ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: รวมหัวข้อ ศึกษา ธรรม เข้าพรรษา วันที่ 1 ( 20 ก.ค. 59 )  (อ่าน 62466 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0



ประเดิมธรรม วันแรก หลังจากอธิษฐาน เข้าพรรษา เมื่อวานนี้

  อิมัสสมิง อิมัง เตมาสัง วัสสัง อุเปมิ
 ข้าพเจ้าขออยู่ สถานที่นี้ ตลอด 3 เดือน ฤดูฝน

     ธรรมศึกษา เรื่องแรก คือ หยุด
    คำว่า หยุด ในภาษาตรง ๆ ใช้ คำว่า เว้น หรือ บวช
ดังนั้นผู้ที่เป็นชาวพุทธไม่ใช่ว่าแต่จะเป็นพระ แม้ ผู้ครองเรือง ซึ่งเป็น พุทธบริษัท คือ อุบาสก และ อุบาสิกา ก็สามารถ อธิษฐานธรรมการเข้าพรรษาได้เช่นกัน แต่ไม่เกี่ยวกับวินัยสงฆ์ เพราะการอธิษฐาน กระทำเรื่องดี ๆ ที่มีคุณค่า เป็นบุญกุศล อธฺษฐานทำให้จริงจัง เพิ่มขึ้นในหนึ่งพรรษา ถึงแม้จำนวนเดือนจะไม่มาก แต่การอธิษฐานสร้างกุศล ก็จะทำให้ บุคคลนั้น ก้าวผ่านอุปสรรค ใหญ่ ๆ ได้ คนที่จะอธิษฐานทำอะไรที่เป็นกุศลขึ้นมาเป็นพิเศษนั้น ต้อง อาศัย สัจจะ ความจริงใจ จึงจะสำเร็จได้ ดังนั้น อธิษฐาน สร้างกุศลกันบ้าง สักสามเดือน จะเป็นบุญกุศลเสบียงแก่ตน

   เช่น อธิษฐานเลิกเหล้า เลิกบุหรี อันนี้คือ ละชั่ว ละสิ่งที่ทำลายสุขภาพ
        อธิษฐานทำบุญใส่บาตร ทุกวันสามเดือน อันนี้คือ สร้างความดี
        อธฺษฐานภาวนากรรมฐาน ทุกอาทิตย์สามเดือน อันนี้คือ เพิ่มคุณภาพความดี รักษาความดี
        อธฺษฐานเรียนศึกษาธรรม ฟังธรรม ตลอดสามเดือน อันนี้คือสร้างสัมมาทิฏฐิ

       
       และยังมีอีกมากมาย หลายเรื่องที่ท่านทั้งหลายสามารถอธิษฐาน
       ทำกันในช่วง 1 พรรษา ( 3 เดือนนี้ )

    ก็ขอเป็นกำลังใจให้แก่ทุกท่าน ที่หมั่นสร้างกุศล ความดี ละจากอกุศล และสร้างใจให้ผ่องใส หมั่นเจริญวิปัสสนา ตามหลักธรรมในศาสนา ก็ขอให้ท่่านทั้งหลาย ประสบความสำเร็จ ประสบความสำเร็จ ด้วยกัทุกท่าน ทุกคนเทอญ

     สร้างกุศล บ่มนิสัย  ให้ผุดผ่อง
   เหมือนแว่นส่อง ถึงใจสวย ช่วยโลกหลาย
   หมั่นอบรม ฝึกปรือยิ่ง ทั้งใจกาย   
   เพื่อเป้าหมาย ละจาก  สงสาร เอย

 เจริญธรรม / เจริญพร

     



ภาพนี้ มีความหมาย ดี เห็นแล้วชอบ

  การปฏิบัติธรรม นับหนึ่ง หมายถึง เริ่มที่ตัวเอง เดี๋ยวนี้ ไม่ต้องรอใคร แต่การนับหนึ่ง แน่นอนย่อมมีปอุปสรรคขวากหนาม เกิดขึ้นไปตามสภาวะด้วย บางครั้งอุปสรรค บางครั้งก็น้อย บางครั้งก็สาหัส แต่ผู้ที่นับหนึ่ง ต้องมีสัจจะ ต้องเป็นนักสู้ ไม่ท้อ ไม่ถอย ไม่หันหลัง

   อะไร คือ ความเจ็บปวดในการภาวนา
     การที่ แพ้ ต่อกิเลส โดยที่ไม่ได้ สู้ เลย ต่างหาก นั่นแหละคือ ความเจ็บปวด ทุกข์มากที่สุด

   
 
ไฟล์เสียง เชิญดาวน์โหลด ไปรับฟัง

http://cloudbox.3bb.co.th/share3/MTYwOTh8YTY1Y2RhYTg3ZWY1OGZkODY0ZWU0MmNlNWZkMjVkZmZ8MzAyNTU=
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 05, 2018, 01:19:55 pm โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7263
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
รวมหัวข้อ ศึกษา ธรรม เข้าพรรษา วันที่ 2 ( 21 ก.ค. 59 )
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กรกฎาคม 21, 2016, 09:51:42 am »
0


   คุณธรรมพื้นฐาน และ ศรัทธา ( ความเชื่อ ) นั้นมีความจำเป็น ต่อ อริยมรรค

   ถ้าบุคคลที่หวังคุณธรรมเบื้่องสูง ในพุทธศาสนา นี้ เขาควรจะต้องพอกพูนศรัทธา ในพุทธศาสนาให้เหนียวแน่น คือ ไม่คลอนแคลน สัทธาที่ควรพอกพูน มี 4 ประการคือ

   
 1. กัมมสัทธา ( อ่านว่า กำ-มะ-สัด-ทา ) เชื่อกฏแห่งกรรม
   โดยการเชื่อว่า ถ้ามีเจตนาดี เป็นกุศล ย่อมทำให้มีความสุข ถ้ามีเจตนาไม่ดี เป็นอกุศล ย่อมทำให้เกิดทุกข์

2.วิปากสัทธา (อ่านว่า วิ-ปา-กะ-สัด-ทา ) เชื่อในผลของกรรม
    ว่ามีจริง เป็นจริง คนจะได้ทุกข์ หรือ สุข ก็เป็นผลมาจากกรรมที่ตนสร้างไว้ ไม่ใช่ใครบันดาลให้เป็นอย่างนั้น แต่เกิดจากผลกรรม ที่ตนได้กระทำไว้ ทั้งในอดีต และ ปัจจุบัน

3.กัมมัสสกตาสัทธา ( อ่านว่า กำ-มัด-สะ-กะ-ตา-สัด-ทา )เชื่อว่าทุกคนที่มีสุข หรือ ทุกข์ นั้นมีกรรมเป็นของ ๆ ตน
   ที่สุข หรือ ทุกข์ เป็นเพราะว่าตนเอง เป็นผู้กระทำไว้ ไม่ใช่ต่อใครไปทำให้กันได้ หรือ ทำแทนกันได้

4.ตถาคตโพธิสัทธา ( อ่านว่า ตะ-ถา-คะ-ตะ-โพ-ทิ-สัด-ทา )เชื่อในการตรัสรู้ธรรม ของพระพุทธเจ้า ว่ามีจริง เป็นจริง
  เชือ่ในหลักธรรมคำสอนอันไปสู่ มรรค ผล และ นิพพาน นั้นทำได้จริง ๆ ตามที่พระพุทธเจ้า ทรงตรัสไว้โดยชอบแล้ว
นี่เป็นส่ิงที่ควร ศรัทธา 4 อย่าง

        พระผู้มีพระภาคตรัสตอบด้วยพระคาถาว่า
                          ศรัทธาของเราเป็นพืช ความเพียรของเราเป็นฝน ปัญญา
                          ของเราเป็นแอกและไถ หิริของเราเป็นงอนไถ ใจของเรา
                          เป็นเชือก สติของเราเป็นผาลและปฏัก เราคุ้มครองกาย
                          คุ้มครองวาจา สำรวมในอาหารในท้อง ย่อมกระทำการ
                          ถอนหญ้า คือ การกล่าวให้พลาดด้วยสัจจะ ความสงบเสงี่ยม
                          ของเราเป็นเครื่องปลดเปลื้องกิเลส ความเพียรของเรานำธุระ
                          ไปเพื่อธุระนำไปถึงแดนเกษมจากโยคะ ไม่หวนกลับมา
                          ย่อมถึงสถานที่ๆ บุคคลไปแล้วไม่เศร้าโศก การไถนานั้น
                          เราไถแล้วอย่างนี้ การไถนานั้น ย่อมมีผลเป็นอมตะ บุคคล
                          ไถนานั่นแล้ว ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวง ฯ




   เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕  บรรทัดที่ ๗๑๐๒ - ๗๑๗๖.  หน้าที่  ๓๑๑ - ๓๑๔.
 http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=25&A=7102&Z=7176&pagebreak=0



ภาพนี้ มีความหมาย เห็นแล้วชอบ

    ภาพสะท้อนของพระพุทธเจ้า ก็คือ สภาวะจิต ที่เป็นพุทธะ ของผู้นับถือพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าที่เป็นเงา แม้ลึกลับก็สว่างไสว แม้เป็นเพียงเงา ก็ให้ความสุขจากกระแสนิพพาน เป็นเบื้องต้น ยามจะทุกข์ คับแค้น เจียนตาย แม้ด้วยการหมั่นนึกถึง พุทโธ พุทโธ พุทโธ ไว้สม่ำเสมอ ย่อมมี สุคติ โดยชอบ


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 26, 2016, 03:33:54 pm โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

nongyao

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 380
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: รวมหัวข้อ ศึกษา ธรรม เข้าพรรษา วันที่ 1 ( 20 ก.ค. 59 )
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กรกฎาคม 21, 2016, 11:20:40 am »
0
 :25:สาธุ สาธุ สาธุ
บันทึกการเข้า
กราบนอบน้อมพระพุทธเจ้าอันเป็นอดีต อนาคต แลปัจจุบัน ด้วยเศียรเกล้า
                 พุทธัง  ธัมมัง  สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
                       
                         ข้าพเจ้าจักขอทำเหตุที่ดี

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7263
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
รวมหัวข้อ ศึกษา ธรรม เข้าพรรษา วันที่ 3 ( 22 ก.ค. 59 )
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: กรกฎาคม 22, 2016, 09:42:40 am »
0


สำหรับวันที่ 3 นี้คิดว่าท่านทั้งหลาย คงเตรียมใจ รักษาศรัทธา กันอย่างมั่นคง ในศรัทธา ที่นี้ก็เกิดปัญหาว่า แล้วอะไรเป็นกิจที่ควรทำในเบื้องต้น ในพุทธศาสนา นั่นสิ ถ้าไม่ศึกษามาก็ต้องงม กับการหาคำตอบ แต่ไม่ต้องหาแล้ว มีคำตอบให้แล้ว

    พุทธศาสนา เป็นศาสนา ของ คนมีปัญญา คือ ต้องมีความรู้ ในเหตุ และ ผล ซึ่งคนทั่วไปกล่าวว่า คนที่มีเหตุ และ ผล สมควรชื่อว่า มนุษย์ ที่นี้ มนุษย์ เป็นคนที่ทำอะไร ก็ต้องสูงกว่าคุณค่าของความเป็น มนุษย์ ดังนั้นการที่จะคิด พูด ทำ จึงเป็นเรื่องที่มี คุณและค่า สูงกว่าความเป็นมนุษย์

     อะไร เป็นสิ่งที่มี คุณค่า สูงกว่าความเป็นมนุษย์ ก็คือ ความเป็น เทวดา เทพ อันนี้พื้นฐานขั้นต่ำเลยนะ จนกระทั่งไปสู่ วิสุทธิเทพ คือ เป็นพระอรหันต์

     ดังนั้นสิ่งที่ชาวพุทธ ควรจะต้องใส่ใจ พื้นฐาน ก็คือ เทวธรรม
   
     เทวธรรม คือ คุณธรรม ของความเป็นเทวดา มี อยู่ 4 ประการ คือ สติ สัปชัญญะ หิริ โอตตัปปะ

     สติ สัมปชัญญะ มีความจำเป็นมากที่สุด เพราะเป็นคุณธรรมไปสู่ ธรรมขั้นสูงสุด
     ส่วน หิริ โอตตัปปะ เป็นคุณธรรม พื้นฐาน ของพระโสดาบัน เพราะว่า ถ้า มีความเกรงกลัวต่อบาป และ ละอายต่อการทำบาย ย่อมไม่ถูกต้องอบาย หรือ ไปจุติในอบายภูมิ 4

     ดังนั้นท่านทั้งหลาย ควรใส่ใจ คุณธรรม ของเทวดา ให้มากเพื่อจะได้ประคองชีวิตให้มีภพชาติ ไม่ไปสู่ อบายภูมิ 4

         อบายภูมิ 4 มีอะไร
           1. เปตร ผู้ที่มักมาย ขาดความละอาย เกรงกลัวต่อบาป ฉกชิง ลักทรัพย์ ทำร้ายต่อพระอริยะ เป็นต้น 
           2. สัตว์นรก ผู้ที่ประกอบ โลภะ โทสะ โมหะ ผิดศีล 5 เป็นต้น
           3. อสุรกาย สัตว์ที่เกิดมีร่างกายแปลกประหลาด บิดเบี้ยง ผิดรูป ผิดร่าง เกิดแต่กรรมที่ทำไม่ดีไว้ต่าง ๆ มีสภาพ กึ่งสัตว์ กึ่งคน พิกล พิการผิดจาก คน และ มนุษย์ เป็นที่น่าเวทนา แม้เกิดในภูมิ ก็เรียกว่า อสุรกาย อสุรกาย มีความหมาย ผู้มีกายลึกลับไม่กล้าแสดงตน ที่จริงมีอยู่มากมายเลยในโลกมนุษย์เราในปัจจุบัน
           4. สัตว์ดิรัจฉาณ ที่ไม่มีภูมิปัญญาในการเห็นธรรม บางครั้งก็มีอยู่ในคราบคนก็มาก จิตใจโหดเหี้ยม อำมหิต

      ใครได้เกิดในอบายภูมิ 4 ย่อมตั้งหลักในการสร้างความดี ได้ยาก เพราะความทุกข์ ความมือบอดจากปัญญาในการมองเห็นธรรม ดังน้น ผู้ที่เกิดในอบายภูมิ 4 จึงไม่เข้าใจในเรื่อง วิปัสสนา เลย

     ดังนั้น เทวธรรม มี สติ ความระลึกได้ สัมปชัญญะ ความรู้ตัว หิริ ความละอายแก่อกุศล โอตตัปปะ ความเกรงกลัวต่อบาป ถ้าปรากฏมีขึ้นแก่ผู้ใด ก็แสดงว่า ความเป็น เทวดา เริ่มมีแก่คนผู้นั้น จัดได้ว่าเป็นผู้ถึงคุณธรรม พื้นฐานในโลกนี้ แต่หากเป็นเทวดา ขั้นพระโสดาบัน ก็เป็น พระที่สำคัญลำดับแรก ในพระพุทธศาสนา

      ขอให้ท่านทั้งหลาย เจริญ เทวธรรม ให้มากเถิด
      เทวธรรม มีได้ เพราะศีล และ ศีลก็เป็นบาทฐาน ไปสู่ ภูมิขั้นสูง นั่นเอง


   เจริญธรรม /  เจริญพร




ภาพนี้มีความหมาย เห็นแล้วชอบใจ

     ในยามที่ทุกข์ ที่สุด ก็คือ ยามที่เราต้องการ เพื่อนมากที่ สุด แต่เพื่อนที่ดีที่สุด นั้นหาได้ยากมาก สำหรับผู้ภาวนากุศล สติ เป็นนิสัย ประจำเมื่อทุกข์เกิดขึ้น เพื่อนที่ดีที่สุด ก็คือ พระพุทธะ ที่ปรากฏขึ้นในใจนั่แหละเป็นที่พึ่ง ที่ระลึก ดังนั้น การกล่าวคำปฏิญญาณ ว่า พุทธัง สรณัง คัจฉามิ ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่ง ที่ระลึกถึง ดังนั้นยามทุกข์ หาเพื่อนไม่ได้ ก็ต้องไม่ลืมพระพุทธเจ้า ผู้ใดที่หมั่นภาวนา พุทโธ พุทโธ พุทโธ ย่อมจะเข้าใจในความหมายนี้ดี

 

     
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 26, 2016, 03:33:35 pm โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7263
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
รวมหัวข้อ ศึกษา ธรรม เข้าพรรษา วันที่ 4 ( 23 ก.ค. 59 )
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: กรกฎาคม 23, 2016, 07:54:10 am »
0


สำหรับหัวข้อธรรม การศึกษาธรรมในวันนี้ คือ คำว่า ปัจจเวกขณะ

 ปัจจเวกขณะ นั้นเป็นเรื่องที่สำคัญ แก่ทุกคน ไม่ใช่แค่ พระสงฆ์ แต่ ฆราวาส ผู้ครองเรือนก็ควรจะมีปัจจเวกขณะ

 ปัจจเวกขณะ หมายถึง การหมั่นพิจารณา ในที่นี้หมายเฉพาะ ปัจจัย 4 คือ เครื่องนุ่งห่ม อาหาร ที่อยู่อาศัย และ ยารักษาโรค  พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนพระสาวก ด้วยการปัจจเวกขณ 2 ครั้ง คือ ก่อนใช้ และ หลังใช้

   ก่อนใช้ ใช้คำว่า ปฏิสังขาโยนิโสมนสิการ คือ การกระทำไว้ในใจโดยแยบคายก่อนใช้ ว่า ที่ใช้อยู่นี้ เพราะมีความจำเป็นต่อการใช้ คือปกปิดอวัยยวะ ป้องกันแดด ลมร้อน บำรุงร่างกายให้มีอัตตภาพ ไม่เป็นที่ทุกข์ และ ใช้รักษาโรคที่จำเป็น นี่พูดรว ๆ เลยนะ

   หลังใช้ ใช้คำว่า อัชชะมะยา เป็นต้น คือ ถ้าใช้ไปแล้ว หลงลืมสติ ขณะที่นึกขึ้นได้ตอนนี้ก็จะทำไว้ในใจอย่างแยบคาย ไม่หลงฟุ้งเฟ้อ เห่อเหิม ไม่ใช่เป็นไปเพื่อ ประดับ ตกแต่ง เพลิดเพลิน

   ดังนั้น ปัจจเวกขณะ นั้นมีไว้เพื่อขัดเกลากิเลส ที่มันมีอยู่ในเรื่อง ปัจจัย 4 ทำให้ผู้ที่มีกิเลสพอกพูน ไม่เกิดความสันโดษ มัวเมานั้น ได้คลายทิฏฐิ คลายความมัวเมา และ รู้จักแบ่งปัน แก่เพื่อนร่วมโลก

   คุณแห่งปัจจเวกขณะ นั้นยังมีอยู่มาก แต่ตัวฉันจะเข้ากรรมฐาน เลยไม่อยากพิมพ์มาก เอาเท่านี้ก่อนก็แล้วกัน

   เจริญธรรม / เจริญพร





   ภาพนี้มีความหมาย เห็นแล้วชอบ
 
    ภาพแสดงถึงเรื่อง ประเภทบุคคล คือ บัวสองเหล่า
     1. อุคติตัญญู บุคคล คนที่พร้อม สู่การบรรลุธรรม
     2. วิปจิตัญญู บุคคล  คนที่ต้องพากเพียรอีกสักนิด ก็พร้อมจะบรรลุธรรม

    เหล่าเทวดา ที่เป็นพระโยคาวจร ถึง พระอนาคามี ที่พร้อมจะบรรลุธรรม เมื่อได้สดับธรรม ที่สมควรแก่ ฐานะ ธรรมใดที่เทวดา รับฟังแล้วบรรลุธรรม พร้อมกับมนุษย์ ชื่อว่า ธรรมาภิสมัย ( ธรรมที่ไม่แสดงเจาะจง แก่เทวดา )
   
     

 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 26, 2016, 03:33:18 pm โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7263
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: รวมหัวข้อ ศึกษา ธรรม เข้าพรรษา วันที่ 5- 6 -7 ( 24--25-26 ก.ค. 59 )
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: กรกฎาคม 24, 2016, 12:50:27 pm »
0





    ต้องงดปิดวาจา ปิดตา ปิดหู บ้าง แล้ว นั่งกรรมฐาน กันเสียหน่อย
 ฝากดูแลเว็บกันด้วย เนสัชชิกธุดงค์ เริ่มวันนี้

    เจริญธรรม / เจริญพร
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 26, 2016, 03:33:00 pm โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7263
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
รวมหัวข้อ ศึกษา ธรรม เข้าพรรษา วันที่ 7 ( 26 ก.ค. 59 )
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: กรกฎาคม 26, 2016, 02:07:29 pm »
0



ออกกรรมฐาน เวลา 09.10 น. รู้สึกหิว สหธรรมได้ส่งอาหารมาให้
ฉันพอดีเลย อนุโมทนา ขอบคุณเดี๋ยวคืนวันพระพรุ่งนี้ ก็เข้าต่อ วันนี้ต้องหยุดพักก่อน ก็ขอให้ท่านที่ได้ส่งเสริมกันได้รับบุญร่วมกัน
ไม่ได้ฉันอาหารฉันน้ำ 3 วัน 3 คืน รู้สึกหิวนะ ถึงจะมีสมาธิระดับสูงแต่กายก็ยังเป็นกายหยาบ มีแต่เพียงกายทิพย์ที่อิ่ม ๆ ด้วยอำนาจของปีติ เพราะบริโภคปีิติ เป็น อาหาร
บรรดาฤษี โยคี ผู้บำเพ็ญอำนาจ สมาธิ ย่อมได้ผลแบบนี้ แต่จะไม่ได้ สุขวิหารธรรม อันเกิดด้วย ญาณ มีการดับกิเลสเป็นระดับ ไป
ถ้าผู้ฝึกจิต เป็น ปุุถุชน ก็ได้ อำนาจ 2 อย่างคือ ปาริสุทธุเปกขา จิตผ่องใสวางเฉยต่อกิเลสด้วยอำนาจแห่งสมาธิ ฌานุเปกขา จิตวางเฉยด้วยอำนาจแห่งฌาน เพราะจิตขาดจากข้าศึกมีนิวรณ์ เป็นต้น ในขณะนั้น แต่ถ้าขาดโดยแท้จริงก็เป็น โพชฌงคุเปกขาไป ด้วยอำนาจผลสมาบัติของพระอริยะ
ถ้าผู้ฝึกจิตเป็นผู้ฝึก มรรคสมัคคี ก็จะได้ ตัตรมัชฌัตุเปกขา การวางเฉยด้วยอำนาจญาณอันเข้าไปรวมมรรค ขณะที่รวมมรรค ก็มีเห็นตามความเป็นจริง และดับกิเลสนั้นลงอย่างถาวร มีในขณะที่จะบรรลุ
ถ้าผู้เจริญอำนาจสมาธิ เป็นพระอริยะบุคคล ก็เป็น โพชฌงคุเปกขา
ส่วนอุเปกขา อีก 6 ประการ ก็หนุนเนื่องอยู่ด้วยกัน เว้นแต่ พรหมวิหารุเปกขา นั้นมีเฉพาะในผู้เจริญ ทิศาผรณา แบบ สีมสัมเภท เท่านั้น

   เตรียมตัวเข้ากรรมฐาน ต่อในวันพรุ่งนี้ 21.00 น.อีก ดังนั้นมีงานหลายงานต้องทำ จึงไม่ค่อยมีเวลาพิมพ์์ ยกประโยชน์ ให้กับคนชอบฟัง ไม่ชอบอ่านก็แล้วกัน เอาไฟล์เสียงไปฟังกันแทน นะ พูดคุยกัน ฉันท์มิตรสหายธรรม

    เจริญธรรม / เจริญพร



 ดาวน์โหลดไฟล์เสียง 26/7/59
 http://cloudbox.3bb.co.th/share3/MTYxMTZ8YWRjMzJjZTliOTU0YWQxN2U0OTFhMGJjNDI2ZGJiNzF8MzAyNTU=



ในสายกรรมฐาน มูลกรรมฐาน กัจจายนะ เรียนอุเบกขา 10 ประการนี้

1. ฉฬงฺคุเปกขา อุเบกขาประกอบด้วย องค์ 6
    เมื่อภิกษุเจริญภาวนา ด้วยดำนาจสติ ไปใน อายตนะ 12 ประการ จับคู่แล้ววางเฉยได้ ใน อายตนะ ทั้ง 6 ส่วน

2. พฺรหฺมวิหารุเปกฺขา อุเบกขาในพรหมวิหาร
    เมื่อภิกษุเจริญภาวนา อุเบกขาอัปปมัญญา ว่า สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของ ๆ ตน ย่อมประสบสุข และ ทุกข์ ด้วยผลของกรรมของตน และวางเฉยด้วยอำนาจ จตุตถุฌานอันประกอบด้วย อุเบกขาอัปปมัญญา

3. โพชฺฌงฺคุเปกฺขา อุเบกขาในโพชฌงค์
     เมื่อพระอริยะตั้งแต่พระโสดาบัน เขา เจริญโพชฌงค์ เป็น ผลสมาบัติ

4. วิริยุเปกฺขา อุเบกขา คือ วิริยะ
     เมื่อพระอริยะตั้งแต่พระโสดาบัน เข้าเจริญ วิริยะโพชฌงค์และ วางเฉยในที่สุด เป็นท่ามกลางของโพชฌงค์

5. สงฺขารุเปกขา อุเบกขาในสังขาร
     เมื่อพระโยคาวจร เข้าเจริญวิปัสสนาญาณ แล้ววางเฉย ต่อสังขาร ที่ประสบด้วย เวทนา มีทุกข์เป็นต้น เป็นท่ามกลางของ วิปัสสนา

6. เวทนูเปกฺขา อุเบกขาในเวทนา
     เมื่อพระโยคาวจร วางเฉยด้วย สังขารุเปกชาญาณ ครบทั้ง 5 ส่วนคือ ทุกข์ สุข อทุกขมสุข โสมนัส โทมนัส มีที่สุด คือ อุเบกขา

7. วิปสฺสนูเปกขา อุเบกขาในวิปัสสนา
     เมื่อพระโยคาวจร เข้า เข้าถึง เวทนูเปกขา ในที่สุด

8. ตตฺรมชูฌตฺตุเปกขา อุเบกขาในเจตสิก หรืออุเบกขา ที่ยังธรรมทั้งหลาย ที่เกิดพร้อมกันให้เป็นไปเสมอกัน
    เมื่อพระโยคาวจร เข้ารวม มรรคสมังคี ใน โคตรภูญาณ

9. ฌานุเปกฺขา อุเบกขาในฌาน
    เมื่อพระโยคาวจร เข้าถึง ปัญญจมฌาณ

10. ปาริสุทฺธุเปกฺขา อุเบกขาบริสุทธิ์จากข้าศึก
    เมื่อพระโยคาวจร ถึงที่สุดแห่งปัญจมฌาน อันประกอบด้วย วิปัสสนา
( หนังสือ วิสุทธิมรรค 1 / 84 - 89 / 473 - 179 )


ธรรมะสาระวันนี้ "พึงพอกพูน อุเบกขา เพื่อการภาวนาที่สมบูรณ์"
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=7665.0
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 26, 2016, 03:40:22 pm โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7263
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
รวมหัวข้อ ศึกษา ธรรม เข้าพรรษา วันที่ 8 ( 27 ก.ค. 59 )
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: กรกฎาคม 26, 2016, 03:29:22 pm »
0


วันนี้เป็นวัน ธัมมัสวนะ แปลว่า เป็นวันฟังธรรม

เก็บเรื่อง อานาปานสติมาฝาก ทำให้ถูกทาง จะไม่หลงทาง อย่าสร้างทางให้มันยืดเยื้อ หรือ สร้างเงื่อนไขการปฏิบัติขึ้นมาให้สับสนเอง

ปกติ ผู้ที่ จบห้องพระพุทธานุสสติ พระสุขสมาธิ นั้น จะสามารถนั่งกรรมฐาน ต่อเนื่องได้ถึง 24 ชม เป็นผลสมาบัติ. พอขึ้นอานาปานสติ จะขยับเป็นนั่งกรรมฐาน ได้ 3 วัน 3 คืน ขึ้นไป ด้วยอำนาจสมาธิ ตั้งแต่ขั้นที่  11 เป็นอัปปนาสมาธิ เต็ม ดังนั้นขึ้น ที่ 11 - 12 นั้น จึงมีความสามารถเข้าสมาธิ ออกสมาธิ ได้ตามอำนาจสมาบัติ

ส่วนขั้นที่ 1 - 2 เป็นการผสานลมหายใจเข้า เข้ากับ อุคคหนิมิตร ของพระพุทธานุสสติ ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก ก็คือ นิมิตร มีนิมิตร ก็คือ ลมหายใจเข้า แล ลมใจออก เมื่อ อุคคหนิมิตร เปลี่ยนเป็นป ปฏิภาคนิมิตร ซึ่งควรจะเปลี่ยนอย่างสมบูรณ์ ในขั้นที่ 4 

ส่วนในขั้นที่ 5 เป็นการเทียบนิมิตร ลงในองค์แห่ง ฌาน ที่เกิดขึ้น อาการ การอุบัติขึ้นนั้น เหมือน การเกิดปีติ ในห้องพระพุทธานุสสติ เพียงแต่รอบนี้ มีปฏิภาคนิมิตร ซึ่งผู้ปฏิบัติจะมีความสามารถทรง สมาธิได้ตั้งแต่ 24 ชม ถึง 48 ชม จนถึงขั้นที่ 10

ดังนั้น ขั้นที่ 1 - 10 แตกต่างจาก พระพุทธานุสสติ อย่างไร ผู้ฝึกได้จริงจะเข้าใจ แตกต่างกันที่องค์บริกรรม และการตั้งนิมิตร

พอขั้นที่ 11 จึงเริ่มเป็น ปจมฌาน เป็นต้นไป
ถึงจะก้าวขั้น 1 - 10 แต่ 1 - 10 ไม่ได้ ใช้เวลาเนิ่นนาน ที่นาน คือ ขั้นที่ 10 - 11 ซึ่งสองขึ้นนี้มีมาก่อน มีพระพุทธเจ้า พอมีพระพุทธเจ้า ขึ้นที่ 13 - 16 จึงมี

ดังนั้น พระพุทธเจ้า ปฏิบัติซ้ำซากอยู่ที่ 1 - 12  ถึง 6 ปีด้วยกัน



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 26, 2016, 03:41:41 pm โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7263
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
รวมหัวข้อ ศึกษา ธรรม เข้าพรรษา วันที่ 8-9-10-11 ( 27 -30 ก.ค. 59 )
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: กรกฎาคม 27, 2016, 12:11:43 pm »
0



จะเริ่มเข้าภาวนาพิเศษ ในเวลา
กำหนดสมาปัชชนวสีไว้ที่ 27 ก.ค. 59 21.00 น.
กำหนด วุฏฐานวสี ไว้ที่ 30 ก.ค. 04.00 น.
ฝากดูแลเว็บกันด้วยนะ
ผลบุญใดที่ข้าพเจ้าได้กระทำการทบทวน ปฏิเวธเป็นเวลา 4 ทิวา 3 ราตรีทั้งหมดนั้นขอให้ผลแห่งบุญจงปรากฏแก่ผู้ทำทานแก่ข้าพเจ้าเป็นคนแรก และขออุทิศส่วนกุศลนี้ให้แก่ โอปปาติกะ ที่คุ้มครองรักษาข้าพเจ้า ให้ได้รับบุญกุศลเป็นลำดับที่สอง และผลบุญนี้จงถึงแก่ บิดาและมารดา ของข้าพเจ้าเป็นลำดับที่สาม และผลบุญที่เหลือนอกนั้นจงปรากฏแก่ศิษย์ที่สนับสนุนการภาวนาพิเศษนี้
เจริญธรรม / เจริญพร
( ผู้ได้แต่สอน ไม่มีการภาวนา เรียกว่า ผู้กลวงด้วยปฏิเวธ เป็นเนื้อนาบุญที่แห้งแล้ง เมื่อถึงเวลาที่ต้องเจริญภาวนา ก็เป็นกาลสมควร ที่ควรแก่การทบทวนภาวนา )




 สำหรับรอบนี้ อธิษฐานเดินจงกรมธาตุ 8 ชม.  ตั้งแต่ 27/7/59 21.00 - 28/7/59 06.00 น.
          และอธิษฐานนั่งกรรมฐาน ด้วย อานาปานสติ 28/7/59 06.00 - 30/7/59 04.00 น.

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 27, 2016, 12:15:16 pm โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7263
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
รวมหัวข้อ ศึกษา ธรรม เข้าพรรษา วันที่ 8 ( 27 ก.ค. 59 )
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: กรกฎาคม 27, 2016, 01:00:26 pm »
0


อชฺเชว กิจฺจ มาตปฺปํ โกชญฺญํ มรณํ สุเว
( คำอ่าน อัชเชวะ กิจจะ มาตัปปัง โกชัญญัง มะระณํง สุเว )

ความเพียร เป็นกิจที่ต้องทำวันนี้ ใครเล่าจะรู้ความตายพรุ่งนี้

ความเพียร มีมากเกินไปก็ไม่ดี ภาษากรรมฐานเรียกว่า ปัคคาหะ เพ่งเพียรจัด

สมัยครั้งพุทธกาล ก็มีพุทธสาวก ชื่อ ว่า พระอริยโสณะโกฬิวิสะ ท่านเป็นผู้มีความเพียรในการเดินจงกรม เดินจนเท้าแตก เดินไม่ได้ ก็ใช้เข่าและมือคลาน จนเข่าและมือก็แตกเช่นกัน

จนกระทั่งท่านไม่สามารถที่จะเดินกลับไปกลับมาได้ คือคลานก็ไม่ได้แล้ว เลยมีความคิดว่าจะลาสิกขาบถ กลับบ้าน ที่ต้องเล่าตรงนี้เพราะหลายคนไปเล่ากันคลาดเคลื่อน ว่าท่านเดินจงกรมด้วยความเพียรจัด แล้วบรรลุ เปนพระอริยะบุคคล

ความทราบถึงพระพุทธเจ้า พระองค์เลยตรัสเรียก ท่านไปเพื่อสอนการทำความเพียร ให้ถูกต้อง คือไม่หย่อนเกินไป และ ไม่ตึงเกินไป ท่านเป็นผู้ชำนาญในการดีดพิณสามสายอยู่แล้ว พอพระพุทธเจ้ายกอุปมา พิณสามสายให้ท่านฟัง ท่านก็เข้าใจ จึงยังไม่ลาสิกขาบถ รักษาเท้า เข่าและมือ จนหายเป็นปกติ แล้วประกอบความเพียรใหม่ ด้วยความเพียรที่เหมาะสม คือไม่หย่อน และ ไม่ตึง จึงได้บรรลุเป็นพระอริยะบุคคลในที่สุด พระพุทธเจ้ายกย่องเป็น เอตทัคคะ ในด้านผู้มีความเพียรเป็นเลิศ อันนี้หมายถึง ความเพียรที่เหมาะสม ไม่ใช่เพียรจน เท้า เข่า มือ แตก นะ อย่าเข้าใจผิด
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 02, 2016, 08:45:58 am โดย arlogo »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7263
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
รวมหัวข้อ ศึกษา ธรรม เข้าพรรษา วันที่ 11 ( 30 ก.ค. 59 )
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: กรกฎาคม 30, 2016, 09:16:14 pm »
0


  การเจริญธรรม ภาวนา ต้องไปสู่ ธาตุ รู้ 

 ดาวน์โหลดไฟล์เสียงไปฟังกันเองนะ พอดีเหนื่อยอยู่


http://cloudbox.3bb.co.th/share3/MTYxMzF8MjFjMjJlZWNhM2ZjYjFjNjk5MzVlY2Y1MmFiODI5MDV8MzAyNTU=
 ;)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 10, 2016, 07:24:22 pm โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7263
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
รวมหัวข้อ ศึกษา ธรรม เข้าพรรษา วันที่ 13 ( 1 ส.ค. 59 )
« ตอบกลับ #11 เมื่อ: สิงหาคม 01, 2016, 06:37:31 pm »
0


สำหรับสัปดาห์ที่ 3 นี้ ก็นับว่าหลายท่าน ปฏิบัติรักษาศีล กันด้วยความเข้มข้น  วันนี้ก็อยากจะมาแนะนำเรื่องของการ สร้างภูมิคุ้มกัน ให้กับ การกระทำความดี ตลอด 3 เดือนนี้ ด้วยการ เพิ่มพูน สติ ให้มากขึ้น 

   1. ภูมิคุ้มกัน ที่ หนึ่ง การเพิ่มพูนสติ ทีได้ผลที่สุดก็คือ การระลึกนึกถึง พระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระอริยะสงฆ์เจ้า เพราะเมื่อนึกถึงแล้ว ย่อมทำให้เกิดความไม่ประมาท เมื่อไม่ประมาท ก็ย่อมตั้งมั่นในการรักษาความดี ที่ได้อธิษฐานกันไว้ ว่าจะทำอะไรกันบ้าง ในช่วงพรรษา 3 เดือนนี้

   2. ภูมิคุ้มกัน ที่ สอง การบริหาร สินทรัพย์ แบบพุทธศาสนา
         คือ 1 ใช้หนี้เก่า คือ เลี้ยงดูบิดา มารดา
              2. ใช้หนี้ใหม่ คือ เลี้ยงดูบุตร ธิดา ภรรยา สามี ญาติ พี้ น้อง
              3. ทิ้งลงเหว คือ เลี้ยงดูตนเองประจำวัน ใช้กินใช้ดื่มให้ความสุข ในทางที่ควร
              4. ฝังลงดิน คือ สร้างเสบียงบุญ เอาไว้เป็นเสบียง ทำให้จิตใจรื่นเริงในปัจจุบัน

   3. หมั่นทบทวนศีล จะเป็น ศ๊ล 5 หรือ ศ๊ล 8 ตามที่สมาทาน อันไหนพร่องก็ตั้งใจทำให้ได้ ให้ได้สักวันสองวันสามวันสี่วันห้าวัน อย่าปล่อยให้ขาดไปแล้วไม่ต่อ นี่เรียกว่า ตั้งใจอย่างต่อเนื่อง

   4. ฟังธรรม ต้องเสียสละเวลาฟังธรรมบ้าง เล็ก ๆ น้อย ๆ ต้องหาโอกาส ธรรมะ 10 นาทีมีมากมาย ถ้าไม่รู้จะฟังที่ไหน ก็มาฟังที่นี่

   5. สวดมนต์ จะให้ใจผ่องใส ถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มากขึ้นก็ต้องรู้จักสวดมนต์บ้าง สวดบท นโม อิติปิโส แค่นี้ก็พอ แต่ให้สวดทุกวัน สำหรับศิษย์กรรมฐาน ให้สวดคาถาพญาไก่แก้ว ให้มากขึ้น จาก 9 จบ เป็น 27 จบ  3 รอบปกติ เท่านี้ก็ดี หรือ จะสวดให้ได้ 108 จบก็ยิ่งดีใหญ่

     นี่เ้รียกว่า ภูมิกคุ้มกันความดี นะ ให้เป็นข้อธรรมสำหรับ วันนี้

    เจริญธรรม / เจริญพร



     
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 01, 2016, 06:41:14 pm โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
รวมหัวข้อ ศึกษา ธรรม เข้าพรรษา วันที่ 14 ( 2 ส.ค. 59 )
« ตอบกลับ #12 เมื่อ: สิงหาคม 02, 2016, 08:59:37 am »
0


   การเพิ่มพูน พุทธานุสสติ ที่ได้ผลดี ในกรรมฐานก็คือ การระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้าเสียก่อน ถ้าผู้ใดทำการระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า มากๆ การภาวนา พุทโธ ก็จะไม่ใช่เรื่องยาก

   วิธีการระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า มีดังนี้

    1. การทัสนา คือ การมองฉายา ของพระพุทธเจ้า ในรูปแบบต่าง ๆ เช่นการกราบไหว้ เคารพ นึกถึงองค์พระพุทธรูป พระพุทธศิลป์ ในรูปแบบต่าง ๆ อันนี้ก็เป็นเหตุในมีการระลึก ถึง พุทธคุณได้

    2. การสดับ คือ การฟังข้อความอันเกี่ยวเนื่องด้วย พุทธคุณ เช่นฟัง บทสวดพุทธคุณ ฟังการบรรยาย เทศนาธรรม เกี่ยวกับพุทธคุณ อันนี้ก็เป็นเหตุในมีการระลึก ถึง พุทธคุณได้

    3. การศึกษา คือ การเรียนรู้ พุทธประวัติ ต่างของพระพุทธเจ้า อันนี้ก็เป็นเหตุในมีการระลึก ถึง พุทธคุณได้

    4. การสาธยาย คือ การสวดเจริญ พระคาถา พุทธคุณ หรือ บาทคาถา ที่เกี่ยวเนืองด้วยพุทธคุณ อันนี้ก็เป็นเหตุในมีการระลึก ถึง พุทธคุณได้

    5. การภาวนา สุดท้ายก็คือ การภาวนาตามแบบ กรรมฐาน ด้วยการเจริญ พระพุทธคุณ อันนี้ก็เป็นเหตุในมีการระลึก ถึง พุทธคุณได้

     การกระทำ 5 อย่างย่อมทำให้ ปีติ และ สุข เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว เมื่อปีติ และ สุข มีกำลังพอก็จะทำให้ ปาฏิหาริย์ แห่งสมาธิแก่ ผู้บริกรรมนั่นเอง

     สิ่งสำคัญ ที่ขาดเสียไม่ได้ ในการเจริญ พุทธานุสสติ ก็คือ ศรัทธา และ เป้าหมายการภาวนา นั่นเอง

     เจริญธรรม / เจริญพร



ขอบคุณภาพประกอบนี้จาก www.manager.co.th

ภาพนี้เห็นแล้ว ชอบ
   
    การสร้างองค์ พระ ที่เป็นภายนอก เป็นการสื่อถึงวัตนธรรม จิตวิญญาณของผู้สร้างด้วย การสนับสนุนองค์พระภายนอกก้เป็นการสร้างคุณธรรม คือ ความเคารพส่วนหนึ่ง และยิ่งต้องเสียสละวัตถุอันมีค่า เพื่อสร้างองค์พระด้วยแล้ว ยิ่งแสดงถึงน้ำใจที่ตั้งมั่น ในพระพุทธคุณ อันเป็นที่พึ่ง ทางจิตและวิญญาณ ของผู้เคารพศรัทธา

    การสร้างองค์พระ ด้านนอก ย่อมมีส่วนสนับสนุน องค์พระด้านใน คือ องค์กรรมฐาน เพราะองค์พระพุทธคุณนั้นอาศัย ศรัทธา และ ความตั่งมั่นในเป้าหมายภาวนา จึงจะสร้างองค์พระในจิตนี้ได้ นั่นเอง

    หากใครภาวนาแล้ว องค์พระพุทธคุณไม่ปรากฏ แสดงว่า องค์พระด้านนอก มีกำลังน้อย จึงทำให้ องค์พระด้านในไม่เกิดขึ้น ก็ต้องไปแก้ไข ส่วนบกพร่องให้มีกำลังเพิ่มขึ้น ตามสติปัญญาที่ควร


   
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 02, 2016, 09:11:29 am โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7263
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
รวมหัวข้อ ศึกษา ธรรม เข้าพรรษา วันที่ 15 ( 3 ก.ค. 59 )
« ตอบกลับ #13 เมื่อ: สิงหาคม 03, 2016, 10:52:23 am »
0


แม่บท----สงสารภยํ ภัยแห่งสงสาร------------------------------
  จตฺตารีมานิ ภิกฺขเว ภยานิ อุทโกโรหนฺตสฺส ปาฏิกงฺขิตพฺพานิ ขาราปฏจฺฉิกมฺปิ ฯ  วิลุมฺปนฺโต ฯ  อุทโกโรหนฺเตปิ ฯ  กตมานิ จตฺตาริ อูมิภยํ กุมฺภีลภยํ อาวฏฺฏภยํ สุสุกาภยํ อิมานิ โข ภิกฺขเว จตฺตาริ ภยานิ อุทโกโรหนฺตสฺส ปาฏิกงฺขิตพฺพานิ ฯ 
   เอวเมว โข ภิกฺขเว จตฺตารีมานิ ภยานิ อิเธกจฺจสฺส กุลปุตฺตสฺส อิมสฺมึ ธมฺมวินเย สทฺธา อคารสฺมา อนคาริยํ ปพฺพชิโต ปาฏิกงฺขิตพฺพานิ กตมานิ จตฺตาริ อูมิภยํ กุมฺภีลภยํ อาวฏฺฏภยํ สุสุกาภยํ ฯ

คำแปล แม่บท----ในโอฆะมีภัยแก่ผู้หลงในวัฏฏะสงสาร------------------

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภัย ๔ ประการนี้ คนผู้ลงน้ำจะพึงหวังได้ ๔ ประการเป็นไฉน คือ ภัยคือคลื่น ๑ ภัยคือจระเข้ ๑ ภัยคือน้ำวน ๑ ภัยคือปลาฉลาม ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภัย ๔ ประการนี้แล คนผู้ลงน้ำพึงหวังได้
  ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภัย ๔ ประการนี้ กุลบุตรบางคนในโลกนี้ ผู้ออกบวชเป็นบรรพชิตด้วยศรัทธา ในธรรมวินัยนี้พึงหวังได้ ฉันนั้นเหมือนกันแล ๔ ประการ เป็นไฉน คือ ภัยคือคลื่น ๑ ภัยคือจระเข้ ๑ ภัยคือน้ำวน ๑  ภัยคือปลาฉลาม ๑

วันนี้ จะมาพูดถึงภัยของผู้ภาวนา ในหลักธรรม นวโกวาท ปัจจุบันนี้เรียกว่า อันตรายของบรรพชิต หรือ อีกชื่อว่า อันตรายของภิกษุสามเณรผู้บวชใหม่

แต่สำหรับแนวทาง กรรมฐานแล้ว ไม่ว่าจะใหม่หรือเก่าไม่ได้เกี่ยวข้องแต่ มันเป็นอันตรายกับผู้ที่กำลังแหวกว่าย ทั้งตามกระแส และทวนกระแส ซึ่งโอกาสที่จะถูกภัยในขณะที่แหวกว่ายอยู่ สังสารวัฏ คือ โอฆะห้วงน้ำแห่งตายเกิดนี้ ย่อมสามารถพลาดพลั้งได้ ในอันตรายทั้ง 4 นี้

1. อูมิภัย (ภัยคลื่น คือ อดทนต่อคำสั่งสอนไม่ได้ เกิดความขึ้งเคียดคับใจ เบื่อหน่ายคำตักเตือนพร่ำสอน )
    ธรรมปลอมไม่ละกิเลส  ธรรมแท้ ๆ ไม่ทิ้ง อริยมรรค อริยผล และ นิพพาน
    ขันติ คือ ความอดทน และ โสรัจจะ ความนอบน้อม เพื่อเรียนธรรม

2. กุมภีลภัย (ภัยจรเข้ คือ เห็นแก่ปากแก่ท้อง ถูกจำกัดด้วยระเบียบวินัยเกี่ยวกับการบริโภค ทนไม่ได้ )
    กองทัพเดินด้วยท้อง สละชีพเพื่อโพธิ
    ปัจจเวกขณ คือ การพิจารณาปัจจัย 4 เพื่อความผาสุขในการภาวนา

3. อาวฏภัย (ภัยน้ำวน คือ ห่วงพะวงใฝ่ทะยานในกามสุข ตัดใจจากกามคุณไม่ได้ )
    โลกธรรมเป็นมายา สัจจะแท้คือความจริง
     ธุดงค์ และ สัจจะ การอธิษฐานละตัณหาเบื้องต้น ด้วยข้อบังคับกติกา

4. สุสุกาภัย (ภัยปลาร้าย หรือภัยฉลาม คือ เกิดความปรารถนาทางเพศ รักผู้หญิง )
     ความรักบังตา ธรรมะกันใจ
     ตจปัญจกกรรมฐาน เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ ( ไม่แนะนำอสุภกรรมฐาน ) พิจารณาตามความเป็นจริง ว่ารัก ๆ อะไร รักในผม ในขน ในเล็บ ในฟัน ในหนัง ภายนอกใช่หรือไม่ สงสารอะไร รักอะไร ?


   เป็นธรรมบรรณาการ แก่ท่านทั้งหลาย ในวันธรรมสวนะ วันนี้

   เจริญธรรม / เจริญพร


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 03, 2016, 12:47:43 pm โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

nongyao

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 380
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: รวมหัวข้อ ศึกษา ธรรม เข้าพรรษา วันที่ 1 ( 20 ก.ค. 59 )
« ตอบกลับ #14 เมื่อ: สิงหาคม 03, 2016, 11:17:38 am »
0
สาธุ สาธุ สาธุ :25:
บันทึกการเข้า
กราบนอบน้อมพระพุทธเจ้าอันเป็นอดีต อนาคต แลปัจจุบัน ด้วยเศียรเกล้า
                 พุทธัง  ธัมมัง  สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
                       
                         ข้าพเจ้าจักขอทำเหตุที่ดี

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7263
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
รวมหัวข้อ ศึกษา ธรรม เข้าพรรษา วันที่ 16-17-18-19 ( 3-6 ส.ค. 59 )
« ตอบกลับ #15 เมื่อ: สิงหาคม 03, 2016, 01:19:35 pm »
0


จะเริ่มเข้าภาวนาพิเศษ ในเวลา
กำหนดสมาปัชชนวสีไว้ที่ 3 ส.ค. 59 21.00 น.
กำหนด วุฏฐานวสี ไว้ที่ 6 ส.ค. 04.00 น.

ฝากดูแลเว็บกันด้วยนะ

เจริญธรรม / เจริญพร

อารทฺธวิริโย ปหิตตฺโต โอฆํ ตรติ ทุตฺตรํ
( คำอ่าน อารัดทะวิริโยปะหิดตะโตโอฆังตะระติทุดตะรัง )
ปรารภความเพียรตั้งตนไว้ในกาลทุกเมื่อ ย่อมข้ามโอฆะที่ข้ามได้ยาก

สพฺพทา สีลสมฺปนฺโน ปญฺญวา สุสมาหิโต
(คำอ่าน สับพะทาสีละสัมปันโนปัญยะวาสุสะมาหิโต)
ผู้ถึงพร้อมด้วยศีล มีปัญญา มีใจมั่นคงดีแล้ว

อารทฺธวิริยา โหถ เอสา พุทธานุสาสนี
(คำอ่าน อารัดทะวิริยาโหถะเอสาพุดทานุสาสะนี )
แล้วปรารภความเพียรเถิด นี้เป็นพุทธานุศาสนี

โกสชฺชํ ภยโต ทิสฺวา วิริยารมฺภญฺจ เขมโต
( คำอ่าน โกสัดชังภะยะโตทิดวาวิริยารัมภะจะเขมะโต )
ท่านทั้งหลายจงเห็นความเกียจคร้านเป็นภัย

เอกาหํ ชีวิตํ เสยฺโย วิริยํ อารภโต ทฬฺหํ
( คำอ่าน เอกาหังชีวิตังเสยโยวิริยังอาระภะโตทับหัง )
ส่วนผู้ปรารภความเพียรมั่นคง มีชีวิตอยู่เพียงวันเดียวก็ประเสริฐกว่า

โย จ วสฺสสตํ ชีเว กุสีโต หีนวีริโย
( คำอ่าน โยจะวัดสะตังชีเวกุสีโตหีนะวีริโย)
ผู้เกียจคร้าน มีความเพียรเลว พึงเป็นอยู่ตั้งร้อยปี

เอกาหํ ชีวิตํ เสยฺโย วิริยํ อารภโต ทฬฺหํช
( คำอ่าน เอกาหังชีวิตังเสยโยวิริยังอาระภะโตทับหัง)
ส่วนผู้ปรารภความเพียรมั่นคง มีชีวิตอยู่เพียงวันเดียวก็ประเสริฐกว่า



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 03, 2016, 01:23:43 pm โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

komol

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +7/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 643
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: รวมหัวข้อ ศึกษา ธรรม เข้าพรรษา วันที่ 1 ( 20 ก.ค. 59 )
« ตอบกลับ #16 เมื่อ: สิงหาคม 04, 2016, 10:08:29 am »
0
ขอแทรกแซง เล็กน้อย นะครับ พระอาจารย์ ผมทราบหัวนี้พระอาจารย์ล็อกไว้ แต่พวกสีน้ำเงิน ก็มีสิทธิ์ในการโต้ตอบหัวข้อนี้ อันที่จริง ผมก้เห็นด้วย แต่บางครั้งก็ทำให้ผม ขาดส่วนรวม ในการอนุโมทนา แบบเมือ่ก่อน ได้แต่อ่าน แต่ผมเข้าใจว่า พระอาจารย์ต้องการรวมหัวข้อในกระทู้เดียว เพื่อให้ศิษย์อ่านกันได้ง่าย ๆ ไม่ต้องค้นมาก ผมเองก็เห้นด้วย เพราะสะดวกจริง จำแค่กระทู้นี้กระทู้เดียว ก็อ่านเรือ่งธรรมไปได้ ทุกเรื่องของพระอาจารย์

   st11 st12 st12
บันทึกการเข้า
พลังจิต พลังปราณ พลังสมาธิ เป็นพลังสมดุลย์ เพื่อปัญญา

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7263
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
รวมหัวข้อ ศึกษา ธรรม เข้าพรรษา วันที่ 18 ( 6 ส.ค. 59 )
« ตอบกลับ #17 เมื่อ: สิงหาคม 06, 2016, 07:13:05 am »
0




 ask1 คำถาม ครูประสิทธฺ์

พระอาจารย์เข้ากรรมฐานบ่อย เหมือนทุกปีเลย จนผมสงสัยว่าพระที่เป็นอาจารย์ท่านอื่น ๆ ทำไมท่านไม่เข้ากรรมฐานบ้างครับ

เลยอยากตั้งคำถามดังนี้
1. การเข้ากรรมฐาน มีความจำเป็นหรือป่าว ไม่เข้าได้ไหม ?
2. พระที่เป็นปัญญาวิมุตติ ต้องเข้ากรรมฐานด้วยหรือไม่ครับ ?

