หัวข้อ: วัดพุทธานุภาพ วัดธรรมานุภาพ วัดสังฆานุภาพ เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ สิงหาคม 24, 2013, 11:40:00 am (http://www.onab.go.th/images/stories/news/Buddhajayanti04s.jpg)(http://www.onab.go.th/images/stories/news/Buddhajayanti05s.jpg) วัดพุทธานุภาพ วัดธรรมานุภาพ วัดสังฆานุภาพ เจ้าอาวาสวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร เมื่อเร็ว ๆ นี้ ผู้เขียนได้มีโอกาสได้ติดตามเจ้าพระคุณสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ คณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช เจ้าอาวาสวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร ซึ่งท่านได้เดินทางไปตรวจเยี่ยม การก่อสร้างวัดสังฆานุภาพ อำเภอโกสัมพีนคร จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งเป็นวัด ๑ ใน ๓ ที่สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ คณะผู้ปฏิบัติหน้าที่ สมเด็จพระสังฆราช เจ้าอาวาสวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร เป็นองค์ประธานในการจัดสร้าง โดยผู้เขียนได้มีโอกาสได้พูดคุยกับเจ้าพระคุณสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ ถึงการสร้างวัด ท่านเจ้าพระคุณสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์กล่าวว่า การสร้างวัดในพระพุทธศาสนามีปรากฏมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาล โดยมีพระเจ้าพิมพิสารเป็นองค์ปฐมบรมกษัตริย์ที่สร้างวัดแห่งแรกถวายไว้ในพระพุทธศาสนา เรียกชื่อว่า “พระเวฬุวันมหาวิหาร” หรือ เรียกสั้น ๆ ว่า “พระเวฬุวัน” ans1 ans1 ans1 กาลต่อมาพระพุทธศาสนาได้เข้ามาเผยแผ่ และประดิษฐานตั้งมั่นอยู่ในสังคมไทย พระพุทธศาสนาก็ได้ก็ได้กลายเป็นพระพุทธศาสนาประจำชาตินับตั้งแต่นั้นมา คนไทยส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ ๙๐ นับถือพระพุทธศาสนา การมีพระภิกษุสามเณร วัดและสำนักสงฆ์ตั้งกระจายอยู่ทั่วประเทศโดยมีพระสงฆ์เป็นเสมือนตัวแทนของพระพุทธศาสนาที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของคนไทย เป็นผู้นำทางจิตใจ เป็นศูนย์กลางแห่งความเคารพศรัทธา และการที่คนไทยมีลักษณะนิสัยที่เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ยิ้มแย้มแจ่มใสแสดงความเป็นมิตร มีเอกลักษณ์ทางภาษา วรรณกรรม ตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณีต่างๆ ล้วนมีรากฐานหรือได้รับอิทธิพลมาจากพระพุทธศาสนาทั้งสิ้น กล่าวถึงการสร้างวัดพุทธานุภาพ ธรรมานุภาพ และสังฆานุภาพ ทั้ง ๓ แห่ง นอกจากจะเพื่อเป็นเกียรติแก่ตนเอง และเป็นการสร้างบุญสร้างกุศลเพิ่มมากขึ้นแก่พุทธศาสนิกชนผู้ได้ถวายจตุปัจจัยในโอกาสต่างๆ แล้ว วัตถุประสงค์สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ - เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา และสังฆบูชา - เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว องค์เอกอัครศาสนูปถัมภก ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ - เพื่อบูชาพระคุณของพระมงคลเทพมุนี