สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

กรรมฐาน มัชฌิมา => ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน => ข้อความที่เริ่มโดย: ธัมมะวังโส ที่ มีนาคม 09, 2013, 01:58:13 pm



หัวข้อ: ถ้าไม่ วิเวก จะเอาเวลาไหน ไปภาวนา กัน ...... พอให้ท่านได้รู้
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ มีนาคม 09, 2013, 01:58:13 pm
หลายท่าน มักจะถาม อาตมา ( อาจารย์ ) ว่าทำไม่ไม่ ภาวนา อยู่ในวัด ละ เพราะอยู่ในวัด น่าจะได้ประโยชน์ในด้านการภาวนา มากที่สุด หลาย ๆ ท่านก็ ก็มักจะคิดไปในทางนั้น กันเป็นส่วนใหญ่

วันนี้จะเล่า วัตรปฏิบัติเวลาอยู่ วัด ให้ฟังกันนะจ๊ะ

   03.30 น. ตื่น เตรียมตัวทำวัตร สวดมนต์
   04.30 น. ทำวัตรส่วดมนต์   ประมาณ 1.30 ชั่วโมง
   05.40 น. ออกบิณฑบาตร  ประมาณ 1.30 ขั่วโมง
         ระหว่าง รอ กลับมาตั้งสำรับ เตรียมภาชนะ และ ทำความสะอาด บริเวณใกล้เคียง
   07.30 น. ฉันภัตร์เช้า  ประมาณ 1 ชั่วโมง
   08.30 น. ทำความสะอาด สถานที่พักอาศัย มีศาลา กุฏิ ครูอาจารย์เป็นต้น
                 ประมาณ 1.30 ขั่วโมง
   10.00 น. พักอ่านหนังสือ พักอิริยาบถ
          ถ้ามีกิจนิมนต์ ฉันเพล สวดก็หมดเวลาพัก กว่าจะกลับ ก็ เที่ยงกว่า ๆ
   10.50 น. เตรียมภัตร เพล ภาขนะ อาหาร
          ถ้ามีกิจนิมนต์ฉันเพล ในวัด เช่น งานศพเลี้ยงเพล ก็เสร็จกัน เที่ยงกว่า ๆ
   11.00 น. ลงฉันเพล  ประมาณ 1 ชั่วโมง
   12.00 น. พักอิริยาบถ                     
              เวลาตามหมายเหตุ ( ตามเหตุการณ์ )
              จะเห็นว่า มีเวลาว่าง 12.00 - 16.00 น. ใช่ไหม ( แต่ยังไม่ได้กล่าวเหตุการณ์ )
   16.00 น. ทำความสะอาดบริเวณวัด ด้านล่าง ที่เรียกว่า กวาดวิหาร ลานเจดีย์ ยิ่งมีสถานที่มาก ก็ยิ่งต้องทำมาก  และถ้ายิ่งมีพระน้อย หรือ พระที่ติดกิจอื่น อีก ก็ยิ่งต้องทำมาก
   17.30 น. เตรียมตัว สรงน้ำ ทำวัตรเย็น
   18.00 น. ทำวัตรเย็น
              ก็กิจกรรมนี้ขึ้นอยู่กับผู้นำ ส่วนใหญ่ก็ประมาณ  2 ชั่วโมง ทุกวันเป็นอย่างนั้น
    20.00 น. พักผ่อน ตามอัธยาศํย แต่ถ้ามีกิจนิมนต์ เช่น สวดพระอภิธรรม ก็ยาวอีก
              ถ้ามีกิจนิมนต์ 19.30 น.  -  20.45 น. ประมาณนี้
    21.00 น. พักผ่อนจริง ๆ

   อันนี้เป็นตาราง สำหรับ พระทั่วไป นะจ๊ะ  จะเห็นว่า มีช่องว่าง ให้พักอยู่ 3 ช่วงในวัน คือ

      21.00 -  03.30 น. นอนพัก หรือ จะเลือกภาวนา
      10.00 -  11.00 น. พัก หรือ จะทำอะไรดี
      12.00 - 16.00 น. พัก หรือ จะทำอะไรดี