ขอพระอาจารย์ช่วยตอบข้อกังขาผมด้วยครับ

  ans1



ที่จริงใช้คำว่า เข้ากรรมฐาน มันเป็นคำรวม ๆ ที่จริงการเช้ากรรมฐาน ก็มี 3 แบบ

1. เข้าไปศึกษาว่ากรรมฐาน มีรายละเอียดอย่างไร ในเนื้อหาวิชากรรมฐาน คือ เรียนและทำความเข้าใจกับวิธีการปฏิบัติ

2.เข้าไปปฏิบัติกรรมฐาน คือภาวนาตามเป้าหมายของการเรียนกรรมฐาน ตั้งแต่ เรียกว่า การดำเนินสู่ อริยมรรค

3.เข้าไปตั้งผล เพื่อสำรวมอินทรีย์ และ บ่มพละให้พยุงอัตตภาพให้อยู่ได้ เรียกว่า อริยผล

ดังนั้นตอบคำถาม

1. การเข้ากรรมฐาน มีความจำเป็น ด้วยเหต และ ผล 3 อย่างนั้น ดังนั้นพระที่เรียนกรรมฐาน เป็นมรรคแท้ ๆ ต้องเข้ากรรมฐาน จะเป็น ครู หรือ จะเป็นศิษย์ ก็ต้องเข้ากรรมฐาน ทุกท่าน แต่เวลาจะแตกต่างกันไป ถ้าเป็นผู้ภาวนายังไม่ได้ธรรม ก็ภาวนาได้น้อย ตั้งมั่นได้น้อย ส่วนใหญ่ แล้วจะกระทำได้ ต่ำ 8 ชม ถึงไม่เอาเรื่องเวลามาวัด แต่ ความเป็นจริงก็เป็นอยางนั้น

2.พระที่เป็นปัญญาวิมุตติ ตั้งแต่พระโดสาปัตติผล ก็ต้องเข้ากรรมฐานเช่นกัน เรียกว่า การเข้าผลสมาบัติ การเข้าผลสมาบัติ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนั้น จากที่ครูท่านเล่าให้ฟัง และ พระไตรปิฏก ได้แสดงไว้ เรื่อง ผลสมาบัติ ผู้ที่เป็นพระโสดาบัน จน ถึงพระอรหันต์ ฝ่ายปัญญาวิมุตติ มีกำลังผลสมาบัติเท่ากัน ด้วยอำนาจละกิเลสสามารถทรง ผลสมาขัติ ได้ ตั้งแต่ 24 ชม จนถึง 36 ชม คือ 1- 2 วัน ตามอำนาจบารมี ไม่ใช่ ฌาน แต่เป็นผลสมาบัติ มีทุกรูปทุกองค์ ดังนั้น พระองค์ไหนที่ว่าสำเร็จธรรมแล้ว ไม่เคยเข้าผลสมาบัติ นั่นก็คือยังไม่สำเร็จธรรม เพราะผลสมาบัติ เป็นคุณธรรมที่สำคัญ พระที่สำเร็จธรรม ปีหนึ่งอย่างน้อย ต้องเข้าผลสมาบัติ 3 ครั้ง สมัยหลวงปู่ท่านฉันสร็จก็เข้าสมาบัติทุกวัน ทั้งพรรษา ดังที่แสดงในประวัติ ดังนั้นถ้าไม่เข้าเลย 4 ปีไม่มีการเข้าสมาบัติเลยนั้น แสดงว่ายังไม่บรรลุธรรม เพราะพระฝ่ายปัญญาวิมุตติ ก้ตอ้งเข้าผลสมาบัติโดยธรรมชาตแหง อริยผล นี่คือฝ่ายปัญญาวิมุตติ

แต่ถ้าเป็นฝ่าย เจโตวิมุตติ ยิ่งแล้วไปใหญ่เลย การเข้าสมาบัติ ปีหนึ่งต้องมีอย่างน้อย 6 ครั้ง ๆ ละไม่ต่ำกว่า 3 วัน 3 คืน ด้วยอำนาจ ฌาน + ผลสมาบัติ ในพระโสดาบัน และพระสกทาคามี ส่วนพระอนาคามี เป็น นิโรธสมาบัติ ส่วน พระอรหันต์ สามารถเข้านิโรธสมาบัติ จนไปถึง สัญญาเวทยิตนิโรธ

แม้แต่พระพุทธเจ้า ยังต้อง สัญญาเวทยตินิโรธ ปีละ 2 ครั้ง พุทธสาวกไม่ต้องพูดเลย ว่า ปีหนึ่งจะทำน้อยกว่า พระพุทธเจ้า ต้องทำมากกว่า เพราะบารมีอ่อนกว่า ต้องทำมากขึ้น

ดังนั้น สุญญตาสมาบัติ วิหารสมาบัติ มหาสุญญตาสมาบัติ อเนญชาสมาบัติ เมตตาเจโตวิมุตติสมาบัติ อนิมิตรสมาบัติ สังสารวิเสสสมาบัติ เป็นคุณธรรม ของพระอริยบุคคล ทั้งฝ่ายปัญญาวิมุตติ และ เจโตวิมุตติ

ดังนั้นถ้าพระที่เป็นครูอาจารย์ ภายใน 4 ปี ไม่มีการเข้าสมาบัติ เลย สันนิษฐานได้เลย ยังไม่สำเร็จคุณธรรม

เจริญธรรม / เจริญพร


บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7263
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
รวมหัวข้อ ศึกษา ธรรม เข้าพรรษา วันที่ 19 ( 7 ส.ค. 59 )
« ตอบกลับ #18 เมื่อ: สิงหาคม 07, 2016, 09:35:13 am »
0


วันนี้จะนำเสนอ เรื่อง บารมี และ วิธีการสร้าง บารมี



 ( มหาปฐพี ( พระแม่ธรณี ) ได้กล่าวว่า ท่านสิทธัตถะ ( พระโพธสัตว์ ) ทานที่ท่านให้แล้ว เป็นมหาทาน เป็นอุดมทาน เมื่อพระมหาบุรุษพิจารณาถึงทานที่ได้ให้โดยอัตภาพเป็นพระเวสสันดร ช้างคีรีเมขสูง ๑๕๐ โยชน์ก็คุกเข่าลง. บริษัทของมารต่างพากันหนีไปยังทิศานุทิศ. ชื่อว่ามารสองตนจะไปทางเดียวกัน ย่อมไม่มี ต่างละทิ้งเครื่องประดับศีรษะ และผ้าที่นุ่งห่มหนีไปเฉพาะทิศทั้งหลายตรงๆ หน้า )

คำว่า บารมี แปลว่า ความเต็มรอบด้วยการกระทำอย่างในอย่างหนึ่ง หรือ ตามการอธิษฐาน
อีกความหมายหนึ่ง ก็คือ การสร้างกุศลความดี ด้วยคุณธรรม ของ โพธิสัตว์ ( ผู้บำเพ็ญตนเพื่อการตรัสสู้เป็นพระพุทธเจ้า )

ดังนั้น คำว่า บารมีจึงแปลง่าย การสร้างกุศลตามความปรารถนา

 ที่นี้ บารมี ในพระพุทธศาสนา กล่าวว่า มี 10 ประการ คือ

   ทาน ศีล เนกขัมมะ (การออกจากกาม คือ บวช) ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิฏฐาน เมตตา อุเบกขา

  ความหมายก็ไม่พิศดารอะไร เข้าใจกันได้ง่าย  ๆ คิดว่าไม่ต้องอธิบาย ในส่วนนั้น ๆ แต่ในพระพุทธศาสนา นั้น ก็จะจัดระดับ ของ บารมี 10 เป็น 3 ชั้นคือ

   1. ชั้นสามัญ คำว่า สามัญแปลว่า ทั่วไป ถ้วนทั่ว หรือ ธรรมดา ๆ ชั้นนี้ก็คือ การบำเพ็ญกุศล 10 ประการ ในความเป็นมนุษย์ เทวดา และ พระอริยะ ( อนุพุทธ ) ได้

       เช่น การให้ทาน ก็ให้ ทานโดยเจาะจง และ ไม่เจาะจง ตั้งแต่สัตว์ จน ถึงพระอริยะ เหมือนที่เรา ๆ ท่านทั้งหลายกระทำกันมานั้นแหละนะจ๊ะ

   2. อุปบารมี คำว่า อุปบารมี แปลว่า การทำให้เข้าไปใกล้ ยิ่งขึ้นในคุณธรรมอย่างพิเศษ ซึ่งเป็นคุณธรรม ของ พระโพธิสัตว์ และ พระอนุพุทธ

      การทำอย่างนี้เป็นการให้สิ่งที่รัก ที่หวง แต่ไม่ถึงชีวิต เช่น ให้อวัยวะ ของตนเป็นประโยชน์แก่ คนอื่น ๆ คนที่จะทำอย่างนี้ต้องมีความมุ่งมั่น การสละ ก็สามารถสละให้ได้ตั้งแต่ สัตว์ เป็นต้นไปโดยไม่ได้หวังคำขอบคุณ หรือความเคารพจากผู้ที่รับ หรือ คนที่ทราบเลย

 3. ปรมัตถ์บารมี คำว่า ปรมัตถ์บามี มีความหมายตรง ๆ ว่า ทำเพื่อการละกิเลส อย่างยิ่งใหญ่ ถึงคำจริง ๆ ไม่แปลอย่างนี้ แต่คนที่บำเพ็ญถึง ระดับนี้ได้ ต้องมีหัวใจ ยิ่งใหญ่ อย่างเช่น พระโพธิสัตว์ เท่านั้น บรรดาพระอนุพุทธไม่ต้องทำถึง ขนาดนี้  เพราะว่าการบำเพ็ญชั้นนี้ คือ เอาชีวิตเข้าแลกกับคุณธรรม ทั้ง 10 นั่นคือลละชีวิตของตเนเอง เพื่อคุณธรรม ทั้ง 10

   พ่อ แม่ สละ ชีวิต ให้ลูก อันนนี้ยังไม่เรียกว่า ปรมัตถ์บารมี หรือ ลูก สละ ชีวิต ให้พ่อ และ แม่ อันนี้ก็ไม่จัดว่าเป็นปรมัตถ์ บารมี

    เพราะปรมัตถ์ บารมี ต้องไม่เกี่ยว กับความสัมพันธ์ ใด ๆ เลย หมายถึงไม่ต้องรู้จักกัน ก็สละให้ได้ การสละชีวิตเพื่อคุณธรรมนั้น ย่อมไม่มีผลตอบแทน เพราะผู้สละชีวิตย่อมไม่ได้รับทราบ ถึงความรอดหรือไม่รอดเพราะชีวิตตนเองไม่มีแล้ว มันจึงไม่มีความหมายใด ๆ อธิบายได้ จึงกล่าวได้ เป็น ปรัมัตถ์บารมี โดยแท้


    ดังนั้นสรุปสั้น ๆ ว่า
      1. สามัญบารมี ในคุณธรรม ทั้ง 10 เรียกว่า ทศบารมี ( บารมี 10 )
      2. อุปบารมี ในคุณธรรม ทั้ง 10 เรียกว่า วีสติบารมี ( บารมี 20 )
      3. ปรมัตถบารมี ในคุณธรรม ทั้ง 10 เรียกว่่า ตึสติบารมี ( บารมี 30 )

     ดังนั้นถ้าท่านทำบารมี ก็จงเทียบเอาว่า กุศล 10 ประการใด ประการหนึ่ง ทำอย่างทั่วไป หรือ เป็นบารมี 20 หรือ เป็นบารมี 30 ก็จงเทียบเอา ด้วยความหมาย

      เจริญธรรม / เจริญพร


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 08, 2016, 10:31:55 am โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
รวมหัวข้อ ศึกษา ธรรม เข้าพรรษา วันที่ 20 ( 8 ส.ค. 59 )
« ตอบกลับ #19 เมื่อ: สิงหาคม 08, 2016, 11:05:24 am »
0


มาทำความเข้าใจกับพุทธานุสสติ กันสักเล็กน้อย
ถ้าไม่ทำความเข้าใจ ภาวนา พุทโธ จะก้าวหน้าได้อย่างไร





พุทธานุสสติ กรรมฐาน ไม่ใช่กรรมฐาน ฝ่ายสมถะ อย่างที่หลายท่านเข้าใจ แต่ พุทธานุสสติ เป็นกรรมฐาน ในพระพุทธศาสนา มีอยู่ ไม่กี่กรรมฐาน ทีเกิดเพราะมีพระพุทธศาสนา คือ พุทธานุสสติ ธรรมานุสสติ สังฆานุสสติ อุปสมานุสสติ  4 กรรมฐานนี้ เป็นกรรมฐานเพราะมีพระพุทธศาสนา นะจ๊ะ

  ดังนั้น พระพุทธานุสสติ กรรมฐาน ไม่ได้เป็นฝ่ายสมถะประการเดียว ในทางพระอภิธรรมระบุไว้ชัดเจนว่า
 
  ผู้ฝึกพระพุทธานุุสสติกรรมฐาน ได้ผล 3 ประการ
 
    1.ได้อุคคหนิมิต พุทธะ
    2.ได้สำเร็จอุปจาระฌาน ฝ่าย พุทธะ
    3. ได้สำเร็จพระโสดาบัน
   
   ดังนั้นขอท่านทั้งหลาย อย่าได้ประมาท และ อย่าได้ละเลย วิธีการฝึก ในกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ แบ่งไว้เป็น 3 ห้อง ทุกห้องมีวิปัสสนาในตัว

    เริ่มตั้งแต่ พระธรรมปีติ 5 ประการ    พระยุคลธรรม 6 คู่ หรือ 12 ประการ และ พระสุขสมาธิ อำนาจอุปจารฌาณขั้นเต็ม

   ขอท่านทั้งหลาย ตั้งใจฝึกตามขึ้นตอนของพระกรรมฐานเถิด

การเจริญสติ มี อยู่ 2 แบบ โดยรวม นะจ๊ะ

 1.การเจริญสติ เพื่อประคับ ประคองชีวิต ให้มีชีวิตอยู่ในประจำวันเช่น การเดิน นั่ง นอน ยืน เดิน และ อิริยาบถย่อย ทั้งหมดนี้ต้องประคองด้วย สติ เพราะหากขาด สติ ย่อมทำให้ชีวิต ขัดสน ยุ่งยาก และ เป็นทุกข์ อันตราย

 2.การเจริญสติ เพื่อ การตรัสรู้ตามพระสุคต การเจริญสติ อย่างนี้ เริ่มตั้งแต่ สติ เป้น สมาธิ สมาธิ เป็น ญาณ จนไปถึง นิพพาน

  จักวินิจฉัย ในการภาวนา พุทธานุสสติ
  การเจริญ สติ ทั้งสองแบบนั้นมีความจำเป็น ด้วยเหตุปัจจัยต่างกัน สำหรับผู้ฝึกสติ แบบที่ 1 ในการภาวนานั้น พระพุทธานุสสติ นั้น ควรระลึกถึงพระพุทธเจ้า ด้วยการเจริญธรรม คือ คุณเครื่อง ความหมายของการเป็นพระพุทธเจ้า ผลที่ ได้ก็คือ ความมั่นคง เลื่อมใส ศรัทธา ซึ่งมีผล สนับสนุน ศีล สมาธิ ปัญญา
 
   การระลึกนึกถึงพระพุทธเจ้า อย่างนี้ ก็ มีดีหลายประการนะจ๊ะ แต่มีผลเสียอยู่บ้าง ดังนั้นที่อาตมาเคยประสบมาแล้ว ถึงกับครูอาจารย์ต้องมาปรับแก้ ให้ด้วยการคัดลายมือ คำว่า พุทโธ ใส่สมุด ฟูลสแกรป 7 เล่ม เพราะเมื่อจิต ภาวนา พุทโธ ไม่เป็นคำว่า พุทโธ เป็นแต่คำว่า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน สตินั้นไม่ได้นำเป็น สมาธิ แต่ นำไปเป็นปัญญาและ ก็เกาะกับคำนี้ทำให้เกิดการปรุงแต่งธรรม ฟังแล้วเหมือนดี แต่ไมดีนะจ๊ะ

   เพราะตราบใด ที่สติ เราปรุงแต่ง ก็จะอยู่ภายใต้ กฏของ อวิชชา จึงไม่พ้นจากลูป เพราะเนื่องจากเรายังไม่เป็นพระอริยะบุคคลตั้งแต่พระโสดาบัน การปรุงแต่งทางจิต ย่อมมีมากตามประสาปุถุชน
   
   ดังนั้นการภาวนาพุทโธ ด้วยสติแบบที่ หนึ่ง พึ่งใช้ โยนิโสมนสิการ คือกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย ด้วยพระพุทธคุณ ใด พระพุทธคุณ หนึ่ง เสียก่อน ก่อนที่จะ ระลึกไปทั้งหมด ต้องเป็นไปตามลำดับดับ นะจ๊ะ

   การเจริญสติ พระพุทธานุสสติ แบบที่ 2 แบบเป็นสมาธิ ผู้ภาวนาพึงยกตั้ง ฐานจิตใด จิตหนึ่ง และ ภาวนาบริกรรมนิมิต ในฐานนั้น ด้วยพระพุทธคุณใด พระพุทธคุณหนึ่ง สำหรับกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับจะใช้ อยู่ 2  พระพุทธคุณ เบื้องต้นให้ใช้ พุทโธ เบื้องกลางให้ใช้ สัมมาอรหัง และ เบื้องปลายที่สุดให้ใช้ อรหัง

   ดังนั้น ขอให้ท่านทั้งหลายพิจารณา การระลึกถึงพระพุทธคุณ ไว้เนือง ๆ เพราะเป็นกรรมฐานที่ดีที่สุด ในกองกรรมฐาน ทั้งปวง เพราะพระพุทธคุณเมื่อเราภาวนาจนถึงที่สุด ก็จักถึงการบรรลุคุณธรรมเบื้องต่ำที่ พระโสดาบัน นะจ๊ะ

"ทำไม  กรรมฐาน มัชฌิมา ต้องเริ่มที่ พุทธานุสสติ ทำไมไม่เริ่มที่ เมตตานุสติ หรือ  อนุสสติ  อื่น ๆ แต่กลับไปเรียน อนุสสติ 7 หลัง อานาปานสติ "

เพราะพระพุทธานุสสติ นั้นเป็นกรรมฐานที่เข้าถึง พระพุทธเจ้า ได้ง่ายที่สุด การที่เราจะเรียนธรรมในพระพุทธศาสนาได้นั้น ต้องประกาศตนเองก่อนว่าเป็นผู้นับถือพระรัตนตรัย ด้วยการกล่าวคำว่า




    พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ข้าพเจ้า ถือเอาพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง ที่ระลึก

  เป็นต้น ดังนั้นกรรมฐานที่สนับสนุนให้เรา ละวิจิกิจฉา สังโยชน์ได้เร็วยิ่งขึ้นก็คือ พระพุทธานุุสสติกรรมฐาน

   ที่นี้คำถาม ๆ ว่า ทำไมไม่เริ่มที่เมตตากรรมฐาน ก็ขอตอบว่า เมตตากรรมฐานนั้นเป็นอุปนิสัยของ มนุษย์ชาวธรรมที่ปฏิบัติภาวนาอยู่แล้ว จึงไม่ต้องไปกล่าวส่วนนั้น เพราะเมื่อปฏิบัติ พระพุทธานุสสติกรรมฐานอยู่นั้น กรรมฐานที่ต้องแล่นคู่กันไปมีหลายกรรมฐาน นะจ๊ะ เพียงแต่รูปแบบกรรมฐานหลักยังต้องเป็น พระพุทธานุสสติกรรมฐาน

   ส่วนอนุสสติ 7 ที่เหลือนั้นต้องอาศัยกำลังสมาธิขั้น อุปจาระ ขึ้นไปถึงจะปฏิบัติได้ เช่น อุปสมานุุสสติ นั้นปรากฏชัดแจ้งที่ พรอริยะบุคคลขั้น พระสกทาคามี ซึ่งเป็นผู้ปฏบัติตรงต่อพระนิพพาน เป็นต้น

   ดังนั้นลำดับการเรียนกรรมฐาน ในพระพุทธานุสสติกรรมฐาน ในแนวทาง กรรมฐาน มัชฌิมา  แบบลำดับจึงปรากฏ ลำดับดังนี้

   1.พระธรรมปีิติ พระลักษณะ พระรัศมี
   2.พระยุคลธรรม 6 พระลักษณะ พระรัศมี
   3.พระสุขสมาธิ พระสุขสมาธิ สนับสนุน อานาปานสติ

  จากนั้นจึงขึ้นเรียนเอา พระอานาปานสติ ตั้ง อุคคหนิมิต ปฏิภาคนิมิต อีก  เพื่อยังอัปปนาสมาธิ อันประกอบด้วยปัญญา คือ สติปัฏฐาน
   
  อันที่จริง ถ้าเอาแค่ห้องที่ 4 คือพระอานาปานสติจริง ๆ ก็จบหลักสูตรทางพระพุทธศาสนาแล้ว เพราะอานาปานสติ เป็น สติปัฏฐาน ด้วยขึ้นอยู่ ครูผู้สอนจะสอน อานาปานสติ ถึงตรงไหน ? อันนี้ขึ้นอยู่กับครู และ ความมุ่งมั่นของศิษย์ เพราะบางท่านไม่ได้เรียน ฝึกเอามรรค เอาผล เพียงฝึกต้องการฤทธิ์ ซะก็มี บางท่านก็ฝึก เพื่อสุขภาพ กาย และจิต เป็นต้น

กรรมฐานในทุกกองกรรมฐาน กรรมฐานที่มีอานุภาพมากที่สุด แม้เพียงบริกรรม ก็มีบารมีแล้วก็คือ พระพุทธานนุสสติกรรมฐาน   เพราะเป็นกรรมฐานที่เป็นใหญ่ ในกรรมฐานทั้งปวง จักเจริญมาก หรือ เจริญน้อย ก็ต้องเจริญทุกคนที่นับถือพระพุทธศาสนา เพราะพระพุทธานุสสติ เป็น ธรรมสภาวะ ที่ควรเข้าถึงก่อนเป็นอันดับแรก

หากท่านทั้งหลายไม่เคารพพระพุทธเจ้า ไม่เชื่อคำสั่งสอน หรือพระธรรมอันพระสุคตแสดงไว้แล้ว จักพอกพูน ธรรมสภาวะไม่ได้ เพราะพุทธบารมี ยังมีถึงในปัจจุบัน  การเข้าถึงพระพุทธานุสสติ มีตั้งแต่การกราบ การไหว้ การนับถือ การบริกรรม การเข้าถึงธรรมสภาวะ

ดังนั้นพระพุทธานุสสติ จัดเป็นอารักขกรรมฐาน อันพระอริยะบุคคลตั้งแต่พระโสดาบัน พึงเข้าถึงได้ การจะเข้าถึง พระพุทธานุสสติ ก็ต้องด้วยการปฏิบัติบูชา ด้วยนะจ๊ะ  ดำเนินจิตด้วยอานาปานสติ โดยปราศจากความเคารพ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ โอกาสสำเร็จเป็นไปไ้ด้ยาก นะจ๊ะ ดังนั้นควรกระทำ พระพุทธานุสสติให้มั่นคง ไปด้วยจักดีกว่าเจริญ อานาปานสติโดยส่วนเดียว



พระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม(มหามกุฏ)
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔
อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
๑๐. มหานามสูตร

             [๒๘๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิโครธารามใกล้กรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ครั้งนั้นแล เจ้าศากยะ พระนามว่ามหานามะได้เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วน
ข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อริยสาวกผู้ได้บรรลุผล  ทราบชัดพระศาสนาแล้วย่อมอยู่ด้วยวิหารธรรมชนิดไหนเป็นส่วนมาก พระเจ้าข้า

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรมหานามะ อริยสาวกผู้ได้บรรลุผลทราบชัดพระศาสนาแล้ว ย่อมอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้เป็นส่วนมาก คือ อริยสาวกในพระศาสนานี้ ย่อมระลึกถึงพระตถาคตเนืองๆ ว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น

เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ
ทรงถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว
ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า
เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
เป็นผู้เบิกบานแล้ว
เป็นผู้จำแนกธรรม

ดูกรมหานามะ สมัยใด อริยสาวกย่อมระลึกถึงพระตถาคตเนืองๆสมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้น ย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุมไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม ย่อมเป็นจิตดำเนินไปตรงทีเดียว ก็อริยสาวกผู้มีจิตดำเนินไปตรงเพราะปรารภพระตถาคต ย่อมได้ความทราบซึ้งอรรถ ย่อมได้ความทราบซึ้งธรรมย่อมได้ความปราโมทย์อันประกอบด้วยธรรม เมื่อปราโมทย์แล้ว ย่อมเกิดปีติเมื่อมีใจประกอบด้วยปีติ กายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบแล้วย่อมเสวยสุข เมื่อมีสุขจิตย่อมตั้งมั่น

ดูกรมหานามะ นี้อาตมภาพกล่าวว่า อริยสาวกเป็นผู้ถึงความสงบเรียบร้อยอยู่ ในเมื่อหมู่สัตว์ยังไม่สงบเรียบร้อย เป็นผู้ไม่มีความพยาบาทอยู่ ในเมื่อหมู่สัตว์ยังมีความพยาบาท เป็นผู้ถึงพร้อมกระแสธรรม ย่อมเจริญพุทธานุสสติ ฯ

ที่มา  http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_line.php?B=22&A=6756
             
---------------------------------------

อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ปฐมปัณณาสก์ อาหุเนยยวรรคที่ ๑

(ขอยกเอาบางส่วนของอรรถกถามาแสดงดังนี้)
 
ในบททั้งปวง พึงทราบความโดยนัยนี้.
               เจ้าศากยมหานามะทูลถามถึงวิหารธรรม เป็นที่อาศัยของพระโสดาบัน ด้วยประการดังพรรณานามาฉะนี้. แม้พระบรมศาสดาก็ตรัสวิหารธรรมเป็นที่อาศัย ของพระโสดาบันนั่นแหละ แก่ท้าวเธอด้วยประการฉะนี้.
               ในพระสูตรนี้ จึงเป็นอันตรัสถึงพระโสดาบันอย่างเดียวเท่านั้น ฉะนี้แล.