หลวงพ่อวัดปากน้ำ ผู้เป็นมหาปูชะนียาจารย์ - เพื่อเป็นสถานที่ประกอบบุญพิธีของพุทธศาสนิกชน - เพื่ออนุลักษณ์และเชิดชูศิลปกรรม หรือสถาปัตยกรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของชาติไทย (http://www.onab.go.th/images/stories/gallery/news454/1.JPG) วัดพุทธานุภาพ สำหรับวัดพุทธานุภาพ ปรารภเหตุการณ์ที่ชาวบ้านสันเจริญได้มากราบนมัสการพระธรรมนันทโสภณ เจ้าอาวาสวัดช้างค้ำ เจ้าคณะจังหวัดน่าน ถึงความเป็นไปของหมู่บ้านว่า มีศาสนาบางศาสนาจะเข้ามาสร้างโบสถ์เพื่อประกาศคำสอนภายในหมู่บ้าน แต่ชาวบ้านสันเจริญ ที่ส่วนใหญ่เป็นพุทธมามกะ นับถือพุทธศาสนา ไม่ประสงค์ที่จะให้สร้างศาสนสถานอื่น นอกจากพุทธศาสนาหลวงพ่อพระธรรมนันทโสภณ เมื่อได้ฟัง กอปรทั้งได้แรงศรัทธาปสาทะของชาวสันเจริญ ดังนั้น จึงรับที่จะช่วยสานต่อความคิดของชาวสันเจริญให้สำเร็จเป็นรูปธรรม กาลต่อมา หลวงพ่อเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ได้เดินทางไปปฏิบัติศาสนกิจ ณ จังหวัดน่าน หลวงพ่อธรรมนันโสภณ จึงได้กราบเรียนเรื่องของชาวบ้านสันเจริญให้หลวงพ่อเจ้าพระคุณสมเด็จฯได้รับทราบ จนในที่สุดหลวงพ่อท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ก็เมตตารับเป็นประธานอุปถัมภ์การก่อสร้างวัดขึ้น บริเวณพื้นที่ป่าทางทิศตะวันออกของหมู่บ้านสันเจริญ พร้อมทั้งได้ประทานนามอารามแห่งนี้ว่า “วัดพุทธานุภาพ” :25: :25: :25: การสร้างวัดพุทธานุภาพ เมื่อวันที่ ๑๙ มีนาคม ๒๕๕๒ เจ้าพระคุณสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺญมหาเถร ป.ธ.๙) พร้อมคณะ เมตตาเดินทางไปเยี่ยมชาวบ้านสันเจริญ ต.ผาทอง อ.ท่าวังผา จ.น่าน เพื่อตรวจดูพื้นที่สำหรับสร้างวัดโดยมีนายสมศักดิ์ สุวรณสุจริต ผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน, อ.ชุมพล วิชา ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านสันเจริญ , นายวีรุฒน์ แซ่จ่าว ผู้ใหญ่บ้านสันเจริญ และชาวจังหวัดน่านในพื้นที่ใกล้เคียงถวายการต้อนรับ บ้านสันเจริญ เดิมใช้ชื่อว่า “บ้านน้ำลักเหนือ” ต่อมาเมื่อปี ๒๕๒๓ ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น”บ้านสันเจริญ” ชาวสันเจริญ ส่วนใหญ่มีเชื้อสายมาจากชาวไทยภูเขาเผ่าเมี่ยน (เย้า) วิถีชีวิตจะคุ้นเคยกับป่าเป็นอย่างดี เรียนรู้ที่จะอยู่และใช้ประโยชน์จากป่าโดยไม่ทำลาย ร้อยละ ๙๘ ทำสวนกาแฟ ต่อมาศูนย์พัฒนาสังคมหน่วยที่ ๒๕ จังหวัดน่าน มีโครงการส่งเสริมและพัฒนาสังคมตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ปี ๒๕๕๐ เลือกบ้านสันเจริญเป็นหมู่บ้านนำร่องด้านเศรษฐกิจพอเพียง :49: :49: :49: ศาสนวัตถุวัดพุทธานุภาพในปัจจุบัน เจ้าพระคุณสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺญมหาเถร ป.ธ.