หัวข้อ: 'มจร' เปิด 5 งานวิจัย 'ยอดมงกุฏ' ลดขัดแย้ง เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ กันยายน 04, 2013, 07:13:26 am (http://www.komchadluek.net/media/img/size_photo_slide/2013/09/03/6ig9e89kb8j7a5acbbdab.jpg) 'มจร' เปิด 5 งานวิจัย 'ยอดมงกุฏ' ลดขัดแย้ง 'มจร'เปิดมิติใหม่ เรื่องจริง...จากงานวิจัย โชว์ 5 ผลงานนิสิต ป.โท-เอก พุทธศาสนา 'ยอดมงกุฏ' ชี้ทางออกสังคมลดขัดแย้ง 3ก.ย.2556บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เปิดผลงานวิจัยและวิทยานิพนธ์ดีเด่น ปีนี้ สามารถนำพุทธบูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่อย่างลงตัว พร้อมได้องค์ความรู้ใหม่ตอบโจทย์และเป็นประโยชน์ต่อสังคม มวลมนุษยชาติ ถือเป็น “ยอดมงกุฏ” อันล้ำค่าทางวิชาการ พระพุทธศาสนา ที่พร้อมเผยแพร่ให้สาธารณชนเข้าใจเข้าถึงและนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตได้จริง เตรียม จัดงานสัมมนาใหญ่เผยแพร่ต่อสาธารณชน 22 กย. นี้ ที่ มจร. วังน้อย พระสุธีธรรมานุวัตร, ผศ.ดร. คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) ประธานคณะกรรมการคัดเลือกวิทยานิพนธ์ดีเด่นประจำปีการศึกษา2555 กล่าวว่า มจร มีการจัดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรี โท เอก หลายสาขาวิชาเพื่อรองรับความต้องการของสังคม จะเห็นได้จากความสำเร็จของนิสิตที่จบการศึกษาออกไปเป็นกำลังสำคัญของประเทศมีจำนวนมาก และสิ่งสำคัญที่เป็นเครื่องยืนยันความมีคุณภาพของนิสิตได้เป็นอย่างดีคือ ผลงานวิจัยและวิทยานิพนธ์ที่มีความน่าสนใจจำนวนมาก ในปีนี้ จึงได้ จัดให้มีการคัดเลือกผลงานวิจัยและวิทยานิพนธ์ดีเด่น เพื่อเผยแพร่ผลงานที่มีคุณภาพและเป็นประโยชน์ต่อสังคม รวมทั้งเพื่อแสดงให้เห็นถึงความรู้ความสามารถของผู้สร้างสรรค์ผลงานและมาตรฐานของมหาวิทยาลัย ans1 ans1 ans1 ในปีนี้ มีงานวิจัยและวิทยานิพนธ์ที่ได้รับการคัดเลือก จาก บัณฑิตวิทยาลัย,วิทยาเขตและวิทยาลัยสงฆ์ ในสังกัดของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยทั่วประเทศ ในระดับดีเด่น,ระดับดี และชมเชย มีจำนวน 25 เรื่อง โดยผลงานวิจัยทุกเรื่อง นอกจากจะทรงคุณค่าทางวิชาการแล้ว ยังเป็นผลงานวรรณกรรมในทางพระพุทธศาสนาอันล้ำค่ายิ่งอีกด้วย กล่าวได้ว่า ผลงานวิจัยและวิทยานิพนธ์ดีเด่นที่ผ่านการคัดเลือกของคณะกรรมการนี้ถือเป็น “ยอดมงกุฏ” อันล้ำค่าในทางวิชาการและในทางพระพุทธศาสนาได้อย่างชัดเจน คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มจร กล่าวด้วยว่า ผลงานระดับดี และระดับดีเด่น ที่มีการนำเสนองานวิจัยด้านพระพุทธศาสนา