               จบอรรถกถามหานามสูตรที่ ๑๐               

ที่มา  http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=281
---------------------------------------

พุทธานุสสติกรรมฐาน จากคัมภีร์วิสุทธิมรรค เล่ม ๒ สมาธินิเทศ

(ต่อไปนี้เป็นข้อความช่วงต้นบางส่วน)
สิริเป็นอนุสสติ ๑๐ ประการด้วยกัน แต่จักสำแดงพิสดารในพุทธานุสสติกรรมฐานนั้นก่อน   
พุทฺธานุสฺสติ ภาเวตุกาเมน   พระโยคาพจรผู้มีศรัทธาปรารถนาจะจำเริญพระกรรมฐานนี้พึงกระทำจิตให้ประกอบ ด้วยความเลื่อมใส ไม่หวั่นไหวในพระพุทธคุณเสพเสนาสนะที่สงัดสมควรแล้ว
พึงนั่งบัลลังก์สมาธิตั้งกายให้ตรงแล้ว
พึงรำลึกตรึกถึงพระคุณแห่งสมเด็จพระสรรเพชญ์พุทธองค์ด้วยบทว่า

อิติปิโส ภควา ฯลฯ พุทฺโธ ภควาติ   

มิฉะนั้นจะระลึกว่า
โส ภควา อิติปิ อรหํ โส ภควา
อิติปิ สมฺมาสมฺพุทฺโธ โส ภควา
อิติปิ วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน โส ภควา
อิติปิ สุคโต โส ภควา
อิติปิ โลกวิทู โส ภควา
อิติปิ อนุตฺตโร โส ภควา
อิติปิ ปุริสทมฺมสารถิ โส ภควา
อิติปิ สตฺถาเทวมนฺสฺสานํ โส ภควา
อิติปิ พุทฺโธ ภควา อิติปิ ภควา   ดังนี้ก็ได้

มิฉะนั้นจะระลึกแค่บทใดบทหนึ่ง เป็นต้นว่า อรหัง นั้นก็ได้

อรรถาธิบายในบทอรหังนั้นว่า   โส ภควา   อันว่าสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น   
อรหํ   ทรงพระนามชื่อว่าอรหัง ด้วยอรรถว่าพระองค์ไกลจากข้าศึกคือกิเลส นัยหนึ่งว่าพระองค์หักเสียซึ่งกำกงแห่งสังสารจักรจึงทรงพระนามชื่อว่า   อรหัง   

นัยหนึ่งว่าพระองค์ควรจะรับซึ่งจตุปัจจัยทั้ง ๔ มีจีวรเป็นอาทิแลสักการบูชาวิเศษแห่งสัตว์โลก จึงทรงพระนามชื่อว่าอรหัง

นัยหนึ่งว่าพระองค์มิได้กระทำบาปในที่ลับจึงทรงพระนามชื่อว่าอรหัง แท้จริงสมเด็จพระสรรเพชญ์พุทธองค์นั้นสถิตอยู่ในที่อันไกลเสียยิ่งนักจาก กิเลสธรรมทั้งปวง

นัยหนึ่ง พุทโธ ศัพท์นี้รวมไว้ซึ่งอรรถถึง ๑๕ ประการ คือ   
พุทฺโธ   แปลว่าตรัสรู้ซึ่งพระจตุราริยสัจ ๔ ประการ ๑   
พุทฺโธ   แปลว่ายังสัตว์โลกอันมีบารมีสมควรจะตรัสรู้ให้ให้ตรัสรู้พระอริยสัจจธรรมประการ ๑
พุทฺโธ   แปลว่ามีพระบวรพุทธสันดานทรงพระคุณคือสัพพัญญุตญาณ อันสามารถตรัสรู้ไปในไญยธรรมทั้งปวงประการ ๑   
พุทฺโธ   แปลว่ามีพระบวรพุทธสันดานทรงพระคุณคือพระอรหัตตมัคคญาณ อันหักรานกองกิเลสเป็นสมุจเฉทปหานหาเศษมิได้ประการ ๑   
พุทฺโธ   แปลว่าตรัสรู้พระจตุราริยสัจด้วยพระองค์เอง หาผู้จะบอกกล่าวมิได้ประการ ๑   
พุทฺโธ   แปลว่าเบิกบานด้วยพระอรหัตตมัคคญาณเปรียบประดุจดอกประทุมชาติ อันบานใหม่ด้วยแสงพระสุริยเทพบุตร เหตุได้พระอรหัตต์แล้ว พระวิเศษญาณทั้งปวงมีอนาคามิมัคคญาณเป็นต้นเกิด พร้อมด้วยพระอรหัตตมัคคญาณนั้นประการ ๑
พุทฺโธ   แปลว่าสิ้นจากอาสวะทั้ง ๔ มีกามาสวะเป็นต้น มีอวิชชาสวะเป็นที่สุดประการ ๑
พุทฺโธ   แปลว่ามีพระบวรพุทธสันดานปราศจากกิเลส ๑๕๑๑ ประการ
พุทฺโธ   แปลว่ามีพระบวรพุทธสันดานทรงพระคุณ คือปราศจากราคะประการ ๑   
พุทฺโธ   แปลว่ามีพระบวรสันดานปราศจากโทสะประการ ๑   
พุทฺโธ   แปลว่าพระบวรสันดานปราศจากโมหะประการ ๑   
พุทฺโธ   แปลว่าตื่นจากหลับคือกิเลส เปรียบประดุจบุรุษตื่นขึ้นจากหลับประการ ๑   
พุทฺโธ   แปลว่าเสด็จไปสู่พระนิพพาน โดยทางมัชฌิมปฏิบัติประการ ๑
พุทฺโธ   แปลว่าตรัสรู้ด้วยพระปรมาภิเษกสัมโพธิญาณแห่งพระองค์เอง หาผู้จะรู้บ่มิได้ประการ ๑
พุทฺโธ   แปลว่าพระองค์มีพระบวรพุทธสันดานได้ซึ่งพุทธิ คือพระอรหัตตมัคคญาณ เหตุประหารเสียซึ่งอพุทธิคืออวิชชาประการ ๑ เป็นนัย ๑๕ ประการดังนี้



ตั้งแต่พระอรหังตลอดจนภควา เมื่อพระโยคาพจรระลึกถึงพระคุณแห่งสมเด็จพระสรรเพชญ์พุทธเจ้าโดยนิยมดัง กล่าวมานี้แล้ว   ราคะ  โทสะ โมหะ     ก็มิได้ครอบงำน้ำจิตแห่งพระโยคาพจร ฯ ก็ซื่อตรงเป็นอันดี นิวรณธรรมทั้ง ๕ มีกามฉันทนิวรณ์เป็นต้นก็สงบลง เมื่อจิตสงบลงตรงพระกรรมฐานแล้ววิตกวิจารอันน้อมไปในพระพุทธคุณก็จะบังเกิด

เมื่อวิตกวิจารบังเกิดแล้วปีติทั้ง ๕ ประการ คือ  ขุททกาปีติ  ขณิกาปีติ  โอกกันติกาปีติ  อุพเพงคาปิติ  ผรณาปีติ  ก็จะบังเกิดในสันดาน

เมื่อปีติบังเกิดเเล้ว กายปัสสัทธิ   จิตตปัสสัทธิ   อันเป็นพนักงานรำงับกายรำงับจิตก็จะบังเกิด

เมื่อพระปัสสัทธิทั้ง ๒ บังเกิดแล้ว ก็เป็นเหตุจะให้สุข ๒ ประการ คือสุขในกาย   สุขในจิต นั้นบังเกิด เมื่อสุขบังเกิดแล้วน้ำจิตแห่งพระโยคาพจรก็จะตั้งมั่นด้วยอุปจารสมาธิ
 
อันจำเริญพุทธานุสสตินี้กำหนดให้สำเร็จคุณธรรมแต่เพียงอุปจารฌาน บ่มิอาจให้ถึงซึ่งอัปปนาอาศัยว่าน้ำจิตแห่งพระโยคาพจร ที่จะลึกซึ่งพระพุทธคุณนั้น ระลึกด้วยนัยต่าง ๆ มิใช่แต่ในหนึ่งนัยเดียว

อันพระพุทธคุณนี้ลึกล้ำคัมภีรภาพยิ่งนัก หยั่งปัญญาในพระพุทธคุณนั้น ไม่มีที่สุดไม่มีที่หยุดยั้งไม่มีที่ตั้ง เหตุฉะนี้พระโยคาพจรผู้จำเริญพุทธานุสสติ จึงคงได้แก่เพียงอุปจารฌาน

แลท่านผู้จำเริญพุทธานุสสตินี้ จะมีสันดานกอปรด้วยรักใคร่ในสมเด็จพระสรรเพชญ์พุทธองค์จะถึงซึ่งไพบูลย์ไป ด้วยคุณธรรม คือ  ศรัทธา  สติ  ปัญญา   แลบุญสันดานนั้นจะมากไปด้วยปรีดาปราโมทย์ อาจอดกลั้นได้ซึ่งทุกข์แลภัยอันจะมาถึงจิตนั้น จักสำคัญว่าได้อยู่ร่วมด้วยสมเด็จพระผู้มีพระภาค
 
ร่างกายแห่งบุคคลผู้มีพระพุทธานุสสติกรรมฐานซับซาบอยู่นั้น สมควรที่จะเป็นที่สักการแห่งหมู่เทพยดาแลมนุษย์ เปรียบประดุจเรือนเจดีย์ น้ำจิตแห่งบุคคลผู้นั้นจะน้อมไปในพุทธภูมิจะกอปรด้วยหิริโอตัปปะ มิได้ประพฤติล่วงซึ่งวัตถุอันพระพุทธองค์บัญญัติห้ามไว้ จะมีความกลัวแก่บาปละอายแก่บาป ดุจดังว่าเห็นสมควรพระพุทธองค์อยู่เฉพาะหน้าแห่งตน

แม้ว่าวาสนายังอ่อนมิอาจสำเร็จฌานสมาบัติมรรคผล ก็มีสุคติภพเป็นเบื้องหน้าเหตุดังนั้นนักปราชญ์ผู้มีปัญญาอย่าพึงประมาท ในพุทธานุสสติกรรมฐานอันมีคุณานิสงส์เป็นอันมาก โดยนัยกล่าวมานี้ ฯ


พุทธคุณ ๙ (คุณของพระพุทธเจ้า)

อิติปิ โส ภควา (แม้เพราะอย่างนี้ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น)

๑. อรหํ (เป็นพระอรหันต์ คือ เป็นผู้บริสุทธิ์ ไกลจากกิเลส ทำลายกำแห่งสังสารจักรได้แล้ว เป็นผู้ควรแนะนำสั่งสอนผู้อื่น ควรได้รับความเคารพบูชา เป็นต้น)

๒. สมฺมาสมฺพุทฺโธ (เป็นผู้ตรัสรู้ชอบเอง)

๓. วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน (เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชา คือความรู้ และจรณะ คือความประพฤติ)

๔. สุคโต (เป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว คือ ทรงดำเนินพระพุทธจริยาให้เป็นไปโดยสำเร็จผลด้วยดี พระองค์เองก็ได้ตรัสรู้สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า ทรงบำเพ็ญพุทธกิจก็สำเร็จประโยชน์ยิ่งใหญ่แก่ชนทั้งหลายในที่ที่เสด็จไป และแม้ปรินิพพานแล้ว ก็ได้ประดิษฐานพระศาสนาไว้เป็นประโยชน์แก่มหาชนสืบมา)
 
๕. โลกวิทู (เป็นผู้รู้แจ้งโลก คือ ทรงรู้แจ้งสภาวะอันเป็นคติธรรมดาแห่งโลกคือสังขารทั้งหลาย ทรงหยั่งทราบอัธยาศัยสันดานแห่งสัตวโลกทั้งปวง ผู้เป็นไปตามอำนาจแห่งคติธรรมดาโดยท่องแท้ เป็นเหตุให้ทรงดำเนินพระองค์เป็นอิสระ พ้นจากอำนาจครอบงำแห่งคติธรรมดานั้น และทรงเป็นที่พึ่งแห่งสัตว์ทั้งหลายผู้ยังมาอยู่ในกระแสโลกได้)

๖. อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ (เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ฝึกได้ ไม่มีใครยิ่งไปกว่า คือ ทรงเป็นผู้ฝึกคนได้ดีเยี่ยม ไม่มีผู้ใดเทียมเท่า)
 
๗. สตฺถา เทวมนุสฺสานํ (เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย)
 
๘. พุทฺโธ (เป็นผู้ตื่นและเบิกบานแล้ว คือ ทรงตื่นจากความเชื่อถือและข้อปฏิบัติทั้งหลายที่ถือกันมาผิดๆ ด้วย ทรงปลุกผู้อื่นให้พ้นจากความหลงงมงายด้วย อนึ่ง เพราะไม่ติด ไม่หลง ไม่ห่วงกังวลในสิ่งใดๆ มีการคำนึงประโยชน์ส่วนตน เป็นต้น จึงมีพระทัยเบิกบาน บำเพ็ญพุทธกิจได้ถูกต้องบริบูรณ์ ด้วยถือธรรมเป็นประมาณ การที่ทรงพระคุณสมบูรณ์เช่นนี้ และทรงบำเพ็ญพุทธกิจได้เรียบร้อยบริบูรณ์เช่นนี้ ย่อมอาศัยเหตุคือความเป็นผู้ตื่นและย่อมให้เกิดผลคือทำให้ทรงเบิกบานด้วย)
 
๙. ภควา (ทรงเป็นผู้มีโชค คือ จะทรงทำการใด ก็ลุล่วงปลอดภัยทุกประการ หรือ เป็นผู้จำแนกแจกธรรม)

พุทธคุณ ๙ นี้ เรียกอีกอย่างว่า นวารหาทิคุณ (คุณของพระพุทธเจ้า ๙ ประการ มีอรหํ เป็นต้น) บางทีเลือนมาเป็น นวรหคุณ หรือ นวารหคุณ แปลว่า คุณของพระพุทธเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ ๙ ประการ

M.I.37; A.III.285.     ม.มู.๑๒/๙๕/๖๗; องฺ.ฉกฺก.๒๒/๒๘๑/๓๑๗.
ที่มา  พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม (ป.อ.ปยุตโต)
บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7263
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
รวมหัวข้อ ศึกษา ธรรม เข้าพรรษา วันที่ 21 ( 9 ส.ค. 59 )
« ตอบกลับ #20 เมื่อ: สิงหาคม 09, 2016, 10:47:13 am »
0


สิ่งที่คนและ มนุษย์ ชอบหวัง ก็คือ ความสุข สบาย ไม่อัตคัต ขัดสน และเมื่อคนเหล่านั้น จะสร้างกุศล ก็คิดถึงผลอันไพบูลย์เหล่านั้น ที่มีผลแบบฉับพลัน ทันที ทันใจ

สิ่งที่หลายคน ลืม ก็คือ รากฐาน ที่ถูกสร้างมานั้น ก็คือความปรารถนา ทีซ่อนลึก ที่ปิดบังความจริง ว่าขณะที่ ไม่ประสบกับสิ่งที่ปรารถนาอยู่นั้น มันคืออะไร ?

   หลายคนใช้ ศรัทธา ในทางที่ผิด
    เพราะเชื่อว่า ศรัทธา แบบ อัตลักษณ์ตามใจปรารถนา  พระพุทธเจ้า ต่างจาก ศาสดา อื่น ๆ ก็ตรงนี้ เพราะพระองค์ไม่สอนให้ใช้ ศรัทธา ที่ไม่มีเหตุ ผล แต่ พระองค์สอนศรัทธา ในความเป็นจริง เน้นว่า ความเป็นจริง ของความทุกข์ ธรรมที่พระองค์ทรงเปิดเผยครั้งแรก ก็คือ อริยสัจจ์ 4 นั่นคือ

     มองให้เห็นความทุกข์ ว่า ทุกข์เป็นอย่างนี้ การเห็นความทุกข์ ก็คือ เข็ดหลาบ หวาดกลัว ต่อความทุกข์ และการเร้นหนึออกจากความทุกข์  การเข้าถึงมองเห็นและกำหนดทุกข์ได้ เรีกยว่า การู้แจ้ง ทุกขสัจจ์

    มองให้เห็นตามความเป็นจริง ว่า ทุกข์ มีสาเหตุมาจากอะไร ต้นตอ รากเหง้า ของทุกข์ เกิดอย่างไร เมืื่อเห็นแล้ว ก็รู้จักละ รู้จักวาง รู้จัก รู้จัก พ้น  รู้จักสลัด แต่ถ้าไม่รู้สาเหตุ พยายามอย่างไร ก็ไม่มีทางแก้ไขได้ ดังนั้น สมุทัยสัจจ์ นั้นมีความสำคัญต่อการละกิเลส ต่อ มรรค ต่อ นิโรธ เป็นอย่างยิ่ง จะกล่าวให้ชัดก็คือ สติ ตัวระลึก สัมปชัญญะ  เป้นตัวรู้ ถ้าสองขั้นตอนนี้ทำงาน ความเป็นจริง ก็จะเห็นอย่างชัดเจน แต่ถ้า สองตัวนี้ไม่ทำงาน ความเป็นจริงก็จะถูกปกปิดไว้ไม่ให้ รู้ ไม่ให้เห็น

    นิโรธ ความสงบระงับ เป้าหมายที่ เมือ่รู้จักทุกข์ กำหนดทุกข์ ได้ ก็จะสามารถกำหนดเป้าหมายปลายทางที่เรียกว่า ความสิ้นทุกข์ ความพ้นจากทุกข์ ความไม่กลับมาทุกข์ อีกต่อไป ทั้งหมดรวม ๆ ก็เรียกว่า นิพพาน ซึ่งผู้ภาวนาทุกท่าน ล้วนทราบความหมายดีว่า ถ้า ถึง นิพพาน เมื่อไหร่ ก็จะพ้นจากสังสารวัฏ นี่เป็นประเด็นใหญ่ ที่หลายคนที่เรียนธรรมกันมา มักจะหลงลืม ไปกำหนดเพียงแต่ สุข ระยะใกล้ ซึ่งไม่เที่ยงแท้ และก็ต้องเวียนกลับไปหาความทุกข์ อีกเช่นเดิม เพราะเขาเหล่านั้น ไม่กำหนด นิพพาน เป็นเป้าหมาย ไปกำหนดความพ้นโรค พ้นภัย ความสุขสบาย แบบเทวดา เป็นหลักกัน

    มรรค พระธรรม ขั้นสุดท้าย คือหนทาง สละ ละ วาง ไปสู่ นิพพาน ผู้มีความเพียร แม้จะรู้เป้าหมายแล้ว แต่ส่ิงที่กระทำได้ยากที่สุดในองค์ อริยสัจจ์ทั้งสี่ ก็คือ มรรค หรือ การดำเนินตามมรรค เพราะการเดินตามมรรค นั้นย่อมมีอุปสรรค วิบากกรรมที่ตนเองสร้างไว้ รออยู่ด้วย ดังนั้นการเจริญรอยตามมรรค นั้น จึงมีผู้ผ่านได้น้อย แม้พระพุทธเจ้า ผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ ก็ไม่ขนสรรพสัตว์ไปได้ ในมรรค นั้น เพราะ มรรค ต้องไปด้วยกำลังตน ไม่สามารถทำให้กัน และ กันได้  เปรียบเหมือนคนที่ลอยคอ ในมหาสมุทร เห็นลอยคอด้วยกัน จะช่วยกันก็ไม่ใช่เรือ่งง่าย เพราะถ้าจะรอดก็ต้องใช้กำลังตน ประคองตนเอง ไปให้ถึงฟากฝั่ง

      ดังนั้น ผู้มี สติ และ สัมปชัญญะ ย่อม ประสบชัย อย่างน้อย 20 เปอร์เซ้นต์ ในมรรค  ที่เหลือ 80 เปอร์เซ้นต์ ก็คื ความเพียร และ บุญบารมี ที่สั่งสมมาเป็นทุนสู่การบรรลุธรรม นั่นเอง

    ขอท่านทั้งหลาย จงประคอง สติ ไปใน พุทโธ บ้าง ในกาย บ้าง ในลมหายใจ บ้าง ให้ทำสลับกันไปในวัน อย่าได้ขาดการประคองสติ กันเลย หายใจเข้า เป็น พุทโธ บ้างก็ดี หายใจออก เป็น พุทโธ ด้วยก็ยิ่งมีค่า ทั้งหายใจเข้า และหายใจออก นึกถึง พุทโธ พุทโธ พุทโธ ไว้อย่างสม่ำเสมอ ก็จะทำให้ ชีวิตของท่าน ถึงแก่นเป้าหมายปลายทาง ได้อย่างเร็วพลัน ตามกำลังและ บารมี

   เจริญธรรม /เจริญพร


   

   คำบัณฑิต

     ถ้าหลงทาง ใน กทม ให้ไปเริ่มต้น ที่ สนามหลวง
     ถ้าหลงทาง ใน ชีวิต ให้ไปเริ่มต้น ที่ พุทโธ

     
   
     

 
 
   
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7263
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
รวมหัวข้อ ศึกษา ธรรม เข้าพรรษา วันที่ 22 ( 10 ส.ค. 59 )
« ตอบกลับ #21 เมื่อ: สิงหาคม 10, 2016, 12:27:36 pm »
0


พะหุง เว สะระณัง ยันติ ปัพพะตานิ วะนานิ จะ,
อารามะรุกขะเจต๎ยานิ มะนุสสา ภะยะตัชชิตา
มนุษย์เป็นอันมาก, เมื่อเกิดมีภัยคุกคามแล้ว ก็ถือเอาภูเขาบ้าง,
ป่าไม้บ้าง, อารามและรุกขเจดีย์บ้างเป็นสรณะ

เนตัง โข สะระณัง เขมัง, เนตัง สะระณะมุตตะมัง,
เนตัง สะระณะมาคัมมะ สัพพะ ทุกขา ปะมุจจะติ
นั่น มิใช่สรณะอันเกษมเลย, นั่นมิใช่สรณะอันสูงสุด,
เขาอาศัยสรณะนั่นแล้ว, ย่อมไม่พ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้

โย จะ พุทธัญจะ ธัมมัญจะ สังฆัญจะ สะระณัง คะโต,
จัตตาริ อะริยะสัจจานิ สัมมัปปัญญายะ ปัสสะติ
ส่วนผู้ใดถือเอาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะแล้ว,
เห็นอริยสัจคือความจริงอันประเสริฐสี่ด้วยปัญญาอันชอบ

ทุกขัง ทุกขะสะมุปปาทัง ทุกขัสสะ จะ อะติกกะมัง,
อะริยัญจัฏฐังคิกัง มัคคัง ทุกขูปะสะมะคามินัง
คือเห็นความทุกข,์ เหตุให้เกิดทุกข์, ความก้าวล่วงพ้นทุกข์เสียได้,
และหนทางมีองค์แปดอันประเสริฐเครื่องถึงความระงับทุกข์

เอตัง โข สะระณัง เขมัง เอตัง สะระณะมุตตะมัง,
เอตัง สะระณะมาคัมมะ สัพพะทุกขา ปะมุจจะติ
นั่นแหละเป็นสรณะอันเกษม, นั่นเป็นสรณะอันสูงสุด,
เขาอาศัยสรณะนั่นแล้ว, ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้



ดาวน์โหลเสียงธรรม ไปแทนวันนี้ ร่างกายอ่อนเพลีย พิมพ์ไม่ไหว ยกประโยชน์ให้คนชอบฟัง

http://cloudbox.3bb.co.th/share3/MTYxMzJ8Y2M0Mjg4YWI0YzVjYjZhM2IzNjY1ZjM5YzFmNWRiMzR8MzAyNTU=
 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 10, 2016, 07:34:44 pm โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7263
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
รวมหัวข้อ ศึกษา ธรรม เข้าพรรษา วันที่ 23 ( 11 ส.ค. 59 )
« ตอบกลับ #22 เมื่อ: สิงหาคม 10, 2016, 07:33:53 pm »
0


วันนี้เป็นวันธรรมสวนะ
 ( เป็นวันแห่งการฟังธรรม )



อภิณหปัจจเวกขณ์
ข้อที่พึงพิจารณาเนืองๆ ๕ ประการ

ชราธัมโมมหิ  ชะรัง อะนะติโต   
     เรามีความแก่เป็นธรรมดา  จะล่วงพ้นความแก่ไปไม่ได้

พะยาธิธัมโมมหิ  พะยาธิง  อะนะตีโต   
      เรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา  จะล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปไม่ได้

มะระณะธัมโมมหิ  มะระณัง  อะนะตีโต   
       เรามีความตายเป็นธรรมดา  จะล่วงพ้นความตายไปไม่ได้

สัพเพหิ  เม  ปิเยหิ  มะนาเปหิ  นานาภาโว  วินาภาโว   
       เราจักพลัดพรากจากของที่รัก ของชอบใจทั้งหลาย

กัมมัสสะโกมหิ  กัมมะทายาโท     
     เรามีกรรมเป็นของๆตน  เราจักเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น

กัมมะโยนิ   กัมมะพันธุ
    เรามีกรรมเป็นแดนเกิด  เรามีกรรมเป็นเผ่าพันธ์

กัมมะปะฏิสะระโน   ยัง กัมมัง กะริสสามิ   
    เรามีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย  เราทำกรรมอันใดไว้

กัลยาณัง วา ปาปะกัง วา     
    เป็นกรรมดีก็ตาม  เป็นกรรมชั่วก็ตาม

ตัสสะ  ทายาโท  ภะวิสสามิ   
    เราจักต้องเป็นผู้รับผลแห่งกรรมนั้น

เอวัง  อัมเหหิ  อะภิณหัง  ปัจจะเวกขิตัพพัง   
    เราทั้งหลายพึงพิจารณาเนืองๆอย่างนี้แล.

