ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: อารยธรรมดิจิตอล (Digital Civilization)  (อ่าน 1240 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
อารยธรรมดิจิตอล (Digital Civilization)
« เมื่อ: ตุลาคม 04, 2015, 09:31:53 am »
0



อารยธรรมดิจิตอล (Digital Civilization)

สังคมดิจิตอล ซึ่งประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจขับเคลื่อนประเทศโดยตรงและทันทีทันใด ถ้าเรามองไปยังอนาคตอันไกล สภาพการพัฒนาเช่นนี้นำไปสู่อารยธรรมดิจิตอล

ปัจจุบันประเทศไทยตั้งเป้าเข้าสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ องค์ประกอบหลัก คือ โครงสร้างพื้นฐานเกี่ยวกับไอที และกฎเกณฑ์วิธีปฏิบัติต่าง ๆ ของภาครัฐ ที่จะช่วยให้การทำธุรกิจผ่านไอทีสะดวกรวดเร็วและทันสมัย ฝรั่งเรียกยุคนี้ว่า เศรษฐกิจดิจิตอล นั่นคือการค้าขายอาศัยระบบไอที ประเทศที่พัฒนาแล้ว อาศัยความได้เปรียบทางเทคโนโลยี และก้าวเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิตอลก่อนคนอื่น ทำให้ประเทศเหล่านี้ได้ผลประโยชน์จากธุรกิจ พัฒนาความเป็นอยู่ของประชาชนไปอย่างรวดเร็ว โดยใช้ไอที เราเรียกว่าสังคมดิจิตอล ซึ่งประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจขับเคลื่อนประเทศโดยตรงและทันทีทันใด ถ้าเรามองไปยังอนาคตอันไกล สภาพการพัฒนาเช่นนี้นำไปสู่อารยธรรมดิจิตอล ซึ่งผมจะจินตนาการไว้ในบทความนี้


 :49: :49: :49: :49:

เราเริ่มจากสังคมดิจิตอลก่อน ความหมายของสภาพสังคมเช่นนี้คือ ประชาชนเข้าถึงไอทีอย่างกว้างขวาง มิใช่เป็นผู้เสพอย่างเดียว แต่ออกความเห็น เผยแพร่งานสร้างสรรค์ เปรียบเสมือนไปใช้สวนสาธารณะร่วมกัน มีการพบปะสังสรรค์ พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดกัน นำไปสู่การสร้างคุณค่าในสังคม รวมทั้งส่งเสริมเศรษฐกิจด้วย เช่น ชาวนารวมตัวกันเป็นสหกรณ์ สามารถผลิตและจำหน่ายสินค้า โดยใช้ตลาดในโลกไอที รวมถึงการซื้อปุ๋ย พันธุ์ข้าว ด้วยความสะดวก ในราคาที่ต้องการ หรือการเกิดสมาคมศิลปิน รวมตัวกันจัด การแสดงออนไลน์ และออกสื่อดิจิตอล อย่างกว้างขวาง หรือเกิดสภากาแฟ มีการแลกเปลี่ยนความเห็น ในประเด็น การพัฒนาบ้านเมือง ต่าง ๆ อย่างทันเหตุการณ์ โดยสื่อสังคมออนไลน์

ดังนั้นอำนาจการปกครองบ้านเมือง จะถูกถ่ายโอนไปยังประชาชนมากขึ้น เพราะประชาชนสามารถ เข้าถึง รับรู้ และแสดงความเห็นได้อย่างทันทีและกว้างขวาง รัฐบาลสามารถรู้ ความรู้สึกของประชาชนได้อย่างชัดเจน และทันเวลา เนื่องจากสังคมดิจิตอลเป็นสังคมเปิด ดังนั้นการควบคุม หรือปิดกั้นข่าวสารจะเป็นไปได้ยากมาก


 :sign0144: :sign0144: :sign0144: :sign0144:

    ขอยกกรณีการเกิดสิ่งใหม่ ๆ ในสังคมดิจิตอล มาเป็นตัวอย่างสักสองสามเรื่อง
    เรื่องแรกคือ นวัตกรรมแบบเปิด (open innovation) เนื่องจากเราสามารถแชร์ความคิด สิ่งประดิษฐ์ แผนผังวงจร โค้ดคอมพิวเตอร์ ผลงานศิลปะทั้งหลายบนสื่อดิจิตอลได้อย่างกว้างขวาง มีวิธีเก็บเงินค่าลิขสิทธิ์ที่เป็นธรรมและมีประสิทธิภาพ หรือเจ้าของผลงานอาจให้เป็นสมบัติสาธารณะก็ได้ สภาวะแวดล้อมเช่นนี้ จะทำให้เกิดนวัตกรรม โดยใช้ข้อมูลสาธารณะทั้งหลาย รวมไปถึงการขอใช้ลิขสิทธิ์และการจ้างงานผู้เชี่ยวชาญเป็นคราวๆ เพื่อนำไปสู่ผลิตภัณฑ์ใหม่ บริการใหม่ ผลงานศิลปะบันเทิงใหม่อย่างรวดเร็ว

