หัวข้อ: Dry ice or Die I ( น้ำแข็งแห้ง หรือ ฉันตาย ) เริ่มหัวข้อโดย: หมวยจ้า ที่ กันยายน 20, 2010, 07:53:30 am (http://www.thaidbmarket.com/uploads/20090608-124106-.jpg)
พวกที่ชอบซื้อ ไอติม กลับบ้าน ส่งต่อเพื่อเตือนกันครับ เหตุการณ์ที่ 1 วันนี้ไปซื้อไอติมฮาเก้นดาดแล้วให้เขาใส่น้ำแข็งแห้ง กะสักประมาณ 4 ชั่วโมงกว่าจะถึงบ้านเพราะต้อง แวะไปซื้อของที่อื่นด้วย ไปได้สัก 1 ชั่วโมงเราก็จอดลงไปซื้อขนมประมาณครึ่งชั่วโมงเห็นจะได้ ขึ้นมาบน รถเห็นแฟนที่รออยู่บนรถหอบเหนี่อย ก็ไม่อะไรสตาทรถออกมาตามปรกติ เราก็ไม่เอะใจอะไร สักพักลูก เรา5เดือนก็ร้องไห้จ้าขึ้นมา ปรกติเขาไม่เคยร้องแบบนี้ เราก็เอานมให้ลูกกินคิดว่าลูกหิว เขาก็ไม่กิน เราเองก็รู้สึกเหนี่อยขึ้นทุกทีคล้ายจะหอบ ก็เลยบ่นกับแฟนว่าเป็นอะไรไม่รู้ รู้สึกเหนี่อยเหลือเกิน แฟนก็ เลยบอกว่าเขาก็เป็น ตอนแรกเขาคิดว่าเขาอ้วนเลยเป็นอย่างนั้น เราก็เลยรีบเปิดกระจกรถกันใหญ่ พอ อากาศถ่ายเทเข้ามาในรถเท่านั้นแป็บเดียวก็เป็นปรกติลูกเราหยุดร้องทันที อาการทั้งของเราและแฟนก็ หายเป็นปรกติทันที รถเราเป็นรถโตโยต้าวิช มันทะลุถึงกันหมด เพิ่งรู้ว่าคนที่จอดรถนอนแล้วตายเป็น อย่างนี้นี่เอง ขอให้เป็นอุทธาหรณ์ของทุกๆคนนะค่ะ สงสารลูกที่สุดเลยค่ะเขาคงทรมานมากพูดก็พูดไม่ได้ ก้อนน้ำแข็งแห้ง มันคือคาร์บอนไดออกไซด์เพียวๆ เลย ซึ่งจัดว่าเป็นก๊าซอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ ค่ะ เหตุการณ์ที่ 2 เรื่องน่ากลัวค่ะเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาก็ไปไหว้พระบาทกัน ขับรถไปกันเอง ป๊าน้องปลื้มเป็นคนขับ ไปกัน 7 คน นั่งตอนละ2 คน น้องปลื้มก็นั่งคาร์ซีทตอน 2 ไหว้พระเสร็จก็ประมาณบ่าย 2-3 โมง ขากลับหิวข้าวเลยแวะกินสเต็ก (ลือชื่อแถวรังสิต) ทานเสร็จอาม่าของน้องปลื้มกับอาเหล่าโกวก็ช็อปปิ้งไอติมกัน แล้วก็ซื้อกลับบ้านด้วย ทางร้านก็แพคใส่กล่องโฟม มีสติ๊กเกอร์แปะอยู่2 ข้างเพื่อไม่ให้ฝาหลุด ขากลับน้องปลื้มไม่ยอมนั่งคาร์ซีท เลยเอาไอติมวางไว้ที่คาร์ซีท แล้วน้องปล! ื้มก็มานั่งกับเราที่ตอน 3 ระหว่างทางอาม่าก็บอกว่าทำไม รู้สึก เหนื่อยจัง เหมือนหายใจไม่ออก แล้วเค้าก็มีอาการหอบ ป๊าของน้องปลื้มก็บอกว่าเค้าก็เป็น ทำไมถึงเป็นไม่รู้ คุยกันไม่มานึกว่าเค้า 2 คนกินอะไรเหมือนกันที่คนอื่นไม่ได้กินหรือเปล่า เราก็สังเกตุเห็นทำไมน้องปลื้มหายใจแรงจัง หายใจหอบๆ เสียงลมหายใจฟี้ดๆ แล้วน้องปลื้มก็เอานิ้ว แคะจมูก เราก็นึกว่ามี ขึ้มูกทำให้หายใจไม่สะดวก ก็เลยแคะให้แต่ก็ไม่เห็นมีนี่นา อาม่าของปลื้มก็หอบใหญ่เลย ปลื้มก็หายใจถี่ แรง แล้วก็หอบมากขึ้น อาเหล่าโกวก็เอะใจถามว่าไอติที่เราซื้อมามีดรายไอซ์หรือเปล่า มีนะเพราะซื้อ ทุกครั้งเค้าก็แพคให้ เลยถึงบางอ้อ! ค่ะ เพราะดรายไอซ์นี่เอง