หัวข้อ: ปราบ"อสุรินทราหู" เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ กรกฎาคม 08, 2013, 09:23:20 am (http://www.khaosod.co.th/view_resizing_images.php?filename=news-photo/khaosod/2011/11/you02091154p1.jpg&width=360&height=360) พระนอนมีกี่ปาง คอลัมน์ รู้ไปโม้ด : น้าชาติ ประชาชื่น nachart@yahoo.com ask1 ask1 ask1 ต้องการทราบที่มาของพระปาง โปรดอสุรินทราหู และต้องการทราบว่าพระนอนมี กี่ปาง ลักษณะอย่างไรบ้าง.....สิทธิ์ ans1 ans1 ans1 ตอบ สิทธิ์ อสุรินทราหู คือ อสูรที่พ่ายแพ้ต่อบุญญาบารมี และธรรมาบารมีพระพุทธองค์ ที่มาแห่งพระพุทธรูปปางโปรดอสุรินทราหู พระพุทธรูปอยู่ในอิริยาบถนอนตะแคงขวา พระบาททั้งสองข้างซ้อนทับเสมอกัน พระหัตถ์ซ้ายทาบไปตามพระวรกาย พระหัตถ์ขวาตั้งขึ้นรับพระเศียรและมีพระเขนย (หมอน) รองรับ บางแบบพระเขนยวางอยู่ใต้พระกัจฉะ (รักแร้) ลักษณะเดียวกับปางปรินิพพาน และปางทรง พระสุบิน หรือเรียกโดยทั่วไปว่าพระปางไสยาสน์ เรื่องเล่าว่า ครั้งพระพุทธองค์ประทับ ณ วัดเชตวัน ในนครสาวัตถี อสุรินทราหูซึ่งเป็นอสูรอุปราชของท้าวเวปจิตติอสุรบดินทร์ผู้ครองอสูรพิภพ ได้สดับพระเกียรติคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจากเหล่าเทวดาทั้งหลาย ประสงค์จะฟังธรรมจากพระพุทธองค์บ้าง แต่คิดว่าพระพุทธองค์เป็นมนุษย์มีพระวรกายเล็ก ขณะที่ตนเองสำคัญตัวว่ามีร่างกายใหญ่โตกว่า จึงไม่ยอมแสดงความอ่อนน้อม :s_good: :s_good: :s_good: พระพุทธองค์ทรงประสงค์จะลดทิฐิของอสุรินทราหูอสูร จึงทรงเนรมิตกายให้ใหญ่โตกว่าอสุรินทราหูอสูร ทรงนอนในลักษณะเสด็จสีหไสยาสน์ พระเศียรหนุนภูเขาต่างพระเขนย พระบาททั้งสองข้างที่วางซ้อนกันอยู่สูงใหญ่กว่าอสุรินทราหู อสุรินทราหูต้องแหงนคอเพื่อชมพุทธลักษณะ พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงปาฏิหาริย์พาอสุรินทราหูขึ้นไปยังพรหมโลก บรรดาพรหมทั้งหลายมีร่างกายเล็กกว่าพระพุทธองค์และต่างมอง อสุรินทราหูเหมือนประหนึ่งมนุษย์ดูมดปลวกตัวเล็กๆ อสุรินทราหูเกิดความกลัวต้องหลบอยู่ข้างหลังพระพุทธองค์ นับแต่นั้นมาก็ลดทิฐิมานะ อ่อนน้อมต่อพระพุทธองค์ และเมื่อได้สดับฟังพระธรรมเทศนา ก็เกิดความเลื่อมใส ขอถึงพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง :96: :96: :96: สำหรับพระพุทธรูปที่เรียกกันเป็นภาษาปากว่าพระนอน แผนกโบราณคดี กรมศิลปากร ระบุว่า ในพระพุทธรูปซึ่งมีทั้งหมด 66 ปาง มีพระอิริยาบถนอน 5 ปาง ได้แก่ - ปางทรงพระสุบิน - ปางโปรดอสุรินทราหู - ปางทรงพยากรณ์ - ปางโปรดสุภัททะ และ - ปางปรินิพพาน แต่ถ้าอ้างอิงตามพุทธประวัติ พระพุทธรูปที่อยู่ในอิริยาบถนอนมีทั้งหมด 10 ปาง ได้แก่ ปางที่ 13 ปางสดับพิณสามสาย พุทธลักษณ์คล้ายปางสีหไสยาสน์ แต่พระกรขวาที่หนุนพระเศียรนั้นหันไปด้านหลัง ปางที่ 19 ปางทรงพระสุบิน พระอิริยาบถนอนตะแคงขวา พระเศียรหนุนพระเขนย พระกรซ้ายทาบไปตามพระวรกาย พระหัตถ์ขวางอหนุนที่พระกรรณ ปางที่ 82 ปางโปรดอสุรินทราหู พุทธลักษณ์ดังกล่าวมาแล้ว ปางที่ 108 ปางสีหไสยาสน์ พระอิริยาบถนอนตะแคงทางเบื้องขวา วางพระบาทซ้อนเหลื่อมกัน พระหัตถ์ซ้ายวางพาดยาวไปตามพระวรกาย พระหัตถ์ขวางอพับเข้ามารองรับพระเศียร ปางที่ 109 ปางทรงพยากรณ์ พระอิริยาบถนอนตะแคงขวา หนุนพระเขนย ลืมพระเนตร พระหัตถ์ซ้ายทอดไปตามพระวรกาย พระหัตถ์ขวายกขึ้นวางที่พระอุทร ปางที่ 110 ปางโปรดสุภัททะ พระอิริยาบถนอนตะแคงขวา ลืมพระเนตร พระเศียรหนุนพระเขนย พระหัตถ์ซ้ายทอดไปกับพระวรกาย พระหัตถ์ขวายกตั้งขึ้น จีบนิ้วพระหัตถ์ เป็นกิริยาแสดงธรรมโปรดสุภัททะ ปางที่ 111 ปางประทานปัจฉิมโอวาท พุทธลักษณ์เดียวกับปางโปรดสุภัททะ ปางที่ 112 ปางปรินิพพาน พระอิริยาบถบรรทมตะแคงข้างขวา หลับพระเนตร ฝ่าพระหัตถ์ขวาวางแนบพระอาสนะรองรับพระเศียร พระกรซ้ายทาบไว้บนพระปรัศว์ (สีข้าง) ซ้าย พระบาทซ้ายซ้อนไว้บนพระบาทขวา เหยียดปลายพระบาทเสมอกัน ทั้ง 2 ข้าง ปางที่ 113 ปางพระกัสสปะถวายบังคมพระสรีระศพ พระบาทของพระพุทธองค์ยื่นออกมาจากโลงศพ มีพระมหากัสสปะถวายบังคมอยู่พร้อมสาวก และ ปางที่ 114 ปางถวายพระเพลิง พระอิริยาบถนอนหงายอยู่บนแท่นถวายพระเพลิง ขอบคุณภาพและบทความจาก http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TURONWIzVXdNakE1TVRFMU5BPT0=§ionid=Y25Wd1lXbHRiMlJs&day=TWpBeE1TMHhNUzB3T1E9PQ== (http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TURONWIzVXdNakE1TVRFMU5BPT0=§ionid=Y25Wd1lXbHRiMlJs&day=TWpBeE1TMHhNUzB3T1E9PQ==) |