   
   ทำความดีแล้ว ก็ดี เมื่อทำดี แสดงว่าคิดดี การทำความดี ย่อมพูดดีด้วย
    ผู้มีคุณสมบัติ ในอริยมรรค ก็ย่อม เป็น ผู้คิดดี ทำดี พูดดี เพียรดี และ ตั้งมั่นในคุณธรรมได้ดี


ดาวน์โหลดเสียงธรรม วันธรรมสวนะ เชิญ

http://cloudbox.3bb.co.th/share3/MTYxMzN8OWRiNGY2OTVhZDQzM2I2YTBiNGE1ZDUxOTc3NzA3OTd8MzAyNTU=

เนื้อหาในบทเทศน์

   กิจโฉ  มนุสสปฏิลาโภ  ติ
  การได้เกิดมาเป็นมนุษย์ เป็นลาภอย่างยิ่ง

     กิจฺโฉ มนุสฺสปฏิลาโภ กิจฺฉํ มจฺจาน ชีวิตํ กิจฺฉํ สทฺธมฺมสฺสวนํ กิจฺโฉ พุทฺธานมุปฺปาโท.

     ความได้อัตภาพเป็นมนุษย์ เป็นการยาก, ชีวิต ของสัตว์ทั้งหลาย เป็นอยู่ยาก, การฟังพระสัทธรรม เป็นของยาก การอุบัติขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เป็นการยาก."

     นี้เป็นข้อความในพระไตรปิฎก ส่วนในอรรถกถาได้แก้อรรถไว้ว่า
   ที่มาของพระพุทธภาษิต เรื่องนาคราชชื่อเอรกปัตตะ อ่านเพิ่มเติมที่นี่
   http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=24&p=3


   จักร ๔   อย่าง   คือ
   ๑.   ปฏิรูปเทสวาสะ  การได้อยู่ในประเทศที่สมควร
   คำว่า ประเทศที่สมควร นั้นได้แก่  สถานที่ หรือถิ่นที่มีคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
แผ่ไปถึง  หรือเป็นที่อยู่  หรือเป็นที่ผ่านไปมาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  พระปัจเจกพุทธเจ้า 
พระสงฆ์สาวก  หรืออุบาสก  อุบาสิกา  ผู้นับถือพระรัตนตรัย

        ๒.   สัปปุริสูปัสสยะ  การเข้าไปอาศัยสัตบุรุษ  หรือการคบหาสัตบุรุษ
   อย่าว่าแต่คนที่อยู่ในดินแดนที่ไม่สมควรเลย   ที่จะแสวงหาที่พึ่งอันไม่ถูกทาง   แม้คนที่อยู่ใน
ประเทศที่สมควร  บางครั้งและบางคนก็ยังแสวงหาที่พึ่งไม่ถูกทางเช่นเดียวกัน  ทั้งนี้เพราะเขามิได้เข้าไป
คบหา  สนทนากับสัตบุรุษผู้รู้ทั้งหลาย  เขาจึงไม่มีโอกาสทราบว่า  สิ่งใดควรประพฤติ  สิ่งใดไม่ควรประพฤติ 
สิ่งใดมีโทษ  สิ่งใดไม่มีโทษ  สิ่งใดเป็นประโยชน์  สิ่งใดไม่เป็นประโยชน์

        ๓.  อัตตสัมมาปณิธิ  การตั้งตนไว้ชอบ
    แม้การคบสัตบุรุษจะเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งในการดำเนินชีวิตให้ถูกทาง   แต่ถ้าเป็นแต่
เพียงเข้าไปคบหา  มิได้สนใจที่จะประพฤติตามคำสอนของท่านแล้ว  การคบหานั้นก็ไม่เกิดประโยชน์อันใด 
ในเมื่อเรามิได้ตั้งตนไว้ชอบ  คือมิได้ตั้งอยู่ในธรรมของสัตบุรุษ  คือสุจริตธรรม  ๑๐  ประการ  มีการงดเว้น
จากการฆ่าสัตว์เป็นต้น

        ๔.  ปุพเพ  กตปุญญตา  การได้ทำบุญไว้ในปางก่อน  เป็นจักรข้อที่  ๔  ที่จะสนับสนุนให้
เราดำรงชีวิตอยู่ในทางที่ชอบ  กอปรด้วยประโยชน์

   พระพุทธเจ้าตรัสว่า"บุคคลไม่ควรดูหมิ่นบาปว่ามีประมาณน้อยจะไม่มาถึง  แม้หม้อน้ำย่อม
เต็มด้วยหยาดน้ำที่ตกลงมาทีละหยาดๆฉันใด  คนพาลสั่งสมบาปแม้ทีละน้อยๆ  ย่อมเต็มด้วยบาปฉันนั้น"


    พระพุทธเจ้าตรัสว่า "สงสารนี้กำหนดที่สุดและเบื้องต้นไม่ได้  เมื่อหมู่สัตว์ผู้มีอวิชชากางกั้น 
มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ท่องเที่ยวไปมาอยู่  ที่สุดและเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฎ"

ตัณหาจะดับได้ก็เพราะได้ดำเนินตามทางสายกลางที่เรียกว่า อริยมรรคมีองค์ ๘ อันประกอบ
ด้วย  สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ ๑  สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ ๑  สัมมาวาจา การเจรจาชอบ ๑ 
สัมมากัมมันตะ การทำงานชอบ ๑  สัมมาอาชีวะ การเลี้ยงชีพชอบ ๑  สัมมาวายามะ การเพียร ๑ 
สัมมาสติ การระลึกชอบ ๑  สัมมาสมาธิ การตั้งใจมั่นชอบ ๑ จนบรรลุพระอรหัตต์เป็นพระอรหันต์เท่านั้น

   ความเป็นมนุษย์ของเราจะสมบูรณ์ที่สุดก็เพราะได้เข้าถึง  อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ อันเกษม
จากโยคะ  หมดสิ้นทั้งกิเลสและขันธ์ทั้งปวง  ไม่ต้องเกิดมาพบกับความทุกข์อีก



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 11, 2016, 12:35:04 pm โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7263
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
รวมหัวข้อ ศึกษา ธรรม เข้าพรรษา วันที่ 24 ( 12 ส.ค. 59 )
« ตอบกลับ #23 เมื่อ: สิงหาคม 11, 2016, 12:26:33 pm »
0


เสียงจากรายการ ปรารภวันแม่
ถ้าฟังเทศน์ด้านบนแล้วยังหลับ แสดงว่าสมาธิอ่อน

แต่ถ้าฟังตรงนี้แล้วยังหลับอีก แสดงว่า สมาธิขึ้นพื้นฐานอ่อนมาก ๆ





เชิญดาวน์โหลดเสียงธรรม ไปฟังกัน
http://cloudbox.3bb.co.th/share3/MTYxMzV8ZmU4NDA3MzI4OTFmM2VkNzI5ZWNmN2VlMGMxNGYwODR8MzAyNTU=
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 11, 2016, 12:28:57 pm โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7263
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
รวมหัวข้อ ศึกษา ธรรม เข้าพรรษา วันที่ 24 ( 13 ส.ค. 59 )
« ตอบกลับ #24 เมื่อ: สิงหาคม 12, 2016, 10:45:33 am »
0


 วิธีเรียนธรรม ตั้งแต่ ครั้งพุทธกาล ก็ยังตกทอดถึงปัจจุบัน

 ( อันนี้ไม่มีหลักฐาน แต่ได้ฟังจากครูอาจารย์ เล่าความเกี่ยวเนื่อง ใน กัจจานะสูตร )

 

 สมัยครั้งพุทธกาล ถึงจะมีการบันทึก ก็เป็นการบันทึกเฉพาะข้อความสำคัญ และ ย่อ ๆ เท่านั้นส่วนรายละเอียดก็ยังใช้วาจาเป็นที่บอกกล่าว เล่าต่อ ดังนั้นลักษณะการบันทึก ของ กัจจานะสูตร จึง บันทึกเป็นบท ไม่ใช่ทั้งเนื้อหา สมัยก่อนไม่ได้เรียกว่า กัจจานะสูตร แต่เรียกว่า สังฆะลิขิต บันทึกของสงฆ์ เท่านั้นแต่ด้วยการบันทึกเริ่มต้นไม่มีแน่วทางมาก่อน คือบันทึกสะเปะสะปะ แต่เพราะว่า ได้พระกัจจานะ ซึ่งท่านเป็นผู้มีความสามารถ อันพระศาสดา ทรงยกย่องเป็นเอตทัคคะ ในด้าน ย่นย่อ ขยายความพระธรรม ได้อย่างพิศดาร เช่นเดิียวกับพระพุทธเจ้า ดังนั้น เมื่อท่านถูกมอบหมายให้เป็น ผู้ดูแลการบันทึก ท่านจึงวางแนวทางในการบันทึก ให้เป็นแต่หัวข้อ ส่วนคำบรรยาย ให้ทุกรูปทุกองค์ทำความเข้าใจและ อธิบายในหัวข้อที่ย่อ ดังนั้น หัวที่ย่อจึงเรียกว่า สูตร เมื่อพูดถึงบันทึกโดยกลุ่ม พระกัจจานะ นั้นทุกคนก็จะเข้าใจทันที เลยมีการเรียกข้อบันทึกนั้นว่า กัจจานะสุตร เมื่ถถึงคราสังคายนา เมื่อก้จจานะสุตร ( ซึ่งมีจำนวนมาก ) ถูกนำเข้าสังคายนา ฝ่ายธรรมจึงเรียกว่า บทธรรม ว่าพระสูตรเพราะว่าบทธรรม มีความพิศดาร มากกว่าวินัย และต่างจาก พระอภิธรรม เนื่องด้วยพระอภิธรรม มีความละเอียดในธรรมอย่างยิ่งอยู่แล้ว แต่ไม่เหมาะกับบุคคลกลาง ๆ ดังนั้น พระสูตร นั้นเป็นธรรมที่เหมาะสมแก่บุคคลทั้งเริ่มต้น ท่ามกลาง และ ที่สุด ดังนั้นเวลาศึกษาหลักธรรม ในพระไตรปิฏก กว่าจะไปถึง อภิธรรมปิฏก ก็ต้องศึกษาพระสูตรให้เข้าใจก่อน แต่เนื่องด้วยพระสูตรนั้นมีความละเอียดถึงธรรมขั้นสุดยอดอยู่แล้ว ดังนั้นพอสำเร็จธรรมกันแล้ว ส่วนพระอภิธรรม จึงไม่ใคร่มีใครศึกษาต่อ แต่พระที่บรรลุธรรมเมื่อได้อ่านขอ้ความในอภิธรรม ก็จะทะลุปรุโปร่ง ด้วยอำนาจ ของปฏิสัมภิทา อันบรรลุแล้วนั่นเอง แสดงให้เห็นว่า ธรรมที่เรียกว่า อริยผลนั้น เป็นธรรมมุ่งตรงในเส้นทางเดียวกัน มีความหมายและนัยยะ เหมือนกัน

    ที่นี้คำว่า สูตร นี้มันก็มีความหมายในตัวว่า เป็นตัวช่วยกำกับให้เกิดความสบาย หรือ ง่ายขึ้น ป้องกันข้อผิดพลาด
    ที่นี้จะไม่พูดถึง สูตรอื่น ๆ แต่จะพูดตรง ๆ ไปที่ มูลกรรมฐาน กัจจานะสูตร (กัจจายนะ ) เลย

   เนื่องด้วยสูตร มีมากมายเฉพาะ มูลกรรมฐาน กัจจายนะ นั้น มีทั้งหมด 496 บท ( สูตร )
  แต่สูตร ในมูลกรรมฐาน ทางด้านภาษาไทย นั้นไม่เรียกว่า สูตร แต่เรียกว่า บท เพราะว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลงอีก ดังนั้น 496 สูตร ก็คือ 496 บท ส่วน ในบทนั้นก็มีหัวข้อย่อย เรียกว่า บาท ( คาถา )  แต่ไม่เรียกว่า บาท ( คาถา ) เรียกว่า บทย่อย ซึ่งก็กระจายไปตาม ลำดับขั้นตอนของแม่บท
     เช่น แม่บท ปีติ ก็จะมีบทย่อย ไปตามแม่บท ไปเรื่อย ลองกลับไปอ่านส่วนนี้ดู

  รวมข้อความสั้น จาก หนังสือ วิโมกข์วิภังค์ ( ปโมกขันติ / มูลกรรมฐาน กัจจายนะ )
  http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=21234.0
   
  ดังนั้นเวลาการเรียน แม่บท จึงใช้ระบบท่องจำหัวข้อ ซึ่งวิธีการนี้ ก็ยังใช้กันอยู่ในปัจจุบัน เข่น ในธรรมปริจเฉท กัจจายนะ นั้นนิยมท่อง เป็นแบบคาถา จนหลายคนนำเป็นคาถา อะไรต่าง ๆ ให้วุ่นวาย เช่น

    สุ จิ ปุ ลิ     หัวใจบัณฑิต
    อุ อา กะ สะ  หัวใจเศรษฐี
    น โม พุท ธา ยะ  หัวใจพระพุทธเจ้า 5 พระองค์
    เต ชะ สุ เน มะ ภู จะ นา วิ เว  หัวใจพระเจ้าสิบชาติ
    พา มา นา อุ กะ สะ นะ ทุ  หัวใจ พุทธฤทธิ์
    ฉัน วิ จิต วิ   หัวใจความสำเร็จ
    สัง วิ ธา ปุ กะ ยะ ปะ  หัวใจพระอภิธรรม
    อา ปา มะ จุ ปะ หัวใจพระวินัย
     ที มะ สัง อัง ขุ หัวใจพระสูตร

     เป็นต้น เหล่านี้เรียกว่า การท่องแม่บท ย่อ ซึ่งเป็นที่นิยม มาตั้งแต่ครั้งพุทธกาล เพราะเป็นวิธี ที่สะดวก
   
    ดังนั้นจะเห็นว่า ถ้าคำขึ้นต้นหน้าบทย่อนั้น ก็ไม่ได้ใช้ ซี้ซั้ว แต่จะใช้กับ แม่บทใหญ่ ซึ่งมีแม่บทย่อยมาก ดังนั้นเวลาย่อแล้วจะใช้คำว่า ปริจเฉท แต่ ในภาษาไทย นิยมพูดและเรียกว่า หัวใจ ก็เลยมีที่มาของคาถา แตกต่างกันไปตามครูอาจารย์ ที่สอน พอมายุคปัจจุบันกลายเป็นเรื่งองมงาย มากกว่า ปัญญาเพราะว่า หลักธรรมยังคงอยู่ แต่ความเข้าใจในหลักธรรมกลายเป็น เรือ่งของ ไสยศาสตร์ ไป

     เมื่อก่อน ครู จะเขียนยันต์ ออกมนต์ ก็ต้องมีเหตุหลักธรรม จึงจะเขียนออกมาให้มีความหมายและ ขณะเดียวกันก็ประสิทธิจิต ด้วยฤทธานุภาพแห่ง พระรัตนตรัยลงไป ในส่วนที่เขียนไว้ด้วย ดังนั้นจึงมีคุณ สมัยก่อนไม่ได้มีราคา ค่างวด ครูอาจารย์ท่านทำสร้างออกมาก็เพื่อเป็นกำลังใจแก่ศิษย์ และคุ้มครองศิษย์ ที่ยังมีบารมีอ่อน

     เช่น คาถาพญาไก่แก้ว  มีรูปแบบการเขียนยันต์ 16 แบบ ยันต์ทั้ง 16 แบบมาจากไหน มาจาก วิปัสสนาญาณ 16 นั่นเอง แบบที่หลวงปู่นำมาเขียนที่นิยมที่วัดพลับนั้นเรียกว่า แบบญาณที่ 1 มาจาก นามรูปปริจเฉทญาณ คือกำหนดธาตุลงไป ในพระนามของพระพุทธเจ้า 28 พระองค์ เริ่มตั้่งแต่ พระพุทธเจ้าองค์ที่ 1 การเขียนก็เขียนเป็นตาราง และประสิทธิ์ชื่อว่า ปราสาท เรียกว่า ยันต์ปราสาท แต่เมื่อใส่ หัวใจผู้ปกครองปราสาท และ พื้นนา บริวาร และ คลัง 4 จึงเรียกว่า ยันต์มหาจักรพรรดิ์ ปัจจุบันที่เห็นนั้น ขาด คลังทั้ง 4 ไป คลัง 4 ก็คือ คาถาหัวใจเศรษฐี ซึ่งมีรูปแบบยันต์ ลง 4 ทิศรอบยันต์ปราสาท เรื่องราวอันนี้อ่านเพิ่มเติมได้ที่



 ความลับของ คาถาพญาไก่เถื่อน ฉันจะมาเฉลย แล้ว ตามอ่านกันไป     
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=15437.0
     
     ดังนั้นหลักการเรียนธรรมกรรมฐาน ให้ไวใน มูลกรรมฐาน คือ ต้องหมั่นท่องจำ หัวใจของข้อปฏิบัติ นั้น อันใช้คำสืบทอดในปัจจุบันว่า ลำดับกรรมฐาน อันมีอริยมรรคมีองค์ 8 ประการ ใช้คำเรียกต่างกันไป ปัจจุบัน คณะ 5 ใช้คำเรียกนี้ ว่า กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ หรือ กรรมฐานโบราณ ตามการสืบทอด ซึ่งแท้ที่จริงก็มีรูปแบบดั้งเดิม มาจาก วิชามูลกรรมฐาน กัจจายนะ ซึ่งนิยมอยู่มากในสมัย อยุธยา และมีการสืบต่อสายธรรม กันมาเรื่อย แต่คัมภีร์ ที่เป็นต้นฉบับแท้นั้น ไม่มีสูญหาย เป็นแต่ของครูอาจารย์บันทึกหัวใจกรรมฐาน ออกมา อย่างเล่มที่แสดง ที่พิพิธภัณฑ์คณะ 5 คำปริยายขึ้นธรรม ก็เป็นสำนวนที่ใช้ ในยุคกรุงศรีอยุธยา ตอนปลาย ซึ่งก็เป็นไปตามหลักภาษาที่ความไพเราะในสมัยนั้น  แต่ข้อบ่งชี้ในวิชากรรมฐาน ก็คือการตั้งสัจจะอธิษฐาน นั่นเอง ซึ่งมีข้อความปรากฏในคัมภีร์เ่ก่า และ พระไตรปิฏก

   
( รอข้อความเพิ่มเติม หาเวลาพิมพ์ )


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 12, 2016, 02:25:05 pm โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7263
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ประกาศเรื่องการจัดสร้าง
รูปหล่อ พระมหากัจจายนะ 16 องค์


ได้รับคำสั่ง จากครูอาจารย์ ก่อนทำ ปโมกขันติให้จบ ให้ทำหน้าที่แทนครูอาจารย์ เพราะสมัยก่อนนั้นทำได้ยาก คือ การหล่อ รูปพระมหากัจจายนะ สมัยท่านไม่มีเทคโนโลยี ด้านนี้มากและทำไม่ได้สวยงาม ดังนั้นจึงมอบหมายหน้าที่ ให้สร้างรูปหล่อพระมหากัจจายนะก่อน ที่จะพิมพ์หนังสือ ปโมกขันติ ( ไม่คิดว่าจะมีเคสนี้มาก่อน ) ท่านสั่งให้ทำการหล่อและสร้างทั้งหมด 16 ตามสาย กัจจานะสุตร ก็เลยคิดว่าต้องสร้างขนาดไหน ท่านไม่ได้กล่าวไว้

แต่ก็สรุปไว้ในใจว่า ประมาณ 5 - 10 นิ้ว เราน่าจะทำไหว คือไม่ต้องรบกวนใครให้มาช่วยทำ หรือบริจาค จะทำเป็นเนื้อสำริด หรือ นวโลหะ ดี ศิษย์คนใดมีความรู้ช่วยแสดงความเห็นหน่อยก็ดี

วันนี้เลยนั่งดูแบบตามที่ต่าง ๆ ทีมีภาพปรากฏ ก็ชอบแบบนี้ แต่เมื่อจะคิดว่าไปบูชาเลยดีไหม ท่านก็มายับยั้ง ให้ทำเป็นรูปแบบของตนเอง ใส่ผ้าจีวรเรียบง่ายตามแบบเดิมของอุปนสิยัย ท่านกัจจายนะ ไม่ต้องใส่ลวดลาย ไม่ต้องเป็นแบบหัวร่อหรือยิ้ม แต่เอาแบบสงบ ๆ แต่ใช้ท่านั่งสมาธิ ท่านกัจจานะ ท่านชอบนั่งสมาธิ เอามือยันเข่า ( ฟังจากครูนะ ฉันไม่มีหลักฐาน )
ก็เลยคิดว่าจะสร้าง รูปหล่อ ขนาด 5 นิ้ว ก็น่าจะพอ เดี๋ยวติดต่อช่าง ดูราคาก่อน 16 องค์ให้เก็บไว้บรรจุในเจดีย์ และ จารชื่อสายกัจจานะทั้ง 16 ไว้ในองค์พระด้วย และผนึกฐานไว้ ซึ่งท่านกล่าวจะมอบ ธาตุ ให้ ( ยังไม่รู้ว่า อะไรธาตุ ที่จะมอบให้ )
ใครเป็นช่าง สนใจเสนอการทำ และ แบบ เสนอราคากลับมาให้ด้วย

เจริญธรรม / เจริญพร

หมายเหตุ ตอนแรกไปเลือกแบบจีน ๆ คือ นุ่งห่มแบบสบาย ๆ แต่ครูอาจารย์ท่านตำหนิตรงเลยว่า ท่านพระอริยะกัจจายนะมหาเถระ นั้นท่านเป็นพระที่รักษาวินัย ตามแบบเถรวาท ดังนั้นการน่งห่มเป็นไปตามแบบเถรวาท แต่ท่านไม่รัดอก นุ่งห่มแบบพระป่า จีวรพาดสังฆาฆิ เท่านั้น
ดังนั้นไม่ต้องเสนอถ้านั่งหนุนเข่าหัวเราะมาให้นะ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 12, 2016, 02:25:38 pm โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7263
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: รวมหัวข้อ ศึกษา ธรรม เข้าพรรษา วันที่ 25 ( 14 ส.ค. 59 )
« ตอบกลับ #26 เมื่อ: สิงหาคม 14, 2016, 11:32:46 am »
0



แม่บทประวัติ พระมหากัจจายนะเถระ จาก พุทธพยากรณ์ กัจจายนะ เป็นแม่บทท้ายเล่ม  มูลกรรมฐาน กัจจายนะสูตร ที่เชื่อมโยงข้อความไปสู่ พยากรณ์ กัจจายนะสูตร อย่างที่เคยเล่าไว้ว่า พยากรณ์ กัจจายนะสูตร มี สามส่วน คือ 1. โลกพยากรณ์ คือ บันทึกการตอบปัญหาของพระพุทธเจ้า กับผู้ต่างลัทธิศาสนา 2. พุทธพยากรณ์ คือบันทึกการตอบปัญหาของพุทธบริษัทที่สำคัญอันเชื่อมโยง สู่พุทธวงศ์  3. อรหันตพยากรณ์ คือ บันทึกการพยากรณ์ รับรองใครเป็นพระอรหันต์บ้าง และการแต่งตั้งเอตทัคคะ พุทธบริษัททั้ง 4 เอตทัคคะ มี ภิกษุเอตทัคคะ ภิกษุณี เอตทัคคะ อุบาสก เอตทัคคะ และ อุบาสิกา เอตทัคคะ

วันนี้ขอนำมาแสดงก่อน เพื่อให้ท่านทั้งหลายมีความชื่นชม ในประวัติของอรหันต์องค์นี้


( ภาพนี้ไม่เกี่ยวกับ พระกัจจายนะ แต่ ความหมายของภาพ แสดงเรื่องเดียวกัน คือความปรารถนา การเป็นพระพุทธเจ้า และ การเป็นเอตทัคคะสาวก ถ้าเป็นจริงสมปรารถนา ต้องได้รับคำพยากรณ์ตรงจากพระพุทธเจ้า ด้วย ดังนั้นผู้ใดปรารถนา แต่ไม่รับการพยากรณ์ ว่าจะได้เป็นนั้น ก็คือไม่ได้เป็น ซึ่งต้องใช้เวลามากเป็น กัลป์ เลยนะ สำหรับผู้ที่ยังไม่ได้พยากรณ์ )

แม่บทนี้ตรวจสอบแล้ว เป็นข้อความส่วนหนึ่ง ในพุทธวงศ์ พระไตรปิฏกในส่วนคาถา ของ พระมหากัจจายนะเถราปทาน  สุตตันตะปิฏก อปทานัง พุทธวังโส จริยาปิฏก

สงฺขิตฺเตน มยา วุตฺตํ วิตฺถาเรน ปกาสยํ
ปุริสํ มญฺจ โตเสติ ยถา กจจายโน ฺ อยํฯ
นาหํ เอวมิเธกจฺจํ อญฺญํ ปสฺสามิ สาวกํ
ตสฺมา ตทคฺเค เอสคฺโค เอวํ ธาเรถ ภิกฺขโว ฯ

เราไม่เห็นสาวกอื่นบางรูป
 ในธรรมวินัยนี้เหมือนพระกัจจายนะนี้
 ผู้ประกาศธรรมที่เราแสดงไว้โดยย่อให้พิสดารได้
 ทำชุมชนและเราให้ยินดี
 เพราะฉะนั้น    พระกัจจายนะนี้เป็นผู้เลิศในตำแหน่งที่เลิศนั้น
 ภิกษุทั้งหลาย    เธอทั้งหลายจงจำไว้อย่างนี้เถิด’

    ในสมัยพระพุทธเจ้า พระนามว่า ปทุมุตระ 
( สารกัลป์ ที่ 5  นั้นมีพระพุทธเจ้า  1 พระองค์ คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า "ปทุมุตระ" เป็นพระพุทธเจ้าองค์ที่ 13 จากการเริ่มต้นมีพระพุทธเจ้า )

มีดาบส ( ฤาษี ) ไม่ระบุชื่อ  ได้ไปฟังธรรมจากพระพุทธเจ้า พระองค์นั้น ครั้นฟังถึงข้อความที่พระพุทธเจ้า ทรงตรัสยกย่อง พระกัจจายนะเถระสาวก ดังนี้ว่า