มันเป็นคาร์บอนไดออกไซค์ รถปิด หน้าต่างเปิดแอร์ ทำให้ ออกซิเจนในรถน้อยลง อากาศไม่ไหลเวียน เลยรีบเปิดหน้าต่าง อาการของทั้ง 3 คน หายทันทีเลยคะ ตกอกตกใจกันไปทั้งรถ มั่วแต่หาสาเหตุอื่นๆ ไม่ได้คิดถึงกล่องไอติมเลย รู้ ทั้ง รู้ แต่นึกไม่ถึงคะ ถ้ารถเก๋งวางไว้กระ โปรงหลังคิดว่าคงไม่เป็ไร แต่นี่รถ 3 ตอน แถมวางไว้ตรงตอน 2 กลางรถพอดี มันก็เลยไหวเวียนอยู่ในรถนั่นแหละ น่ากลัวมากๆเลย ไม่อยากนึกเลยว่าถ้าทุกคน หลับกันหมด หรือน้องปลื้มหลับ เค้าจะมีอาการแสดงให้เราเห็นหรือเปล่า ป๊าของน้องปลื้มบอกว่ารู้แล้วว่าคนขาดอากาศหายใจตายเป็นไง รีบเอาดรายไอซ์ทิ้งหมดเลยค่ะ หรือถ้า แพคใส่กล่องแต่ปิดเทปรอบปากกล่องก็คงดีกว่า เลยอยากมาเล่าให้พ่อ ๆ แม่ๆฟังกัน เรื่องที่รู้ทั้งรู้นะแต่นึกไม่ถึงว่าจะ อันตรายขนาดนี้คราวหน้าคราวหลังถ้าซื้อไอติมมาคงต้องแพคให้หนาแน่นกว่านี้ เหตุการณ์ที่ 3 ยืนยันด้วย อันนี้เรื่องจิงคับ เคยโดนมากะตัวเหมือนกัน เราทำงาน CP เกี่ยวกะอาหารส่งออก ต้องไปเอาสินค้าตัวอย่างให้ลูกค้า โรงงานก็ pack ใส่กล่อง โฟมใหญ่ ๆ หลายกล่อง แล้วใส่ Dry ice เยอะมากทุกกล่อง เพราะกลัวสินค้าเสียหาย พอออกรถไปซักพัก หายใจไม่ออกกันทั้งรถ เกือบตายเหมือนกัน นึกขึ้นมา ได้ว่ามี dry ice ในกล่อง เลยรีบจอด แล้วเอา dry ice ออก (นี่ก็ไว้กระโปรงท้ายรถเหมือนกันนะ) เล่นเอาเกือบตาย ภาพประกอบจากเว็บ http://www.thaidbmarket.com/uploads/20090608-124106-.jpg (http://www.thaidbmarket.com/uploads/20090608-124106-.jpg)Aeva Debug: 0.0007 seconds. หัวข้อ: Re: Dry ice หระื Die I เริ่มหัวข้อโดย: หมวยจ้า ที่ กันยายน 20, 2010, 07:53:43 am น้ำแข็งแห้ง (dry ice) เป็นคาร์บอนไดออกไซด์ในสถานะของแข็ง เรียกอีกชื่อหนึ่งว่าคาร์บอนไดออกไซด์แข็ง หรือ solid carbon dioxide เตรียมได้จากการนำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มาผ่านกระบวนการอัดและทำให้เย็นลง ภายใต้ความดันสูงกลายเป็นคาร์บอนไดออกไซด์เหลว แล้วลดความดันลงอย่างรวดเร็วโดยการพ่นคาร์บอนไดออกไซด์เหลวสู่ความดัน บรรยากาศ ผลที่ได้คือเกล็ดน้ำแข็งคล้ายเกล็ดหิมะ แล้วจึงนำมาอัดเป็นรูปแบบและขนาดต่าง ๆ ตามวัตถุประสงค์ของการนำไปใช้ ซึ่งมีทั้งรูปแบบเป็นก้อน (block) ขนาดครึ่งถึง 15 กิโลกรัม เป็นแผ่น (slice) ขนาดตั้งแต่ครึ่งถึง 1 กิโลกรัมเป็นแท่ง (pellet) ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3 มิลลิเมตร 9 มิลลิเมตร และ 15 มิลลิเมตร เป็นต้น