ชี้ทางออกให้กับสังคม และนับเป็นโมเดลใหม่ มีหลายหัวข้อเรื่อง อาทิเช่น - การสร้างสังคมตื่นรู้จากชุมชนไม้เรียง จ. นครศรีธรรมราช ของนายประยงค์ รณรงค์ เจ้าของรางวัลแมกไซไซ, - แนวทางการฝึกอานาปานสติเพื่อส่งเสริมการเล่นกีฬา ที่กำลังเป็นไฮไลท์ของคนทั้งประเทศ คือ กีฬาเร็คเก็ต น้องเมย์ แชมป์โลกแบตบินตันชาวไทย เป็นตัวอย่างของการมีสติในการเล่นกีฬาได้เป็นอย่างดี, - การลดสภาวะซึมเศร้าในผู้ประสบภัยพิบัติด้วยการรับบทสวดโพชฌงคปริตรเข้าจิตใต้สำนึก ซึ่งเป็นทางออกสำหรับคนที่กำลังมีความทุกข์ให้ทุกข์น้อยลง, - รูปแบบการฝึกปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานที่เป็นแนวทางของการฝึกอย่างถูกวิธี ฯลฯ นอกจากนี้ ยังมี ผลงานวิจัยของอาจารย์ดร.แม่ชีกฤษณา รักษาโฉม เรื่อง รูปแบบและกระบวนการจัดการท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนา : กระบวนการเปลี่ยนแปลงเส้นทางบุญสู่เส้นทางธรรม ที่สะท้อนให้เห็นข้อเท็จจริงของปัญหาและสาเหตุการเข้าวัดของคนในสังคมอย่างคาดไม่ถึง และอีกหลากหลายเรื่องที่พร้อมจะนำเสนอออกสู่สาธารณะ ซึ่งล้วนน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง :96: :96: :96: อย่างไรก็ตาม ผลงานวิจัยทุกเรื่อง เป็นเรื่องที่ทันสมัยและสอดคล้องกับสถานการณ์ของสังคมไทย ในปัจจุบัน ซึ่งหลายท่านอาจจะคาดไม่ถึงว่ามีปัญหาเหล่านี้เกิดขึ้นในสังคม และเมื่อเกิดขึ้นแล้วจะมีวิธีแก้ปัญหาเหล่านี้ได้อย่างไร ซึ่งผู้สร้างสรรค์ผลงานวิจัยเหล่านี้จะมานำเสนอและตอบโจทย์ให้กับสังคม นอกจากนี้ ผู้เข้าร่วมฟังยังได้แนวคิดในการนำไปพัฒนาต่อยอดผลงานของตนเองได้เป็นอย่างดีอีกด้วย สำหรับการสัมมนา เผยแพร่ผลงานในปีนี้ ทางมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จะจัดขึ้น ในวันอาทิตย์ที่ 22 กันยายน 2556 เวลา 9.00 – 17.00 น. ณ หอประชุม มวก. 49 พรรษามหาวชิราลงกรณ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อำเภอวังน้อย พระนครศรีอยุธยา gd1 gd1 gd1 ในงานดังกล่าว ผู้สนใจ สามารถเข้าร่วมรับฟังการนำเสนอผลงานได้ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งยังได้ชมนิทรรศการทางวิชาการที่เป็นประโยชน์และน่าสนใจอย่างมากมาย และที่พลาดไม่ได้คือ การปาฐกถา โดย พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต),ศ.