หัวข้อ: ผจญธิดามาร เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ มิถุนายน 28, 2013, 08:03:30 am (http://file.siam2web.com/vichu/webboard/201096_75762.jpg) ปางห้ามมาร คอลัมน์ คติ-สัญลักษณ์ โดย ชวพงศ์ ชำนิประศาสน์ พระพุทธรูปปางนี้อยู่ในอิริยาบถนั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ซ้ายวางหงายอยู่บนพระเพลา (ตัก) พระหัตถ์ขวายกมือขึ้นป้องเสมอพระอุระ (อก) ฝ่ามือหันออก นิ้วพระหัตถ์เหยียดตรง พระพุทธรูปปางนี้มีลักษณะคล้ายปาง โปรดอาฬวกยักษ์ หรือปางประทานเอหิภิกขุ และปางโปรดพุทธมารดา ความแตกต่าง จะอยู่ตรงนิ้วพระหัตถ์ขวาที่แตกต่างกัน พระพุทธรูปปางนี้เป็นลักษณะของพระพุทธรูปที่ต่อจากปางมารผจญที่ได้เคยบรรยายมาแล้ว ซึ่งหมายถึงการประกาศของพระพุทธเจ้าว่าเป็น ผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ เป็นผู้พ้นไปจากโลกีย์ อยู่เหนือโลก พ้นจากสังสารวัฏ และการพ้นไปจากสังสารวัฏก็คือ การไม่ข้องแวะอยู่ ผูกพันอยู่ด้วยกิเลสตัณหา (http://board.postjung.com/data/586/586099-img-21.jpg) พุทธประวัติที่แต่งขึ้นในยุคคอรรถกถาจารย์ ซึ่งเกิดขึ้นภายหลังพระพุทธเจ้าหลายปี ได้แต่งเรื่องเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระพุทธเจ้าในลักษณะทางวรรณกรรมว่า หมายถึง หรือการใช้สัญลักษณ์ของนางมารผู้เป็นลูกพญามารที่ไม่อาจจูงใจให้พระพุทธเจ้าผู้ตรัสรู้เองโดยชอบแล้วให้ข้องเกี่ยวอยู่ในกิเลส 3 ประการ อันได้แก่ ตัณหา คือ ความอยากอันมีความเกิดอีกเป็นธรรมดา เจือด้วยกำหนัด ด้วยราคะ เพลิดเพลินยิ่งในอารมณ์นั้นๆ ราคะ คือ ความใคร่ ความกำหนัด อรตี คือ ความยินดีหรือความยินร้าย ความเกลียดชัง หรือความอิจฉาริษยา ขอบคุณภาพข่าวจาก http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROb1lYQXdOREl6TURZMU5nPT0=§ionid=TURNeE53PT0=&day=TWpBeE15MHdOaTB5TXc9PQ== (http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROb1lYQXdOREl6TURZMU5nPT0=§ionid=TURNeE53PT0=&day=TWpBeE15MHdOaTB5TXc9PQ==) http://board.postjung.com/ (http://board.postjung.com/) , http://file.siam2web.com/ (http://file.siam2web.com/) หัวข้อ: Re: ผจญธิดามาร เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ มิถุนายน 28, 2013, 08:31:16 am (http://www.84000.org/tipitaka/picture/p28.jpg) มารธีตุสูตรที่ ๕ ว่าด้วย มารธิดาทั้ง ๓ นางตัณหา นางอรดี นางราคา [๕๐๕] ครั้งนั้นแล มารธิดาทั้ง ๓ คือ นางตัณหา นางอรดี นางราคาจึงพากันเข้าไปหาพระยามารถึงที่อยู่ ครั้นแล้วจึงถามพระยามารด้วยคาถาว่า ข้าแต่คุณพ่อ คุณพ่อมีความเสียใจด้วยเหตุอะไร หรือเศร้าโศกถึงผู้ชายคนไหน หม่อมฉันจักผูกผู้ชายคนนั้นด้วยบ่วง คือราคะ นำมาถวาย เหมือนบุคคลผูกช้างมาจากป่า ฉะนั้นชายนั้นจักตกอยู่ในอำนาจของคุณพ่อ ฯ [๕๐๖] พระยามารกล่าวว่า ชายนั้นเป็นพระอรหันต์ผู้ดำเนินไปดีแล้วในโลก ไม่เป็นผู้อันใครๆ พึงนำมาด้วยราคะได้ง่ายๆ ก้าวล่วงบ่วงมารไปแล้ว เพราะฉะนั้น เราจึงเศร้าโศกมาก ฯ [๕๐๗] ครั้งนั้นแล มารธิดา คือ นางตัณหา นางอรดี นางราคา จึงพากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้วกราบทูลพระผู้มีพระภาคอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระสมณะ พวกหม่อมฉันจักขอบำเรอพระบาทของพระองค์ ฯ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคมิได้ทรงใส่พระทัยถึงคำของนางมารธิดาเหล่านั้น เพราะพระองค์ทรงน้อมพระทัยไปในความสิ้นอุปธิกิเลสอย่างยอดเยี่ยม ฯ......ฯลฯ......... (http://3.bp.blogspot.com/-XsquQetRUqA/UG2O6wHj_lI/AAAAAAAAFSQ/izch5rUnw9k/s1600/46.jpg) [๕๑๔] ลำดับนั้น มารธิดา คือ นางตัณหา นางอรดี นางราคา พากันหลีกไป ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว จึงพูดกันว่า เรื่องนี้จริงดังบิดาของเราได้พูดไว้ว่า ชายนั้นเป็นพระอรหันต์ ผู้ดำเนินไปดีแล้วในโลก ไม่เป็นผู้อันใครๆ พึงนำมาด้วยราคะได้ง่ายๆ ก้าวล่วงบ่วงมารไปได้แล้ว เพราะฉะนั้น เราจึงเศร้าโศกมาก ฯ ก็ถ้าพวกเราพึงเล้าโลมสมณะหรือพราหมณ์คนใดที่ยังไม่หมดราคะ ด้วยความพยายามอย่างนี้ หทัยของสมณะหรือพราหมณ์คนนั้นพึงแตก หรือโลหิตอุ่นพึงพลุ่งออกจากปาก หรือพึงถึงกับเป็นบ้า หรือถึงความมีจิตฟุ้งซ่าน (จิตลอย)เหมือนอย่างไม้อ้อสดอันลมพัดขาดแล้ว ย่อมหงอยเหงาเหี่ยวแห้งไป แม้ฉันใดสมณะหรือพราหมณ์นั้นพึงซูบซีดเหี่ยวแห้งไป ฉันนั้นเหมือนกัน ฯ ครั้นแล้ว นางตัณหา นางอรดี นางราคา พากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ แล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ......ฯลฯ......... (http://download.buddha-thushaveiheard.com/images/All_page_04/Picture1-40/17_02.jpg) [๕๑๗] ลำดับนั้น นางอรดีมารธิดาได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า ภิกษุในพระศาสนานี้ มีปรกติอยู่ด้วยธรรมเป็นเครื่องอยู่อย่างไหนมาก จึงข้ามโอฆะทั้ง ๕ แล้ว เวลานี้ได้ข้ามโอฆะที่ ๖ แล้ว กามสัญญาทั้งหลายย่อมห้อมล้อมไม่ได้ซึ่งบุคคลผู้เพ่งฌานอย่างไหนมาก ฯ [๕๑๘] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า บุคคลมีกายอันสงบแล้ว มีจิตหลุดพ้นดีแล้ว เป็นผู้ไม่มีอะไรๆ เป็นเครื่องปรุงแต่ง มีสติ ไม่มีความอาลัย ได้รู้ทั่วซึ่งธรรม มีปรกติเพ่งอยู่ด้วยฌานที่ ๔ อันหาวิตกมิได้ ย่อมไม่กำเริบ ไม่ซ่านไป ไม่เป็นผู้ย่อท้อ ฯ ภิกษุในศาสนานี้ เป็นผู้มีปรกติอยู่ด้วยธรรมเป็นเครื่องอยู่อย่างนี้มาก จึงข้ามโอฆะทั้ง ๕ ได้แล้ว บัดนี้ได้ข้ามโอฆะที่ ๖ แล้ว กามสัญญาทั้งหลายย่อมห้อมล้อมไม่ได้ ซึ่งภิกษุผู้เพ่งฌานอย่างนี้มาก ฯ ......ฯลฯ......... ____________________________________________________ พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗ สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ บรรทัดที่ ๔๐๑๐ - ๔๑๓๖. หน้าที่ ๑๗๔ - ๑๗๙. http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=15&A=4010&Z=4136&pagebreak=0 (http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=15&A=4010&Z=4136&pagebreak=0) ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=505 (http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=505) ขอบคุณภาพจาก http://www.84000.org/ (http://www.84000.org/) , http://3.bp.blogspot.com/ (http://3.bp.blogspot.com/) , http://download.buddha-thushaveiheard.com/ (http://download.buddha-thushaveiheard.com/) หัวข้อ: Re: ผจญธิดามาร เริ่มหัวข้อโดย: kobyamkala ที่ มิถุนายน 28, 2013, 10:53:51 am st11 st12 thk56
|