    กรณีที่สอง การเข้าถึงแบบเปิด (open access) หมายถึงการเข้าถึงข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีใน ราคาถูกหรือฟรี ทำให้ทุกคนที่ต้องการคิด หรือประดิษฐ์ หรือศึกษาค้นคว้าความรู้ใหม่ ๆ ทำได้โดยง่าย ความรู้ไปถึงกันได้ทั่วโลก ใครอยากรู้อะไรก็ศึกษาได้ ใครต้องการเผยแพร่ความรู้หรือทักษะที่มี ก็ทำได้โดยง่าย (ลองคิดถึงการสอนการ เจียวไข่ ผ่านยูทูบ ใคร ๆ ก็ทำได้)

    กรณีที่สาม รัฐบาลแบบเปิด (open government) รัฐบาลสามารถสื่อสารกับประชาชนได้สองทาง คือ รับฟังความเห็นจากสาธารณะผ่านสื่อออนไลน์ เปิดให้มีการวิพากษ์วิจารณ์ ถามความต้องการ ของประชาชนโดยตรง จะเกิดความร่วมมือกับประชาชนอย่างกว้างขวาง ประชาชนสามารถใช้บริการของรัฐอย่างสะดวกรวดเร็ว การพัฒนา บ้านเมืองจะเป็นไปอย่างรวดเร็ว การเปิดเผยข้อมูลของรัฐ จะทำให้สังคมโปร่งใส การเกิดการทุจริตคอร์รัปชั่นจะเป็นไปยาก เพราะมีประชาชนเป็นหูเป็นตา


 :29: :29: :29: :29:

เมื่อโลกเปลี่ยนเป็นสังคมดิจิตอล พัฒนาการขั้นต่อมาคือ การเกิดอารยธรรมดิจิตอล ในปี ค.ศ. 1996 คุณเคนอิชิ โอเมะ เขียนหนังสือเรื่อง the end of the nation state ให้ข้อสังเกตว่า จากมุมมองของเศรษฐกิจ รัฐประเทศกลายเป็นสิ่งล้าสมัย การเกิดเศรษฐกิจสากลใหม่ ๆ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการเป็นประเทศอีกต่อไป แต่กลับเกิดจากการเชื่อมโยงกันของกลุ่มเศรษฐกิจ โดยข้ามขอบเขตการเป็นประเทศไป ผมขอ ยกตัวอย่าง ผลิตภัณฑ์ของบริษัทแอปเปิล ออกแบบในแคลิฟอร์เนีย ผลิตในประเทศจีน ไอโฟน แจ้งเกิดในอเมริกา และครองตลาดส่วนใหญ่อยู่ที่นั่น แต่ในปัจจุบัน ตลาดไอโฟนในประเทศจีนขยายตัวจนเป็นตลาดสำคัญ และบริษัทแอปเปิลเองก็ออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อเอาใจลูกค้าในประเทศจีน

ผมขอเสนอความคิดต่อไปว่า การมี สิทธิเป็นพลเมืองของประเทศใด ๆ ในอนาคต จะไม่ถูกกำหนดโดยเชื้อชาติ ที่เกิด ศาสนา แต่เพียงอย่างเดียวอีกต่อไป เนื่องจากพลเมือง เป็นต้นทุนเศรษฐกิจที่มีค่าที่สุด ประเทศที่เจริญทั้งหลาย จะยอมให้ใครๆสมัครเป็นพลเมือง ของตนได้ ผ่านทางออนไลน์โดยสะดวก บุคคลที่มีค่า มีทักษะพิเศษ ก็อาจสมัครเป็นพลเมือง ได้หลายประเทศ เพราะใคร ๆ ก็ต้อนรับ ทำนองเดียวกัน ทุกประเทศก็อยากให้คนเก่งคนดีมา เป็นพลเมือง เพื่อสร้างสรรค์สังคมของตนให้ ดีขึ้น


 :s_hi: :s_hi: :s_hi: :s_hi:

บทความนี้ผมลองใช้บริการ เปลี่ยนเสียงเป็นตัวหนังสือของกูเกิล โดยผม “อ่าน” เนื้อความผ่านโทรศัพท์มือถือแอนดรอยด์ “เสียง” ของผมถูกพิมพ์ออกมาเป็นบทความนี้ โอ้ เศรษฐกิจดิจิตอล!

ประภาส จงสถิตย์วัฒนา
คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


ขอบคุณบทความและภาพจาก : http://www.dailynews.co.th/it/351591
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