สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

เรื่องทั่วไป => ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) => ข้อความที่เริ่มโดย: ประสิทธิ์ ที่ กันยายน 27, 2010, 08:47:30 am



หัวข้อ: ช่างหูก คือ อาชีพอะไร ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: ประสิทธิ์ ที่ กันยายน 27, 2010, 08:47:30 am
สืบเนื่องจากเรื่อง ของ ธิดาช่างหูก ผมได้อ่านแล้ว ก็ไปค้นหาว่า อาชีพช่่างหูก คือ อะไร

ด้วยความอยากรู้ แต่ค้นหาแล้วก็ไม่ได้ข้อมูล

  เลยคิดว่า ช่างหูก นี้เป็น อาชีิพ พวกจักสาน หรือป่าว เช่น อาชีพ สานไม้ไผ่ เป็นต้น


  ถูกผิด ประการใด ชี้น้ำความรู้ ให้ผมด้วยนะครับ



 :25: :25:


หัวข้อ: Re: ช่างหูก คือ อาชีพอะไร ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: ครูนภา ที่ กันยายน 27, 2010, 09:23:24 am
น่าจะเกี่ยวการทอผ้า มากกว่า เพราะหูก ด้าย เกี่ยวกับเครื่อง กอด้าย

หูก นี้เหมือนเสื่อหรือป่าว


 :25: :25:


หัวข้อ: Re: ช่างหูก คือ อาชีพอะไร ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ กันยายน 27, 2010, 01:54:34 pm
 
อุปกรณ์ในการทอผ้า

1. กี่หรือ หูก
(http://multimedia.udru.ac.th/otop50/dexshang/images/%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%9B%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%AB%E0%B8%B9%E0%B8%81.jpg)
เป็นอุปกรณ์ในการทอผ้าให้เป็นผืนตามลวดลายที่ต้องการ

2.ฟันหวีหรือฟีม
(http://multimedia.udru.ac.th/otop50/dexshang/images/pakong10.jpg)
มีลักษณะเป็นกรอบโลหะ ภายในเป็นซี่ถี่ ๆ คล้ายหวี
แต่ละเส้นจะให้เส้นด้ายยืนสอดเข้าไปช่องละเส้น เรียงลำดับตามความกว้าง
ของหน้าผ้า จัดเส้นยืมให้อยู่ห่างกันตามความละเอียดของผ้า

3.ตะกอหรือเขา

(http://multimedia.udru.ac.th/otop50/dexshang/images/mro3.gif)
มีลักษณะเป็นกรอบไม้ หรือโครงเหล็ก
ภายในทำด้วยลวดหรือซึ่โลหะเล็ก ๆ มีรูตรงกลาง
สำหรับร้อยด้ายขึ้น ปกติมี 2 ชุด ถ้าเพิ่มตะกอมาก
จะสามารถสลับสายได้มากขึ้น

4. กระสวย
(http://multimedia.udru.ac.th/otop50/dexshang/images/pakong2.jpg)
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ใส่ด้วยเส้นพุ่งและนำด้าย
พุ่งผ่านช่องว่างของฟันหวี แยกหมู่เส้นยืน
ออกแล้วสอดเส้นด้วยพุ่งกลับ เมื่อเส้นด้ายยืน
ขัดสับกันโดยทำสลับกับการกระทบฟีมเพื่อ
ให้เส้นด้วยเรีงเข้าด้วยกันแน่นเป็นระเบียบ

5.ไม้ไขว้

(http://multimedia.udru.ac.th/otop50/dexshang/images/mikay.gif)
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดเส้นด้ยให้เป็นระเบียบ

6.ไม้ค้ำ
(http://multimedia.udru.ac.th/otop50/dexshang/images/pakong5.jpg)
ไม้ที่ใช้สอดด้วยยืนไว้ หลังจากนั้บด้ายเส้นยืน
เพื่อทำให้เกิดลวดลายในการทอด้วยเทคนิคพิเศษ

7.ไม้หาบหูก
(http://multimedia.udru.ac.th/otop50/dexshang/images/miham.gif)
ใช้ประโยชน์ในการดึงด้ายให้ตึง

8.ไม้ดาบหรือหลาบ
(http://multimedia.udru.ac.th/otop50/dexshang/images/midab.gif)
มีขนาด 2-3 นิ้ว ลักษณะแบนยาว ใช้สอดผ่ายด้ายยืนและพลิกขึ้น
ทำให้เกิดช่องว่างให้กระสวยพุ่งผ่าน

