สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

เรื่องทั่วไป => forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน => ข้อความที่เริ่มโดย: raponsan ที่ กุมภาพันธ์ 11, 2013, 08:51:56 am



หัวข้อ: พศ.หวั่นตั้ง 'พุทธสภา' งานทับซ้อนกรมการศาสนา
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ กุมภาพันธ์ 11, 2013, 08:51:56 am

(http://www.dra.go.th/images/showtime/TBC1.jpg)

พศ.หวั่นตั้ง 'พุทธสภา' งานทับซ้อนกรมการศาสนา

ส่อเค้าวุ่น!! "ตั้งพุทธสภาหนุนงานศาสนาของกรมการศาสนา" รอง ผอ.สำนักพุทธฯ วิพากษ์ 7 ประเด็นให้เร่งสางแก้ปัญหาก่อน ชี้ทำงานทับซ้อนกับ มส.

เมื่อวันที่ 10 ก.พ. นายอำนาจ บัวศิริ รองผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) กล่าวว่า จากการที่ตนได้เข้าร่วมการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการจัดตั้ง “พุทธสภา” ของกรมการศาสนา (ศน.) กระทรวงวัฒนธรรม โดยพุทธสภาจะผนึกกำลังภาคเครือข่าย 9 ประเภท ได้แก่
    1.ภาคีเครือข่ายภาคพระสงฆ์
    2.สตรี
    3.องค์กรการกุศล
    4.ชุมชน
    5.ภาคธุรกิจ
    6.ภาควิชาการและวิชาชีพ
    7.สื่อมวลชน
    8.ผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา และ
    9.เด็กและเยาวชน
 
    เพื่อส่งเสริมงานด้านพระพุทธศาสนา โดยมีทั้งพุทธสภาระดับชาติ และระดับจังหวัดนั้นตนได้เสนอในที่ประชุมไปว่า ทาง พศ. เห็นด้วยที่จะมีหน่วยงานจากองค์กรประชาชน ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมส่งเสริมพระพุทธศาสนาอย่างเข้มแข็ง


(http://static.cdn.thairath.co.th/media/content/2013/02/10/325774/hr1667/630.jpg)

    แต่ได้ตั้งข้อสังเกต 7 ประการ เกี่ยวกับการจัดตั้งพุทธสภาว่าจะสามารถดำเนินการได้จริงหรือไม่ คือ

1.เมื่อตั้งพุทธสภาเป็นองค์กรของภาคเอกชนส่งเสริมพระพุทธศาสนา แต่กลับตั้งวัฒนธรรมจังหวัดเป็นเลขาธิการคณะกรรมการระดับจังหวัด และรองอธิบดี ศน. เป็นเลขาธิการคณะกรรมการระดับชาติ ถือว่าผิดวัตถุประสงค์ เพราะองค์กรเอกชนต้องมีการเลือกเลขาธิการกันเอง ไม่ใช่ให้ทางราชการเข้าไปกำหนด

2.มีการตั้งให้สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดเป็นที่ปรึกษาพุทธสภาในระดับจังหวัด ผอ.พศ. เป็นที่ปรึกษาพุทธสภาระดับชาติ หากจังหวัดไม่ได้รับความร่วมมือเป็นที่ปรึกษาให้ ทาง ศน. จะทำอย่างไร

3.การประกาศจัดตั้งพุทธสภาอาศัยกฎหมายอะไรรองรับ ซึ่งจนถึงขณะนี้ยังไม่มีกฎหมายอะไรรองรับ

4.การดำเนินงานของ พศ.กับ ศน.มีความทับซ้อนกันอยู่ในรูปแบบพัฒนากิจการด้านพระพุทธศาสนา และยังไม่มีการแบ่งแยกให้ชัดเจนเลย แต่ก็มีการจัดตั้งพุทธสภาขึ้นมาทำหน้าที่เดียวกันนี้อีก ต่อไปหากมีกรณีเกิดความขัดแย้งระหว่างมหาเถรสมาคม (มส.) พศ. และพุทธสภา อะไรจะเกิดขึ้น

5.การทำงานพระพุทธศาสนา ประกอบด้วยพุทธบริษัท 4 คือ พระสงฆ์ ภิกษุ อุบาสก อุบาสิกา แต่การจัดตั้งพุทธสภาเป็นองค์กรเอกชน เป็นการทำงานของอุบาสก อุบาสิกา ส่วนการทำงานของพระสงฆ์มี พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2505 และ มส. อีกส่วนหนึ่ง เหมือนเป็นการแยกพุทธบริษัท 4 ออกจากกัน

6.การจัดตั้งพุทธสภาจะมีการเลือกตั้งคณะกรรมการแล้วในเดือน ก.พ.-มี.ค.นี้ และมีการให้พระสงฆ์เป็นรองประธานพุทธสภา แต่ มส. ซึ่งดูแลพระสงฆ์ยังไม่ได้รับทราบ พิจารณาหรือเห็นชอบด้วย จะดำเนินการต่อไปได้อย่างไร พระสงฆ์จะกล้ามาร่วมทำงานด้วยหรือไม่

7. ถ้ามีการตั้งวัฒนธรรมจังหวัดเป็นเลขาธิการคณะกรรมการระดับจังหวัด และรองอธิบดี ศน. เป็นเลขาธิการ คณะกรรมการระดับชาติโดยตำแหน่ง หากวัฒนธรรมจังหวัดหรือรองอธิบดี ศน. นับถือศาสนาอื่น โดยเฉพาะพื้นที่จังหวัดภาคใต้จะทำอย่างไร

    “พูดง่ายๆ ในขณะที่ ศน. กับ พศ. มีความทับซ้อนกันอยู่ยังไม่มีความชัดเจนว่าแตกต่างกันอย่างไร
     แล้วจะมีการจัดตั้งพุทธสภาขึ้นมาทับซ้อนกับการทำงานของ มส. อีก แล้วเวลาทำงานจะทำอย่างไร
     จะมาพูดว่าช่วยกันทำไม่ได้ เพราะการเขียนโครงการเสนอของบประมาณจากรัฐบาลต้องชัดเจนในเรื่องของเนื้องาน
    หากทาง ศน. มีคำตอบทั้ง 7 ประการได้เชื่อว่าทุกฝ่ายจะให้ความร่วมมือ”
    รอง ผอ.พศ. กล่าว.


ขอบคุณภาพข่าวจาก
http://www.thairath.co.th/content/edu/325774 (http://www.thairath.co.th/content/edu/325774)
http://www.dra.go.th/ (http://www.dra.go.th/)