หัวข้อ: สะพานมิตรภาพแห่งที่ 5 เชื่อม"ไทย-ลาว"สู่อาเซียน (บึงกาฬ-บอลิคำไซ) เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ กุมภาพันธ์ 21, 2013, 11:02:42 am (http://www.khaosod.co.th/view_resizing_images.php?filename=news-photo/khaosod/2013/02/bgk06200256p1.jpg&width=360&height=360) สะพานมิตรภาพแห่งที่ 5 เชื่อม"ไทย-ลาว"สู่อาเซียน หลายประเทศในอาเซียนคาดหมายว่า การเปิด "ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน" ในปี พ.ศ.2558 จะนำมาซึ่ง "โอกาส" และ "ความหวัง" ในการสร้างความมั่งคั่ง มั่นคง ในหมู่ประเทศสมาชิก สำหรับประเทศไทยเอง ตั้งเป้าจะเป็น "Trading Hub" หรือศูนย์กลางทางการค้าในภูมิภาคอาเซียน เนื่องจากได้เปรียบเรื่องที่ตั้ง ที่เป็นศูนย์กลางคมนาคมทางเหนือจากจีนลงมาใต้ และทางตะวันออกจากอินเดียไปถึงอ่าวตังเกี๋ย ประเทศเวียดนาม หากเดินทางโดยเครื่องบิน ก็สามารถบินไปได้ทุกประเทศในอาเซียนภายใน 3 ช.ม. เท่านั้น ขณะเดียวกัน ประเทศเพื่อนบ้านใกล้ชิดอย่าง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ก็มองไกลถึงขั้นเป็น "แบตเตอรี่แห่งเอเชีย" เนื่องจากมีทรัพยากรธรรมชาติทั้งบนดิน ใต้ดิน อยู่อย่างมหาศาล และกำลังเป็นแหล่งขุมทรัพย์ใหม่ของนักลงทุนจากทั่วโลก เพื่อผนึกกำลังผลักดันโครงการความร่วมมือต่างๆ ทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงเสริมสร้างความเจริญก้าวหน้า พัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนทั้ง 2 ประเทศ และความเข้มแข็งของกลุ่มประชาคมอาเซียนในภาพรวม รัฐบาลไทยและลาวจึงเห็นพ้องต้องกัน ดำเนินโครงการก่อสร้าง "สะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 5 (บึงกาฬ-บอลิคำไซ)" ขึ้น โดยในวันที่ 20 ก.พ.นี้ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รมว.คมนาคม พร้อม พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ปลัดกระทรวงคมนาคม และคณะ จะลงพื้นที่ จ.บึงกาฬ และเมืองปากซัน แขวงบอลิคำไซ เพื่อติดตามความคืบหน้าโครงการก่อสร้างสะพานมิตรภาพแห่งใหม่นี้ และเยี่ยมชมเส้นทางเชื่อมโยงทางถนนสู่ประเทศเวียดนามด้วย "โครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 5 (บึงกาฬ-บอลิคำไซ)" เริ่มต้นจากเมื่อวันที่ 18 พ.ค. 54 นายสมพงศ์ อรุณโรจน์ปัญญา รักษาการผู้ว่าราชการจังหวัดบึงกาฬ และคณะ ได้เข้าหารือพิจารณาจุดก่อสร้าง สะพานฯ ต่อท่านเจ้าแขวงบอลิคำไซ โดยได้ข้อสรุปเบื้องต้นของที่ตั้งโครงการ คือ แยกออกจากทางหลวงหมายเลข 212 ตอนหนองคาย-บึงกาฬ บริเวณ ก.ม.123+500 ด้านซ้ายทางบ้านเชือมเหนือ ต.ไคลี จ.บึงกาฬ ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นทุ่งนา ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 13 ก.ม. ความกว้างของแม่น้ำโขงบริเวณนี้ อยู่ที่ประมาณ 0.98 กม. และข้ามแม่น้ำโขง เชื่อมต่อทางหลวงหมายเลข 13 ที่บ้านกล้วย เมืองปากซัน แขวงบอลิคำไซ สปป.ลาว ซึ่งสอดคล้องกับแผนพัฒนาทางหลวง ที่ สปป.ลาว จะก่อสร้างถนนเลี่ยงเมืองปากซันด้านตะวันออก (http://www.khaosod.co.th/view_resizing_images.php?filename=news-photo/khaosod/2013/02/bgk06200256p3.jpg&width=360&height=360) ต่อมา ในการประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจรที่ จ.