 เราไม่เห็นสาวกอื่นบางรูป
 ในธรรมวินัยนี้เหมือนพระกัจจายนะนี้
 ผู้ประกาศธรรมที่เราแสดงไว้โดยย่อให้พิสดารได้
 ทำชุมชนและเราให้ยินดี
 เพราะฉะนั้น    พระกัจจายนะนี้เป็นผู้เลิศในตำแหน่งที่เลิศนั้น
 ภิกษุทั้งหลาย    เธอทั้งหลายจงจำไว้อย่างนี้เถิด’




    ดาบสผู้นั้นมีความชื่นชมในคุณของพระกัจจายนะเถระ อันพระพุทธเจ้าทรงประกาศคุณเกิดความชื่นชมยินดี ชื่นชอบในคุณแห่งพระอรหันต์เถระนามว่า กัจจายนะ เอตทัคคะสาวก ของ พระพุทธเจ้า ปทุมุตตระ อย่างนั้นจึงได้กลับไปที่สำนัก ณ ป่าหิมพานต์  นำกลุ่มดอกไม้อันมีค่าหายากยิ่งในป่านัน มากลุ่มหนึ่ง ( ห่อรวม ) แล้วได้นำเข้าถวายแก่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ พระองค์นั้น โดยได้ตั้งความปรารถนา ปฏิญญาณในใจว่า ขอข้าพเจ้าจงได้ซึ่งคุณเยี่ยงอย่าง พระอรหันต์นามว่า กัจจายนะ นั้น ขอคุณธรรม และ ความเป็นเอตทัคคะ เช่นนั้นจงมีแก่ข้าพเจ้า เถิด

    ครั้งนั้น  พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ  ทรงทราบความปรารถนา นั้นแล้วจึงได้กล่าว พยากรณ์ แก่สาวกและดาบสผู้นั้นว่า จะได้เป็น พระอรหันต์เอตทัคคะ ในนามว่า กัจจายนะ เช่นกันในพระพุทธเจ้าองค์ที่ 28 ( องค์ปัจจุบัน )
   
     ดาบสนั้นครั้นได้ฟัง ก็มีใจเบิกบาน และกระทำความเป็น เอตทัคคะ คือ ความเลิศ ด้วยบัญญัติ ว่า

อัคคะโต เว ปะสันนานัง, อัคคัง ธัมมัง วิชานะตัง,
เมื่อบุคคลรู้จักธรรมอันเลิศ,
เลื่อมใสแล้วโดยความเป็นของเลิศ,
อัคเค พุทเธ ปะสันนานัง,
เลื่อมใสแล้วในพระพุทธเจ้าผู้เลิศ,
ทักขิเณยเย อะนุตตะเร,
ซึ่งเป็นทักขิไณยยบุคคลอันเยี่ยมยอด,
อัคเค ธัมเม ปะสันนานัง, วิราคูปะสะเม สุเข,
เลื่อมใสแล้วในพระธรรมอันเลิศ,
ซึ่งเป็นธรรมอันปราศจากราคะและสงบระงับเป็นสุข,
อัคเค สังเฆ ปะสันนานัง,
เลื่อมใสแล้วในพระสงฆ์ผู้เลิศ,
ปุญญักเขตเต อะนุตตะเร,
ซึ่งเป็นบุญญะเขตอย่างยอด,
อัคคัสสะมิง ทานัง ทะทะตัง,
ถวายทานในท่านผู้เลิศ,
อัคคัง ปุญญัง ปะวัฑฒะติ,
บุญที่เลิศย่อมเจริญ,
อังคัง อายุ จะ วัณโณ จะ,
อายุวรรณะที่เลิศ,
ยะโส กิตติ สุขัง พะลัง,
และยศเกียรติคุณสุขะพละที่เลิศย่อมเจริญ,
อัคคัสสะ ทาตา เมธาวี, อัคคะ ธัมมะสะมาหิโต,
ผู้มีปัญญาตั้งมั่นในธรรมอันเลิศแล้ว,
และทานแก่ท่านผู้เป็นบุญญะเขตอันเลิศ,
เทวะ ภูโต มะนุสโส วา,
จะไปเกิดเป็นเทพยดาหรือเป็นมนุษย์ก็ตาม,
อัคคัปปัตโต ปะโมทะตีติ.
ย่อมเป็นผู้ถึงความเป็นผู้เลิศบันเทิงอยู่, ดังนี้ .

    ก็แลพระเถระได้กล่าวว่า ครั้นได้สิ้นชีวิตจากการเป็นดาบส ก็ได้เวียนว่าย ตาย เกิด ตาย เกิด อยู่ในสองภพ คือ ภพเทวดา และ ภพมนุษย์
    เมื่อเกิดในภพมนุย์ ก็จะเวียนตาย เวียนเกิด อยู่เพียงสองตระกูล คือ กษัตริย์ และ พราหมณ์

    ในชาติปัจจุบันท่าน ก็ได้เกิดในตระกูลแห่ง พราหมณ์ อันเป็น พราหมณ์ปุโรหติ ของ พระเจ้า จันทปัชโชติ ใน กรุงอุชเชนี เป็นบุตรของพราหมณ์ ชื่อว่า ตีปีติวัจฉะ และ มารดาชื่อว่า จันทนปทุมา



( ดังนั้นใครอยากร่วมก็ไม่ได้เป็นปัญหาใหญ่ ก็ตกองค์ละ 700 - 2500 ที่ปิดทองคำแท้ ตัวฉันเองจะทำ 16 องค์ แต่ช่างบอกว่า ถ้าทำน้อยแพง ต้อง สัก 30 องค์ขึ้น จึงจะมีราคาถูกลง ดังนั้นก็ต้องหา ใครใจบุญอยากมี ไว้บูชาที่บ้าน ก็มาร่วมกันนะ ฉันไม่ได้สร้างมาค้าขายเอากำไร จ่ายกันต้นทุน นั่นแหละ สรุปตามนี้ คือ อาจารย์ จะจ่ายค่าแบบ เอง 10000 บาท และจ่ายค่า หล่อ 16 องค์ ราคาตามที่ตกลง ส่วนเกิน ตั้งแต่องค์ที่ 17 - 30 นั้น ใครจะร่วมทำให้งานเสร็จ ก็แจ้งมานะ ว่าไปด้วยต้นทุนเท่านั้น ฟังจากช่างพูดมาคือ ขนาด 5 นิ้ว ปิดทองคำแท้ 3000 บาทต่อองค์ แต่ถ้าไม่ปิดทอง ก็อยู่ที่ 700 - 1500 ตามเนื้อซึ่งยังสรุปไม่ได้เนื้ออะไร แต่ในใจเลือกเนื้อสำริด คือไม่ต้องปิดทองคำ เอาเนื้อสำริดเลย จะออกแดง ๆ หนักไปทาง นาคเยอะหน่อย ถ้าอยู่วิเวกคงจะทำไม่ได้ในพิธีใหญ่ ต้องกลับวัดไปชักชวนคนร่วมสร้าง )

     ครั้งนั้นพระเจ้า พระเจ้า จันทปัชโชติ ได้ทราบข่าวการอุบัติของพระพุทธเจ้า เกิดความใคร่อยากศึกษาธรรม จึงได้ส่งท่านกับบุรุษ 7 ท่าน เพื่อไปนิมนต์พระพุทธเจ้าเสด็จมา ณ อุชเชนีนคร ดังนั้น ท่านที่ดำรงค์ตำแหน่งเป็น อำมาตย์ อยู่จึงเดินทางไปพบพระพุทธเจ้า แต่ก่อนไปได้ขอพรจาก  พระเจ้า จันทปัชโชติ ว่า หากท่านได้คุณธรรมวิเศษจากพระพุทธเจ้า ขออนุญาตบวชด้วยไม่ต้องกลับขออนุญาตต่อพระองค์ในภายหลัง เนื่องด้วยทราบว่า บรรดาอำมาตย์ปุโรหิต ซึ่งเป็นสหายของท่านหลายเมือง มีกาฬุทายี เป็นต้นเมื่อไปพบพระพุทธเจ้าแล้ว ส่วนใหญ่จะตัดสินใจบวชเนื่องด้วยสำเร็จธรรม จึงทูลขอกันไว้เพื่อไม่ต้องเสียเวลารอคอยการอนุญาตจาก ผู้ครองนคร พระเจ้า จันทปัชโชติ ก็ให้พรคือการอนุญาตนั้นตามนั้น เพราะเชื่อความสามารถและสติปัญญา ของ พรามหณ์ปุโรหิตที่เป็นอำมาตย์นั้นย่อมพิจารณาดีแล้ว เพราะถ้าว่า ถ้าผู้ที่ไปพบไม่ใช่พระพุทธเจ้า ย่อมไม่สามารถทำให้ อำมาตย์ของพระองค์ตัดสินใจบวชได้

     กัจจายนะอำมาตย์ปุโรหิต  แต่เมื่อไปพบพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วได้ฟังธรรม ไปตามลำดับ ก็บรรลุคุณวิเศษเป็นพระอรหันต์พร้อมกับบุรุษทั้ง 7 ที่คัดเลือกมาด้วยนั้น สำเร็จปฏิสัมภิทา ตามความปรารถนา ทีมีมาแต่ครั้งพระพุทธเจ้า ปทุมุตระ ( นานโข )

     พระพุทธเจ้าได้ทรง ส่ง พระอริยะกัจจายนะ พร้อมทั้งพระอรหันต์ทั้ง 7 องค์ รวมเป็น 8 องค์ ให้กลับไปที่ อุชเชนี เป็นผู้แทนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในการโปรด พระเจ้า จันทปัชโชติ และ ชาวเมือง อุชเชนี
   
     ครั้งนั้นพระอริยะเถระ ได้กระทำเหตุอัศจรรย์สองประการคือ
         1. ผู้ที่เลื่อมใส ถึงความเลื่อมใส ในพระรัตนตรัย ได้บุญฉับพลัน ให้ปรากฏ
              ข้อความปรากฏในเรือ่ง นางผมยาว สนมของ พระเจ้า จันทปัชโชติ
              เรื่องนี้ต้องอ่านให้ดีนะ อ่านแล้วจะน้ำตาไหล เลย เพราะว่า
              ความเลื่อมใส ที่นางผมดกธิดาเศรษฐีอยากทำบุญด้วยทรัพย์อันมีค่าที่สุด ด้วยสิ่งที่มีค่าของเธอ คือทรัพย์ของนางมีเพราะเป็นธิดาเศรษฐี แต่เพราะว่า นางเห็นว่าทรัพย์ของบิดานางนั้นมีค่าไม่เพียงพอต่อทานแก่พระเถระ นางจึงเอาสิ่งที่มีค่าของนางอันชนทั้งหลายที่มีความปรารถนาอยากได้นั้นก็คือผมของนาง ๆ ได้ส่งผมของนางไปให้กับผู้ที่เคยขอซื้อ ด้วยราคามากที่สุด แต่เป็นเพราะว่า ในตอนที่ต้องการนั้นมีราคามาก ขอซื้อเท่าไหร่ ก็ไม่ขายใครตัดมอบมาให้เพื่อขาย จึงถูกกดราคาลงจาก 1000 กหาปณะ เหลือเพียง 8 กหาปณะ นางนั้นได้เงินที่ขายผมของนาง 8 กหาปณะนั้นมาสร้างเป็นทานถวายแก่ พระอรหันต์ทั้ง 8 รูป ด้วยความเลื่อมใส ศรัทธาโดยไม่ได้นึกน้อยใจหรือ เสียใจต่อการสูญเสียผมของนางด้วยราคาเพียง 8 กหาปณะ นั้น ดังนั้นเรื่องนี้ขอให้ท่านทั้งหลายอ่านให้ดี จะเห็นคำว่า ศรัทธาในทาน ไม่ควรหมิ่น ว่าจะทำน้อยหรือมาก แต่ที่สำคัญคือศรัทธาตั้งมั่นในทานที่จะทำต่อพระอริยะสงฆ์ ที่ประกอบด้วยคุณมีบุญเป็นอันมาก

         2. ผู้มีจิตคิดผิด ปรามาสพระรัตนตรัย ก็ถึงความลำบาก
              ข้อความปรากฏในเรื่อง โสเรยยะ แห่งหมู่บ้านกามนิต
            ( ความคิดปรารถนาอันลามก ย่อมเกิดแต่ มาณพนั้นว่า พระรูปนี้มีสีแหงสรีระสวยงามอย่างยิ่งพึงเป็นภรรยาเรา แม้ภรรยาเราก็มีพึงสีแห่งสรีระที่สวยงามเช่นนี้ )

        ภัทเทกรัตตสูตร ๆ ย่อ  ขยายความบทแรก

        ดังนั้นคุณแห่ง พระกัจจายนะเถระ ผู้มีปัญญามากอันพระผู้พระภาคเจ้าตรัสยกย่อง ในเรื่องการแสดงธรรม ย่อ และ พิศดาร ดุจเดียวกับพระองค์  ซึ่งคุณปัญญาของท่านกล่าวได้ว่า มาทดแทนพระสารีบุตร ซึ่งเป็นอัครสาวก ในธรรมเนียม อัครสาวก ย่อมถึงแก่ นิพพาน ก่อนพระพุทธเจ้าเป็นตัวอย่างก่อน ทุกสมัย ดังนั้น หน้าที่ในการสืบต่อขยายความธรรมจึงถูกมอบหมายให้แก่ พระอริยะเถระกัจจายนะ เป็นผู้ดูแล การบันทึก สังฆะลิขิต ในครั้งพุทธกาล อันปรากฏเป็นประโยชน์แก่การทำสังคายนา อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงล่วงรู้ก่อนแล้ว ด้วยญาณแห่งพระองค์ จึงทรงตรัสเป็นนัยว่าให้ บรรดาสงฆ์ และ พุทธบริษัท ยึดปาพจน์สองอย่างเป็น พระศาสดา ต่อไป มิให้แต่งตั้ง สังฆะรัตนะขึ้นมาเป็นศาสดา แทนพระองค์

     ดังพรรณนามานี้ เพื่อยกคุณแห่ง พระอริยะเถระ พระมหากัจจายนะ ผู้ประกอบด้วยคุณูปการ แก่ ปกรณ์ คัมภีร์ อันสืบต่อมาจากครูอาจารย์ ด้วยแม่บทสืบมาเพียงแต่ฉะนี้

     ขอผลานิสงค์ อันเกิดแต่คุณนี้จงปรากฏเป็น บุญแก่ โอปปาติก ที่รักษ์ คุ้มครองข้าพเจ้า เป็นลำดับที่ 1 และแก่ บิดามารดาและน้องชาย เป็นลำดับที่สอง และ แก่ศิษย์ผู้สนับสนุนการภาวนาของข้าพเจ้า เป็นลำดับที่ 3

       เจริญธรรม/ เจริญพร
   

หมายเหตุ

 โดยในแต่ละกัลป์(กัป) จะมีพระพุทธเจ้ามาตรัสรู้ดังนี้
  1.สารมัณฑกัลป์ มี ๔ พระองค์ คือ ตัณหังกร, เมธังกร, สรณังกร, ทีปังกร
  2. สารกัลป์ มี ๑ พระองค์ คือ โกณทัญญญะ
  3.สารมัณฑกัลป์ มี ๔ พระองค์ คือ มังคละ, สุมนะ, เรวัตะ, โสภิตะ
  4.วรกัลป์ มี ๓ พระองค์ คือ อโนมทัสสสี, ปทุม, นารทะ
  5.สารกัลป์ มี ๑ พระองค์ คือ ปทุมุตระ
  6.มัณฑกัลป์ มี ๒ พระองค์ คือ สุเมมธะ, สุชาตะ
  7.วรกัลป์ มี ๓ พระองค์ คือ ปิยะทัสสสี, อรรถทัสสี, ธรรมทัสสี
  8.สารกัลป์ มี ๑ พระองค์ คือ สิตธัตตถะ
  9.มัณฑกัลป์ มี ๒ พระองค์ คือ ติสสะะ, ปุสสะ
  10.สารกัลป์ มี ๑ พระองค์คือ วิปัสสี
  11.มัณฑกัลป์ มี ๒ พระองค์คือ สิขี, เวสสภู
  12.ภัทรกัลป์ (กัลป์ปัจจุบัน) มี ๕ พระองค์คือ กกุสนธะ, โกนาคมน์, กัสสปะ, โคดม(ปัจจุบัน)
     

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 14, 2016, 12:49:18 pm โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7263
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
รวมหัวข้อ ศึกษา ธรรม เข้าพรรษา วันที่ 29 ( 16 ส.ค. 59 )
« ตอบกลับ #27 เมื่อ: สิงหาคม 16, 2016, 09:48:53 am »
0


พระสุตตันตปิฎก  สังยุตตนิกาย  สคาถวรรค
  [๑.  เทวดาสังยุต]
   ๓.  สัตติวรรค  ๔.  มโนนิวารณสูตร
 
            พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
         นรชนผู้มีปัญญา เห็นภัยในสังสารวัฏ
          ดำรงอยู่ในศีลแล้ว เจริญจิตและปัญญา
         มีความเพียร มีปัญญาเครื่องบริหาร
          นั้นพึงแก้ความยุ่งนี้ได้
         บุคคลเหล่าใดกำจัดราคะ โทสะ และอวิชชาได้แล้ว
         บุคคลเหล่านั้นสิ้นอาสวะแล้ว เป็นพระอรหันต์
          พวกเขาแก้ความยุ่งได้แล้ว
           นาม ก็ดี  รูปก็ดี  ปฏิฆสัญญาก็ดี
          รูปสัญญาก็ดี ดับไม่เหลือในที่ใด
         ความยุ่งนั้นก็ย่อมขาดหายไปในที่นั้น



พระสุตตันตปิฎก  อังคุตตรนิกาย  จตุกกนิบาต 
  [๑.ปฐมปัณณาสก์]
 ๕.โรหิตัสสวรรค  ๑๐.อุปักกิเลสสูตร

 เหล่าสัตว์ผู้ถูกมิจฉาทิฏฐิทำลาย
 มีจิตซัดส่าย    สำคัญผิด
 หมายรู้ในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง
 หมายรู้ในสิ่งที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข
 หมายรู้ในสิ่งที่เป็นอนัตตาว่าเป็นอัตตา
หมายรู้ในสิ่งที่ไม่งามว่างาม
   สัตว์เหล่านั้นชื่อว่าติดอยู่ในเครื่องประกอบของมาร
ไม่มีความเกษมจากโยคะ
ประสบกับความเกิดและความตาย
 ท่องเที่ยวไปสู่สังสารวัฏ
    ก็ในกาลใดพระพุทธเจ้า
ผู้จุดประกายให้แสงสว่าง    เสด็จอุบัติขึ้นในโลก
ในกาลนั้นพระองค์ย่อมประกาศธรรม๑นี้
ที่ให้สัตว์ถึงความดับทุกข์

   สัตว์เหล่านั้นผู้มีปัญญา
 ฟังธรรมของพระพุทธเจ้าเหล่านั้น
 กลับได้ความคิดเป็นของตนเอง
ได้เห็นสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าไม่เที่ยง
 ได้เห็นสิ่งที่เป็นทุกข์ว่าเป็นทุกข์
 ได้เห็นสิ่งที่เป็นอนัตตาว่าเป็นอนัตตา
ได้เห็นสิ่งที่ไม่งามว่าเป็นของไม่งาม
ยึดถือสัมมาทิฏฐิ    พ้นทุกข์ทั้งหมดได้



http://cloudbox.3bb.co.th/share3/MTYxMzh8YWViZGJhNzRhOGU4ZTNlMzNlNjVkMjg0ZmFiNmNkODh8MzAyNTU=
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 16, 2016, 10:06:26 am โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7263
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
รวมหัวข้อ ศึกษา ธรรม เข้าพรรษา วันที่ 29 ( 17 ส.ค. 59 )
« ตอบกลับ #28 เมื่อ: สิงหาคม 17, 2016, 01:20:32 pm »
0


สำหรับสัปดาห์นี้ เป็นสัปดาห์ส่งพื้นฐาน การเตรียมตัวเรียนธรรม พื้นฐาน ซึ่งผ่านการอบรมบ่มนิสัยกันมาตั้งแต่เริ่มเข้าพรรษา ซึ่งที่ผ่านมาเราก็พูดแสดงธรรม กันยังไม่มีหัวข้อธรรมอะไรให้หนักแก่ผู้กำลังเตรียมตัวในเบื้องต้น เพื่อให้ท่านทั้งหลาย ได้กระทำ ปลิโพธิ ให้หมด เพราะว่า เมื่อเข้าสู่  เดือนที่ สอง ก็จะเป็นการแนะนำ หลักธรรม ด้านสมาธิภาวนา โดยตรง ซึ่งแน่นอนท่านที่ไม่มีพื้นฐานทางจิต มาก่อนไม่มีศีลมาก่อน ไม่มีการฝึกสติ เบื้องต้น หรือ เรียนธรรมสนับสนุนมาก่อน ก็จะเข้าใจได้ยากเพราะว่า ระดับธรรมที่จะนำมากล่าวนั้น มีความละเอียดมากขึ้น ซึ่งก็จะละเอียดไปถึงเดือนที่สามตามแผนการที่ได้ตั้งใจไว้ คือ ให้ท่านนับหนึ่ง ไปเรื่อย จนกระทั่งสามารถนับต่อไปได้เป็นร้อย เป็นพัน เป็น หมื่น เป็นแสน เป็นล้าน นั่นก็หมายความว่า เรียนธรรมกันไปทุกวันเริ่มจากเบาไปหาหนัก เหมือนพระพุทธเจ้า พระองค์แสดงธรรม ก็จากเรื่อง เบา ๆ ไปจบ เรื่อง การละกิเลส พูดง่าย ๆ ก็คือ ทาน ศีล ภาวนา   ทาน และ ศีล เป็นสิ่งที่ทำได้ง่าย แต่ก็รักษายาก คนทำทาน และ รับศีล ทำได้ง่าย แต่การจะ รักษาอุปนิสัยให้ทานได้ทุกวัน รักษาศีลได้ทุกวัน กระทำได้ยากกว่า ดังนั้น ทาน ศีล ต้องสร้างเป็นนิสัย ซึ่งเราก็ต้องเพาะบ่ม หลักการ และ หลักธรรม ส่งเสริม เรื่องนี้กันมาตั้งแต่วันเริ่มเข้าพรรษาจนถึงวันนี้ ก็ยังเป็นเรื่อง ของการสร้างนิสัย ให้เป็นคนที่ประกอบด้วย กุศล คือ มีทาน และ ศีล เป็นที่ตั้ง ส่วนเรื่องภาวนา นั้นก็ให้กระทำเบา ๆ ด้วยเจริญ แบบ สติ คือ        พุทโธ ธัมโม สังโฆ หรือให้รู้ละ เห็น ตามความเป็นจริง ทั้งสี่ประการ คือ เห็น ทุกข์ เห็น เหตแห่ง ทุกข์ เห็น การก้าวล่วง ทุกข์ เสียได้ และ เห็นวิธีการ ก้าวล่วงพ้นจาก ทุกข์

     ดังนั้นอีกไม่กี่วัน ก็จะเริ่มเข้าสู่ภาค สมาธิภาวนา แล้ว ขอให้ท่านทั้งหลาย จงทบทวนกุศล และ ศีล และ ทานที่ท่่านได้สั่งสมมกันมานั้น มันเป็นนิสัย บ้างหรือยัง

     คำว่า เป็นนิสัย หมายถึงว่า สามารถ กระทำได้โดยไม่อึดอัด

      แต่ถ้าหากยังอึดอัดอยู่ ก็แสดงว่า ยังไม่เป็นนิสัย ก็ต้องพอกพูนไป ดังนั้นคนที่ยังไม่เป็นนิสัยในเดือนที่สองก็พยายามทบทวนข้อความตั้งแต่ต้นใหม่ อีกรอบ ทำให้ได้ แล้วค่อยตามมา เพราะว่าการแสดงธรรมส่วนรวม รอคนที่ช้าไม่ได้ คนไหนพร้อมก็ติดตามเนื้อหา ขั้นละเอียดต่อไป ที่สำคัญอย่าเพียงแต่อ่าน ๆ อย่างเดียว แค่ กุศลเกิดเบา ๆ ในใจเท่านั้น ถามว่าดีไหม มันก็ดีอยู่ คือ คิดเป็นกุศล แต่ยังไม่กระทำ คือ ไม่แสดงออกด้วย กาย ด้วย วาจา แล้ว การเข้าถึงภาวนา นั้นกัจักไม่มีความสมบูรณ์ เลย  เพราะ การกระทำกุศล ด้วย กาย ด้วย วาจา นั้นคือภาวนาหยาบไม่ใช่ ขั้นละเอียด ซึ่งเวลาไปออกแรง ทางจิต แล้ว  กาย วาจา ไม่เคยกระทำ ทางจิตนั้นจะไม่มีพลัง เพราะว่าสมาธิ อาศัยอัตภาพ ต้องเดิน ต้อง นั่ง ต้อง ยืน ต้อง นอน สลับกันไปตามภสภาวะธรรม ไม่ใช่ แต่ มโน เท่านั้น ต้องร่วมกัน

      การเข้าไปประจักษ์ธรรม อาศัย รูปขันธ์ แล นามขันธ์ สองอย่าง รวมกัน

      ดังนั้นขอให้ท่าน ทบทวน ทาน และ ศีล ให้เป็นนิสัย ด้วย ก่อนที่จะเข้าศึกษาธรรม ชั้นกลางเพิ่มขึ้น

     เจริญธรรม / เจริญพร

     ;)




    ทานมัย คือการให้ทาน การให้ทาน มีตั้งแต่ให้วัตถุสิ่งของ จนถึงธรรม
       ให้ทานมีข้าวน้ำอาหารเป็นต้น เรียกว่า  ทานสังควัตถุ เป็นทานสงเคราะห์ ด้วยอาหาร
       ให้ทานมีการก่อสร้าง สถานอบรมการศึกษา เรียกว่า วิหารทาน
       ให้ธรรมมอบความรู้อันประกอบด้วยญาณ เรียกว่า ธรรมทาน
       ให้การละจากพยาบาทไม่ปองร้ายบุคคลอื่นที่ปองร้ายหรือ เบียดเบียนเรา เรียกว่า อภัยทาน

      ดังนั้นจะเห็นว่า ทาน มีหลายแบบ แต่ละแบบ ดีทั้งนั้นขอให้กระทำเป็นนิสัยให้ได้ อนุโมทนา