น้ำแข็งแห้งเหมือนหรือแตกต่างจากน้ำแข็งธรรมดาทั่วไปอย่างไร น้ำแข็งแห้งมีความคล้ายกับน้ำแข็งทั่วไปคือ เป็นของแข็ง ไม่มีสี และเป็นตัวที่ทำให้เกิดความเย็นได้แต่น้ำแข็งแห้งแตกต่างๆจากน้ำแข็งธรรมดา ทั่วไปคือ 1. อุณหภูมิ น้ำแข็งแห้งมีอุณหภูมิที่ต่ำกว่าน้ำแข็งธรรมดามาก ซึ่งเย็นจัดถึง -79 ในขณะที่น้ำแข็งธรรมดาทั่วไปมีอุณหภูมิประมาณ 0 2. การเปลี่ยนสถานะ เมื่อเอาน้ำแข็งแห้งและน้ำแข็งธรรมดามาวางไว้ที่อุณหภูมิห้อง ( ประมาณ 25- 30 ) พบว่าที่อุณหภูมิห้องน้ำแข็งจะระเหิดกลายเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์โดยที่ไม่ มีการหลอมละลายเป็นของเหลว ในขณะที่น้ำแข็งธรรมดาทั่วไปจะละลายเป็นน้ำ ซึ่งก็คือเกิดหลอมกลายเป็นของเหลวนั่นเอง จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมเราจึงเรียกว่า “ น้ำแข็งแห้ง “ 3. ความเย็น น้ำแข็งแห้งจะให้ความเย็นมากกว่าน้ำแข็งธรรมดาทั่วไปถึง 2 หรือ 3 เท่าเมื่อเทียบโดยน้ำหนักหรือปริมาตรที่เท่ากันกับน้ำแข็งธรรมดา ประโยชน์ของน้ำแข็งแห้ง จากคุณสมบัติของน้ำแข็งแห้งที่มีอุณหภูมิเย็นจัดถึง -79 และไม่เกิดการหลอมเหลวจึงทำให้มีการนำน้ำแข็งมาใช้ประโยชน์หลายๆด้าน โดยเฉพาะด้านอุตสาหกรรมที่ต้องการอุณหภูมิต่ำ เช่น : ในอุตสาหกรรมอาหาร เป็นการถนอมอาหารในขั้นตอนการผลิตและการขนส่งตัวอย่างเช่น ใช้ในการแช่เข็งปลา หรือเนื้อสัตว์อื่นๆ ใช้ในการแช่แข็งไอศกรีม นม เบเกอรี่ ไส้กรอก ใช้ในการแช่แข็งผักและผลไม้ เพื่อให้มีความสดเป็นระยะเวลานานๆ หรือเพื่อยืดอายุสินค้า นอกจากนี้ยังใช้เพื่อการเก็บอาหารสำหรับเสิร์ฟบนเครื่องบินอีกด้วย ซึ่งน้ำแข็งแห้งจะรักษาความสดได้ดี และไม่มีการหลอมเหลวเป็นน้ำที่เปียกแฉะเหมือนน้ำแข็งทั่วไปด้วย : ด้านการแพทย์ ใช้ในการรักษาสภาพของซากสัตว์ หรือศพของมนุษย์จากเหตุการณ์คลื่นยักษ์ภาคใต้ เพื่อช่วยให้ศพคงสภาพได้นานที่สุด หรือเพื่อป้องกันการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ต่าง ๆ : ใช้ในการขนส่งเวชภัณฑ์ต่างๆเช่น ยา หรือสารเคมีบางชนิด : ใช้ในอุตสาหกรรมด้านการทำความสะอาดเครื่องจักร แบบหล่อ หรือแม่พิมพ์ : ใช้ในการบดเย็นวัสดุเคราะห์ที่แตกยาก เนื่องจากที่อุณหภูมิต่ำมากๆจะทำให้วัสดุเกิดการแข็งและกรอบมากขึ้น ทำให้บดได้ง่ายขึ้น เหมาะสำหรับการจัดวัสดุสังเคราะห์ : ใช้ในการทำหมอก ควัน ในคอนเสิร์ตการถ่ายทำภาพยนตร์หรือการแสดงต่าง ๆ : ใช้ผสมในเครื่องดื่มเพื่อให้เกิดฟองปุดและให้เกิดความเย็น ( ขั้นตอนเลี้ยงให้อ้วน แลขั้นโจมตีเมฆอุ่นด้วยสารเคมีสูตรเย็นจัดที่อุณหภูมิ -78 องศาเซส จะทำให้อุณภูมิของมวลอากาศใต้ฐานเมฆลดลง และความชื้นสัมพัทธ์สูงขึ้น จะยิ่งทำให้ฐานเมฆลดระดับลง ปริมาณฝนก็จะหนาแน่นขึ้น ) : นอกจากนี้ ตัวก๊าซ CO เองก็ใช้ในอุตสาหกรรมน้ำอัดลมและเครื่องดื่มอีกด้วย เกร็ดนอกเรื่อง (คาร์บอนไดออกไซด์เหลว ) ประโยชน์อีกด้านหนึ่งของคาร์บอนไดออกไซด์ ( ที่ไม่ได้อยู่ในรุปของน้ำแข็งแห้งแล้ว ) ซึ่งมักจะไม่ค่อยได้ยินกันมากนักก็คือ สามารถนำไปใช้ในกระบวนการสกัดได้ เช่นการสกัดคาเฟอีนนอกจากเมล็ดกาแฟ เพื่อผลิตกาแฟไร้คาเฟอีน ซึ่งการสกัดนั้นไม่ได้ใช้น้ำแข็งแห้งโดย ตรง แต่เป็นการสกัดสารด้วยคาร์บอนไดออไซด์ที่อยู่ในรูปของ “ ของไหลยิ่งยวด “ หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “ super fluid ซึ่งก็คือก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เราเพิ่มความดันและอุณหภูมิจนถึง งจุดหนึ่งที่ทำให้คาร์บอนไดออกไซด์ในรูปของก๊าซและเหลวไม่มีความแตกต่างกัน เราเรียกจุดดังกล่าวนี้ว่า จุดวิกฤติ ซึ่ง ณ จุดที่เหนือจุดวิกฤตินี้คาร์บอนไดออกไซด์จะเป็นของไหลยิ่งยวด นั้นคือ ไม่แสดงลักษณะที่เด่นชัดว่าเป็นก๊าซหรือของเหลว แต่จะมีลักษณะและสมบัติทางกายภาพผสมกันระหว่างสถานะก๊าซกับสถานะของเหลว เช่น ฟุ้งกระจายได้เหมือนก๊าซ แต่มีความหนาแน่นมากกว่าก๊าซทั่วไป และสามารถทำสารละลายอื่นได้เหมือนของเหลว จากสมบัติข้อนี้ จึงสามารถนำไปใช้ในสารสกัดต่างๆ ออกจากกันได้ โดยมันจะไปละลายสารที่เราต้องการสกัดออกมา ซึ่งถ้าเราใช้การสกัดคาเฟอีนจากเมล็ดกาแฟ ก็จะมีคาแฟอีนเป็นส่วนใหญ่ที่ละลายออกมาทำให้สมบัติอื่นๆเช่น สี กลิ่น หรือรสของกาแฟยังคงเดิม ถึงแม้น้ำแข็งแห้งจะมีประโยชน์นานัปการ หากการใช้โดยขาดความระมัดระวังหรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็อาจก่อให้เกิดโทษ ได้เช่นกัน ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นได้จากน้ำแข็งแห้ง ได้แก่ จากการสัมผัส หากจับต้องด้วยมือเปล่าหรือสัมผัสกับผิวหนังโดยตรงจะทำให้ผิวหนังไหม้จาก ความเย็นจัด (frost-bite) ได้ จากการระเบิดซึ่งเกิดจากการบรรจุน้ำแข็งแห้งในภาชนะปิดสนิทไม่มีช่องระบาย อากาศทำให้เกิดการสะสมของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ระเหิดออกมา เมื่อถึงระดับหนึ่งจะเกิดแรงดันและระเบิดในที่สุด ดังนั้นในการขนส่งน้ำแข็งแห้งปริมาณมาก ๆ จะต้องเก็บในภาชนะบรรจุน้ำแข็งโดยเฉพาะที่มีช่องระบายอากาศ ซึ่งนอกจากจะเป็นการป้องกันการระเบิดแล้วยังช่วยลดอัตราการระเหิดของน้ำ แข็งได้ ผลกระทบอีกอย่างที่จะเกิดขึ้นได้ก็คือ การเก็บน้ำแข็งแห้งปริมาณมากในห้องแคบ ๆ หรือห้องเพดานต่ำที่การระบายอากาศไม่ดีพอ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ระเหิดออกมาจะแทนที่ออกซิเจนที่ทำให้ขาดอากาศหายใจ ได้ ดังนั้นห้องที่ใช้หรือเก็บรักษาน้ำแข็งแห้ง หรือห้องแสดงคอนเสิร์ตที่ต้องใช้น้ำแข็งแห้งในปริมาณมาก ๆ จึงควรที่จะจัดให้มีที่ระบายอากาศอย่างเพียงพอ โดยปกติก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จะหนักกว่าอากาศจึงควรที่จะจัดให้มีที่ระบาย อากาศอย่างเพียงพอ โดยปกติก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จะหนักกว่าอากาศจึงมักจะลอยอยู่ในระดับต่ำ ดังนั้นการระบายอากาศที่ดีจึงควรมีการระบายอากาศทางด้านล่าง |