ดร. อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย นอกจากนี้ ยังได้พบปะกับผู้ที่มีชื่อเสียงในแวดวงวิชาการ รวมถึงนิสิต นักศึกษา คณาจารย์จากสถาบันการศึกษาชั้นนำที่เข้าร่วมกิจกรรมในงานนี้อีกมากมาย พร้อมชมการประกวดซุ้มนิทรรศการ “ศิลปวัฒนธรรมของชาวอาเซียน”จากวิทยาเขตและวิทยาลัยสงฆ์ในสังกัดของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ทั่วประเทศ ชิงโล่รางวัล นายสนธยา คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน อีก 2 ปีข้างหน้านี้ :welcome: :welcome: :welcome: แนะคนไทยใช้สติเหตุและผลแก้ขัดแย้งสังคม ทางด้านคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ นักศึกษาปริญญาเอก บัณฑิตวิทยาลัย มจร ร่วมงานครั้งนี้ด้วย ได้กล่าวถึงแนวทางในการแก้ปัญหาความขัดแย้งในสังคไทยว่า กล่าวว่าทางออกของสังคมที่บางคนเสนอให้มีการปรองดอง และนิรโทษกรรมนั้นเป็นทางออกด้านกฎหมายหรือจัดเวทีปฎิรูปยุติความขัดแย้งโดยเสนอให้ทุกฝ่ายพูดคุยกัน ล้วนเป็นวิธีการที่ดี แต่ขณะนี้ความขัดแย้งรุนแรงและซับซ้อนมากไม่สามารถใช้ทางออกทางเดียว เพราะต่อให้มีตัวกฎหมายออกมาหรือมีข้อสรุปของเวทีปฎิรูปอย่างดีเยี่ยม แต่ไม่ประสบความสำเร็จ ถ้าทุกคนทุกฝ่ายในสังคมยังไม่ยอมรับร่วมกัน ก็จะเป็นเพียงกระดาษแผ่นเดียวแต่ในทางปฎิบัติไม่สามารถหาทางออกให้แก่สังคมได้ ans1 ans1 ans1 "ปัญหาสังคม บ้านเมืองในอดีตเกิดจากความขัดแย้งกันในชนชั้นปกครอง แต่ในปัจจุบันความขัดแย้งลงลึกไปในตัวประชาชน ที่เกลียดมากเกินไป รักมากเกินไป ไม่เปิดใจยอมรับฟัง ซึ่งถ้าทุกคนยังมีรัก โลก โกรธ หลง ไม่ระลึกถึงประโยชน์ส่วนตัว ต่อให้มีวิธีทางออกอย่างไรก็ไม่ประสบความสำเร็จ เพราะเรายังไม่สามารถถอดจิต ถอดใจของเราได้ อีกทั้งทุกวันนี้เราละเลยในการใช้หลักพระพุทธศาสนามาใช้ในการดำเนินชีวิต ตอนนี้ก็ถึงเวลาแล้วที่ต้องเอาศาสนา งานวิจัยด้านพระพุทธศาสนาโดยใช้หลักทางพระพุทธศาสนามาใช้แก้ไขปัญหาสังคม อีกทั้งศาสนาพุทธ เป็นศาสนาแห่งสันติภาพ ต้องนำหลักคำสอนด้านพระพุทธศาสนาไปฉีดให้ทุกภาคส่วนของสังคม เพราะแต่ละงานวิจัยจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับทุกอณูของสังคม และช่วยแก้ไขปัญหาสังคมได้" คุณหญิงสุดารัตน์ กล่าวและว่า st11 st11 st11 อย่างไรก็ตาม ความขัดแย้ง ปัญหาสังคมที่เกิดขึ้นสามารถหาทางออกได้ หากประชาชนใช้หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ใช้เหตุผล และตั้งสตินึกถึงสังคม ส่วนรวม ไม่รักมาก หรือเกลียดมากเกินไป และไม่เชื่อตามๆ กันไป ขณะเดียวกันในส่วนของผู้ที่มีอำนาจ ต้องใช้หลักทางพระพุทธศาสนา นำประเทศเดินหน้าเพื่อคนไทย ไม่ใช่เพื่อจะเป็นพรรครัฐบาล ขอบคุณภาพข่าวจาก www.komchadluek.net/detail/20130903/167312/มจรเปิด5งานวิจัยยอดมงกุฏลดขัดแย้ง.html#.UiZ5k3_KXHt (http://www.komchadluek.net/detail/20130903/167312/มจรเปิด5งานวิจัยยอดมงกุฏลดขัดแย้ง.html#.UiZ5k3_KXHt) |