สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

เรื่องทั่วไป => forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน => ข้อความที่เริ่มโดย: raponsan ที่ เมษายน 26, 2013, 08:55:22 am



หัวข้อ: ถวายความรู้ 'พระสังฆาธิการ' ดูแลทรัพย์สินศิลปวัฒนธรรม
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ เมษายน 26, 2013, 08:55:22 am

(http://www.khaosod.co.th/view_resizing_images.php?filename=news-photo/khaosod/2013/04/bud02250456p1.jpg&width=360&height=360)

ถวายความรู้ 'พระสังฆาธิการ' ดูแลทรัพย์สินศิลปวัฒนธรรม
โดย อารีย์ สีแก้ว

สํานักศิลปากรที่ 4 ลพบุรี โดยนาง มานิตย์ เขื่อนขันธ์ ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ 4 ลพบุรี จัดประชุมถวายความรู้แด่พระสังฆาธิการและฆราวาสผู้สนับสนุน วัดใน "โครงการดูแลทรัพย์สินทางศิลปวัฒนธรรมของชาติของพระสังฆาธิการ"

มีพระสังฆาธิการและฆราวาสผู้สนับ สนุนวัดเข้าร่วมจำนวน 30 รูป/คน และได้รับเกียรติจาก นายเอนก สีหามาตย์ รอง อธิบดีกรมศิลปากร เป็นประธานเปิดโครงการและเป็นวิทยากรถวายความรู้ ณ วัดไพรสณฑ์ศักดาราม ต.หล่มสัก อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์ เมื่อเร็วๆ นี้

นางมานิตย์กล่าวว่า มรดกทางศิลปวัฒน ธรรมของชาติ ประเภทโบราณสถาน โบราณวัตถุ ที่มีอยู่ในวัด เช่น โบสถ์ วิหาร เจดีย์ พระพุทธรูป ตู้พระธรรม ธรรมาสน์ และคัมภีร์โบราณ เป็นสิ่งที่สร้างสรรค์ขึ้นจากความศรัทธาของประชาชน ช่างฝีมือในท้องถิ่นที่มีต่อพระพุทธศาสนา โดยได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดียิ่งจากพระสงฆ์และฆราวาสผู้สนับสนุนวัด ปัจจุบันพบว่ามรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติเหล่านี้กำลังเสื่อมสภาพลงไป สาเหตุจากสิ่งแวดล้อม กาลเวลา ภัยทางธรรมชาติ การพัฒนาของบ้านเมือง และการกระทำของมนุษย์

กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ในฐานะหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่ในการทำนุบำรุงอนุรักษ์มรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติ ได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวตลอดเวลา ได้มอบหมายภารกิจให้ สำนักศิลปากรที่ 4 ลพบุรี ซึ่งดูแลรับผิดชอบ 5 จังหวัด คือ จังหวัดลพบุรี ชัยนาท อุทัยธานี นครสวรรค์ และ เพชรบูรณ์ พิจารณาบูรณะโบราณสถานที่มีสภาพชำรุดมากก่อน ซึ่งในปีงบประมาณ 2554 ที่ผ่านมา ได้เลือกบูรณะวิหารหลังเก่าของวัดไพรสณฑ์ศักดาราม จ.เพชร บูรณ์ ที่เดิมมีสภาพชำรุดทรุดโทรมมาก จนแล้วเสร็จเรียบร้อยเป็นอย่างดี

"ในปีนี้ได้จัดกิจกรรมต่อยอดในโครงการดูแลทรัพย์สินทางศิลปวัฒนธรรมของชาติของพระสังฆาธิการ จัดประชุมถวายความรู้ ความเข้าใจแด่พระสังฆาธิการและฆราวาสผู้สนับสนุนวัดจังหวัดเพชรบูรณ์ ในการดูแลรักษาโบราณสถานและโบราณวัตถุในวัด อีกทั้งยังได้นำผู้เข้าร่วมประชุมเดินทางไปศึกษาดูงานการบูรณะโบราณสถานและวัดที่สำคัญในกรุงเทพมหานคร คือ วัดบวรนิเวศวิหาร วัดราชโอรส วัดเทพธิดาราม และโลหะปราสาท"