  อันนี้แบบปกติ สำหรับพระทั่วไป นะ๊จ๊ะ แต่ก็ต้องทำอย่างนี้


ปฏิทินกิจกรรมงานบุญประเพณี วัดแก่งขนุน
๑.งานปริวาสกรรม ๑๑ ม.ค. ถึง ๒๑ ม.ค. ทุกปี
๒.งานฟังเทศน์มหาชาติ ทุกปี
๓.งานบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน ทุกปี 28 มี.ค. - 15 เม.ย.
๔.งานประเพณีสงกรานต์ 13 - 14 เม.ย.
๕.งานเวียนเทียนในสำคัญทางพระพุทธศาสนา
๖.งานปฏิบัติธรรม ในวันแม่
๗.งานปฏิบัติธรรม ในวันพ่อ

และงานย่อยอื่นๆ อีก สอบถามได้ที่


(http://www.bloggang.com/data/pakwan/picture/1318488454.jpg)
ภาพประกอบนี้จาก http://www.bloggang.com/data/pakwan (http://www.bloggang.com/data/pakwan)

เวลาจะทำกุฏิในป่า ก็ต้องการทรงนี้ แต่พอไปทำมา ด้วยอุปกรณ์เหลือต่าง ๆ ไม่ได้ทรงนี้สักที

กิจวัตร ๑๐ อย่างของพระสงฆ์ ที่ควรอ่านและปฏิบัติ

ของฝากสำหรับตัวข้าพเจ้าเองและเพื่อนพระภิกษุ
ประโยชน์ของกิจวัตร ๑๐ อย่าง

        1.   ลงอุโบสถ  ,  ได้ประโยชน์   6   อย่าง   อุ
1.       ได้ส่งเสริมพระธรรมวินัย
2.       ทำให้เกิดความสามัคคี
3.       มีความบริสุทธิ์
4.       มุตตกนิสัย
5.       คนเลื่อมใสศรัทธา
6.       พาให้เป็นแบบอย่างที่ดี

       2.   บิณฑบาต  เลี้ยงชีพ  ,  ได้ประโยชน์   6   อย่าง   บิณ
1.       ได้เจริญรอยตามยุคลบาท
2.       ได้โอกาสออกกำลังกายตอนเช้า
3.       ได้เข้าถึงความสำนึกในพระคุณแม่
4.       ได้เห็นทุกข์ในการแสวงหาอาหาร
5.       ได้เห็นความต้องการของประชาชน
6.       ได้ทำตนให้เป็นเนื้อนาบุญยิ่งขึ้น

        3.   สวดมนต์ไหว้พระ  ,  ได้ประโยชน์   6   สวด
1.       ได้เฝ้าพระพุทธเจ้า
2.       เข้าใจศาสนพิธี
3.       มีจิตเป็นกุศล
4.       ทำตนให้แกล้วกล้า
5.       ชาวบ้านศรัทธา
6.       รักษาสัทธรรม

        4.   กวาดวิหารลานเจดีย์  ,  ได้ประโยชน์   6   อย่าง  กวาด
1.       ได้ออกกำลังกาย
2.       ทำให้สถานที่สะอาด
3.       ปราศจากโรคภัย
4.       จิตใจคลายเครียด
5.       เสนียดจัญไรลดลง
6.       คงไว้ซึ่งศรัทธา

        5.   รักษาผ้าครอง  ,  ได้ประโยชน์   6   อย่าง   รัก
1.       ได้ตื่นแต่เช้า
2.       เอาใจใส่ในกิจวัตร
3.       ฝึกหัดจิตใจ
4.       ทำให้สุขภาพดี
5.       มีความจำเยี่ยม
6.       เตรียมตารางชีวิต


6.   อยู่ปริวาสกรรม  ,  ได้ประโยชน์   6   อย่าง  อยู่
1.       ได้ปฏิบัติตามกิจวัตร
2.       ได้กำจัดอาบัติโทษ
3.       ได้โปรดญาติโยม
4.       ได้ข่มมานะและทฏิฐิ
5.       ปิติปราโมทย์
6.       ได้ประโยชน์ในการแพร่ศาสนา

