หัวข้อ: ปรับวิธีคิด..นายร้อยตำรวจสางปัญหา 'ผัวเมียตีกัน' เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ มิถุนายน 22, 2013, 08:53:19 am (http://www.komchadluek.net/media/img/size_photo_slide/2013/06/21/k7egda5gakjd9ijajikda.jpg) ปรับวิธีคิด..นายร้อยตำรวจสางปัญหา'ผัวเมียตีกัน' : ทีมข่าวรายงานพิเศษ ภาพรอยเขียวช้ำใต้ดวงตา บนเรียวหน้าขาวเนียนของสาววัย 21 ปี อาจเป็นเพียงเศษเสี้ยวของหลักฐานที่ชี้ชัดว่าเธอถูกทำร้ายจากน้ำมือของคนรัก ซึ่งคบหาดูใจกันได้ 2 ปี แต่ทว่าความบอบช้ำทางจิตใจคงมากกว่านั้น เธอจึงหอบหิ้วร่างกายและจิตใจที่บอบช้ำมาขอความเป็นธรรมจาก "ปวีณา หงสกุล" เพราะเหตุใดเธอจึงไม่ไปแจ้งความที่สถานีตำรวจในท้องที่เกิดเหตุ?!! อาจเป็นเพราะปัญหาความรุนแรงในครอบครัว มักถูกตีกรอบด้วยทัศนคติที่ว่า "เรื่องผัวเมียตีกัน อย่าเข้าไปยุ่ง พอเขาดีกันเราจะกลายเป็นหมา" ถ้อยคำเปรียบเปรยที่ใครๆ ก็ไม่อยากยื่นมือเข้าไปช่วยเหลือ โดยเฉพาะ "ตำรวจ" เมื่อก่อนแทบไม่อยากรับแจ้งความ เพราะหาก "คืนดี" กันแล้ว จะมาถอนแจ้งความหรือยอมความกันไม่ได้ ต้องดำเนินคดีให้ถึงที่สุด ทว่ากฎหมายฉบับใหม่ พ.ร.บ.ความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ.2550 เปิดช่องให้ "ยอมความ" ได้บางกรณีแล้ว แต่ผู้ปฏิบัติในกระบวนการยุติธรรมจำนวนมากยังไม่รู้ จึงต้องปลูกฝังตำรวจรุ่นใหม่ ให้ความสำคัญกับปัญหาความรุนแรงในครอบครัวมากขึ้น :49: :49: :49: โครงการ "พลังคนรุ่นใหม่ร่วมยุติความรุนแรงต่อผู้หญิงประจำปี 2556" รุ่นที่ 1 จึงเกิดขึ้น โดยมีนักเรียนนายร้อยตำรวจหน้าใสทั้งชายและหญิง เข้าร่วมอบรมกว่า 100 นายjavascript:void(0); เมื่อวันที่ 14-16 มิถุนายน ที่ผ่านมา "นักเรียนนายร้อยตำรวจเขากำลังจะเรียนจบ แล้วกำลังจะไปออกไปปฏิบัติหน้าที่ จึงมีการรณรงค์ให้ตำรวจรู้จักใช้กฎหมายต่างๆ เพื่อให้เขาเข้าใจมากขึ้น โดยเฉพาะปัญหาผัวเมียทะเลาะกัน ตำรวจไม่ยุ่งไม่ได้" โกศลวัฒน์ อินทุจันทร์ยง รองเลขานุการอัยการสูงสุด และรองผู้อำนวยการสำนักงานกิจการและโครงการในพระราชดำริพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา บอกถึงเป้าหมายการอบรม การอบรมในครั้งนี้ หยิบยกกรณีศึกษาที่เกิดขึ้นจริงในสังคมไทย เพื่อให้นักเรียนนายร้อยตำรวจเข้าใจปัญหาและวิเคราะห์สถานการณ์ต่างๆ ว่าเป็นปัญหาความรุนแรงที่เกิดขึ้นในครอบครัวหรือไม่ อาทิ "ภรรยาด่าทอและทำร้ายสามีทุกวันเนื่องจากสามีดื่มเหล้ากลับมาดึก", "แม่ผัวลูกสะใภ้ด่าทอกันเป็นประจำ", "สามีมีกิ๊กหลายคนเมื่อภรรยาจับได้ เลยปาข้าวของใส่สามี" เป็นต้น (http://www.komchadluek.net/media/img/size1/2013/06/21/j95b9b6gek6haaiad6aaa.jpg) "สาโรจน์ นักเบศร์" อัยการผู้เชี่ยวชาญพิเศษ บอกนักเรียนนายร้อยตำรวจว่า เมื่อมีข้อเท็จจริงแล้ว พนักงานสอบสวนต้องนำไปวิเคราะห์หลักกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายอาญา กฎหมายคุ้มครองเด็ก กฎหมายในครอบครัว กฎหมายค้ามนุษย์ หรือคุ้มครองแรงงานว่าเข้าข้อกฎหมายหรือไม่ แต่ถ้าไม่อยู่ในภาคกฎหมายก็ต้องมองต่อไปที่ภาคสังคม ต้องใช้ความรู้สึกว่าเขาควรได้รับความช่วยเหลือ หากช่วยเหลือในแง่กฎหมายไม่ได้ ควรจะให้หน่วยงานอื่นเข้ามาช่วยบำบัด คือต้องมองทั้งมิติทางสังคมและมิติทางกฎหมาย "วรภัทร แสงแก้ว" หัวหน้ากลุ่มงานสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ ศูนย์ OSCC โรงพยาบาลปทุมธานี เสริมว่า การที่เจ้าหน้าที่ของรัฐเพิกเฉยต่อความรุนแรง จะยิ่งเพิ่มความรุนแรงให้มากขึ้น โดย "ความรุนแรง" มีหลายระดับ จุดเริ่มต้นของการใช้ความรุนแรงคือ "การใช้วาจาด่าทอ" ก่อนจะปรับพฤติกรรม "ปาข้าวของ ทำลายสิ่งของ" ก่อนจะถึงขั้นลงไม้ลงมือ "ทำร้ายร่างกาย" หนักขึ้นก็อาจจะถึงขั้น "คิดฆ่าตัวตาย" หรือ "คิดฆ่าผู้อื่น" ได้ นรต.