หัวข้อ: รับพระบรมธาตุนครศรีฯ เข้าบัญชีเบื้องต้น 'มรดกโลก' เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ มิถุนายน 22, 2013, 08:34:39 am (http://www.dailynews.co.th/sites/default/files/imagecache/620x245/cover/213641.jpg) รับพระบรมธาตุนครศรีฯเข้าบัญชีเบื้องต้นมรดกโลก กรรมการมรดกโลกมีมติเอกฉันท์ 21เสียง รับ ‘พระบรมธาตุนครศรีธรรมราช’ เข้าสู่บัญชีเบื้องต้นมรดกโลกเหตุเข้า 3 หลักเกณฑ์ ‘กรมศิลป’ เร่งทำเอกสารก่อนเสนอมรดกโลกปี 2558 วันนี้(21มิ.ย.) นายสหวัฒน์ แน่นหนา อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า ได้รับรายงานจากเจ้าหน้าที่กรมศิลปากรที่เดินทางไปร่วมประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยที่ 37 กรุงพนมเปญ ซึ่งประเทศกัมพูชาเป็นเจ้าภาพว่า เมื่อเวลาประมาณ 09.48 น. ตามเวลาท้องถิ่นกัมพูชาวันที่ 21 มิถุนายน ที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลก มีมติเอกฉันท์ 21 เสียง พิจารณารับรองวาระ 8 A ในการเสนอชื่อวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จ.นครศรีธรรมราช เข้าสู่บัญชีเบื้องต้นตามที่ประเทศไทยนำเสนอ เพื่อเข้าสู่กระบวนการพิจารณาประกาศขึ้นทะเบียนมรดกโลกในขั้นตอนต่อไป อย่างไรก็ตามวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร มีคุณสมบัติตรงตามหลักเกณฑ์ที่องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ตามกำหนดทั้งหมด 3 ข้อ ได้แก่ หลักเกณฑ์ข้อ1 เป็นตัวแทนผลงานที่เป็นเลิศของการสร้างจากอัจฉริยะของมนุษย์ เนื่องจากวัดพระมหาธาตุฯ เป็นสิ่งที่ตัวแทนของระบบความเชื่อทางพระพุทธศาสนาผ่านทางแผนผังและการออก แบบสถาปัตยกรรม โดยได้แบ่งขอบเขตพื้นที่ออกเป็น 2 ส่วนมีพระบรมธาตุเจดีย์เป็นประธานของวัด บรรดาสถาปัตยกรรมและการประดับอาคารอุดมไปด้วยการสื่อความหมายปรัชญาทางพระพุทธศาสนาและพุทธประวัติ ซึ่งแสดงถึงแนวคิดของการออกแบบจากอัจฉริยภาพของมนุษย์ :s_good: :s_good: :s_good: นายสหวัฒน์ กล่าวต่อว่า ขณะเดียวกันพระบรมธาตุเจดีย์ไม่เพียงเป็นผลงานที่เป็นเลิศของเจดีย์ทรงระฆังในทางพระพุทธศาสนาแต่ยังเป็นสัญลักษณ์ของพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท ที่ได้นำรูปแบบเจดีย์ทรงระฆังไปสร้างยังดินแดนที่ไกลออกไป ดังนั้นแนวคิดในการออกแบบสถาปัตยกรรมของพระบรมธาตุเจดีย์แสดงถึงผลงานชั้นเลิศที่สร้างสรรค์ขึ้นจากอัจฉริยะของมนุษย์ที่ปรากฏทางฝีมือช่าง และตรงกับหลักเกณฑ์ข้อ 2 เป็นการแสดงถึงความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงคุณค่าของมนุษย์ตามกาลเวลาหรือในวัฒนธรรมด้านใดด้านหนึ่งของโลกในการพัฒนาด้านสถาปัตยกรรมหรือทางเทคโนโลยี ศิลปะสถาปัตยกรรมโบราณ การออกแบบผังเมืองหรือการออกแบบภูมิทัศน์ โดยพระบรมธาตุเจดีย์ยังคงรักษาความครบถ้วนสมบูรณ์ของโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมในสมัยแรกสร้าง เมื่อราวปลายพุทธศตวรรษที่ 18 รูปแบบทางสถาปัตยกรรมได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะลังกา ตามแบบอย่างคติของพุทธศิลป์ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช :sign0144: :sign0144: :sign0144: อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า อย่างไรก็ตามองค์ระฆังได้มีการลดส่วนของความกว้างลงจึงทำให้องค์ระฆังเพรียวขึ้น ดังนั้นทรวดทรงองค์ระฆังของพระบรมธาตุเจดีย์เป็นรูปลักษณ์ที่แตกต่างไปจากศิลปะ ลังกา สะท้อนให้เห็นถึงความสำเร็จในการผสมผสานระหว่างลักษณะท้องถิ่นและต้นแบบของ สถาปัตยกรรมในพุทธศาสนา ยิ่งไปกว่านั้น