หัวข้อ: พระท่านให้ใช้ปัญญา‘ศรัทธาสงฆ์’‘สมณสารูป’สำคัญ! เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ มิถุนายน 23, 2013, 06:57:35 am (http://www.dailynews.co.th/sites/default/files/imagecache/620x245/cover/213528.jpg) พระท่านให้ใช้ปัญญา‘ศรัทธาสงฆ์’‘สมณสารูป’สำคัญ! อาจเพราะยุคปัจจุบันเป็นยุคที่ผู้คนเข้าถึงและเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารได้มากมายหลายทาง กรณีบุคคล แฝงตัวห่มผ้าเหลืองแล้วทำให้ภาพลักษณ์พระภิกษุสงฆ์ต้องเสื่อมเสีย รวมถึงกรณี ผู้บวชเป็นพระภิกษุสงฆ์มีพฤติกรรมเป็นที่กังขาของพุทธศาสนิกชนโดยรวม จึงมีปรากฏออกมาสู่สังคมมากขึ้นกว่าในอดีต การมีกรณีแบบนี้ปรากฏออกมาสู่สังคมมาก ๆ ในมุมหนึ่งมีการมองว่าเป็นผลลบต่อพระพุทธศาสนา แต่ในอีกมุมหนึ่งก็มีการมองว่านี่ก็เป็นผลบวกได้ เพราะเป็นการช่วยกันเป็นหูเป็นตาเป็นปากเป็นเสียงให้พระพุทธศาสนา เป็นผลบวกได้หากมีการจัดการให้ถูกให้ควร และชาวพุทธตระหนักถึงความถูกความควร... ทั้งนี้ กับกรณีครึกโครมเกี่ยวกับพฤติกรรมพระภิกษุสงฆ์ที่มีออกมาสู่สังคม ทำไม? อย่างไรแน่? นั่นก็คงต้องว่ากันไปตามกระบวนการ และก็ย่อมจะสุดแท้แต่วิจารณญาณของแต่ละบุคคล อย่างไรก็ตาม กับประเด็น ’ความถูกความควรของพฤติกรรมผู้ที่เป็นพระภิกษุสงฆ์“ ในภาพรวมนั้น ชาวพุทธยุคปัจจุบันยิ่งควรตระหนัก “ความเปลี่ยนแปลงทางสังคมจากยุคเกษตรกรรมมาเป็นยุคอุตสาหกรรม ก็ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างคนกับวัดมากขึ้น ทำให้มีพระปลอมบวช หรือพระที่ไม่มีความรู้ เข้ามาสร้างความเสื่อมเสียได้ง่าย ที่สำคัญยังมีกลุ่มผู้มีเจตนาไม่บริสุทธิ์ มองเห็นช่องทาง โดยดึงเอาความศรัทธามาแปรเป็นทุน” ...พระสงฆ์นักเผยแผ่หลักธรรมบางรูปเคยสะท้อนผ่าน “สกู๊ปหน้า 1 เดลินิวส์” ไว้ ซึ่งนับว่าควรพิจารณา เพราะประเด็นปัญหาในเรื่องนี้แม้จะเป็นเพียงบางจุดบางส่วนในวงการพระพุทธศาสนา-วงการพระสงฆ์ในไทย แต่บางจุดบางส่วนนี่ก็เป็นเหตุให้เกิดความ ’มัวหมอง“ ต่อพระพุทธศาสนา และยังอาจมีการ ’หลอกลวง“ ชาวพุทธ :sign0144: :sign0144: :sign0144: อันสืบเนื่องกรณีครึกโครมเกี่ยวกับพฤติกรรมพระภิกษุสงฆ์ พระผู้ใหญ่บางรูปในมหาเถรสมาคม ระบุไว้บางช่วงบางตอนว่า...พระวินัยได้กำหนดให้พระหรือวัดอยู่ในความพอดีพอเพียง พระสงฆ์และวัดต้องยึดพระธรรมวินัยเป็นตัวตั้ง ดำรงตนสำรวมอยู่ในสมณสารูป ซึ่งกับคำว่า “สมณสารูป” นั้น จากข้อมูลบทความในเว็บไซต์ของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ระบุไว้ว่า... หมายถึง ที่สมควรแก่พระ, กิริยามารยาทที่สมควรแก่สมณะ ขณะที่มงคลที่ 29 ในมงคลชีวิต 38 ข้อ หรือมงคล 38 ประการ ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ ก็มีเนื้อหาในส่วนที่เกี่ยวกับลักษณะของสมณะ หรือการดำรงตนของพระภิกษุสงฆ์ให้เหมาะสมกับสมณสารูป :49: :49: :49: โดยสังเขป-โดยสรุปคือ...สงบกาย สำรวม ไม่มีกิริยาร้าย เช่น แก่งแย่ง ชิงดีชิงเด่น พกอาวุธ วิวาท เป็นต้น, สงบวาจา มีวาจาเป็นธรรม ไม่ปากร้าย ไม่ว่าร้าย ไม่ยุยง เป็นต้น, สงบใจ มีจิตใจที่นึกถึงธรรมเป็นสำคัญ มีจิตใจที่สงบจากบาปกรรม มีจิตใจที่เต็มไปด้วยความเมตตากรุณา เป็นต้น ...นี่จึงถือว่าเหมาะสมกับสมณสารูป หรือในบางเว็บไซต์เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาก็ระบุถึง “สมณสารูป” ไว้ประมาณว่า...หมายถึง การประพฤติปฏิบัติ กิริยามารยาทที่เหมาะสมของพระภิกษุสงฆ์ ซึ่งเป็นข้อปฏิบัติที่ทำให้มีระเบียบวินัย มีมารยาทในเรื่องต่าง ๆ ที่เรียบร้อยงดงาม โดยสมณสารูปนี้ ถือเป็นพระวินัยหมวดหนึ่งที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ พระสงฆ์ที่ด้อยสมณสารูปก็เสมือนด้อยวินัยสงฆ์ ถ้าไม่มีสมณสารูปเสียเลยนี่ก็คงจะไม่ต้องพูดถึง!! :91: :91: :91: ทั้งนี้ ด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลง ด้วยเหตุที่โลกเปลี่ยนไปไม่เหมือนอดีตกาล-พุทธกาล สำหรับพระภิกษุสงฆ์ก็ใช่ว่าจะไม่สามารถปรับ “วัตรปฏิบัติ” ตามหน้าที่-ตามวินัยสงฆ์ ซึ่งในทางสงฆ์เองก็ดูจะมีการอนุโลมไม่น้อยเลย โดยในที่นี้ก็รวมถึงการมีการใช้ ทรัพย์สินต่าง ๆ สิ่งของต่าง ๆ เครื่องใช้ต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม พฤติกรรมการมีการใช้ก็ยังต้องตั้งอยู่บน ’ความเหมาะสม-ความถูกความควร“ กับสถานะพระสงฆ์ กับเรื่องสิ่งของเครื่องใช้นี้ ทางพระผู้ใหญ่รูปหนึ่งก็เคยระบุไว้ว่า...“ของแบบนี้มันเหมือนกับเหรียญ 2 ด้าน ที่ออกนอกลู่นอกทางตามนิสัยเดิมก็มี ทุกอย่างขึ้นอยู่กับจิตสำนึกและความรับผิดชอบของบุคคลนั้น ๆ ซึ่งหนทางแก้ไขที่ทำได้คือทุกคนต้องช่วยกันเฝ้าระวังดูแล อย่าให้เกิดสิ่งไม่ดีไม่งามขึ้น” และกับประเด็น ’ช่วยกันเฝ้าระวังดูแลพระภิกษุสงฆ์“ ก็น่าจะต้องหมายรวมถึงเฝ้าระวังดูแลโดย ส่งเสริม สนับสนุน ’พระภิกษุสงฆ์ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ“ เพื่อให้มีกำลังกายกำลังใจในการสืบสานพระพุทธศาสนา พร้อม ๆ ไปกับเฝ้าระวังดูแล เป็นหูเป็นตาเป็นปากเป็นเสียงเพื่อให้มีการจัดการกับผู้ที่แฝงในผ้าเหลืองเพื่อทำสิ่งไม่ดีหรือแสวงหาประโยชน์อย่างไม่ถูกต้อง โดยกับกลุ่มหลังนี่ทั้งเจ้าหน้าที่รัฐ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และในแวดวงสงฆ์เอง มีการใช้คำเรียกว่า ’พระปลอมบวช“ ซึ่งสร้างปัญหาให้กับผู้คน ให้กับสังคม และการจะรู้ว่าใช่-ไม่ใช่ พระจริง-พระปลอม ก็ไม่น่าจะเป็นเรื่องยากอะไรนักสำหรับชาวพุทธทั่วไป :41: :41: :41: การดูแลเรื่องนี้...ก็ต้องทั้งพระสงฆ์และฆราวาส ในส่วนฆราวาส...สำคัญที่ ’ศรัทธาและปัญญา“ พระท่านว่า...’ศรัทธาและปัญญาต้องไปคู่กัน“. ขอบคุณภาพข่าวจาก http://www.dailynews.co.th/article/223/213528 (http://www.dailynews.co.th/article/223/213528) หัวข้อ: Re: พระท่านให้ใช้ปัญญา‘ศรัทธาสงฆ์’‘สมณสารูป’สำคัญ! เริ่มหัวข้อโดย: Akira ที่ มิถุนายน 24, 2013, 09:22:01 am st11 st12
|