หัวข้อ: อัญญาวิโมกข์โพธิรังษี (๔) "อัญญาวิโมกข์ในพระสูตร" เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ กุมภาพันธ์ 12, 2013, 10:42:45 am (http://cdn.learners.in.th/assets/media/files/000/081/962/original_R5284-1.jpg?1285559930) สุตฺตนิปาเต ปญฺจมสฺส ปารายนวคฺคสฺส เตรสมา อุทยปญฺหา [๔๓๗] ฌายึ วิรชมาสินํ (อิจฺจายสฺมา อุทโย) กตกิจฺจํ อนาสวํ ปารคุํ สพฺพธมฺมานํ อตฺถี ปเญฺหน อาคมํ อญฺญํ วิโมกฺขํ ปพฺรูหิ อวิชฺชาย ปเภทนํ ฯ ปหานํ กามฉนฺทานํ (อุทยาติ ภควา) โทมนสฺสาน จูภยํ ถีนสฺส จ ปนุทนํ กุกฺกุจฺจานํ นิวารณํ อุเปกฺขาสติสํสุทฺธํ ธมฺมตกฺกปุเรชวํ อญฺญํ วิโมกฺขํ ปพฺรูมิ อวิชฺชาย ปเภทนํ ฯ กึสุ สญฺโญชโน โลโก กึสุ ตสฺส วิจารณา กิสฺสสฺส วิปฺปหาเนน นิพฺพานํ อิติ วุจฺจติ ฯ นนฺทิสญฺโญชโน โลโก วิตกฺกสฺส วิจารณา ตณฺหาย วิปฺปหาเนน นิพฺพานํ อิติ วุจฺจติ ฯ กถํสตสฺส จรโต วิญฺญาณํ อุปรุชฺฌติ ภวนฺตํ ปุฏฺฐุมาคมฺม ตํ สุโฌม วโจ ตว ฯ อชฺฌตฺตญฺจ พหิทฺธา จ เวทนํ นาภินนฺทโต เอวํสตสฺส จรโต วิญฺญาณํ อุปรุชฺฌตีติ ฯ อุทยมาณวกปญฺหา เตรสมา ฯ อ้างอิง พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาบาลี) เล่มที่ ๒๕ สุตฺตนฺตปิฏเก เล่มที่ ๑๗ ขุทฺทกนิกายสฺส ขุทฺทกปาฐ-ธมฺมปทคาถา-อุทานํ-อิติวุตฺตกํ-สุตฺตนิปาตา ที่มา http://etipitaka.com/compare?lang1=thai&lang2=pali&p1=409&p2=546&volume=25 (http://etipitaka.com/compare?lang1=thai&lang2=pali&p1=409&p2=546&volume=25) ขอบคุณภาพจาก http://cdn.learners.in.th/ (http://cdn.learners.in.th/) (http://1.bp.blogspot.com/-G26BTwCIso8/T7HkX7jNG6I/AAAAAAAABuU/AtoXkvLPsgE/s1600/article-20111115-185349.jpg) อุทยปัญหาที่ ๑๓ [๔๓๗] อุทยมาณพทูลถามปัญหาว่า ข้าพระองค์มีความต้องการปัญหา จึงมาเฝ้าพระองค์ผู้เพ่งฌานปราศจากธุลี ทรงนั่งโดยปรกติ ทรงทำกิจเสร็จแล้ว ไม่มีอาสวะ ทรงถึงฝั่งแห่งธรรมทั้งปวง ขอพระองค์จงตรัสบอก"ธรรมอันเป็นเครื่องพ้นที่ควรรู้ทั่วถึง" สำหรับทำลายอวิชชาเถิด ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสพยากรณ์ว่า ดูกรอุทยะ เรากล่าวธรรมเป็นเครื่องละความพอใจในกาม และโทมนัสทั้งสองอย่าง เป็นเครื่องบรรเทาความง่วงเหงา เป็นเครื่องห้ามความรำคาญ บริสุทธิ์ดีเพราะอุเบกขาและสติ มีความตรึกถึงธรรมแล่นไปในเบื้องหน้าว่าเป็น "ธรรมเครื่องพ้นที่ควรรู้ทั่วถึง"สำหรับทำลายอวิชชา ฯ อุ. โลกมีธรรมอะไรประกอบไว้ ธรรมชาติอะไรเป็นเครื่องพิจารณา(เป็นเครื่องสัญจร)ของโลกนั้น