สัดส่วนความสัมพันธ์ระหว่างความสูงและความกว้างเท่ากับ 2:1 (สูง 28 วา กว้าง 1 วา) ซึ่งมีที่มาของความหมายครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งลักษณะทางกายภาพและจิตวิญญาณ ตามปรัชญาทางพระพุทธศาสนา คือ รูปธรรม 28 และวิญญาณ 14 ดังนั้นความสูงของพระสถูปจึงเป็นตัวแทนในประการแรก และความกว้างของพระสถูปเป็นประการหลัง ทั้งนี้ในสมัยโบราณสถูปทรงระฆังถือว่าเป็นแบบอย่างของสถูป วัดพระมหาธาตุ วรมหาวิหาร มีบทบาทในฐานะเป็นสื่อกลางในการ เผยแผ่วัฒนธรรมของพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทและศิลปะเหล่านี้ไปทั่วทั้งดินแดน คาบสมุทรภาคใต้ และไปยังภูมิภาคอื่นๆของประเทศไทยในช่วงเวลาหลังจากนั้นมา เช่น อาณาจักรสุโขทัยและอยุธยา ซึ่งยืนยันได้จากรูปแบบของสถูปเจดีย์ที่มีอยู่อย่างดาษดื่น :49: :49: :49: นายสหวัฒน์ กล่าวต่อว่า และหลักเกณฑ์ข้อ 6 มีความสัมพันธ์โดยตรงหรือเห็นได้ชัดเจนกับเหตุการณ์หรือประเพณีที่ยังคงอยู่ หรือความคิด หรือความเชื่อ งานศิลปกรรม และวรรณกรรม ที่มีความโดดเด่นเป็นสากล ความเชื่อของผู้คนเกี่ยวกับการศักดิ์สิทธิ์ของ พระบรมสารีริกธาตุ เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดประการหนึ่งของพุทธศาสนิกชน ที่จะสั่งสมการสร้างบุญกุศลตามประเพณีในรูปแบบที่หลากหลาย ทั้งด้านวรรณกรรม คีตกรรม และนาฏกรรม สิ่งเหล่านี้นำไปสู่การดำรงอยู่อย่างเหนียวแน่นของการประกอบพิธีกรรมที่หลาก หลาย ซึ่งสัมพันธ์กับประเพณีทางพระพุทธศาสนา พิธีกรรมในการสร้างบุญกุศลที่ถือว่าเป็นงานพิธีที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ ในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาของทุกปี อาทิ วันมาฆบูชา และวันวิสาขบูชา ทั้งพุทธศาสนิกชนในท้องถิ่น ทั้งจากภูมิภาคอื่นของประเทศไทยและทั่วโลก ได้ให้เดินทางเข้ามาสักการะพระบรมธาตุเจดีย์ โดยการเดินเข้าขบวนและนำผ้าพระบฏแต่ละผืนมาต่อเรียงกันไปโดยไม่สิ้นสุด เพื่อนำไปห่มองค์พระบรมธาตุเจดีย์ พุทธศาสนิกชนจำนวนมหาศาลที่เข้ามาร่วมพิธีในทุกปีแสดงถึงความศรัทธาที่มีต่อ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระธรรมคำสั่งสอนของพระองค์ที่สืบทอดผ่านกาล เวลาอันยาวนานมาจนถึงปัจจุบัน :25: :25: :25: วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ได้รับการอนุรักษ์ตามรูปแบบดั้งเดิม และโดยเฉพาะร่องรอยทางประวัติศาสตร์ แม้ว่าบางส่วนภายในวัดได้ผ่านการปฏิสังขรณ์ตามประเพณีมาแล้วในบางช่วงเวลา ความเชื่อของผู้คนที่มีต่อการเคารพรูปแบบดั้งเดิมของสถาปัตยกรรม ทำให้สามารถรักษาความเป็นของแท้ดั้งเดิมของพระบรมธาตุเจดีย์และพุทธ สถาปัตยกรรมภายในวัด เท่ากับเป็นการดำรงอยู่ของศาสนสถานที่ยังมีการใช้สอยเพื่อประกอบพิธีทางพุทธ ศาสนาอย่างต่อเนื่อง ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจน คือการแห่ผ้าขึ้นธาตุ ซึ่งได้มีต่อเนื่องมานับหลายร้อยปี ประเพณีนี้มีความโดดเด่นเป็นลักษณะเฉพาะในระดับสากล นายธราพงศ์ ศรีสุชาติ ผู้อำนวยการสำนักโบราณคดี กล่าวว่า เมื่อได้การพิจารณาเข้าสู่บัญชีเบื้องต้นแล้วจากนี้ไปกรมศิลปากรและทาง จ.นครศรีธรรมราช ต้องเร่งจัดทำเอกสารการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกหรือ Nomination dossierเพื่อให้ทันต่อการเสนอวัดพระมหาธาตุฯ ขึ้นทะเบียนมรดกโลกในปี 2558 ซึ่งถือว่าเป็นงานหนักพอสมควร เนื่องจากต้องมีความครบถ้วนของข้อมูล รวมทั้งสร้างแผนบริหารจัดการวัดพระมหาธาตุฯ ให้สมบูรณ์ที่สุด ขอบคุณภาพข่าวจาก http://www.dailynews.co.th/education/213641 (http://www.dailynews.co.th/education/213641) |