(http://www.khaosod.co.th/view_resizing_images.php?filename=news-photo/khaosod/2013/04/bud02250456p2.jpg&width=360&height=360)

นายเอนกกล่าวว่า สืบเนื่องจากกฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธ ศักราช 2550 ได้ให้ความสำคัญกับบทบาทการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาประเทศ รวมถึงการกระจายอำนาจและการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชนท้องถิ่น ในการบริหารจัดการศิลปวัฒนธรรมของชาติ กรมศิลปากรได้ตระหนักดีว่าการดูแลรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติให้ดำรงอยู่อย่างยั่งยืนโดยลำพัง เฉพาะส่วนราชการเพียงอย่างเดียวย่อมเป็นไปไม่ได้ ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนของสังคมเข้ามาเป็นเครือข่ายมีส่วนร่วมในการรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรม ให้ดำรงอยู่อย่างยั่งยืนตลอดไป

"วัดเป็นสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา เป็นแหล่งรวบรวมมรดกทางศิลปวัฒนธรรม เป็นจำนวนมาก ดังนั้นพระสงฆ์และฆราวาสผู้สนับ สนุนวัด จึงมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการดูแลรักษาอนุรักษ์มรดกทางศิลปวัฒนธรรมภายในวัด ให้คงอยู่ตลอดไปและไม่ถูกทำลายให้เสื่อมค่าด้วยประการใด การประชุมถวายความรู้ในครั้งนี้ วิทยากรจะได้ให้ความรู้ ความเข้าใจ วิธีการและแนวทางการดำเนินงานด้านอนุรักษ์และดูแลรักษาโบราณสถานโบราณวัตถุในวัดและทรัพย์สินทางศิลปวัฒนธรรมของชาติอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ ตลอดจนข้อกำหนด กฎหมายและระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง"


(http://www.khaosod.co.th/view_resizing_images.php?filename=news-photo/khaosod/2013/04/bud02250456p3.jpg&width=360&height=360)

ด้านพระปริยัติพัชราภรณ์ เจ้าอาวาสวัดไพรสณฑ์ศักดาราม กล่าวว่า ด้วยแรงศรัทธาในบวรพระพุทธศาสนาฝากไว้ให้เป็นทรัพย์แผ่นดินไม่ว่าจะเป็นในด้านของพุทธศิลป์ พุทธสถาปัตยกรรม จวบจนได้ตกทอดมาถึงเรา ผู้เป็นลูกหลานไทย ได้ระลึกและภาคภูมิใจในเกียรติประวัติของชาติบ้านเมือง โดยมีบุคคลในสถาบันศาสนาอันได้แก่พระสงฆ์และฆราวาสผู้ให้การสนับสนุนวัด เป็นผู้จรรโลงให้มรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติเหล่านี้ ยังคงคุณค่าความเป็นสมบัติของชาติไว้

การประชุมถวายความรู้ในครั้งนี้ มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการอนุรักษ์มรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติ ให้ผู้ที่ปกป้องดูแลมรดกทางวัฒนธรรมเหล่านี้ ได้มีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ อีกทั้งยังเป็นการแลกเปลี่ยนแนวคิด ประสบการณ์และข้อเสนอแนะ ในการปรับปรุงแก้ไข วิธีการดำเนินการร่วมกันกับผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบในภาครัฐ อันจะนำมาซึ่งความก้าวหน้า ในการดำเนินงานด้านการบำรุงรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติ ในอนาคต


ขอบคุณภาพข่าวจาก
http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROaWRXUXdNakkxTURRMU5nPT0=&sectionid=TURNd053PT0=&day=TWpBeE15MHdOQzB5TlE9PQ== (http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROaWRXUXdNakkxTURRMU5nPT0=&sectionid=TURNd053PT0=&day=TWpBeE15MHdOQzB5TlE9PQ==)