ที่นั้นแล ท่านพระอานนท์เรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า

ดูกรอาวุโสทั้งหลายภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระอานนท์แล้ว ท่านพระอานนท์ได้กล่าวว่า

ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ก็ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง พยากรณ์อรหัตในสำนักเรา ด้วย
มรรค ๔ ทั้งหมดหรือด้วยมรรคเหล่านั้นมรรคใดมรรคหนึ่ง มรรค ๔ เป็นไฉน ฯ

             ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุในศาสนานี้ ย่อมเจริญวิปัสสนาอันมีสมถะ
เป็นเบื้องต้น
เมื่อภิกษุนั้นเจริญวิปัสสนาอันมีสมถะเป็นเบื้องต้นอยู่ มรรคย่อม
เกิด ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญ
ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ฯ


             อีกประการหนึ่ง ภิกษุเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น เมื่อภิกษุ
นั้นเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้นอยู่ มรรคย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนั้นเสพ เจริญ
ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่
ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ฯ

             อีกประการหนึ่ง ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป เมื่อภิกษุนั้น
เจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป มรรคย่อมเกิด ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำ
ให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อม
ละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ฯ


            อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีใจนึกถึงโอภาสอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้
สมัยนั้น จิตย่อมตั้งมั่นสงบอยู่ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่นอยู่
มรรคย่อมเกิดแก่ภิกษุนั้น ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อ
ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัย
ย่อมสิ้นไป


ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ก็ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง พยากรณ์
อรหัตในสำนักเรา ด้วยมรรค ๔ นี้ทั้งหมด หรือด้วยมรรคเหล่านั้นมรรคใดมรรค
หนึ่ง ฯ

อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑  บรรทัดที่ ๗๕๖๔ - ๗๘๖๑.  หน้าที่  ๓๑๓ - ๓๒๕.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=31&A=7564&Z=7861&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=534



พระอานนท์แสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ภิกษุภิกษุณีที่ พยากรณ์การบรรลุความเป็นพระอรหันต์
( พูดว่าได้บรรลุ ) ในสำนักของเรา ย่อมมีทางเป็นไปได้อย่างใดอย่างหนึ่ง รวม ๔ ทาง คือ
 
๑. เจริญวิปัสสนา ( ปัญญาอันเห็นแจ้ง ) มีสมถะเป็นหัวหน้า มรรคเกิดขึ้นเมื่อเจริญมรรคก็ละสังโยชน์ ( กิเลส ที่ร้อยรัดหรือผูกมัด ) ได้ กิเลสพวกอนุสัย ( แฝงตัวหรือนอนอยู่ในสันดาน ) ย่อมไปหมด

๒. เจริญสมถะ ( ความสงบใจ ) มีวิปัสสนาเป็นหัวหน้า แล้วหมดกิเลส

๓. เจริญทั้งสมถะและวิปัสสนาคู่กัน แล้วหมดกิเลส

๔. มีจิตแยกจากความฟุ้งซ่าน ในธรรม ( วิปัสสนูปกิเลส =เครื่องทำวิปัสสนาให้เศร้าหมอง เช่น สิ่งที่ทำให้หลงเข้าใจผิด มีแสงสว่าง เป็นต้น ) จิตสงบตั้งหมั่น ในภายในมีอารมณ์เป็นหนึ่งแล้วหมดกิเลส.


ที่มา พระไตรปิฎก ฉบับประชาชน(อ.สุชีพ ปุญญานุภาพ)


ขออนุญาตหามาเสริมให้ คุณครูนภา
 :s_good: :49: :25:
โพสต์แต่เช้าเลย ไม่มีชั่วโมงสอนเด็กรึไงครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 11, 2011, 10:51:22 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