สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

เรื่องทั่วไป => ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) => ข้อความที่เริ่มโดย: raponsan ที่ กันยายน 01, 2013, 02:44:33 pm



หัวข้อ: พระรัตนบุษยภาชน์ อโศกมหาราชปริวรรต คืออะไร.?
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ กันยายน 01, 2013, 02:44:33 pm
(http://www.dhammahome.com/site/gallery/jpg/00234d4/gal00249055c55d.jpg)
ภาพจาก http://www.dhammahome.com/front/webboard/show.php?id=22248 (http://www.dhammahome.com/front/webboard/show.php?id=22248)

พระรัตนบุษยภาชน์อโศกมหาราชปริวรรต เป็นชื่อที่ของครอบพระสถูปอันเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ แห่งสารนาถ พาราณสี ประเทศอินเดีย เป็นสิ่งที่สร้างเพื่อการสักการะและปกป้องรักษาพระบรมสารีริกธาตุ

ดำริและดำเนินการสร้างถวายโดย มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุธศาสนา นำโดยท่านอาจารย์สุจินต์ บริหาวนเขตต์ และคณะคนไทย สร้างด้วยวัสดุทองคำ เงิน และรัตนชาติอันมีค่า นำไปถวายที่่ประเทศอินเดียเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 255

________________________
ขอบคุณข้อมูลจากเว็บบ้านธัมมะ


http://www.youtube.com/watch?v=pLtPJ3Tur0k#ws (http://www.youtube.com/watch?v=pLtPJ3Tur0k#ws)
เผยแพร่เมื่อ 22 ธ.ค. 2012 โดย Werayut Santayanon



(https://fbcdn-sphotos-d-a.akamaihd.net/hphotos-ak-prn1/15210_376571495762294_1758109839_n.jpg)
ภาพจากเฟซบุ้ค RelicsOfBuddha.com


(http://2g.pantip.com/cafe/blueplanet/topic/E13023990/E13023990-14.jpg)
ภาพจาก http://2g.pantip.com/cafe/blueplanet/topic/E13023990/E13023990.html (http://2g.pantip.com/cafe/blueplanet/topic/E13023990/E13023990.html)

พระรัตนบุษยภาชน์ อโศกมหาราชปริวรรต เป็นภาชนะสำหรับประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ที่ขุดค้นพบทางโบราณคดี ประดิษฐาน ณ วัดมูลคันธกุฏีวิหารใหม่ กรุงพาราณสี


หัวข้อ: อันตรธานแห่งพระธาตุ จักมีในกาลใด.?
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ กันยายน 01, 2013, 03:02:50 pm

(http://2g.pantip.com/cafe/blueplanet/topic/E13023990/E13023990-29.jpg)


อันตรธานแห่งพระธาตุ จักมีในกาลใด.?

     ชื่อว่าอันตรธานไปแห่งธาตุ พึงทราบอย่างนี้ :-
     ปรินิพพานมี ๓ คือ
           - กิเลสปรินิพพาน การปรินิพพานแห่งกิเลส,
           - ขันธปรินิพพาน การปรินิพพานแห่งขันธ์,
           - ธาตุปรินิพพาน การปรินิพพานแห่งธาตุ.
     บรรดาปรินิพพาน ๓ อย่างนั้น
           - กิเลสปรินิพพาน ได้มีที่โพธิบัลลังก์.
           - ขันธปรินิพพาน ได้มีที่กรุงกุสินารา.
           - ธาตุปรินิพพาน จักมีในอนาคต.

      จักมีอย่างไร.?
      คือ ครั้งนั้น ธาตุทั้งหลายที่ไม่ได้รับสักการะและสัมมานะในที่นั้นๆ ก็ไปสู่ที่ๆ มีสักการะและสัมมานะด้วยกำลังอธิษฐานของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย. เมื่อกาลล่วงไปๆ สักการะและสัมมานะก็ไม่มีในที่ทั้งปวง.
      เวลาพระศาสนาเสื่อมลง พระธาตุทั้งหลายในตามพปัณณิทวีปนี้ จักประชุมกันแล้วไปสู่มหาเจดีย์ จากมหาเจดีย์ไปสู่นาคเจดีย์ แต่นั้นจักไปสู่โพธิบัลลังก์.
      พระธาตุทั้งหลายจากนาคพิภพบ้าง จากเทวโลกบ้าง จากพรหมโลกบ้าง จักไปสู่โพธิบัลลังก์แห่งเดียว. พระธาตุแม้ประมาณเท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาดจักไม่หายไปในระหว่าง.

      พระธาตุทั้งหมดจักประชุมกันที่มหาโพธิมัณฑสถานแล้ว รวมเป็นพระพุทธรูป
      แสดงพุทธสรีระประทับนั่งขัดสมาธิ ณ โพธิมัณฑสถาน.
      มหาปุริสลักษณะ ๓๒ อนุพยัญชนะ ๘๐ พระรัศมีประมาณวาหนึ่งทั้งหมดครบบริบูรณ์ทีเดียว.     


(http://2g.pantip.com/cafe/blueplanet/topic/E13023990/E13023990-30.jpg)
     
 
       แต่นั้นจักกระทำปาฏิหาริย์แสดง เหมือนในวันแสดงยมกปาฏิหาริย์.
       ในกาลนั้น ชื่อว่าสัตว์ผู้เป็นมนุษย์ ไม่มีไปในที่นั้น.

      ก็เทวดาในหมื่นจักรวาฬประชุมกันทั้งหมด พากันครวญคร่ำรำพันว่า
      วันนี้พระทสพลจะปรินิพพาน จำเดิมแต่บัดนี้ไป จักมีแต่ความมืด.

     ลำดับนั้น เตโชธาตุลุกโพลงขึ้นจากพระสรีรธาตุ ทำให้พระสรีระนั้นถึงความหาบัญญัติมิได้. เปลวไฟที่โพลงขึ้นจากพระสรีรธาตุ พลุ่งขึ้นจนถึงพรหมโลก เมื่อพระธาตุแม้สักเท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาดยังมีอยู่ ก็จักมีเปลวเพลิงอยู่เปลวหนึ่งเท่านั้น เมื่อพระธาตุหมดสิ้นไป เปลวเพลิงก็จักขาดหายไป.
      พระธาตุทั้งหลายแสดงอานุภาพใหญ่อย่างนี้แล้ว ก็อันตรธานไป.

      ในกาลนั้น หมู่เทพกระทำสักการะด้วยของหอม ดอกไม้และดนตรีทิพย์เป็นต้น เหมือนในวันที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายปรินิพพาน กระทำประทักษิณ ๓ ครั้ง ถวายบังคมแล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พวกข้าพระองค์จักได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้เสด็จอุบัติขึ้นในอนาคต ดังนี้แล้วก็กลับไปที่อยู่ของตนๆ.
      นี้ ชื่อว่าอันตรธานแห่งพระธาตุ.

_____________________________________________________
อรรถกถา อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เอกธัมมาทิบาลี วรรคที่ ๑ อรรถกถาวรรคที่ ๑๐ 
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=99 (http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=99)
ขอบคุณภาพจาก http://2g.pantip.com/cafe/blueplanet/topic/E13023990/E13023990.html (http://2g.pantip.com/cafe/blueplanet/topic/E13023990/E13023990.html)