หัวข้อ: เหตุใดการฝึกสมาธิ ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค จึงระบุขั้นตอนต่างๆเอาไว้ เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ สิงหาคม 30, 2013, 11:58:37 am (http://www.madchima.net/forum/gallery/11_18_01_13_1_26_29.jpeg) เหตุใดการฝึกสมาธิ ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค จึงระบุขั้นตอนต่างๆเอาไว้ (ชื่อบทความเดิม คือ พระพุทธศาสนาและสมาธิ) ask1 ask1 ask1 ศาสตราจารย์ไวโอเล็ต สังเกตเห็นว่า ในปัจจุบันชาวอเมริกันที่ไม่ได้นับถือศาสนาพุทธสนใจการปฏิบัติสมาธิกันมาก แต่โดยเหตุที่บุคคลเหล่านี้ไม่ได้รับการสอนในเรื่องการปฏิบัติสมาธิในพระพุทธศาสนาเลย ศาสตราจารย์ไวโอเล็ต จึงสงสัยว่าการปฏิบัติสมาธิดังกล่าว จะให้ประโยชน์แก่ผู้ปฏิบัติหรือไม่ เพราะได้อ่านหนังสือวิสุทธิมรรคแล้วเข้าใจว่า การปฏิบัติสมาธิในพระพุทธศาสนามีขั้นตอนต่างๆ ที่จะต้องเรียนรู้และฝึกฝนภายใต้การแนะนำของอาจารย์ ans1 ans1 ans1 หลวงพ่ออธิบายว่า ที่จริงแล้วการปฏิบัติสมาธิมีอยู่ในคำสอนของทุกศาสนา ไม่ว่าจะเป็นศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม หรือศาสนาฮินดู ในสมัยพุทธกาล พวกฤาษีโยคีต่างๆ ปฏิบัติสมาธิตามความเชื่อในลัทธิของตนจนมีฤทธิ์เดชต่างๆ การปฏิบัติสมาธิจึงไม่ได้เป็นสิ่งที่มีอยู่ในคำสอนของพระพุทธศาสนาแต่อย่างเดียว ส่วนการปฏิบัติสมาธิจะมีผลอย่างไรนั้น ขึ้นอยู่กับระดับของสมาธิที่ผู้ปฏิบัติทำได้ โดยทั่วไปแล้วการปฏิบัติสมาธิ สามารถทำให้จิตใจของผู้ปฏิบัติสงบสว่างและมีปัญญาเกิดขึ้น และส่งผลให้ผู้นั้นสามารถทำกิจการต่างๆ สำเร็จตามความต้องการได้ (http://www.madchima.net/forum/gallery/11_19_01_13_4_08_37.jpeg) การปฏิบัติสมาธิระดับสูง เช่นที่ฤาษีโยคีต่างๆ ปฏิบัติอยู่ในสมัยพุทธกาล สามารถทำให้เกิดจิตตานุภาพที่มีพลังแข็งแกร่งจนมีฤทธิ์เดช ผลของสมาธิตั้งแต่การมีจิตใจสงบไปจนถึงการมีจิตตานุภาพที่กล่าวมาเป็นผลทางโลกียะเท่านั้น เพราะเป็นประโยชน์ที่เสริมสร้างอำนาจให้แก่ตัวเอง แต่ในพระพุทธศาสนา การปฏิบัติสมาธิมีเป้าหมายสูงกว่าประโยชน์ทางโลกียะ คือ มีเป้าหมายให้จิตของผู้ปฏิบัติหลุดพ้นจากอำนาจกิเลสตัณหาต่างๆ มีโลภ โกรธ หลง เป็นสำคัญ อันจะทำให้ไม่มีการเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏอีกต่อไป ประโยชน์ประเภทนี้เรียกว่า ประโยชน์ทางโลกุตระ :25: :25: :25: โดยเหตุที่เป้าหมายการปฏิบัติสมาธิในพระพุทธศาสนาแตกต่างจากเป้าหมายที่มีอยู่ในศาสนาอื่น ดังนั้นพระพุทธศาสนาจึงเรียกสมาธิที่อยู่เหนือระดับความสงบ หรือ อิทธิฤทธิ์ และที่จะนำไปสู่ความหลุดพ้นว่า “วิปัสสนากรรมฐาน” เพราะเป็นการทำให้จิตใจสว่างด้วยแสงของปัญญา ที่เป็นผลจากการวิเคราะห์รูปและนามในลักษณะต่าง ๆ อย่างละเอียดถี่ถ้วนจนมองเห็นไตรลักษณ์ของสรรพสิ่งทั้งหลาย และ ดับ “อัตตา” ได้ในที่สุด ans1 ans1 ans1 พระพุทธศาสนาไม่มีความประสงค์ให้เราพอใจแต่ประโยชน์ทางโลกียะที่ได้จากการปฏิบัติสมาธิ ไม่ว่าจะเป็นความสงบนิ่งของดวงจิต หรือ การมีจิตตานุภาพประเภทต่าง ๆ แต่ต้องการให้เราใช้ปัญญาที่เกิดจากสมาธิตัดตัวเราให้หลุดพันจากวัฏสงสาร ด้วยเหตุนี้ การปฏิบัติสมาธิ หรือ วิปัสสนากรรมฐาน จึงมีขั้นตอนต่างๆ ถ้าหากผู้ปฏิบัติไม่มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ และไม่มีครูอาจารย์คอยแนะนำแล้ว ผู้ปฏิบัติก็อาจจะไปสามารถบรรลุเป้าหมายนี้ได้ ดังที่อธิบายในหนังสือ “วิสุทธิมรรค” นอกจากนั้น การเป็นคนที่พากเพียรพยายามอย่างต่อเนื่อง มีคุณธรรมและรักษาศีลอย่างเคร่งครัดก็มีความสำคัญมาก เมื่อสมาธิมีคุณธรรมและศีลเป็นฐานแล้ว ปัญญาที่เกิดจากสมาธิก็จะมีทั้งพลังและทิศทางที่ถูกต้อง บันทึกการสนทนาธรรมของ พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชสุทธิญาณมงคล (จรัญ ฐิตธมฺโม) กับ ดร.เจอร์รัลด์ แมกเคนนี่ หัวหน้าภาควิชาศาสนศึกษามหาวิทยาลัยไรซ์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่มา board.palungjit.org/f4/พระพุทธศาสนาและสมาธิ-507677.html (http://board.palungjit.org/f4/พระพุทธศาสนาและสมาธิ-507677.html) โพสต์โดยคุณปาวา ขอบคุณภาพจาก http://www.madchima.net/ (http://www.madchima.net/) |