        7.   โกนผม   โกนหนวด   ตัดเล็บ  ,  ได้ประโยชน์   3   อย่าง  โกน
1.       เป็นการประหยัด
2.       ขจัดความสกปรก
3.       ยกย่องธรรมเนียม

       8.   ศึกษาและปฏิบัติครูอาจารย์  ,   ได้ประโยชน์   6   อย่าง   ศึก
1.       เข้าใจในหลักของตน
2.       พ้นความสงสัย
3.       ป้องกันภัยจากอาบัติ
4.       ยืนหยัดกตัญญู
5.       เคารพครูอาจารย์
6.       สืบสานวัฒนธรรม

       9.   เทศนาบัติ  ,  ได้ประโยชน์   6   อย่าง  เท
1.       เป็นผู้ไม่ประมาท
2.       ปราศจากมลทิน
3.       มีศีลบริสุทธิ์
4.       หยุดความวิปฏิสาร
5.       ทำการบอกอาบัติ
6.       กำจัดความรังเกียจ

     10. พิจารณาปัจจเวกขณะ  ,  ได้ประโยชน์   3   อย่าง  พิ
1.       ไม่เป็นหนี้ชาวบ้าน
2.       ฉันอาหารไม่เป็นโทษ
3.       เป็นประโยชน์แก่กัมมัฏฐาน




หัวข้อ: Re: ถ้าไม่ วิเวก จะเอาเวลาไหน ไปภาวนา กัน ...... พอให้ท่านได้รู้
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ มีนาคม 09, 2013, 02:04:21 pm
ที่นี้จะขอกล่าว แบบ พระนักเรียน บ้าง
      21.00 -  03.30 น. นอนพัก หรือ จะเลือกภาวนา
      10.00 -  11.00 น. พัก หรือ จะทำอะไรดี
      12.00 - 16.00 น. พัก หรือ จะทำอะไรดี

  เมื่อบวชเข้ามาแ้ล้ว ก็ต้องศึกษา หลักธรรม อย่างน้อยต้องสอบ นักธรรม ตรี โท เอก เป็นข้อบังคับของคณะสงฆ์ ที่ไม่ผ่อนปรนให้กับพระที่อายุน้อย คือ ตั้งแต่ 20 -  60 ปี ต้องเรียน เขียนอ่าน หลักธรรม ปีหนึ่งก็จะมีการเรียน กันแบบจริงจัง ก็คือ ในช่วงพรรษา ดังนั้น เวลาพักที่ว่า ก็คือ เวลาเรียนหนังสือ นั่นแหละ จากเวลาจะเห็นว่า ถ้าเป็นพระนักเรียนเคร่งครัด การเรียน ก็อาจจะมีหลุดเรื่องเวลาบ้าง เช่นอาจจะตื่นไม่ทันทำวัตรเ้ช้า หรือ มาไม่ทันทำวัตรเย็น เพราะเรียนก็ต้องไปเรียนที่วัดอื่น ต้องเดินทาง บางครั้งเดินกลับมา ก็หลาย กิโล

    (http://sphotos-e.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-snc7/479891_548316451879236_347401241_n.jpg)

   พูดถึงเรื่องการเดิน ชอบคุณธรรม ของ เจ้าคณะอำเภอเสาไห้ ท่านเดินมาเรียน จากวัดศรีอุทัย ถึง วัดสมุหประดิษฐ์ ทุกวันจนเป็นพระเปรียญ ประโยค 7 นับว่า มีความอุตสาหะ ในเขตสระบุรี นับว่าเป็นเจ้าคุณที่เป็นแบบอย่างในด้านการศึกษา ปัจจุบันท่านเดินเท้าเปล่า เคยพบท่านก็ไม่ถึงกับหลายครั้ง แต่พอรู้ได้ว่าท่านเป็นพระที่เอาจริงทางด้านการภาวนารูปหนึ่ง และส่งเสริมการศึกษา เปรียญธรรม อย่างดี ในเขตเสาไห้
   