๙) เป็นเจ้าภาพสร้างศาลา ๑ หลัง, เจ้าภาพกุฏิ ๕ หลัง คือ พระธรรมราชานุวัตร เจ้าคระภาค ๖, พระธรรมนันทโสภณ เจ้าคณะจังหวัดน่าน, พระเทพปริยัติเมธี เจ้าคณะจังหวัดนครสวรรค์, พระราชปัญญาภรณ์และพระศรีสิทธิมุนี รองเจ้าคณะภาค ๖, พระวิศิษฏ์พัฒนวิธาน วัดหนองหอย จ. ราชบุรี (http://www.onab.go.th/images/stories/gallery/news454/2.JPG) วัดธรรมานุภาพ มูลเหตุการณ์สร้างวัดธรรมานุภาพ หลวงพ่อเจ้าพระคุณสมเด็จฯ มีความประสงค์จะสร้างวัดธรรมานุภาพไว้มนจังหวัดแพร่ ต่อมาความทราบถึง พระครูวิมลกิตติสุนทร เจ้าอาวาสวัดพระธาตุช่อแฮ จึงได้เข้ากราบเรียนหลวงพ่อเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ถึงวัดนาตอง ตั้งอยู่ ณ บ้านนาตอง หมู่ ๙ ต.ช่อแอ อ.เมือง จ.แพร่ (เมื่อเดือนพฤษภาคม ๒๕๔๙ ได้ประสบอุทกภัย น้ำป่าไหลหลากอย่างรุนแรง) ห่างจากตัวอำเภอเมืองแพร่ออกไปประมาณ ๒๐ กิโลเมตร น่าจะเป็นสถานที่อันเหมาะสมแก่การสร้างวัดธรรมานุภาพ เดิมทีมีศาสนวัตถุอยู่บ้าง เช่น กุฏิ ส่วนวิหารยังสร้างไม่เสร็จสมบูรณ์ กาลต่อมา หลวงพ่อเจ้าพระคุณฯ พร้อมคณะได้เมตตาเดินทางไปเยี่ยมชมวัดนาตอง ได้เห็นสถานที่ตั้งของวัดสัปปายะ เหมาะแก่การเป็นที่ตั้งของศาสนสถาน จึงรับอุปถัมภ์ในการก่อสร้าง และบูรณปฏิสังขรณ์วัดนาตอง พร้อมทั้งแจ้งความประสงค์ที่จะขอเปลี่ยนชื่อวัดนาตองใหม่ว่า “วัดธรรมานุภาพ” ผ่านมายังพระครูวิมลกิตติสุนทร เพื่อให้ไปปรึกษากับชาวบ้านนาตอง จนในที่สุดชาวบ้านนาตองก็ยินยอมและเห็นพ้องต้องกันว่า จะเปลี่ยนชื่อวัดนาตองเป็น “วัดธรรมานุภาพ” :s_hi: :s_hi: :s_hi: การสร้างวัดธรรมานุภาพ มีประชากร ประมาณ ๑๐๐ หลังคาเรือน ประกอบอาชีพเกษตรกรรมปกติทำนาช่วงเดือนมิถุนายน – กรกฎาคม ส่วนนอกฤดูทำนาที่นี่จะปลูกถั่วลิสงโดยไม่ใช้ยาฆ่าแมลง และยังเก็บ “ใบเมี่ยง”ซึ่งสามารถเก็บยอดได้ทุก ๒ เดือน ณ บ้านนาตองแห่งนี้ยังมีสิ่งที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งคือ “เต่าปูลู” ซึ่งเป็นเต่าหางยาว มีถิ่นกำเนิดบริเวณรอยต่อ ๓ ประเทศ คือ ภาคเหนือของประเทศไทย (ในจังหวัดแพร่ พบได้เฉพาะบ้านนาตอง) ภาคตะวันออกของประเทศพม่า และทางตอนใต้ของจีน ปัจจุบันเต่าปูลูอย่างในสภาพใกล้สูญพันธ์จะอาศัยในพื้นที่ที่มีน้ำสะอาดเท่านั้น และมีแหล่งอาหารอุดมสมบูรณ์ กินปู กุ้ง และหอยเป็นอาหารหลัก พื้นที่บ้านนาตองนั้นเป็นแหล่งต้นน้ำของลำน้ำน่าน และใกล้ๆ หมู่บ้านจะมีถ้ำนาตอง และน้ำตกผาบ่อที่สามารถเข้าไปท่องเที่ยวได้ (http://www.onab.go.th/images/stories/gallery/news454/3.JPG) วัดสังฆานุภาพ มูลเหตุการณ์สร้างวัดสังฆานุภาพ เดิมทีเป็นที่พักสงฆ์ มรสภาพเป็นป่าซึ่งหลวงพ่อวุปัสสีพัฒนาขึ้น ศาสนสถานคงมีเพียงศาลาบำเพ็ญบุญ แต่สิ่งที่สำคัญคือปูชนียวัตถุที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา (สังเวชนียสถาน) เช่น พระพุทธรูปปางปรินิพพาน, เจดีย์พุทธคยา, เสาหินอโศก และเสมาธรรมจักร เป็นต้น หลวงพ่อวิปัสสี ได้เข้ากราบเรียนต่อหลวงพ่อเจ้าประคุณสมเด็จฯ ถึงที่พักสงฆ์บ้านทุ่งธารทองอันเป็นที่สัปปายะ เหมาะแก่การพัฒนาให้เป็นวัด พร้อมทั้ง ประสงค์ที่จะขอเมตตาจากหลวงพ่อเจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้ช่วยต่อบุญโดยการพัฒนาให้เป็นวัดอย่างถูกต้องตามกฎหมายและพระธรรมวินัย กาลต่อมาหลวงพ่อเจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้เดินทางมาปฏิบัติศาสนกิจใน จ.