9.ไม้แป้นกี่

(http://multimedia.udru.ac.th/otop50/dexshang/images/mipan.gif)
ที่นั่งของผู้ที่นั้งทอ บางแห่งใช้ไม้แผ่น
บางแห่งใช้ไม้ไผ่สอดด้วยแผ่นไม้ที่ใช้รองนั่ง

10.เชือกเขา
(http://multimedia.udru.ac.th/otop50/dexshang/images/chuk.gif)
ใช้ดึงเขากับไม้หาบหูกให้ตึง

11.แกนม้วนผ้า
(http://multimedia.udru.ac.th/otop50/dexshang/images/mor1.gif)
เป็นแกนที่อยู่ตรงกันข้ามกับแกนม้วนด้วยยืนใช้ม้วนผ้าที่ทอเสร็จแล้ว

12.แกนม้วนด้ายยืน
(http://multimedia.udru.ac.th/otop50/dexshang/images/kanmown.gif)
เป็นแกนสำหรับม้วนด้ายยืนเส้นด้ายยืนจะเรียงเป็นระเบียบ
จำนวนเส้นมีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความกว้างของหน้าผ้า
และความละเอียดของผ้า
ความยาวของเส้นด้ายยืนเท่ากันความยาวของผ้าผืนนั้น
แกนม้วนเส้นด้ายืนจะมีที่สำหรับปรับควมตึงความหย่อนของด้ายยืน
ซึ่งอยู่ด้านหลังเครื่องทอ



(http://multimedia.udru.ac.th/otop50/dexshang/images/pakong4.jpg)
เล็ง

(http://multimedia.udru.ac.th/otop50/dexshang/images/pakong11.jpg)
ไม้เหยียบหูก

(http://multimedia.udru.ac.th/otop50/dexshang/images/pakong10.jpg)
ฟืม

(http://multimedia.udru.ac.th/otop50/dexshang/images/pakong9.jpg)
หลอดด้าย

(http://multimedia.udru.ac.th/otop50/dexshang/images/pakong8.jpg)
หม้อย้อมผ้า

(http://multimedia.udru.ac.th/otop50/dexshang/images/pakong7.jpg)
หลาปั่นด้าย

(http://multimedia.udru.ac.th/otop50/dexshang/images/%E0%B8%90.gif)
ฐานข้นด้าย

ที่มา  http://multimedia.udru.ac.th/otop50/dexshang/equipment%20weaves.php (http://multimedia.udru.ac.th/otop50/dexshang/equipment%20weaves.php)



(http://www.openbase.in.th/files/u10/thaitext-155.jpg)

(http://www.tourluangprabang.com/images/awb_image3182551170930.gif)

(http://www.212cafe.com/freewebboard/user_board/phd/picture/00122_4.jpg)

ฝากแม่หญิงทั้งสอง ครูนภาและครูอริสาดู หน่อยว่าสองสาวทอหูกข้างบน เป็นคนภาคไหน



(http://i617.photobucket.com/albums/tt258/auddy228/105.jpg)
พรรษาที่ ๑๘
- จำพรรษาที่จาลิกบรรพต เมืองจาลิกา
- หลังออกพรรษา เสด็จเมืองอาฬาวีครั้งที่ ๒ โปรดธิดาช่างหูกบรรลุโสดาปัตติผล
ช่างหูกผู้เป็นบิดาขอบวชสำเร็จอรหัตตผล ตรัสอริยทรัพย์ ๗ ประการ

ที่มา http://www.baanmaha.com/community/thread29145.html (http://www.baanmaha.com/community/thread29145.html)



หูก น. เครื่องทอแบบพื้นเมือง.

ที่มา พจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒


หัวข้อ: Re: ช่างหูก คือ อาชีพอะไร ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ กันยายน 28, 2010, 10:30:52 am

อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท โลกวรรคที่ ๑๓

เรื่องธิดานายช่างหูก

(ขอนำข้อความตอนหนึ่งมาแสดง)

ฝ่ายบิดาของนาง เมื่อจะไปสู่โรงหูก ได้สั่งไว้ว่า

"แม่ ผ้าสาฎกซึ่งเป็นของคนอื่น เรายกขึ้นไว้ (กำลังทอ),

ผ้านั้นประมาณคืบหนึ่ง ยังไม่สำเร็จ. เราจะให้ผ้านั้นเสร็จในวันนี้

เจ้ากรอด้ายหลอดแล้ว พึงนำมาให้แก่พ่อโดยเร็ว.




คุณประสิทธิื์ครับ ลองอ่านข้อความข้างบนดูอีกครั้ง

จะเข้าใจเองว่า ช่างหูก ที่แท้จริงแล้ว คือ คนทอผ้านั่นเอง

 :25: