สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

เรื่องทั่วไป => forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน => ข้อความที่เริ่มโดย: raponsan ที่ มีนาคม 29, 2013, 09:47:41 am



หัวข้อ: เทคนิคใช้ส้วมสาธารณะ ลดเสี่ยงโรคจากห้องน้ำ
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ มีนาคม 29, 2013, 09:47:41 am

(http://www.khaosod.co.th/view_resizing_images.php?filename=news-photo/khaosod/2013/03/tec03280356p1.jpg&width=360&height=360)

เทคนิคใช้ส้วมสาธารณะ ลดเสี่ยงโรคจากห้องน้ำ

รายงานพิเศษ
เรื่องกังวลใจของสาวๆ ทุกครั้งที่นั่งบนโถชักโครกสาธารณะ หรือแอบกังวลแบบสุดๆ เวลาปัสสาวะแล้วน้ำในโถกระเด็นใส่ เราจะติดเอดส์ หนองใน เริม หรือซิฟิลิส สารพัดโรคหรือไม่

สำนักข่าวซีเอ็นเอ็นรายงานว่า ห้อง น้ำสาธารณะอาจมีเชื้อต่างๆ อยู่มาก มายที่ก่อให้เกิดโรคติดต่อร้ายแรงได้ เช่น กลุ่มแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรค ท้องร่วง เชื้ออีโคไล เชื้อโคลิฟอร์ม โรต้าไวรัส ไวรัสหวัด รวมทั้งเชื้อสแตฟฟิลโลคอคคัส ออเรียสที่ก่อให้เกิดการติดเชื้อที่ผิวหนัง และอื่นๆ

ทนพญ.สรียา พลเดช โรงพยาบาลกล้วยน้ำไท 1 บอกว่า ในห้องน้ำสาธารณะมีเชื้อต่างๆ อยู่มากมายเพราะในแต่ละวันมีผู้คนมากหน้าหลายตาผลัดเปลี่ยนกันมาใช้ตลอดทั้งวัน ห้องน้ำเป็นสถานที่ที่มีความร้อน และความชื้นเหมาะสมกับการเจริญเติบโตของเชื้อโรคจำนวนมาก พบว่า
    อุณหภูมิโดยทั่วไปของห้องน้ำในออฟฟิศและอาคารต่างๆ ในประเทศไทยอยู่ที่ประมาณ 28-30 องศาเซลเซียส
    และความชื้นสัมพัทธ์ประมาณ 65-75 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเหมาะต่อการเจริญเติบโตของเชื้อโรคหลายชนิด

     แต่โรคที่หลายคนกังวลอย่างโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ทั้งเอดส์ หนองใน ซิฟิลิส เริม จะติดต่อได้จากการสัมผัสโดยตรงกับเลือด หรือระหว่างผิวหนังกับผิวหนังเมื่อมีเพศสัมพันธ์ ที่ไม่ได้ป้องกัน แทบจะไม่มีโอกาสที่จะติด จากฝารองนั่งชักโครก เพราะเชื้อไวรัส และแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคดังกล่าวตายอย่างรวดเร็วเมื่อออกภายนอกร่างกาย

วิธีการเลือกเข้าสุขาด้วยเทคนิคลดเสี่ยงติดโรคจากห้องน้ำสาธารณะ
    - ควรเลือกห้องสุขาที่โถชักโครกดูสะอาดที่สุด
    - หลีกเลี่ยงฝารองนั่งที่เปียกชื้น และห้องที่ยังเห็นสิ่งปฏิกูลของผู้อื่นค้างอยู่
    - เตรียมบริเวณที่เราจะนั่ง ควรใช้แอลกอฮอล์แบบพกติดตัวฉีด แล้วใช้กระดาษชำระเช็ดบริเวณฝารองนั่งให้สะอาด หรือใช้กระดาษชำระมารองก่อนนั่งก็ได้
    - หรือใช้วิธีย่อขาเหมือนกำลังจะนั่งยองยกก้นให้อยู่เหนือโถรองนั่งประมาณ 6 นิ้ว แต่ถ้ารู้สึกว่ายากในการทรงตัวก็ควรเอามือยันกับผนังห้องสุขาเพื่อช่วยพยุงตัวไว้
    - ควรถอดกางเกงลงมาแค่ระหว่างเข่ากับเท้า ไม่ให้ลงมากองที่พื้นห้องน้ำ
    - เมื่อเสร็จธุระแล้วควรปิดฝาก่อนกดชักโครกเพื่อลดการฟุ้งกระจายของเชื้อโรคในอากาศ ที่อาจเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจได้
    - หลังเข้าห้องน้ำควรล้างมือทุกครั้งตามหลักวิธีการแล้วเช็ดมือให้แห้งด้วยกระดาษที่เตรียมไว้ หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องเป่ามือแบบร้อน เพราะจะทำให้เชื้อแบคทีเรียที่อยู่บนพื้นห้องน้ำเจริญเติบโตได้ดีมาก สุดท้ายก่อนออกจากห้องน้ำควรใช้กระดาษเช็ดมือหมุนลูกบิดประตู
    - การใช้กระดาษชำระจับลูกบิด กลอนประตู ฝาชักโครกอาจฟังดูวุ่นวาย ถ้าไม่สะดวกอาจใช้วิธีล้างมือให้สะอาดทุกครั้งหลังออกจากห้องสุขา


ขอบคุณภาพข่าวจาก
http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROMFpXTXdNekk0TURNMU5nPT0=&sectionid=TURNeU5nPT0=&day=TWpBeE15MHdNeTB5T0E9PQ== (http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROMFpXTXdNekk0TURNMU5nPT0=&sectionid=TURNeU5nPT0=&day=TWpBeE15MHdNeTB5T0E9PQ==)