     ส่วนศีล นั้น เริ่มจากการเว้น 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10  เอาแค่นี้พอ เอาแค่กุศลกรรมบถ ก็เพียงพอ จะเริ่มรักษาที่ละข้อ จนกระทั่งเปลี่ยนจาก ปวช เว้น เป็น วิรัติ คือหยุด ก็คือเป็นนิสัย นั่นเอง ทำได้ อนุโมทนา


     


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 17, 2016, 01:33:27 pm โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7263
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
รวมหัวข้อ ศึกษา ธรรม เข้าพรรษา วันที่ 30 ( 18 ส.ค. 59 )
« ตอบกลับ #29 เมื่อ: สิงหาคม 18, 2016, 07:13:59 pm »
0


อันนี้คือสูตรในอริยสัจ 4 เรียกว่า ปริวัตร 3 ถ้าทำครบในอริยสัจทั้งหมด เรียกว่า อาการ 12
1.สัจจญาณ-กำหนดรู้ความจริง
2.กิจญาณ-กำหนดรู้กิจที่ควรทำ
3.กตญาณ-กำหนดรู้ว่า ได้ทำกิจเสร็จแล้ว


ความหมาย ที่ไ้ด้อธิบาย เรื่อง อริยสัจจะ 4 ในระดับภาวนามีดังนี้
ทุกข์อริยะสัจจะ 4 ประการ
  1.ทุกข์ อันเกิดจาก ชาติ
  2.ทุกข์ อันเกิดจาก ชรา
  3.ทุกข์ อันเกิดจาก พยาธิ
  4.ทุกข์ อันเกิดจาก มรณะ

 สนับสนุนการภาวนานะจ๊ะ ( ไม่ต้องไปแตกให้มาก ) แต่ให้กำหนดด้วย ปริวัฏ 3 อาการ 12 ด้่วยนะจ๊ะ

สมุทัยสัจจะ 3 ประการ เนื่องด้วยการภาวนาในสายพระอริยะเมื่อเข้าใจทุกข์แล้วก็ย่อมที่จะละอกุศลแต่ ระดับพระอนาคามี นั้นยังมีสิ่งที่ทำให้พระอนาคามีไม่สามารถผ่านไปได้ ก็คือ ความลุ่มหลงในกุศล( อุทธัจจะสังโยชน์ ) จิตไม่เป็นกลางในสภาวะธรรม จึงทำให้ไม่สามารถเป็นพระอรหันต์ได้ เนื่องด้วย ความถือดีทรนงในกุศล ( มานะสังโยชน์ ) ดังนั้นธรรมที่ต้องกระทำให้แจ้งก็คือ ทลายความลุ่มหลง ( อวิชชา ) กล่าวว่ารากเหง้าของความลุ่มหลงในกุศล โดยย่อมี 3 อย่าง

  1. ความลุ่มหลง ด้วย ผลแห่ง ทาน
  2. ความลุ่มหลง ด้วย ผลแห่ง ศีล
  3. ความลุ่มหลง ด้วย การภาวนา

  ทั้ง 3 ประการนี้เป็นต้นเหตุ ให้เรายังเวียนว่าย ด้วยความเป็น มนุษย์ เทวดา พรหม ไม่สามารถพ้นจากสังสารวัฏฏ์ ไปได้ เพราะติดในสุข ใจไม่ได้ว่าง ในเหตุแห่งทุกข์อัน ระคนด้วย ตัณหา ด้วยความอยากความเป็น ความไม่อยากมีและไม่อยากเป็น

  นิโรธสัจจะ 7 ประการคือการ พระธรรมเจ้า 7 พระองค์
  อะไระคือสิ่งที่เรียกว่าบรรลุ การเข้าถึงสภาวะ อาศัยอะไร และอะไรเป็นสิ่งที่บรรลุ นั้น คือ นิโรธสัจจะ
   1.อาตมา
   2.สูญญํ
   3.อนาปาน
   4.นิโรธะ
   5.นิสสวาตะ
   6.ปัสสวาตะ
   7.อัสสวาตะ

   ทั้ง 7 พระองค์ มีชื่อเดียวกัน จักปรากฏได้ด้วยการดู ลม หายใจเข้า และออก หรือ อัดนิ่งเมื่อใจรู้่ ย่อมกำหนด ลมหายใจเข้า ออก จนแน่แน่วใน ภายใน ชือเห็นพระธรรมเจ้า  ทั้งปวง

  มรรคสัจจะ 4  คือ ถ้าเราไปกำหนดมรรค สมังคีใหญ่ก็จะไม่เข้าใจและการบรรลุธรรมเป็นไปตามลำดับ ดังนั้นควรเข้าไปกำหดมรรคสัจจะตามลำดับ อันนี้เริ่มต้นเลย เพื่อความเป็นพระโสดาบัน จนถึงพระอรหันต์

  1.พระโสดาปัตติมรรค
  2.พระสกทามิมรรคา
  3.พระอนาคามิมรรค
  4.พระอรหัตตมรรค

ทั้งหมดนี้เรียกว่า พระอริยะสัจจะ 4 ในภาวนา

 ไม่ต้องแตกมาก สิ่งสำคัญอยู่ที่ ทุกขสัจจะ เป็นต้นทาง เหมือนองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่พระองค์ออกผนวช ก็เพราะเห็น ทุกขสัจจะ เป็นเบื้องต้น

 ภาวนา ตามลำดับ เป็นไปลำดับ ก็จักเข้าใจ


 เจริญพร
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 18, 2016, 07:21:10 pm โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

suchin_tum

  • ไม่กลับมาเกิด
  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 486
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: รวมหัวข้อ ศึกษา ธรรม เข้าพรรษา วันที่ 1 ( 20 ก.ค. 59 )
« ตอบกลับ #30 เมื่อ: สิงหาคม 18, 2016, 07:49:10 pm »
0
ขออนุโมทนาสาธุ
บันทึกการเข้า
ขอน้อมอาราธนากำลังแห่งครูอาจารย์กรรมฐานมัชฌิมาจงมาประสิทธิ์ประศาสตร์

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7263
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
รวมหัวข้อ ศึกษา ธรรม เข้าพรรษา วันที่ 31 ( 19 ส.ค. 59 )
« ตอบกลับ #31 เมื่อ: สิงหาคม 18, 2016, 11:31:59 pm »
0


ไฟล์เสียง ปฐมนิเทศ ทางสายกลาง ต้อนรับ สู่ มัชฌิมาภาวนา เดือนที่ 2





ข้อความธัมมจักรกัปปวัตนสูตร มี    9   ส่วน ดังนี้

  ส่วนที่ 1 
    พระพุทธเจ้า ทรงตรัสเรียกว่า ปัญจวัคคีย์ ทั้ง 5 ว่า ภิกษุ  และ เรียกซ้ำว่า บรรพชิต

 ส่วนที่ 2
    ทรงแสดงส่วนสุด สองอย่าง อันบรรพชิต ไม่พึงเข้าไปเสพ
     1. กามสุขัลลิกานุโยค  ความหมกหมุ่นต่อกามคุณ
     2. อัตตกิลมถานุโยค ความทรมานตนให้ลำบาก

   ทรงตำหนิ เป็นของเลว หยาบ เป็นของต่ำทราม อันบรรพชิตไม่พึ่งเข้าไปเกี่ยวข้อง

ส่วนที่ 3
    ทรงแสดง มัชฌิมาปฏิทา คือการภาวนาแบบกลาง ๆ คือไม่หนักไปด้านด้านใดด้านหนึ่ง เป็นปฏิปทา ให้เกิดญาณ ความสงบ ความรู้ยิ่ง ความตรัสรู้ และ นิพพาน
     มัชฌิมาปฏิทา คือ ข้อปฏิบัติมีองค์ 8
      1. สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ
      2. สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ
      3. สัมมาวาจา การเจรจาชอบ
      4. สัมมากัมมันตะ การกระทำชอบ
      5. สัมมาอาชีวะ การเลี้ยงชีวิตชอบ
      6. สัมมาวายามะ การพากเพียรชอบ
      7. สัมมาสติ การระลึกชอบ
      8. สัมมาสมาธิ ความตั้งใจมั่นชอบ

     ส่วนที่ 4
        ทรงแสดง อริยสัจจะ 4 ประการ
        1. ทุกขอริยสัจ 
              ความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก ความพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก ความไม่ได้สิ่งที่ปรารถนา โดยย่อ อุปาทานขันธ์ 5 เป็น ทุกข์

        2. ทุกขสมุทยอริยสัจจ
             ตัณหาอันทำให้เกิดอีกประกอบด้วยความเพลิดเพลินและกำหนัด มีปกติให้เพลิดเพลินในอารมณ์ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา

         3.ทุกขนิโรธอริยสัจ
            ความดับตัณหา ไม่เหลือด้วย วิราคะ  ความสละ ความสละทิ้ง ความพ้น ความไม่อาลัยในตัณหา
         
          4.ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
             1. สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ
             2. สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ
             3. สัมมาวาจา การเจรจาชอบ
             4. สัมมากัมมันตะ การกระทำชอบ
             5. สัมมาอาชีวะ การเลี้ยงชีวิตชอบ
             6. สัมมาวายามะ การพากเพียรชอบ
             7. สัมมาสติ การระลึกชอบ
             8. สัมมาสมาธิ ความตั้งใจมั่นชอบ
           
   ส่วนที่ 5
        แสดงปริวัตร 3 อาการ 12 
            จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา อาโลโก ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมที่ไม่เคยสดับมาก่อนว่า
            นี้คือทุกขอริยสัจ
             ทุกขอริยสัจ ควรกำหนดรู้แล้ว
             ทุกขอริยสัจ เราได้กำหนดรู้แล้ว
           จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา อาโลโก ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมที่ไม่เคยสดับมาก่อนว่า
            นี้ทุกขสมุทยอริยสัจ
             ทุกขสมุทยอริยสัจ ควรละเสีย
             ทุกขสมุทยอริยสัจ เราละได้แล้ว
             จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา อาโลโก ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมที่ไม่เคยสดับมาก่อนว่า
             นี้ทุกขนิโรธอริยสัจ
               ทุกขนิโรธอริยสัจ ควรทำให้แจ้ง
               ทุกขนิโรธอริยสัจ  เราได้ทำให้แจ้งแล้ว
              จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา อาโลโก ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมที่ไม่เคยสดับมาก่อนว่า
             นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
              ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ควรให้เจริญ
              ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ เราได้ให้เจริญแล้ว

   ส่วนที่ 6
       เราปฏิญญาว่าเป็น พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะกระทำ ปริวัตร 3 มีอาการ 12 ให้แจ่มแจ้งดีแล้ว
       เรามีธรรมไม่กำเริบจากความหลุดพ้น ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย ภพใหม่ไม่มีอีก

   ส่วนที่ 7
       พรามณ์โกณฑัญญะ ได้ดวงตาเห็นธรรม ว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา สำเร็จเป็นพระโสดาบัน

    ส่วนที่ 8
       แสดงถึงการเริ่มป่าวประกาศของเทวดาขั้น ภุมมะ ว่าพระพุทธเจ้าประกาศธรรมจักรแล้ว เสียงเทวดาพากันกล่าวอนุโมทนาชื่นชม ตั้งแต่ จาตุมหาราช ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรดี ปรนิมมิตวสวัตดี  หมู่พรหม ก็ร่วมยินดี เสียงป่าวประกาศเพียงครู่เดียว ( อิติ หเต ณขเณน ) หมื่นโลกธาตุ ก็หวั่นไหว ล่วงเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลาย

    ส่วนที่ 9
      พระพุทธเจ้าประกาศรับรอง พรามหณ์โกณฑัญญะ ว่า รู้แล้วหนอ เป็นพระโสดาบัน พร้อมได้เป็น รัตตัญญูบุคคล เอตทัคคะ

   
     
 

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 19, 2016, 10:00:32 am โดย arlogo »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7263
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
รวมหัวข้อ ศึกษา ธรรม เข้าพรรษา วันที่ 31-32-33 ( 20-21-22 ส.ค. 59 )
« ตอบกลับ #32 เมื่อ: สิงหาคม 20, 2016, 10:48:34 am »
0


   1. การเห็นว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้่นมีความเสื่อม ( ดับไป )เป็นธรรมดา

   2. การเห็นว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เสื่อมไป ( ดับไป )เป็นธรรมดา สิ่งนั้นไม่ควรตามยึดมั่น ถือมั่น ว่า นั่นเป็นเรา นั่นเป็นชองเรา นั่นเป็นตัวเป็นตนของเรา

   3. การเห็นว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่ง มิใช่เรา มิใช่ของเรา มิใช่ตัวตนของเรา เป็นธรรมดา ควรตามเห็นว่า จิตควรปล่อยเพราะความยึดมั่นถือมั่น นั้น ๆ ไม่มีอีก

   4. การเห็นว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ไม่ควรยึดมั่น ถือมั่น อีกต่อไป ควรเป็นตามเป็นจริงว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่ง นั้นเป็นสิ่งที่ต้องละ เพราะนำมาซึ่งความทุกข์

   5. การเห็นสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ด้วยการละ พึงสมาทาน การปล่อยวางอารมณื นั้นด้วยใจ....

“สมาธึ ภิกขเว ภาเวถ สมาหิโต ยถาภูตํ ปชานาติ”
ภิกษุทั้งหลาย เธอจงยังสมาธิให้เกิดเถิด ผู้มีจิตตั้งมั่นแล้ว ย่อมรู้ตามความเป็นจริง

"สมาหิโต ยถาภูตัง ปชานาติ"
ผู้มีจิตตั้งมั่นแล้ว ย่อมรู้ตามความเป็นจริง



สมาปัชชนวสี 20 ส.ค. 59  13.00 น.
วุฏฐานวสี     22 ส.ค. 59  09.00 น.
รอบนี้ทำได้น้อยเพราะว่า ติดดูสถานการณ์ ต่าง เช่นกำหนดไปงานศพ มาต่อ โยมแม่อีก เลยทำให้ช่วงที่ตั้งใจไว้ ไม่ได้ทำ แต่ก็รักษาการเข้ากรรมฐาน ไว้บ้าง เล็ก ๆ น้อย ๆ ก็ยังดี ๆ กว่าไม่ได้ทำเสียเลย


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 20, 2016, 11:47:38 am โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
รวมหัวข้อ ศึกษา ธรรม เข้าพรรษา วันที่ 33 ( 22 ก.ค. 59 )
« ตอบกลับ #33 เมื่อ: สิงหาคม 22, 2016, 10:42:02 am »
0


ต้องขอบอกว่า อันนี้ต้องขอบคุณในสายธรรมเก่า ที่อบรมสั่งสอนมาให้รู้จัก ที่ต่ำ(นรก) ที่สูง(สวรรค์)เพราะความเคารพเป็นคุณธรรมของมนุษย์ขั้นพื้นฐาน ความเคารพยอดเยี่ยม ที่แม้แต่ผู้ยอดเยี่ยมที่สดของที่สุด ก็คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ยังให้ความเคารพ  และแม้แต่พระพุทธเจ้าในสมัยต่อ ๆ ไปด้วยก็ให้ความเคารพนั่นก็คือ พระธรรม และไม่ว่าสมัยนั้นต่อไปอย่างไร ธรรมเนียมนี้ก็จะไม่มีการเปลี่ยนแปลง เพราะธรรมดาของพระพุทธเจ้าทั้งหลายนั้น เป็นเช่นนั้นเอง

ที่นี้ประโยคสำคัญ ก็คือ สัทธัมโม คะรุกาตัพโพ  พึงเคารพพระสัทธรรม

ปัญหาวินิจฉัยต่อไป ก็คือ พระสัทธรรม คือ อะไร ?
คำตอบสั้น ๆ และก็ไม่ผิด นั่นก็คื มรรค 4 ผล 4 และ นิพพาน 1

มรรค 4 คือ อะไร
 1. วิธีปฏิบัติ (หนทาง)ไปสู่ ความเป็นพระโสดาบัน
 2. วิธีปฏิบัติ (หนทาง)ไปสู่ ความเป็นพระสกทาคามี
 3. วิธีปฏิบัติ (หนทาง)ไปสู่ ความเป็นพระอนาคามี
 4. วิธีปฏิบัติ (หนทาง)ไปสู่ ความเป็นพระอรหันต์

ผล 4 คือ อะไร
 1. ความประจักษ์ธรรมละสังโยชน์ 3 เป็นพระโสดาบัน
 2. ความประจักษ์ธรรมละสังโยชนื 3 และ สังโยชน์ 4 - 5 ได้อย่างมาก (วัดไม่ได้ว่ามากขนาดไหน )
 3. ความประจักษ์ธรรมและโอรัมภาคิยะสังโยชน์ 5 ประการ
 4. ความประจักษ์ธรรม และ สังโยชน์ที่เหลืออยู่ อีก 5 ประการให้หมดไป (รวมเป็น 10 )

นิพพาน คือ อะไร
   บาลีประโยคเดียว นิพานานัง ปรมัง สุขัง นิพพาน เป็น บรมสุข ( คำว่า บรม ไม่มีอะไรยิ่งกว่าแล้ว )
   นิพพาน แปลว่า ความสุข ไม่ใช่แปลว่า ดับกิเลส

การดับกิเลส คือ อริยผล พระอรหันต์ท่านดับกิเลส 10 ประการแล้วอย่างสมุทเฉท แต่ก็ยังไม่เรียกว่า นิพพาน แต่ก็นับว่าเป้นความหมายหนึ่งของผู้มีสิทธิ์ที่ จะ นิพพาน

  แล้วทำไมต้องให้ความเคารพ ด้วย เพราะ นิพพาน เป็นเป้าหมายสูงสุด ของผู้ประพฤติธรรม แต่ระยะทางที่จะไปสู่เป้าหมาย ก็ต้องผ่านลำดับของสภาวะธรรมที่มี นิพพาน เป็นเป้าหมาย จะกล่าวว่า

  พระโสดาบัน ดับกิเลส แล้วมีส่วนเหลืออยู่ ชื่อว่า สอุปาทิเสสนิพพาน ก็ได้ ก็เป็น นิพพาน ระดับที่ 1 ถ้าพูดอย่างนี้ก็ไม่ผิด แต่ไม่ถูกความหมายแต่ก็ใช้ได้ เพราะก็ยังอยู่ในความหมาย

   ส่วนพระอรหันต์ ชื่อว่า อนุปาทิเสส ดับกิเลสไม่มีส่วนเหลือแล้ว ก็ใช่ เพราสังโยชน์ ทั้ง 10 ประการสิ้นหมดแล้ว ก็ได้แต่ก็ไม่ถูกความหมาย เป็นการอธิบายให้ผู้เข้าใจธรรมและภาวนาได้รู้มรรค และ ประจักษ์ของตนในขณะนั้นเท่านั้น

ดังนั้นผู้เจริญธรรม ที่ยังไม่ได้ มรรค 1 ผล 1 นั้นพึงทำสังวรไว้ว่า

 อธรรม ( อกุศล ) ย่อมนำพาไปสู่นรก
 ธรรม ( กุศล ) ย่อมนำพาไปสู่สุคติ
 เพราะผลของสภาวะธรรม ที่จำแนกมีผลไม่เหมือนแม้ใช้ชื่อรวม ว่า สภาวะธรรม เช่นกัน ตามสภาวะ ดังนั้นพระพุทธจึงได้แยก ให้เห็นชัดจากธรรมสภาวะ ว่า ธรรมที่เป็น กุศล กับ ธรรม ที่เป็น อกุศล อย่างนี้เพ่ื่อให้เราท่านทั้งหลายได้ทราบและพึงระวังสังวร อธรรม ( อกุศล ) ให้มากขึ้น

ที่นีสำหรับบุคคลทั่วไป เมื่อแยกแยะว่า อะไรดี อะไรชั่ว สิ่งสำคัญที่สุด คือเสมอต้นเสมอปลาย นั่นคือการรักษาความดี ถ้าเรารักษาความดี ได้เห็นธรรมในความดี เราต้องรักษาและธรรมก็จะรักษาเรา ให้มีจิตไม่เป็นทุกข์ในเบื้องต้น และถึง บรมสุข ( นิพพาน ) ในเบื้องปลาย

ผู้ประพฤติย่อมนำความสุขมาสู่ตนด้วยการเจริญธรรม ภาวนาตามฐานะที่ควรอยู่ในปัจจุบัน เวลาภาวนาแต่ละท่านก็ไม่ใช่จะเหมือนกัน บางท่านยังไม่เข้าใจหลักธรรม บางท่านก็เป็นโคตรภูบุคคลแล้ว ด้วนั้นเวลาเรียนธรรมต้องจำแนกธรรมให้เหมาะสมกับตน เพื่อความก้าวหน้าไปสู่เป้าหมายสูงสุด นั่นเอง

เจริญธรรม / เจริญพร




( ภาพนี้สื่อความหมายพระอริยะสงฆ์ในครั้งพุทธกาล ภาพอย่างนี้เป็นไปไม่ได้เลยในปัจจุบัน ที่จะเห็นพระอริยะสงฆ์จำนวนมาก อย่างนี้  อุคติตัญญู จำนวนมากถ้ามีที่ไหน ที่นั้นรมเย็น )



เย จะ อะตีตา สัมพุทธา เย จะ พุทธา อะนาคะตา,
โย เจตะระหิ สัมพุทโธ พะหุนนัง โสกะนาสะโน
พระพุทธเจ้าบรรดาที่ล่วงไปแล้วด้วย, ที่ยังไม่มาตรัสรู้ด้วย,
และพระพุทธเจ้าผู้ขจัดโศกของมหาชนในกาลบัดนี้ด้วย

สัพเพ สัทธัมมะคะรุโน วิหะริงสุ วิหาติ จะ,
อะถาปิ วิหะริสสันติ เอสา พุทธานะ ธัมมะตา
พระพุทธเจ้าทั้งปวงนั้นทุกพระองค์เคารพพระธรรม,ได้เป็นมาแล้วด้วย,
กำลังเป็นอยู่ด้วย, และจักเป็นด้วย, เพราะธรรมดาของพระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นเช่นนั้นเอง

ตัส๎มา หิ อัตตะกาเมนะ มะหัตตะมะภิกังขะตา,
สัทธัมโม คะรุกาตัพโพ สะรัง พุทธานะ สาสะนัง
เพราะฉะนั้น, บุคคลผู้รักตน, หวังอยู่เฉพาะคุณเบื้องสูง,
เมื่อระลึกได้ถึงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าอยู่, จงทำความเคารพพระธรรม

นะ หิ ธัมโม อะธัมโม จะ อุโภ สะมะวิปากิโน
ธรรมและอธรรมจะมีผลเหมือนกันทั้งสองอย่างหามิได้
อะธัมโม นิระยัง เนติ ธัมโม ปาเปติ สุคะติง
อธรรมย่อมนำไปนรก, ธรรมย่อมนำให้ถึงสุคติ

ธัมโม หะเว รักขะติ ธัมมะจาริง
ธรรมแหละย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรมเป็นนิตย์
ธัมโม สุจิณโณ สุขะมาวะหาติ
ธรรมที่ประพฤติดีแล้วย่อมนำสุขมาให้ตน

เอสานิสังโส ธัมเม สุจิณเณ
นี่เป็นอานิสงส์ในธรรมที่ตนประพฤติดีแล้ว
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 22, 2016, 01:42:44 pm โดย arlogo »
บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7263
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
รวมหัวข้อ ศึกษา ธรรม เข้าพรรษา วันที่ 34 ( 23 ส.ค. 59 )
« ตอบกลับ #34 เมื่อ: สิงหาคม 23, 2016, 02:12:10 pm »
0


ยินดีต้อนรับทุกท่านที่ติดตามเนื้อหา เริ่มต้นกันมาตั้งแต่เข้าพรรษา บัดนี้ถึงเวลาที่จะได้ถ่ายทอดธรรมที่เรียกว่า ภาคปฏิบัติจริง ๆ แล้ว นั่นก็คือเข้าศึกษา ภาคสมาธิ ซึ่งที่จริงเป็นลำดับสุดท้าย ใน มรรค แต่ปัจจุบันครูอาจารย์ส่วนใหญ่ จัดมาเป็นลำดับกลาง แต่ไปเรียงปัญญาเป็นลำดับสุดท้าย แต่ทางมูลกรรมฐาน กัจจายนนะ นั้นเรียงปัญญา เป็นลำดับต้น เรียงศีล เป็นลำดับกลาง และเรียง สมาธิ เป็นลำดับสุดท้าย
 


   ดังนั้นก่อนที่จะเริ่มปฏิบัติภาค สมาธิ ขอพูดถึงเรื่องสำคัญเสียก่อน นั่นก็คือการฝากตัวเป็นศิษย์ และ การสมาทานพระกรรมฐาน ตลอดถึงการขอขมากรรม ต่อ ขัน 5 เสียก่อนเพราะเป็นเรื่องสำคัญ

    1. การฝากตัวเป็นศิษย์ นั่นก็ต้องเลือกครูอาจารย์ ที่จะเป็นกัลยาณมิตร หรือธรรมาจารย์ ที่จะมาสอนธรรมแนะนำการภาวนา อันนี้มีความสำคัญ อยู่ที่วิจารณญาณของศิษย์ เป็นผู้เลือก แต่อย่างไร ก็ต้องแนะนำว่า ให้พยายามเลือก 4 ประเภท คือ
     1. พระสุปฏิปันโน  พระโสดาบัน
     2. พระอุชุปฏิปันโน พระสกทาคามี
     3. ญายะปฏิปันโน พระอนาคามี
     4. สามีจิปฏิปันโน พระอรหันต์

     แต่อย่างว่า พระเหล่านี้ไม่ได้มีป้ายแขวนบอกไว้ว่า ใครเป็นบ้างดังนั้น ก็ต้องอยู่ที่จิตสัมผัส และ ปฏิปทาของเรา ที่จะมีความฉลาดมากน้อยขนาดไหน ในการเข้าหาพระอริยะทั้งสี่

