หัวข้อ: "ตึกหดได้" มีจริงในกรุงโตเกียว เขาทำลายตึกกันแบบไหน ไม่ให้เป็นภัยต่อสิ่งแวดล้อม? เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ กุมภาพันธ์ 14, 2013, 07:06:37 am (http://www.blogcdn.com/realestate.aol.com/blog/media/2013/01/grand-prince-hotel-akasaka.png) "ตึกหดได้" มีจริงในกรุงโตเกียว เขาทำลายตึกกันแบบไหน ไม่ให้เป็นภัยต่อสิ่งแวดล้อม? กรุงโตเกียว หนึ่งในมหานครของโลกที่มีประชากรหนาแน่นและมากที่สุดในโลก ที่ดินที่นี่มีค่ามากกว่าทองคำ อาคารบ้านเรือนส่วนใหญ่จึงสร้างติดกันอย่างแออัด การรื้อถอนหรือทำลายจึงเป็นเรื่องที่ยาก และวิธีการ"ระเบิดทิ้ง"แบบเก่า นอกจากก่อให้เกิดฝุ่นละอองจำนวนมหาศาล ยังอาจกระทบต่ออาคารที่อยู่ติดกันด้วย รายงานระบุว่า ภายในปีนี้ คาดว่าจะมีอาคารสูงในญี่ปุ่นที่ต้องถูกทำลายราว 100 แห่ง แต่บริษัท ไทเซอิ อีโคโลจิคอล รีโปรดักชัน ซิสเท็ม มีวิธีการที่ดีกว่านั้นในการทำลายอาคารเก่า ที่ทั้งไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและไม่กระทบประชาชนทั่วไป (http://www.spoon-tamago.com/wp-content/uploads/2013/01/nn20130108f1b.jpg) (http://www.spoon-tamago.com/wp-content/uploads/2013/01/nn20130108f1c.jpg) ลำดับภาพการทำลายตึกแห่งหนึ่งขนาดความสูง 105 เมตร ในกรุงโตเกียวเมื่อปีที่แล้ว โดยใช้วิธีการเช่นเดียวกันนี้ (http://www.spoon-tamago.com/wp-content/uploads/2013/01/nn20130108f1d.jpg) (http://www.spoon-tamago.com/wp-content/uploads/2013/01/nn20130108f1e.jpg) ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ โครงการทำลายอาคารโรงแรมแกรนด์ พรินซ์ โฮเทล อากาซากะ ซึ่งมีความสูงราว 138 เมตร ที่ใช้เทคนิคการทำลายแบบใหม่ล่าสุด โดยการทำลายอาคารจากชั้นบนลงมาชั้นล่างทีละชั้น ไม่มีทั้งเศษวัสดุ ปราศจากฝุ่นละออง และยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม คนงานใช้ช่วงบนของอาคารซึ่งทำสร้างเป็นพื้นที่ปิด สำหรับให้คนงานทำงาน โดยมีเสาชั่วคราวเป็นตัวรองรับ ที่จะเคลื่อนลงอย่างช้าๆโดยใช้แม่แรง ขณะที่ความสูงจะค่อยหายไปทีละชั้น ขณะที่เครนที่อยู่ภายในจะค่อยทำหน้าที่รื้อทำลายพื้นที่ในแต่ละชั้่น โดยนับตั้งแต่การประกาศปิดกิจการของโรงแรมเมื่อต้นปี 2011 เพื่อบูรณะใหม่ ก่อนที่จะเปิดเป็นศูนย์อพยพชั่วคราวของผู้ประสบภัยแผ่นดินไหวเมื่อเดือนมีนาคมปีเดียวกัน กระทั่งปัจจุบัน ความสูงของโรงแรมลดลงแล้วกว่า 30 เมตร และจะยังคงใช้วิธีการดังกล่าวกระทั่งการทำลายสิ้นสุดที่ชั้นล่าง บริษัทเผยว่า วิธีการทำลายตึกแบบใหม่นี้ ช่วยลดเสียงจากไซต์งานเมื่อเทียบกับวิธีเดิมได้กว่า 25% และช่วยลดการฟุ้งกระจายของฝุ่นได้กว่า 90% อีกทั้งยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยขณะที่เครนกำลังเคลื่อนย้ายเศษอิฐและปูน มันยังช่วยาสร้างกระแสไฟฟ้าเพื่อนำไปใช้กับอุปกรณ์ชนิดอื่น http://www.youtube.com/watch?v=WbzVfLWQNkA# (http://www.youtube.com/watch?v=WbzVfLWQNkA#) เผยแพร่เมื่อ 4 ม.ค. 2013 โดย thejapantimes ขอบคุณภาพข่าวจาก http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1360573048&grpid=01&catid=&subcatid= (http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1360573048&grpid=01&catid=&subcatid=) |