หัวข้อ: นักซ่อมพระกรุงเก่า สุดแน่ไม่แท้ไม่ซ่อม เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ กันยายน 06, 2013, 09:29:01 am (http://static.cdn.thairath.co.th/media/content/2013/09/01/367050/hr1667/630.jpg) สนิท นักซ่อมพระกรุงเก่า สุดแน่ไม่แท้ไม่ซ่อม “พระไม่แท้ผมไม่ซ่อม” อาจารย์สนิทยืนยันวงการพระเครื่องรู้กันดีว่า เมื่อพระมีราคาชำรุด คนที่ต้องคิดถึงเป็นอันดับแรกคือ “สนิท อยุธยา” นักซ่อมพระเนื้อผง โลหะ ตัวจริงเสียงจริงแห่งเมืองกรุงเก่า สนิท อยุธยา หรือ “หนิด อยุธยา” นามจริงคือ สนิท คด ชาคร ปี พ.ศ.2556 อายุ 73 ปี นั่งซ่อมพระเครื่องมาประมาณ 40 ปี ฝีมือเป็นที่กล่าวขานกันโดยทั่วไป เดิมเป็นชาวบางกระบือ กรุงเทพมหานคร หลังจบมัธยมจากโรงเรียนโยธินบูรณะ รุ่นเดียวกับ พล.อ.สำเภา ชูศรี เข้าเรียนโรงเรียนเพาะช่าง เมื่อจบเพาะช่างเข้าสอนโรงเรียนสตรีวัดระฆัง วัดพระเครื่องเลื่องลือนามสมเด็จวัดระฆัง สอนอยู่ 2 ปี คือช่วง พ.ศ.2504-2505 ระหว่างสอนอยู่นั้น เจ้าอาวาสเรียกเข้าไปใช้อยู่เนืองๆ (http://static.cdn.thairath.co.th/media/content/2013/09/01/367050/o3/420.jpg) “ถ้าสมัยนั้นผมเล่นพระ จะเอาพระปิลันทน์เท่าไรก็ได้ เจ้าอาวาสรักเรา ท่านมีอะไรก็เรียกใช้เสมอ แต่ตอนนั้นเรายังไม่ได้สนใจพระเครื่อง ท่านเรียกหาก็ได้แต่ทำงานรับใช้ท่านไป สร้างบุญสร้างกุศล ไม่ได้คิดอะไร” ก่อนสู่เส้นทางชีวิตอาจารย์สนิทสายซ่อมพระ ย้อนไปรู้จักนักซ่อมพระเครื่องตัวจริงเสียงจริงรุ่นเก่าๆกันก่อน หากย้อนไป พ.ศ.2500 ยามนั้นมีชูชัย พระขรรค์ชัย ครองใจนักสะสมพระชนิดยากจะหาตัวได้ ชูชัย พระขรรค์ชัย ในมุมของนักซ่อมพระ ถ้าไม่ใช่คนในวงการพระจริงๆ อาจไม่ทราบมากนัก เพราะชื่อเสียงด้านอื่นๆกลบไปหมด :96: :96: :96: ท่านเป็นนักมวยเลื่องชื่อ ช่วงเป็นดาวรุ่งชนะคู่ต่อสู้จนไม่มีใครเข้ามาเปรียบหมัดด้วย แถมยังเป็นนักแสดงภาพยนตร์ชั้นยอด อย่างเช่นเรื่องพันท้ายนรสิงห์ แสดงคู่กับ สุพรรณ บูรณพิมพ์ นางเอกยอดนิยมแห่งยุคนั้น สร้างความตื่นตา ระทึกใจให้กับผู้ชมไปถ้วนทั่ว ด้วยความสามารถและหน่วยก้านดี ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ยังชวนเข้าไปทำหนังสือพิมพ์สยามรัฐอีก แม้ความสามารถอื่นๆจะเด่น แต่เรื่องการซ่อมพระของชูชัย พระขรรค์ชัย ก็เด่นและดังไม่แพ้กัน หลังสมัยชูชัย พระขรรค์ชัย นักซ่อมพระในเมืองกรุงมีอาจารย์สมปอง จารุเสน และยังมีอภิชาติ กุลอนรรฆพันธุ์ ลูกเขยรับมรดกการซ่อมพระเครื่องต่อมา และนักซ่อมพระอีกนามที่ไม่อาจกล่าวข้ามไปได้คือ “เฒ่า ท่าพระจันทร์” หรือ วิโรจน์ ใบประเสริฐ มือซ่อมระดับหาตัวจับยากเช่นกัน (http://static.cdn.thairath.co.th/media/content/2013/09/01/367050/o4/420.jpg) ถึงกระนั้น ไม่ว่าจะในเมืองหลวงและภูธร “อาจารย์สนิท อยุธยา” หาได้มีใครดับรัศมีลง เส้นทางของ “สนิท อยุธยา” เริ่มสนใจ “ซ่อมพระ” เมื่อย้ายมาสอนที่โรงเรียนจอมสุรางค์ โรงเรียนชื่อดังของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โรงเรียนอยู่ใกล้กับสนามพระ หน้าวังจันทรเกษม หลังพักงานสอนสามารถเดินเข้าไปเยี่ยมเยือนได้สบายๆ “ผมมารับราชการที่อยุธยาโดยบังเอิญ เริ่มสอนที่โรงเรียนนครหลวงอุดมรัฐวิทยาก่อน ตอนนั้นเริ่มชอบพระบ้างแล้ว มาเอาจริงเอาจังเมื่อเข้ามาสอนโรงเรียนจอมสุรางค์อุปถัมภ์ โรงเรียนนี้อยู่หน้าวังจันทรเกษม อยู่เครือเดียวกับโรงเรียนราชินี ผู้พระราชทานคือ พระพันปีหลวงในรัชกาลที่ 5 มีแต่เด็กผู้หญิง” โรงเรียนจอมสุรางค์ “อยู่หน้าวังจันทรเกษม กลางวันออกมาทานข้าวก็เห็นพระทุกวัน บังเอิญที่ย้ายจากนครหลวงมา ภารโรงของโรงเรียนถูกชะตากัน เขาให้พระผงสุพรรณผมมาองค์หนึ่ง องค์นั้นดูง่ายมากเลย ด้านหลังมีลายมือก้นหอย คอหัก ผมเลยหาที่ซ่อม” st11 st11 st11 สมัยนั้นอาจารย์ท่านหนึ่งมีชื่อเสียงมาก “ท่านซ่อมพระอยู่ในกรุงเทพฯ อย่างที่รู้กันอยู่ว่า พระผงสุพรรณลายมือสำคัญมาก เรานั่งดูแกซ่อมอย่างใจจดใจจ่อ ระหว่างนั้นปรากฏว่าแกไล้ลายมือผงสุพรรณของผมออกหมด แล้วฉาบปูนใหม่ เห็นแล้วใจหายวาบ” และนึกว่า “เอ๊ะ แน่จริงทำไมไม่ซ่อมตรงคอล่ะ พระผงสุพรรณลายมือสำคัญมาก เป็นเอกลักษณ์ มีก้นหอยกับร้อยหวาย ทำให้ผมเกิดความในใจว่า อย่างนี้กูก็ซ่อมได้วะ แน่จริงทำไมไม่ทำส่วนที่หักล่ะ ด้วยความเจ็บใจก็เลยมาหัดซ่อมเอง” ความรู้ที่นำมาซ่อม “ผมเรียนมาสายตรงอยู่แล้ว จบมาจากเพาะช่าง มีความรู้ทั้งจิตรกรรมและประติมากรรม ได้ทั้งรูปร่าง รูปทรง สี ความกลมกลืน ผมกลับมาหัดซ่อมเอง และซ่อมให้คนอื่นๆ ไปอีกมากมาย ทำให้เขาบอกต่อๆกันไป” (http://static.cdn.thairath.co.th/media/content/2013/09/01/367050/o5/420.jpg) อาจารย์สนิทบอกว่า สมัยนั้นสถานที่ซ่อมพระคือบ้านพักครู เสียงลือเสียงเล่าอ้างทำให้นักข่าวเข้าไปขอสัมภาษณ์ แต่อาจารย์บอกว่า ให้สัมภาษณ์ไม่ได้ เพราะยังเป็นข้าราชการกินเงินเดือนหลวงอยู่ ถ้าเป็นข่าวออกไปเกรงว่าจะมีข้อครหา เป็นต้นว่าคอร์รัปชันเวลาสอนเป็นต้น ค่าซ่อมช่วงแรกๆ “เขาให้เราเอง พวกเซียนที่มีพระสำคัญๆ เขารู้ว่าผมชำนาญเนื้อผง แต่จริงๆ ก็ทำได้ทุกชนิดนั่นแหละ แม้เราไม่ได้เรียกร้องราคา แต่พระสำคัญๆ เมื่อซ่อมไปแล้วเจ้าของเห็นก็จะให้เราเอง” คนที่มาซ่อม “ปากต่อปากทำให้คนเดินทางมาหาผมมากมาย มาจากสุดเหนือสุดใต้ สุไหงโก-ลก ฮ่องกงก็มา ผู้ใหญ่ทุกระดับมา นายพลตำรวจ นายพลทหารมีคนตามกันมาเป็นแถว ทุกจังหวัดนั่นแหละ มาทั้งนั้น” ans1 ans1 ans1 แม้จะเป็นหัวหน้าหมวดศิลปะ แต่ก็เกรงๆข้อครหาเรื่องเวลาสอน จึงไม่เคยละวางหน้าที่สอน ว่างเมื่อไหร่ค่อยหันมาซ่อมพระ อาจารย์บอกว่า ความยากง่ายนั้น ไม่ว่าจะเป็นพระเนื้ออะไร ก็ซ่อมได้ง่ายเหมือนๆกัน “แต่ที่ผมชอบทำคือเนื้อผง เป็นพระราคาแพง อย่างชุดเบญจภาคีก็เป็นเนื้อผงทั้งนั้น โลหะก็ได้ พระร่วงรางปืนก็เคยซ่อมจนส่งเข้าประกวดได้รางวัล คณะกรรมการไม่ระแวงเลย” เมื่อถามถึงหลักการซ่อม อาจารย์บอกว่า “ผมใช้หลักการทางศิลปะง่ายๆ แต่ทำยากสำหรับคนไม่มีพื้นความรู้ทางศิลปะ นั่นคือการทำให้กลมกลืน” นอกจากความกลมกลืนแล้ว ผู้ซ่อมพระได้ดีต้องแม่นรูปทรง แม่นเนื้อ และตำหนิของพระเครื่องแต่ละรุ่น แต่ละชนิด องค์ความรู้เหล่านี้อาจารย์สนิทสั่งสมมาอย่างไร ต้องเปิดวงคุยกันอีกครั้ง. ขอบคุณภาพข่าวจาก http://www.thairath.co.th/column/pol/page1scoop/367050 (http://www.thairath.co.th/column/pol/page1scoop/367050) |