นครสวรรค์ จึงได้พาคณะมาเยี่ยมชม เห็นว่าเป็นสถานที่เข้าลักษณะของวัดในพระพุทธศาสนา เช่น ไม่ไกลไม่ใกล้บ้านนัก สะดวกแก่การไปวัดและการมาจากวัด เหมาะที่ประชาชนจะไปพบพระได้ กลางวันไม่พลุกพล่าน กลางคืนเงียบสงัด ไม่มีเสียงกึกก้อง ปราศจากกลิ่นตัวคนเดินเข้าออก เหมาะแก่การประกอบกิจของผู้ต้องการความสงบสงัด และเหมาะที่พระสงฆ์จะหลีกเร้นอยู่ตามสมณวิสัย ในที่สุดหลวงพ่อเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ก็เมตตาเป็นประธานอุปถัมภ์ในการก่อสร้างเสนาสนะต่างๆ พร้อมทั้งปลูกต้นไม้ ขุดคลองรอบวัด เป็นต้น พร้อมทั้งได้ประทานนามอารามแห่งนี้ว่า “วัดสังฆานุภาพ” :sign0144: :sign0144: :sign0144: การสร้างวัดสังฆานุภาพ “เป็นวันเสาร์ ขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือน ๑๒ เริ่มตอกเสาเข็มอาคารกุฏิ สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ เป็นวันแรก และจะตอกอุโบสถ กุฏิ ต่อไปความจริงสถานที่สร้างวัดสังฆานุภาพ ที่อำเภอโกสัมพี จังหวัดกำแพงเพชร นี้ เริ่มมาก่อนหน้านี้ประมาณ ๖ เดือนแล้ว โดยขุดคูรอบเนื้อที่รวม ๑๐๐ ไร่ และนำดินขึ้นถมพื้นที่ กำลังทำอยู่และจะได้ทำต่อไป” ต่อมาเมื่อวันที่ ๑๓ ต.ค. ๕๒ เจ้าพระคุณสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺญมหาเถร ป.ธ.๙) พร้อมคณะเมตตาได้เดินทางไปบ้านทุ่งธารทองเพื่อตรวจดูพื้นที่การก่อสร้าง “วัดสังฆานุภาพ” ซึ่งแต่เดิมนั้นวัดแห่งนี้มีอยู่เดิมอยู่แล้ว หลวงพ่อเจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้เมตตาไปช่วย “ต่อบุญ” พัฒนาให้เจริยยิ่งขึ้น เมื่อวันที่ ๒๓ พ.ย. ๕๒ เจ้าพระคุณสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ พร้อมคณะเมตตาตรวจดูพื้นที่และกำหนดแผนผังในการก่อสร้างอาคารเสนาสนะต่างๆ ภายในวัดสังฆานุภาพ อ.โกสัมพีนคร จ.กำแพงเพชร :25: :25: :25: และสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ ยังได้กล่าวทิ้งทายไว้ว่า “ครั้งหนึ่งของชีวิต ที่ได้อุทิศตนบวชเป็นบรรพชิตในพระพุทธศาสนา ต้องการที่จะสร้างวัดเพื่อถวายไว้เป็นถาวรวัตถุในพระพุทธศาสนา ทั้งนี้ อย่างน้อยก็เพื่อเป็นเกียรติประวัติแก่ตนเองและสร้างบุญสร้างกุศลเพิ่มขึ้นแก่พุทธศาสนิกชน ทั้งบรรพชิต และคฤหัสถ์ ที่ได้นิมนต์ไปงานต่าง ๆ และได้ถวายจตุปัจจัยมากบ้างน้อยบ้างตามกำลังศรัทธา ทุกวันนี้นะ ใครก็ตามที่เอาเงินมาถวายผม ผมดีใจนะ ที่ว่าดีใจนั้นก็เพราะจะได้นำเงินดังกล่าวมาสร้างบุญต่อ ผมเองคิดเอาไว้ว่า เมื่อถึงวันเวลาจะต้องละสังขารลาจากโลกนี้ไป ก็คงไม่เหลือเงินเหลือทองไว้ให้ใครใช้” ขอบคุณภาพและบทความจาก http://www.onab.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=4126:2011-01-12-13-39-05&catid=38:2009-03-01-22-04-24&Itemid=157 (http://www.onab.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=4126:2011-01-12-13-39-05&catid=38:2009-03-01-22-04-24&Itemid=157) หัวข้อ: Re: วัดพุทธานุภาพ วัดธรรมานุภาพ วัดสังฆานุภาพ เริ่มหัวข้อโดย: kobyamkala ที่ สิงหาคม 25, 2013, 07:32:53 am st11 st12
|