เพราะละธรรมอะไรได้เด็ดขาด ท่านจึงกล่าวว่า นิพพาน ฯ พ. โลกมีความเพลิดเพลินประกอบไว้ ความตรึกไปต่างๆ เป็นเครื่องพิจารณา(เป็นเครื่องสัญจร)ของโลกนั้น เพราะละตัณหาได้เด็ดขาด ท่านจึงกล่าวว่า นิพพาน ฯ อุ. เมื่อบุคคลระลึกอย่างไรเที่ยวไปอยู่ วิญญาณจึงจะดับ ข้าพระองค์ทั้งหลายมาเฝ้าเพื่อทูลถามพระองค์ ข้าพระองค์ทั้งหลาย ขอฟังพระดำรัสของพระองค์ ฯ พ. เมื่อบุคคลไม่เพลิดเพลินเวทนา ทั้งภายในและภายนอก ระลึกอย่างนี้เที่ยวไปอยู่ วิญญาณจึงจะดับ ฯ จบอุทยมาณวกปัญหาที่ ๑๓ อ้างอิง พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=25&A=11342&Z=11366 (http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=25&A=11342&Z=11366) ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=437 (http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=437) ขอบคุณภาพจาก http://1.bp.blogspot.com/ (http://1.bp.blogspot.com/) หัวข้อ: Re: อัญญาวิโมกข์โพธิรังษี (๔) "อัญญาวิโมกข์ในพระสูตร" เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ กุมภาพันธ์ 12, 2013, 11:03:34 am (http://2.bp.blogspot.com/_mbE_hJsNoHw/TFub_qeKT5I/AAAAAAAAAVg/RUY_uOoHR64/s1600/CaptureWiz012.jpg) อัญญาวิโมกข์ (จิตหลุดพ้นเพราะรู้จักอารมณ์ตามความเป็นจริง) เมื่อผู้ปฏิบัติสัมมาสมาธิ พากเพียรปฏิบัติจนจิตสงบถึงขีดสุด (ที่ฌาน ๔) สามารถปล่อยวางอารมณ์ต่างๆ ออกไปได้อย่างคล่องแคล่วทันการ ก่อนที่จะถูกอารมณ์ปรุงแต่ง ให้เสียคุณภาพอันประภัสสรผ่องใสไปได้ ตลอดเวลา เป็นจิตที่ตั้งมั่น (อเนญฺโช) อยู่ได้โดยลำพังตนเอง ไม่ต้องพึ่งพาอารมณ์ หรือสิ่งอื่นที่อยู่ภายนอก เรียกอีกอย่างว่า จิตหลุดพ้น เพราะรู้จักอารมณ์ตามความเป็นจริง (อัญญาวิโมกข์) เข้าถึงสภาพเดิมของตนเอง อันไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ และ ไม่ตาย ซึ่งเรียกว่า รู้จักอริยสัจ ๔ ด้วยปัญญาอันชอบ อันเป็นนิมิตหมายว่า ได้ย่างเข้าสู่สภาวะของจิต ที่เป็นผืนเดียวกับ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์แล้ว จิตหลุดพ้นนี้ เป็นเป้าหมายของการปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนานี้ ซึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเรียกสภาพจิตเช่นนี้ว่า ถึงพระนิพพาน นั่นเอง ผู้ปฏิบัติจะต้องจำทางเดินของจิตให้แม่นยำ และพร้อมที่จะเข้าถึงภาวะที่จิตสงบถึงขีดสุดได้อีก ทุกขณะที่มีอารมณ์เข้ามากระทบ โดยผู้ปฏิบัติต้องมีความชำนาญ ในการทำลมหายใจให้ละเอียดประณีตอยู่เสมอ กล่าวคือ มีสติตามรู้ตามเห็นลมหายใจ จนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับลมหายใจของตนเอง อย่างไม่ขาดสาย ไม่เปิดโอกาสให้อารมณ์เข้าปรุงแต่งจิตได้เลย เมื่อจะทำกิจการทางกาย ทางวาจา หรือนึกคิดทางใจ อย่างใดก็ตาม และเมื่อเสร็จกิจการงาน ก็นำจิตกลับเข้าสู่วิหารธรรมอันสงบ ด้วยการทำลมให้ละเอียดประณีตขึ้น จนเป็นจิตหลุดพ้นได้อย่างคล่องแคล่ว โดยไม่มีปัญหาอะไร เพราะรู้จักทางเดินของจิตดีแล้ว หรืออาจกล่าวได้ว่า จิตหลุดพ้นนี้ เป็นจิตที่มีพลังประหารกิเลสให้ดับไปหมดสิ้น และสามารถควบคุมความรู้สึกนึกคิดมิให้เป็นพิษเป็นภัยแก่สังคมได้ จนนามกายหรือโอปปาติกะ หรือที่เรียกว่า กายทิพย์ หมดกำลัง ถึงขั้นแตกแยกออกอย่างสิ้นเชิง และไม่สามารถสร้างภพ สร้างชาติ สร้างทุกข์ ให้แก่ตัวเองต่อไปอีกแล้วด้วย (http://www.bloggang.com/data/y/yinguu/picture/1302091272.jpg) ผู้ปฏิบัติจะต้องทำและจำให้แม่นทุกขณะตลอดชีวิต มิใช่ว่าพอเลิกปฏิบัติในครั้งหนึ่งๆ แล้วก็เลิกกันอย่างสิ้นเชิง และพอจะปฏิบัติอีก ก็ต้องเริ่มต้นกันอีกทุกครั้ง ดังที่กำลังปฏิบัติกันอยู่ในปัจจุบันนี้ ซึ่งจะทำให้การปฏิบัติไม่ก้าวหน้า คือ ไม่ทันอารมณ์ที่เข้ามากระทบเฉพาะหน้า มีพุทธพจน์ที่มาใน จูฬนิเทศ ข้อ ๔๔๕ ขุททกนิกาย แห่งพระสูตร เล่ม ๓๐ ตรัสไว้ดังนี้ คือ "อุเปกฺขา สติ สงฺสุทฺธํ ธมฺมตกฺก ปุเรชวํ อญฺญาวิโมกฺขํ สํ พฺรูมิ อวิชฺชายปฺปเภทนํ" แปลว่า "เมื่อมีความวางเฉย สติบริสุทธิ์ดีแล้ว จงตรึกถึงธรรม(อารมณ์)ที่จะมีมาข้างหน้า เรากล่าวว่านั่นเป็นเครื่องทำลายอวิชชา" หมายความว่า ตั้งแต่รู้วิธีทำให้จิตหลุดพ้นจากอารมณ์ได้แล้ว ต่อจากนี้ไปเป็นเรื่องของการใช้ปัญญาที่ได้รับการอบรมให้มีขึ้นแล้วจากการปฏิบัติสมาธิ ที่จะปล่อยวางอารมณ์ทั้งหลายกับความยินดียินร้ายที่เกิดขึ้นให้ได้ทุกขณะเท่านั้น ไม่ว่าจะผ่านเข้ามาสู่จิตทางหนึ่งทางใดก็ตาม เพียงแต่รู้แล้วก็วางเฉยเป็นอุเบกขา จิตก็ย่อมสงบตามตลอดไปทุกอารมณ์ เมื่อทำเช่นนี้แล้ว อารมณ์และอาการของจิตทั้งหลาย ที่ทำให้จิตกระเพื่อมไหวย่อมดับไปเองเป็นธรรมดา อนึ่ง ผู้ปฏิบัติพึงสังเกตว่า สมาธิกับปัญญานี้ จะเป็นอัญญะมัญญะปัจจัยซึ่งกันและกัน (คือ ต่างก็อาศัยกันเกิดขึ้น) เสมอ เราเรียกจิตที่ไม่กระเพื่อมไหวหรือไม่ซัดส่ายหวั่นไหวไปตามอารมณ์ว่า สมาธิ และเรียกจิตที่สามารถปล่อยวางอารมณ์ออกไปเสียได้ว่า ปัญญา ซึ่งจะมีพลังมากหรือน้อย ย่อมแล้วแต่ความคล่องแคล่วที่ฝึกมา อ้างอิง คัดลอกจากธรรมประทีป ๙ ธรรมะภาคปฏิบัติ อ.ไชยทรง จันทรอารีย์ หน้า ๑๓๙-๑๔๑ http://dhama9.exteen.com/20091111/entry (http://dhama9.exteen.com/20091111/entry) ขอบคุณภาพจาก http://2.bp.blogspot.com/,http://www.bloggang.com/ (http://2.bp.blogspot.com/,http://www.bloggang.com/) หัวข้อ: Re: อัญญาวิโมกข์โพธิรังษี (๔) "อัญญาวิโมกข์ในพระสูตร" เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ กุมภาพันธ์ 12, 2013, 11:21:33 am (http://www.kubajaophet.com/forum/index.php?action=dlattach;topic=156.0;attach=729;image) ความหมายของ โลโก้ อัญญาวิโมกข์โพธิรังษี เสมา หมายถึง ตัวศาสนา แต่อันนี้เป็นซุ้มเสนา ซุ้มมี 2 ซุ้ม ปกติพระจะเข้าโบถส์ หรือนาคจะเข้าโบสถ์ต้องไปวันทาเสมาเสียก่อน ฉะนั้นเสมาก็คือประตูที่จะเข้าสู่ศาสนาจริงๆ ผู้ที่จะบวชต้องผ่านเสมาก่อนถึงจะเข้าโบสถ์บวชได้ อันนี้เหมือนกับว่าเป็นตัวแทนทางพระศาสนา ส่วนซุ้มเสมามี 2 ชั้น ชั้นแรกหมายถึงโลกียะ ชั้นบนหมายถึง โลกุตระ ฐานที่วางซุ้มเสมา หมายถึง ศีล พูดง่ายๆ ก็คือ ศีล สมาธิ ปัญญา มือ หมายถึง การโอบอุ้มศาสนาเอาไว้ ได้แก่ พระอรหันตสาวก พระขีณาสพ ตั้งแต่ในสมัยพระพุทธเจ้า จนปัจจุบัน 2552 ปี พระอริยสงฆเจ้าโอบอุ้มพระศาสนาเอาไว้ไม่ให้เสื่อม เป็นผู้ธำรงรักษา พระธรรม พระธรรมวินัยเอาไว้ เอามือทั้งสองข้างโอบอุ้มเอาไว้ และอีกนัย หมายถึง ความพร้อมเพรียงกัน ความร่วมไม้ร่วมมือกัน ในการรักษาศาสนา หรือรักษาหมู่คณะ จะเห็นได้ว่ามือเป็นลักษณะการห่อ การโอบอุ้ม หมายถึงการเอื้ออาทรต่อกัน ความมีน้ำจิต น้ำใจ ช่วยขนขวายในงานซึ่งกันและกัน ตรงกลางจะเห็นว่ามี ลูกดิ่ง อยู่ สองอัน อันใหญ่ก็มี อันเล็กก็มี ลูกดิ่ง หมายถึง สัจธรรม คือ ความเที่ยงตรง ได้แก่ การเกิด การแก่ การเจ็บ การตาย มันเป็นสัจธรรมเป็นความจริง เราเอาตัวแทนก็คือลูกดิ่ง คือความเที่ยงตรง เอามาประดิษฐานไว้ในซุ้มเสมา ส่วนรอบข้างๆ เค้าเรียกว่า ซุ้มเรือนแก้ว หลวงพ่อให้คำนิยามของคำว่า โพธิรังษี หมายถึงว่า ผู้ตรัสรู้ที่เปล่งรัศมี เพราะฉะนั้น ซุ้มอันนี้ ย่อมาจากซุ้มของพระพุทธชินราช เรียกว่า ซุ้มเรือนแก้ว เป็นความหมายคำหลัก คำว่า ”โพธิรังษี” ลายสองข้าง เป็นลายกนก หมายถึง พระพุทธศาสนา คำสอนของพระพุทธเจ้ามีศิลปะ มีความอ่อนโยน และก็ตรงไปตรงมา และมีความสละสลวย บนลวดลาย ลายไทย เราจึงเอานิยามของลาย เอามาเป็นรูปร่าง แล้วลายจะเห็นได้ว่า รูปทรงคล้ายๆพญานาค ขดหางอยู่ เป็นเหมือนพญานาคมันเป็นลักษณะของคำว่า การจะบวชเป็นพระ ต้องเป็นนาคก่อน มันมีความหมายหลายอย่าง ผ้า หมายถึง ความเป็นระเบียบ มีระเบียบวินัย เคารพ ระเบียบวินัย เป็นผ้าที่พลิ้วสวย เป็นรูปร่างที่สวย ก็หมายถึงความมีระเบียบ ดอกพิกุลซ้ายขวา เป็นความหมายหนึ่งในมงคล 108 ประการ ที่อยู่ ตรงพระบาทของพระพุทธเจ้า ดอกพิกุลที่อยู่ในพระบาทของพระพุทธเจ้า ฉะนั้นก็หมายถึง การก้าวเดินไปอย่างมีระเบียบ ส่วนด้านล่างจะเห็นว่า มีกลีบบัวอยู่สามดอก กลีบอันนี้เป็นนิยามความหมายของคำว่า อนิจจัง ทุกขังอยู่อีกด้าน อนัตตาอยู่ตรงกลาง เป็นความหมายว่าไตรลักษณ์ คืออนิจจัง ทุกขัง อนัตตา พร้อมทั้งสี สีก็มีความหมายในตัวของเค้า เส้นสีทองหมายถึงศาสนา สีม่วงเป็นสีประจำวันเกิดของหลวงพ่อ เพราะหลวงพ่อเกิดวันเสาร์ หลวงพ่อครูบาเจ้าเพชร วชิรมโน ให้ไว้เมื่อ 22 ต.ค. 2552 เวลา 17.53 น. ณ ห้องประชุม 7 ศูนย์พัฒนาม่วงน้อยเครือซิเมนต์ไทย (http://www.kubajaophet.com/forum/webboardhead.jpg) ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก http://www.kubajaophet.com/forum/index.php?topic=156.0 (http://www.kubajaophet.com/forum/index.php?topic=156.0) หัวข้อ: Re: อัญญาวิโมกข์โพธิรังษี (๔) "อัญญาวิโมกข์ในพระสูตร" เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ กุมภาพันธ์ 12, 2013, 11:52:25 am (http://www.kubajaophet.com/kubajaophet_website/hna_hlak_files/shapeimage_6.png) (http://www.kubajaophet.com/kubajaophet_website/hna_hlak_files/FotoSketcher%20-%202035face-filtered.jpg) ภาพจาก http://www.kubajaophet.com/kubajaophet_website/hna_hlak.html (http://www.kubajaophet.com/kubajaophet_website/hna_hlak.html) กระทู้ที่เกี่ยวข้อง อัญญาวิโมกข์โพธิรังษี (๑) http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=10026.0 (http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=10026.0) อัญญาวิโมกข์โพธิรังษี (๒) http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=10040.0 (http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=10040.0) อัญญาวิโมกข์โพธิรังษี (๓) "พระเจดีย์พุทธเมตตา ชวัชรวชิรอาจ" http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=10051.0 (http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=10051.0) ขอจบซีรี่ย์ "อัญญาวิโมกข์โพธิรังษี" ไว้แต่เพียงเท่านี้ หวังใจเป็นอย่างยิ่งว่า ทุกท่านจะได้รับความบันเทิงธรรม :25: |