   (http://www.madchima.net/images/963_nungprok.jpg)

  องค์ที่นั่งอยู่ขวาสุด คือ เจ้าคุณประโยชน์ เจ้าคณะอำิเภอเสาไห้
 

  ในทางกลับกัน ถ้าไม่เป็นนักเรียน ก็ต้องเป็น ครู ตอนที่อยู่ที่วัดได้รับมอบหมาย ให้สอน ธรรมศึกษาชั้น โท และ เอก 2 ปีติดกัน เนื่องจากพระที่จบ นธ.เอก มีไม่กี่รูป

   ตอนสอนหนังสือ นั่งพิมพ์แบบทดสอบให้เด็กทำ บางครั้งไม่ได้นอนเลย พิมพ์ข้อสอบให้เด็กทำ วิชาละ 100 ข้อ 4 วิชา  400 ข้อ เด็กทำเพียง แต่วงมั่วกัน บางคนทำเสร็จภายใน 10 นาที 100 ข้อนะ  เนื่องจากเด็กที่มาเรียนไม่ได้อ่านหนังสือ ไม่มีเวลาอ่านและไม่ขอบอ่านวิชาหลักธรรม เขาเพียงมานั่งทำข้อสอบ เพื่อรอเฉลย แต่อย่างไร เราเป็นครูก็ต้องทำหน้า ที่ออกข้อสอบ และตรวจ เช่นกัน หลีกเลี่ยงไม่ได้ ดีนะที่จำนวนคนเรียนไม่มาก ก็ตรวจไม่มาก

   งานที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เลย 3 ปีซ้อน คือ งานดูแลสามเณรภาคฤดูร้อน

   (http://img24.imageshack.us/img24/3872/sammanen4.jpg)
     


หัวข้อ: Re: ถ้าไม่ วิเวก จะเอาเวลาไหน ไปภาวนา กัน ...... พอให้ท่านได้รู้
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ มีนาคม 09, 2013, 02:13:28 pm
(http://www.madchima.org/forum/gallery/1_25_11_09_1_47_31.jpeg)
ที่นี้พอเป็น พระที่มีความรู้ ก็จะได้รับมอบหมาย ให้ทำงานด้านต่าง ๆ ที่เรียกว่า ส่งเสริม ศีลธรรม จริยธรรม คุณธรรม ภาวนาธรรม ให้แก่ ตระกูล คือ พุทธบริษัททั้ง 4 เพราะความเป็นผู้มีความรู้จึงต้องมีงานมากกว่า กิจวัตรเดิม สำหรับอาตมาเวลาอยู่วัด ทุกวัน ก็จะต้องสอนกรรมฐาน บ้างสำหรับคนที่เข้ามาสอบถาม กัน ในช่วงเช้าก็สอนคนใกล้ตัว ช่วงบ่ายก็สอนคฤหัสถ์ บางท่านมานั่งกรรมฐาน ตังแต่ บ่าย จนกระทั่ง ปิดศาลา 21.00 น.ก็มี ดังนั้น ถ้าหากอยู่วัดประจำอย่างนี้ ก็จะมีเรื่องให้ทำ จน ไม่ได้ทำเรื่องสำคัญของตนเอง คือการภาวนา ดังนั้น การวิเวก จึงมีความจำเป็น ถ้าเป็นครูอาจารย์สมัยหลวงปู่ ก็จะแบกกลดหายไปจากวัด อาจจะหลายปีกลับมา แต่ปัจจุบันการแบกกลด จาริกแบบนั้นไม่เหมาะแล้ว จึงควรเลือกสถานที่ วิเวก เหมาะแก่การภาวนา เพื่อเอาจริงทางด้านการภาวนา ....

(http://sphotos-d.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-prn1/25949_336074646508986_1439645943_n.jpg)


(http://sphotos-b.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-snc6/285642_336075733175544_80196563_n.jpg)(http://sphotos-c.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-ash3/59921_319680038148447_1846219336_n.jpg)


Aeva Debug: 0.0004 seconds.