ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ที่ถูกคือ.."กงเกวียนกำเกวียน" ไม่ใช่ 'กงกรรมกงเกวียน'  (อ่าน 9623 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28448
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

วงล้อแห่งสังสารจักร
(กระทู้ของคุณmiran)
   
     พระอรหันต์ คือผู้ที่ทำลาย ซี่กำแห่งสังสารจักร คำว่า ซี่กำแห่งสังสารจักร หมายถึงอะไรครับ

สังสารจักร ก็คือ สังสารวัฏฏ์
(ความคิดเห็นที่ 1 โดยคุณpaderm)
     การทำลายซี่กำแห่งสังสารจักร เป็นคุณธรรมประการหนึ่งของพระอรหันต์ทั้งหลาย ซึ่งคำว่า ซี่กำแห่งสังสารจักร ในที่นี้ก็ต้องเข้าใจก่อนคำว่า สังสารวัฏฏ์ คือ การเกิดขึ้นของสภาพธรรมทีเ่ป็นจิต เจตสิก เกิดดับสืบต่อกันไปไมไ่มีที่สิ้นสุด  หรือที่เป็นกิเลส กรรมวิบาก เปรียบเหมือนวงล้อที่หมุนไปไม่มีที่สิ้นสุด หมุนวนไปอย่างนั้น   

     วงล้อ(รถเกวียน)จึงเปรียบเหมือนการท่องเที่ยวไปของหมู่สัตว์เกิดตายไม่มีที่สิ้นสุดครับ เป็นวงล้อหมุนเรื่อยไปนั่นเอง
     สังสารวัฏฏ์จึงเปรียบเหมือน วงล้อของล้อเกวียน   
     ดุมล้อเกวียนที่อยู่ตรงกลาง คือ อวิชชาและตัณหา อันเป็นต้นเหตุที่ล้อสามารถหมุนได้
     เพราะมีดุมตรงกลางส่วนซี่กำ ทีเ่ป็นซี่ๆ ยึดระหว่างดุม กับกงของเกวียนด้านนอก 
     และ ซี่กำนั้น คือ เจตนาเจตสิก ที่เ่ป็นไปในการทำกุศลกรรม-อกุศลกรรม
     เพราะมีเจตนาในการทำกรรม คือ มีการทำกุศลกรรม อกุศลกรรม(ซี่กำ) จึงมีการเกิด
   

     เพราะอาศัยการทำกรรมที่เป็นกุศลกรรมและอกุศลกรรม วงล้อคือสังสารวัฏฏ์จึงหมุนไปได้
     แต่เมื่อไม่มีการกระทำกรรมที่เ่ป็นกุศลกรรมและอกุศลกรรมแล้ว ก็จะไม่มีการเกิด ไม่มีการตาย สิ้นสุดสังสารวัฏฏ์ครับ

     ดังนั้น ซี่กำของล้อเกวียน เมื่อถูกทำลาย ล้อก็หมุนไม่ได้นั่นเองครับ   
     พระอรหันต์ทำลายซี่กำคือสังสารจักร คือ ไม่มีการทำกุศลกรรมและอกุศลกรรมอีก
     จึงไม่มีการเกิดอีกต่อไปครับ ล้อก็หมุนไม่ไ่ด้ คือ ล้อสังสารวัฏฏ์ครับ


     ที่สำคัญพระอรหันต์ ท่านดับต้นเหตุ คือ ทำลายดุมของล้อด้วย คือ อวิชชาและตัณหา     
     ก็เมื่อทำลายดุม ก็ทำลายซี่กำด้วย เพราะเมื่อดับอวิชชาหมดก็ดับกิเลสหมด
     จิตของท่านจึงเป็นกิริยาจิต กับ วิบากจิตเท่านั้น ไม่เป็นกุศลกรรมและอกุศกรรมอีกแล้วครับ
     เมื่อไม่มีกุศลกรรม อกุศลกรรมที่เปรียบเหมือนซี่กำของล้อรถ ก็เป็นอันทำลายซี่กำของล้อรถนั่นเองครับ

     
     ดังนั้น เพราะอาศัยขวาน(ปัญญา) ถือด้วยมือ(ศรัทธา) ทำลายซี่กำและล้อรถนั้น นั่นเองครับ
     ซึ่งการจะทำลายซี่กำของสังสารจักร-ถึงความเป็นพระอรหันต์ คือ ดับกิเลสหมด ก็ด้วยการอบรมปัญญา
     โดยเริ่มจากการฟังพระธรรมให้เข้าใจเป็นสำคัญครับ อาศัยการศึกษาพระธรรมไปเรื่อยๆ ปัญญาค่อยๆเจริญ ก็สามารถถึงการดับกิเลสได้ครับ ขออนุโมทนา



อ้างอิง วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที่ 250
ที่มา http://www.dhammahome.com/front/webboard/show.php?id=19636
ขอบคุณภาพจาก http://img94.imageshack.us/




กงเกวียนกำเกวียน
    (สํา) ใช้เป็นคําอุปมาหมายความว่า เวรสนองเวร, กรรมสนองกรรม, เช่น ทําแก่เขาอย่างไร ตนหรือลูกหลานเป็นต้นของตนก็อาจจะถูกทำในทำนองเดียวกันอย่างนั้นบ้าง เป็นกงเกวียนกําเกวียน.

ที่มา พจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒


“กงเกวียนกำเกวียน” ไม่ใช่ “กงกรรมกงเกวียน”
posted on 31 Mar 2009 06:37 by pbmath  in WONDERS

    เกวียน เป็นพาหนะที่คนไทยแต่ก่อนนิยมใช้
    กงเกวียน คือ วงรอบของล้อเกวียน
    ส่วน กำเกวียน (คำว่า กำ เขียน ก ไก่ สระอำ) คือ ซี่ล้อซึ่งตรงกลางมีดุมที่มีรูสำหรับสอดเพลาเป็นแกนยึดล้อ ๒ข้าง เมื่อกงเกวียนหมุนไปทางใด กำเกวียนก็หมุนตามไปทางนั้น
 
 

   ในภาษาไทยมีสำนวนเปรียบเทียบว่า กงเกวียนกำเกวียน หมายถึง การกระทำใด ๆ ที่มีผลต่อผู้กระทำนั้น ๆ เช่น เขาทำบาปมาตลอดชีวิต จึงต้องทุกข์ทรมานเช่นนี้ นี่แหละกงเกวียนกำเกวียน
 
    สำนวนนี้มักใช้กันผิดๆว่า กงเกวียนกรรมเกวียน (คำว่า กรรม  เขียน ก ไก่  ร หัน  ม ม้า)
    เพราะเข้าใจว่า “กำ” ในสำนวนนี้คือ “กรรม” ซึ่งแปลว่า การกระทำ
    บ้างก็ใช้คำผิดและยังลำดับคำผิดเป็น “กงกรรมกงเกวียน” ก็มี

    ที่ถูกต้องคือ กงเกวียนกำเกวียน จำง่ายๆว่า กง (ของ) เกวียน และ กำ (ของ) เกวียน



ที่มา :  บทวิทยุรายการ "รู้ รัก ภาษาไทย" ออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๐ เวลา ๗.๐๐-๗.๓๐ น.
http://www.gunsandgames.com/smf/index.php?topic=96948.0
ขอบคุณภาพจาก http://202.44.68.33/files/,http://www.haarai.com/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 19, 2012, 10:58:09 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