     แต่ถ้าหาไม่ได้ ก็ต้องใช้ปัญญาวิจารณญาณ ในธรรมที่สอน ต้องสังเกตว่า ธรรมาจารย์รูปไหน สอนอยู่อริยสัจจ 4 และ อริยะมรรคมีองค์ 8 แล้วนั่นให้แน่ชัดว่าอย่างน้อยท่าน น่าจะเป็นกัลยาณมิตร เรื่องนี้เคยประสบมาด้วยตนเองแล้ว คือเคยเข้าไฟังพระท่านพูดดี สอนดีมาก ฟังแล้วประทับใจ แต่เมื่อเข้าไปอยู่ด้วยแล้ว ปรากฏว่า ท่านสอนดี น่าประทับใจแต่การดำรงตน ของท่านเหล่านั้นกับเป็นที่น่าผิดหวังเป็นอย่างมาก มีการทะเลาะเบาะแว้ง ขึ้นมึง ขึ้นกูเรื่องกิจนิมนต์ เรื่องอาหารบิณฑบาตร ตอนนั้นเลยเห็นความจริงว่า ไม่ใช่แต่ฟังอย่างเดียว ต้องพิจารณาถึงปฏิปทา ของ พระธรรมาจารย์ด้วย ดังนั้นเรื่องการแสวงหา พระธรรมาจารย์ ส่วนหนึ่งต้องอยู่ที่วาสนาด้วย เพราะฉันเอง กว่าจะได้พระธรรมาจารย์ ที่งามพร้อมอย่างนี้ก็อายุปาไป 42 ปี เข้าไปแล้ว กว่าจะได้เรียนธรรมและมาภาวนาเข้าสู่กระแสธรรม ก็เกือบครึ่งคน ดังนั้นเรืองนี้ต้องบอกว่า อยู่ที่วาสนาด้วยส่วนหนึ่ง ไม่ใช่ว่าพระสงฆ์ทั้งประเทศจะเป็นพระดี พระปฏิบัติ ทั้งหมด ไม่ใช่เป็นพระทีมีตำแหน่งแล้วจะทรงการปฏิบัติ ที่ฉันพบมาจริง คือ พระที่ไม่มียศเป็นพระลูกวัดธรรมดา นี่ มีการปฏิบัติดีกว่า ให้คะแนนเลยว่า มากกว่าจริง ๆ แต่ที่พบไม่ใช่พระในเมืองส่วนมากเป็นพระตามป่า ตามถ้ำ นั่นแหละนะจ๊ะ เหมือนฉันได้พบครูก็ตอนท่านเดินธุดงค์มา และไปพบอยู่กับท่านที่ถ้ำ เป็นเวลาสองเดือน นั่นแหละในระหว่างที่เรียนกรรมฐาน ก่อนที่ท่านจะจากไป เราก็พยายามศึกษา หลักธรรมการภาวนา ให้มากที่สุด สำหรับข้าพเจ้า พระอาจารย์เฒ่า เป็นพระที่มีพระคุณในด้าน การสืบธรรม เป็นพระธรรมาจารย์ 1 ใน 3 ที่ฉันเคารพมาก

    2. การสมาทานพระกรรมฐาน คือ การเลือกแนวทางการภาวนาที่เราน่าจะไปได้ ตามอุปนิสัยเพราะกรรมฐาน แต่ละกองกรรมฐานนั้น ไม่ใช่อันใคร ๆ ทั่วไปจะฝึกกันได้ บางท่านก็ต้องฝึก กสิณ อย่างเดียว หรือ ขึ้นวิปัสสนา อย่างเดียวอย่างนี้เป็นต้น และผู้ที่จะชี้กองกรรมฐานที่เหมาะสม กับเราก็คือ พระธรรมาจารย์

    3.การขอขมา เป็นการยอมตนเป็นศิษย์สมบูรณ์ความสำคัญของการขอขมานั้น มีความสำคัญอย่างยิ่งเพราะการสอนพระกรรมฐาน เป็นขจัดนิสัยทางกิเลสโดยตรง ดังนั้นพระธรรมาจารย์ ย่อมมีคำสอนขัดกับนิสัยกิเลสของผู้เรียน ดังนั้นเพื่อเป็นการให้กรรมฐานก้าวหน้า ต้องให้ลูกศิษย์มอบตัวเป็นศิษย์เพื่อรับฟัง ข้อติติงปรับปรุงเปลี่ยนแปลงข้อบกพร่องในระหว่างการภาวนา เพื่อให้ธรรมเจริญก้าวหน้า

     การขอขมาเป็น ส่วนหนึ่งของการละมานานุสัย ดังนั้นท่านทั้งหลาย โปรดทบทวน สามข้อนี้ เสียก่อนแล้วจึงจะติดตามกันต่อไป ถ้าหากท่านรับสามข้อนี้ไม่ได้ ก็ไม่พึงต้องมาอ่านต่อ เพราะข้อความที่แสดงจะซับซ้อนเพิ่มเขึ้นไปเรือ่ย ๆ ดังนั้นขอให้ท่านทั้งหลายโปรดทบทวนเรื่องนี้หลาย ๆ รอบ เพื่อจะได้เจริญมั่นคงในกรรมฐาน มีเป้าหมายในการปฏิบัติพระกรรมฐาน นั่นเอง

   เจริญธรรม / เจริญพร


ฝึกกรรมฐาน จำเป็นต้องขึ้น กรรมฐาน หรือไม่ ?
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=1437.0



    การเรียนกรรมฐาน ขึ้นกรรมฐาน ไม่ได้เหมือนเมื่อก่อน หญิงชาย ตอนนี้ ทัดเทียมกัน ด้วยคุณธรรม ในปัจจุบัน หญิงและชาย สามารถขึ้น
กรรมฐาน เรียนกรรมฐาน ภาวนากรรมฐาน และสำเร็จมรรคผล ได้ไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน ดังนั้นความเป็นหญิง อิตถีวิญญัติ ปุริสวิญญัติ ไม่ได้เป็นอุปสรรค รวมถึง ความแก่ ความเจ็บ และ ความชราด้วยก็ไม่ได้เป็นอุปสรรค ในการขึ้นเรียนกรรมฐาน เพราะการเรียนกรรมฐาน เป็นประโยชน์ตน หาใช่ประโยชน์ท่าน แต่ประโยชน์ท่านได้ทางอ้อมเท่านั้น

มัชฌิมา ปลายทางสู่ อมตะ
แบบลำดับ เป็นลำดับ สร้างนิสัย
จิตรวมมรรค แจ้งในผล ชอบอย่างชัย
จิตห่างไกล สมชื่อท่าน อริยะ เอย
ธัมมะวังโส
20 เม.ย.59

ถ้าไม่ขึ้น กรรมฐาน ก็ปฏิบัติกรรมฐาน ได้ สำหรับ ผู้ที่ศึกษาและจะปฏิบัติด้วยตนเอง นะจ๊ะ
ซึ่งอนุโมทนาด้วยนะจ๊ะ ก็มีตำรา สนับสนุน รวมทั้งพระไตรปิฏก ซึ่งทางเว็บ สมเด็จสุก และ เว็บมัชฌิมา มิได้ปกปิด วิชา ส่วนนี้ไว้ มีเนื้อหาสามารถดาวน์โหลด ไปอ่านได้เลย ซึ่งผู้ที่ต้องการศึกษาและปฏิบัติด้วยตนเอง ก็สามารถปฏิบัติกรรมฐาน ตามที่ท่านคิดไว้ได้ นะจ๊ะ ก็ขอ อนุโมทนา ด้วยนะจ๊ะ ขอให้ถึงธรรม คือ การก้าวล่วงพ้นจากสังสารวัฏ นี้โดยไว

 ถ้าไม่ขึ้น กรรมฐาน อาจารย์สอนกรรมฐาน จะสอนกรรมฐานให้หรือไม่ ?

 ก็ตอบ ว่า สอน นะจ๊ะ แต่ต้องดูสภาวะของผู้นั้นด้วย ว่าจะรับได้แค่ไหน เพราะส่วนใหญ่ คนที่ไม่ขึ้นกรรมฐาน ก็คือผู้ที่ไม่ให้ความเคารพต่อผู้สอน นะจ๊ะ ก็คือ ไม่รู้จะเชื่อฟังกันหรือไม่ ดังนั้น ก็ต้องดูสภาวะธรรมของผู้ที่ไม่ขึ้นกรรมฐาน ด้วย ว่าจะเรียนกรรมฐาน กับผู้สอนกรรมฐานนั้นอย่างไร

 คำตอบโดยรวม ที่ท่านทั้งหลายมักจะคิดกันก็เป็นอย่างนี้นะจ๊ะ

 ส่วนนี้จะตอบ สำหรับผู้ที่ไม่ขึ้นกรรมฐาน จากใจ

  1. ศึกษาด้วยตนเอง ต้องมีบารมีธรรม มาสูง มีความเป็นไปได้ 10 เปอร์เซ็นที่จะปฏิบัติได้

  2. จะไม่ได้รับคำแนะนำ ที่เป็นปัจจัยที่ เอื้อต่อการปฏิบัติโดยตรง เพราะผู้สอนจะกล่าวเพียงพื้นฐาน และรับฟัง ธรรมสภาวะ ของผู้ที่ไม่ขึ้นกรรมฐาน แนะนำอย่างสั้น ๆ ก็คือสอนพื้นฐานให้ ซึ่งพอได้ฟังแล้วจึงไม่มีความต่างจากที่อื่น ๆ ที่สอนกัน

  3. ส่วนตัว จะไม่พูด เรื่องกรรมฐาน กับผู้นั้นเลย นะจ๊ะ ดังนั้น ผู้ที่พบอาตมาถ้าไม่มีความศรัทธาในกรรมฐานจะไม่ได้ยิน คำสอนในเรื่องกรรมฐาน จากอาตมาเลย ซึ่งบางท่านมานั่งคุยกันเป็นวัน ในเรื่องธรรมะ ก็คุยกันไปในเรื่องนั้น แต่ไม่มีคำแนะนำในเรื่องการภาวนา เพราะกรรมฐานมัชฌิมา ไม่ใช่กรรมฐาน ปริยัตินะจ๊ะ ต้องผ่านการภาวนาถึงจะไปลำดับต่อไป นะจีะ

  4. การเรียนกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับต้องมีบารมี ต่อครูอาจารย์กันด้วยความผูกพันระหว่างศิษย์กับอาจารย์ ในสายกรรมฐานนั้นจึงมีความจำเป็นต่อกันและกัน ไม่ใช่ว่าอาตมารู้กรรมฐานแล้วจะเที่ยวเดินพูด เดินบอกให้คนนั้น คนนี้ปฏิบัติ หากแต่ไม่มีบารมีร่วมกัน ก็ไม่พูด ไม่สอนกันนะจ๊ะ

 เจริญธรรม
 
ความหายนะของการปรามาสพระรัตนตรัย
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=421.0


 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 23, 2016, 03:29:09 pm โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7263
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
รวมหัวข้อ ศึกษา ธรรม เข้าพรรษา วันที่ 35 ( 24 ส.ค. 59 )
« ตอบกลับ #35 เมื่อ: สิงหาคม 24, 2016, 02:24:21 pm »
0


เมื่อวานได้กล่าวเรื่อง ของกัลายณมิตร จนมีหลายท่านติดต่อมาว่า พระอรหันต์ ยังมีอยู่อีกหรือ ถ้ามี ๆ อยู่ที่ไหนบ้าง

ต้องตอบดังนี้ พระอรหันต์ยังมีอยู่ ตามพระพุทธพจน์ ก็กล่าวไว้  ส่วนจะมีใครนั้น หรืออยู่ที่ไหนนั้น ฉัน ไม่ทราบ ถึงทราบก็บอกไม่ได้ นะ ใครจะเป็น หรือ ไม่เป็นช่างเหอะอย่าเพิ่งไปสนใจตรงนั้น

  พระอรหันต์ ไม่ใช่ หมายถึงบิดามารดา ของ ลูก ( ความหมายนี้เราจะไม่พูดนะ ) เพราะบางพ่อบางแม่ ที่เห็นไม่ใช่อรหันต์ ก็มี ( ทรมานทรกรรมลูก เหมือนยักษ์ มาร เริ่มเยอะนะ )



พระสุตตันตปิฏก  ทีฆนิกาย  มหาวรรค  [๓.  มหาปรินิพพานสูตร]
 เรื่องสุภัททปริพาชก
ฉบับมหาจุฬาลงกรณ์ เล่มที่ 10 หน้า 162 หัวช้อ 213-214 แสดงเรื่อง โลกนี้ไม่ว่างจากพระอรหันต์

       สุภัททปริพาชกจึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ    ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ    พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง    ณ    ที่สมควร    ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า 
       “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ    สมณพราหมณ์ที่เป็นเจ้าหมู่เจ้าคณะเป็นอาจารย์    มีชื่อเสียงเกียรติยศ    เป็นเจ้าลัทธิ    ประชาชนยกย่องกันว่าเป็นคนดีได้แก่    ปูรณะ    กัสสปะ    มักขลิ    โคศาล    อชิตะ    เกสกัมพล    ปกุธะ    กัจจายนะ    สัญชัย เวลัฏฐบุตร    นิครนถ์    นาฏบุตร    เจ้าลัทธิเหล่านั้นทั้งหมดรู้ตามที่ตนกล่าวอ้าง    หรือไม่ได้รู้ตามที่ตนกล่าวอ้าง    หรือบางพวกรู้    บางพวกไม่รู้”
            พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
        “สุภัททะ    อย่าเลย    เรื่องที่เธอถามว่า    ‘เจ้าลัทธิเหล่านั้นทั้งหมดรู้ตามที่ตนกล่าวอ้าง    หรือไม่รู้ตามที่ตนกล่าวอ้าง    หรือบางพวกรู้บางพวกไม่รู้’    อย่าได้สนใจเลย    เราจะแสดงธรรมแก่เธอ    เธอจงฟัง    จงใส่ใจให้ดี
เราจะกล่าว”

สุภัททปริพาชกทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
            พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า
            [๒๑๔]    “สุภัททะ    ในธรรมวินัยที่ไม่มีอริยมรรคมีองค์    ๘    ย่อมไม่มีสมณะที่    ๑ย่อมไม่มีสมณะที่    ๒    ย่อมไม่มีสมณะที่    ๓    ย่อมไม่มีสมณะที่    ๔๑    ในธรรมวินัยที่มี อริยมรรคมีองค์    ๘    ย่อมมีสมณะที่    ๑    ย่อมมีสมณะที่    ๒    ย่อมมีสมณะที่    ๓    ย่อมมีสมณะที่    ๔    สุภัททะ    ในธรรมวินัยนี้มีอริยมรรคมีองค์    ๘    สมณะที่    ๑    มีอยู่ในธรรมวินัยนี้เท่านั้น    สมณะที่    ๒    มีอยู่ในธรรมวินัยนี้เท่านั้น    สมณะที่    ๓    มีอยู่ในธรรมวินัยนี้เท่านั้น    สมณะที่    ๔    ก็มีอยู่ในธรรมวินัยนี้เท่านั้น    ลัทธิอื่นว่างจากสมณะทั้งหลายผู้รู้ทั่วถึง    สุภัททะ    ถ้าภิกษุเหล่านี้เป็นอยู่โดยชอบ    โลกจะไม่พึงว่างจากพระอรหันต์ทั้งหลาย
            สุภัททะ    เราบวชขณะอายุ    ๒๙    ปี
              แสวงหาว่าอะไร    คือกุศล
              เราบวชมาได้    ๕๐    ปีกว่า
              ยังไม่มีแม้สมณะที่    ๑    ภายนอกธรรมวินัยนี้
            ผู้อาจแสดงธรรมเป็นเครื่องนำออกจากทุกข์ได้
            ไม่มีสมณะที่    ๒    ไม่มีสมณะที่    ๓    ไม่มีสมณะที่    ๔    ลัทธิอื่นว่างจากสมณะทั้งหลายผู้รู้ทั่วถึง    สุภัททะ    ถ้าภิกษุเหล่านี้เป็นอยู่โดยชอบ    โลกจะไม่พึงว่างจากพระอรหันต์ทั้งหลาย”



 ก็คงตอบกันไว้แต่เพียงเท่านี้นะ ในเรื่องพระอรหันต์ มี หรือ ไม่มี
ดังนั้นตอนนี้ที่ต้องพิจารณา ไม่ใช่พระอรหันต์ แต่ให้พิจารณาหลักธรรม ที่จะนำไปปฏิบัติต่างหากว่า เป็นเรื่องงมงายไหม ดับทุกข์ได้ไหม อย่างนี้ อันนี้เป็นเรื่องที่ควรจะต้องพิจารณาก็ขึ้นอยู่ที่ปัญญา ของ แต่ละท่าน ให้พิจารณาธรรม คือ อริยสัจ 4 และ พระอริยมรรค มีองค์ 8 เสมอ ๆ

 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 24, 2016, 02:28:02 pm โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7263
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
รวมหัวข้อ ศึกษา ธรรม เข้าพรรษา วันที่ 35-39 ( 25 - 30 ส.ค. 59 )
« ตอบกลับ #36 เมื่อ: สิงหาคม 25, 2016, 11:03:41 am »
0


ตอนนี้รู้สึกปวดคอ กับเท้าบวม เนื่องด้วย รักษาสัจจะเนสัชชิกธุดงค์ ตาก็รู้สึกปวด แต่ปวดตาหลบได้อยู่ ที่เวทนามีมากก็คือ ปวดคอ กับ เท้าบวม เวลาฉันน้ำแล้ว น้ำลงไปที่เท้า แล้วเราไม่ได้คลายอิริยาบถด้วยท่านอน จึงทำให้ปัญหา เกิดกับ รูป ( ภาชนะ ) นี้มากขึ้น ดังนั้นจึงจำเป็นต้อง เข้ากรรมฐานเพิ่มขึ้น อธิษฐานวันนี้ 25 - 30 ส.ค.59 ก็ขอฝากทุกท่าน ดูแลเว็บ เฟคกันให้ด้วย
เจริญธรรม / เจริญพร

( ตอนที่หลับ นั้นจะได้ยินเสียงหายใจ ฟู่ฟ่า มาก สภาวะจิตก็บอกว่า อย่าคอตกนะ ก็ได้ผลอยู่ พรรษานี้คอไม่ตก ใครมีเคาน์เตอร์เพลนบามล์ชนิดร้อน ส่งมาให้ก็ดี )

ตอบคำถาม
ถาม เนสัชชิกธุดงค์ คือ อะไร
ตอบ คือการอธิษฐานสัจจะ ว่าจะใช้ชีวิตอยู่ด้วย 3 อิริยบถ แต่การให้นั่งเป็นส่วนใหญ่ เว้นอิริยาบถเดียว คือการไม่นอน แต่ไม่ใช่ไม่หลับ ท่าจะหลับก็สามารถให้หลับได้ ใน 3 อิริยาบถ คือ ยิน เดิน นั่ง แต่ถ้าจะปลอดภัย ก็ต้องหลับในท่านั่ง
เป็นอัตกิลมถานุโยคไหม ?
ส่วนตัวคิดว่า เป็น แต่ ว่าเป็น ธุดงค์ ที่พระพุทธเจ้าอนุญาตไว้ แสดงว่า ไม่ถึงกับ ทรมานตนมากแค่ลำบากนิดหน่อย สำหรับการทำเนสัชชิกธุดงค์ ฉันปฏิบัติตามหลวงปู่เปลื้องในคราไปเรียนกับท่านที่ พัทลุง

เห็นมีเฟคท่าน รู้สึกคิดถึงท่านเหมือนกัน
https://www.facebook.com/panyawanto






สมาปัชชนวสี 25 ส.ค. 59  20.00 น.
วุฏฐานวสี     30 ส.ค. 59  09.00 น.

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 25, 2016, 11:15:52 am โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
รวมหัวข้อ ศึกษา ธรรม เข้าพรรษา วันที่ 39 ( 30 ส.ค. 59 )
« ตอบกลับ #37 เมื่อ: สิงหาคม 30, 2016, 09:46:44 am »
0


ไม่มีเวลาพิมพ์ เอาไฟล์เสียงก็แล้วกัน ยกประโยขน์ให้คนชอบฟัง



 ;)

สัพเพ สัตตา
- สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกัน ทั้งหมดทั้งสิ้น ,
เราอุทิศบุญกุศลของเราให้หมดด้วยกัน

อะเวรา
- จงเป็นสุข ๆ เถิด อย่าได้มีเวรต่อกันและกันเลย

อัพ๎ยาปัชฌา
- จงเป็นสุข ๆ เถิด อย่าได้พยาบาทเบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย

อะนีฆา
- จงเป็นสุข ๆ เถิด อย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย

สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
- จงมีแต่ความสุขกายสุขใจ , รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัย ทั้งสิ้นเถิด


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 30, 2016, 10:11:09 am โดย patra »
บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา

suchin_tum

  • ไม่กลับมาเกิด
  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 486
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: รวมหัวข้อ ศึกษา ธรรม เข้าพรรษา วันที่ 1 ( 20 ก.ค. 59 )
« ตอบกลับ #38 เมื่อ: สิงหาคม 30, 2016, 10:25:04 pm »
0
     ขออนุโมทนาสาธุ ครับ
บันทึกการเข้า
ขอน้อมอาราธนากำลังแห่งครูอาจารย์กรรมฐานมัชฌิมาจงมาประสิทธิ์ประศาสตร์

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7263
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
รวมหัวข้อ ศึกษา ธรรม เข้าพรรษา วันที่ 40 ( 31 ส.ค. 59 )
« ตอบกลับ #39 เมื่อ: สิงหาคม 31, 2016, 02:28:28 pm »
0


ฝึกสมาธิ ควรต้องเข้าใจ เรื่อง กาย ไฟล์เสียง ยกประโยชน์ให้คนฟัง เวลาพิมพ์ไม่มีตอนนี้เหนื่อยมาก อยากจะพัก กายก็ปวดทรมาน มีแต่เพียงจิตที่ผ่องใส เท่านั้นที่ไม่เป็นทุกข์ตาม




ฝึกสมาธิ ควรต้องเข้าใจ เรื่อง กาย




   สมาธิ ไม่ใช่แต่เพียงจัดการ จิตเท่านั้น ถึงแม้ความหมายมุ่งไปที่จิต แต่สมาธิ ต้องอาศํยกาย ร่วมด้วย ถ้ากายไม่ยินยอม สมาธิ ก็มีไม่ได้ เช่นเวลานั่งกรรมฐาน ไปแล้วปวดเมื่อย จิตยินยอม แต่กายไม่ยินยอม ในที่สุดก็เลิก

    ดังนั้นการฝึกสมาธิ ต้องมีการพัฒนา ไปพร้อมกัน สามส่วน คือ
    1. กายหยาบ  คือ ภาชนะกายประกอบด้วย คุณธาตุทั้งสี่ ไม่ใช่กายเนื้อแต่เป็นกายนิมิตรที่เกิดจาก คุณธาตุทั้ง 4
    2. กายละเอียด คือ ธาตุละเอียด เป็นอากาศธาตุ และ หทัยรูป ทั้งหมดรวมเรียกว่า อุปาทายรูป กายนี้เกิดจาก คุณธาตุ 2
    3. กายทิพย์ คือ กายหยาบ และ กายละเอียด รวมตัวกันเป็น กายที่เกิดขึ้นจากสภาวะ สมาธิ เรียกว่า กายนิมิตร หรือ กายนิรมิต เกิดขึ้นจากสภาวะจิตที่เป็นสมาธิ สร้างรูปแบบของจิตตามสภาวะที่ว่างกิเลสเบื้องต้น แตกต่างจากกายเทวดา และ โอปปาติกะ เพราะกายนี้ไม่ได้ผุดขึ้นเอง แต่เกิดจากกายเนื้อ กายหยาบ และ กายละเอียด
 
     ส่วนนี้ไม่เรียกว่าการพัฒนา แต่เรียกว่า ตัดขาดจากโลก
    4. กายพระโคตรภู ( กายเหนือโลก หรือ อีกชื่อว่า กายปรมัตถ์  ) เป็นกายประจักษ์ ธรรมตั้งแต่ พระโสดาปัตติมรรค จนถึงกายพระอรหัตผล

     สรุป กายทั้ง 4 นี้จะมีได้เห็นได้ ด้วยสมาธิ เท่านั้นเป็น ปรากฏการณ์ ที่จะเกิดได้ทางสมาธิ และ จะส่งผลต่อกายเนื้อ บ้างเป็นครั้งคราว ถ้าหาก กายทิพย์นั้น กระทำอะไรบางอยาง แต่โดนปกติแล้ว จะไม่กระเทือน กับ สภาวะกายเนื้อ

     ทำไมต้องรู้ ต้องทราบ
     ที่ต้องรู้ ก็คือ ต้องรู้ว่า กายไหน จะไปนิพพาน กายไหน จะต้องวนเวียน ในสังสารวัฏ
     ผู้ที่ได้กาย โคตรภู นั้น ไม่ผ่านกาย ทิพย์ ชื่อว่า บรรลุคุณธรรมปัญญาวิมุตติ
     ผู้ที่ได้กาย  โคตรภู แล้ว ผ่านกายทิพย์ ชือ่ว่า บรรลุคุณธรรมเจโตวิมุตติ

     กายในกาย เป็นพระวาจา ที่พระพุทธเจ้าตรัสบ่อย ๆ ในการแสดงอรรถาธิบายเรื่อง กายานุปัสสนา
     
     กายในกาย ก็คือ กายเนื้อ เป็นเบื้องนอก และ ก็ย่อลงเป็นกายหยาบ ย่อลงเป็นกายละเอียด ย่อลงเป็นกายทิพย์ ย่อลงเป็นกายโคตรภู
     
     กายในภายนอก คือ ธาตุสี่ ( ประกอบด้วยธาตุ 4 ) มี เกศา โลมา นขา ทันตา ตโจ เป็นต้น
     
     กายในภายใน คือ ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก นิมิตร

     ดังนั้นผู้เจริญ สมาธิ ต้องรู้จักกาย และทำความเข้าใจให้ถูกต้อง ว่า ตอนนี้ ขณะนี้ กายไหนที่เรายังไม่มี และจะทำให้มีได้อย่างไร และกายไหน เป็นกายที่สิ้นสุด

     เปรียบเทียบกาย ทั้ง สี่ กับ มหาสติปัฏฐาน สี่     

     กายหยาบ คือ กายานุปัสสนา
     กายละเอียด คือ เวทนานุปัสสนา
     กายทิพย์ คือ จิตตานุปัสสนา
     กายโคตรภู คือ ธรรมานุปัสสนา

     ดังนั้นเรื่องของกาย จึงควรทราบเป็นเบื้องต้น ก่อนทำสมาธิ ฝึกฝนสมาธิ เพื่อไม่ให้หลงทางในการภาวนาสมาธิ ดังนั้นผู้ฝึกจะมีการพัฒนาการ เข้าไปประจักษ์ธรรม ได้ เว้น ได้กายเดียว คือ กายทิพย์ หรือ จิตตนุปัสสนา เพราะ จิตตานุปัสสนา นั้นมุ่งตรงที่ สัมมาสมาธิ ขั้นละเอียด  นั่นเอง   

     เจริญธรรม / เจริญพร



   

   
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 31, 2016, 06:40:14 pm โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