อุดรธานี เมื่อวันที่ 22 ก.พ.55 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการ ควรให้มีการศึกษาความคุ้มค่าในการลงทุน และผลกระ ทบด้านเศรษฐกิจ สังคม รวมถึงสิ่งแวดล้อม และวันที่ 2 มิ.ย.55 นายทองสิง ทำมะวง นายกรัฐมนตรีแห่ง สปป.ลาว ได้เยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ และร่วมหารือทวิภาคีกับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีของไทย ซึ่งแถลงภายหลังการหารือร่วมกันในวันนั้นว่า ไทยยินดีพิจารณาโครงการ อื่นๆ ในอนาคต เช่น การก่อสร้างสะพานแม่น้ำโขงแห่งที่ 5 (บึงกาฬ-บอลิคำไซ) และการเชื่อมโยงทางรถไฟระหว่างกัน นอกจากนั้น นายกรัฐมนตรีทองสิง ทำมะวง ยังเห็นพ้องกันว่า ควรจะต้องมีความร่วมมือกัน ในการอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าข้ามแดน และการยกระดับจุดผ่านแดนในจุดที่มีความพร้อมด้วย สำหรับสะพานเชื่อมฝั่งไทย-ลาว ปัจจุบันมีอยู่แล้ว 4 แห่ง แห่งที่ 1 ข้ามแม่น้ำโขงที่หนองคาย-ท่านาแล้ง เชื่อมสู่ภาคเหนือของ สปป.ลาว แห่งที่ 2 ที่มุกดาหาร-แขวงสะหวันนะเขต เชื่อมสู่ภาคใต้ของ สปป.ลาว และเวียดนาม แห่งที่ 3 ที่นครพนม-แขวงคำม่วน เชื่อมต่อระหว่างภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ไปสู่ภาคกลางของ สปป.ลาว รวมถึงภาคกลางของเวียดนามและจีน แห่งที่ 4 ที่เชียงราย-แขวงบ่อแก้ว เชื่อมต่อเชียงราย-คุนหมิง ผ่าน สปป.ลาว โครงการก่อสร้างสะพานแม่น้ำโขงแห่งที่ 5 (บึงกาฬ-บอลิคำไซ) นี้ ทั้ง 2 ประเทศ ตั้งใจจะใช้เสริมสร้างโครงข่ายเส้นทางคมนาคมระหว่างประเทศไทย-ลาว-เวียดนาม และจีน ให้มีความสะดวก ปลอดภัย ประหยัดเวลา และค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ปัจจุบัน จ.บึงกาฬ มีด่านสากลไทย-ลาว (บึงกาฬ-ปากซัน) เปิดให้บริการประชาชนที่เดินทางและขนส่งสินค้าเข้า-ออกระหว่างประเทศ ผ่านเรือและแพขนานยนต์เป็นหลัก ที่ผ่านมา การขนส่งสินค้าทางแพขนานยนต์ผ่านด่านสากลนี้ มีมูลค่าเฉลี่ยในปี 2554 ประมาณ 5,185 พันล้านบาท และปี 2555 เพิ่มสูงขึ้นเป็น 5,373 พันบ้านบาท อีกทั้งยังมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังมีประชาชนสัญจรไปมา ปีละ 128,000 คน รถยนต์โดยเฉลี่ยปีละ 20,000 คัน แต่ศักยภาพของแพขนานยนต์ที่ใช้ขนส่งในปัจจุบัน สามารถรองรับ ได้เพียงรถบรรทุกทั่วไป ส่วนรถคอนเทนเนอร์ นั้น ยังไม่สามารถรองรับได้ โครงการก่อสร้างสะพานแม่น้ำโขงแห่งที่ 5 (บึงกาฬ-บอลิ คำไซ) จึงเป็นกลไกสำคัญที่จะแก้ปัญหานี้ อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มเส้นทางการขนส่งจากประเทศไทย-ลาว-เวียดนาม และจีน จากเมืองปากซัน-เมืองวิงห์ ระยะทาง 313 ก.ม. และจากเมืองวิงห์-เมืองหนานหนิง ระยะทาง 795 ก.ม. นับเป็นอีกก้าวของการเชื่อมความสัมพันธ์ไทย-ลาว และเป็นก้าวสำคัญ ของการเชื่อมโยงเศรษฐกิจระหว่างกลุ่มประเทศอาเซียน ซึ่งจะเป็นภูมิภาคสำคัญที่ทั่วโลกต้องจับตามองในอนาคต ขอบคุณภาพข่าวจาก http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROaVoyc3dOakl3TURJMU5nPT0=§ionid=TURNek1nPT0=&day=TWpBeE15MHdNaTB5TUE9PQ== (http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROaVoyc3dOakl3TURJMU5nPT0=§ionid=TURNek1nPT0=&day=TWpBeE15MHdNaTB5TUE9PQ==) |