หญิง รุ่งทอง สูนสมงาม นักเรียนนายร้อยตำรวจ ชั้นปีที่ 3 ผู้เข้าร่วมอบรมบอกถึงความตั้งใจว่า ถ้าได้เป็นพนักงานสอบสวนจะจำเคสตัวอย่างเหล่านี้ไปใช้ แต่ก่อนมีแต่ตำรวจผู้ชาย คนที่มาแจ้งก็อาจจะไม่สบายใจ เมื่อพวกเราจบไป น่าจะช่วยคุยกับเหยื่อความรุนแรงได้ง่ายขึ้น :29: :29: :29: เช่นเดียวกับ นรต.วรฉัตร ฉลวยแสง นักเรียนนายร้อยตำรวจ ชั้นปีที่ 3 มองว่า คนส่วนใหญ่บอกว่า ไม่กล้ามาแจ้งความ เพราะตำรวจมักจะเห็นเป็นเรื่องผัวๆ เมียๆ นั้น คิดว่ามันเป็นความรับผิดชอบส่วนบุคคล ตำรวจไม่รับแจ้งความต้องไปปรับทัศนคติ ต้องปรับปรุงตัวเอง ทำให้ภาพลักษณ์ตำรวจออกมาดูดี ให้ประชาชนกล้าที่จะเข้าหาเรามากขึ้น นรต.ณัฐพล เสียมไหม นักเรียนนายร้อยตำรวจ ปีที่ 4 เสริมว่า เคยลงพื้นที่ อ.บ้านฉาง จ.ระยอง ร่วมกับสำนักงานกิจการและโครงการในพระดำริพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา สำนักอัยการสูงสุด เมื่อหลายเดือนก่อน ทำให้ทราบว่า ประชาชนมักไม่แจ้งความ เพราะตำรวจไม่ยอมรับเรื่องคดีความรุนแรงในครอบครัว ด้าน "มาร์ค เจริญวงศ์" อัยการประจำสำนักงานอัยการสูงสุด ยอมรับว่า ปัญหาความรุนแรงในผู้หญิงมีหลายๆ เรื่อง ไทยเป็นประเทศที่ผู้ชายทำร้ายผู้หญิงเป็นอันดับเจ็ดของโลก ตำรวจถือเป็น "ต้นน้ำ" ของกระบวนการยุติธรรม จำเป็นต้องปรับตัวทำงาน นอกจากรู้ประเภทและกฎหมายที่ใช้ความรุนแรงแต่ละประเภทแล้ว ยังต้องรู้ว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีอะไรบ้าง เพื่อช่วยเหลือเหยื่อความรุนแรงอย่างครบวงจร "เคยพานักเรียนนายร้อยตำรวจลงพื้นที่สอบถามชาวบ้านเกี่ยวกับปัญหาความรุนแรงในครอบครัว ทำให้พวกเขาได้ฉุกคิดถึงความคาดหวัง และมีมุมมองใหม่ในการทำคดีลักษณะนี้ ถึงแม้จะมีไม่กี่คนที่คิดแบบนี้ แต่ก็ดีกว่าไม่มีเลย" อัยการประจำสำนักงานอัยการสูงสุด กล่าวอย่างมีความหวัง :41: :41: :41: สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล รายงานสถานการณ์ความรุนแรงในครอบครัว พบว่า ตั้งแต่ปี 2552-2555 มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในปี 2555 พบว่าความรุนแรงในครอบครัวมีสูงมากถึง 30.8% หมายความว่า ครอบครัวไทย 1 ใน 3 มีการใช้ความรุนแรง และพบว่าส่วนใหญ่เป็นครอบครัวที่มีการเล่นการพนัน ส่วนปัญหาการนอกใจคู่สมรสพบว่ามีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน โดยครอบครัวไทยมีการนอกใจคู่สมรสเพิ่มมากขึ้นเป็น 1 เท่าตัว ปี 2552 ที่มีครอบครัวแตกแยกเพียง 10.8% ปี 2553 มีการหย่าร้าง 12.8% ปี 2554 มีการหย่าร้าง 12.6% และในปี 2555 มีการหย่าร้างมาถึง 33% ขอบคุณภาพข่าวจาก www.komchadluek.net/detail/20130621/161616/ปรับวิธีคิดนายร้อยตร.แก้ผัวเมียตีกัน.html#.UcUCZtj0YXF (http://www.komchadluek.net/detail/20130621/161616/ปรับวิธีคิดนายร้อยตร.แก้ผัวเมียตีกัน.html#.UcUCZtj0YXF) |