สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

เรื่องทั่วไป => forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน => ข้อความที่เริ่มโดย: raponsan ที่ กันยายน 14, 2013, 09:26:32 am



หัวข้อ: ยกเกษตรอินทรีย์ 'วิถีพุทธ' ช่วยมั่นคงอาหาร
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ กันยายน 14, 2013, 09:26:32 am
(http://www.komchadluek.net/media/img/size_photo_slide/2013/09/13/eabeca5bcfhc9ffjij5kj.jpg)

ยกเกษตรอินทรีย์ 'วิถีพุทธ' ช่วยมั่นคงอาหาร

นักวิจัยหวั่นโลกร้อนกระทบมั่นคงด้านอาหาร ยกเครือข่ายเกษตรลำพูนทำเกษตรอินทรีย์ประยุกต์วิถีพุทธธรรมตามโครงการสัมมากิจฯทั้งปลอดภัยและมีรายได้งาม

13ก.ย.2556 เครือข่ายงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นภาคเหนือ ร่วมกับฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สถาบันชุมชนเกษตรกรรมยั่งยืน วิทยาลัยบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย) สำนักประสานวิจัยและพัฒนาความมั่นคงอาหาร ฝ่ายเกษตร สกว. และศูนย์วิจัยระบบทรัพยากรเกษตร (ศวทก.) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

จัดเวทีสัมมนาวิชาการ “สานพลัง ตั้งรับ และปรับตัวกับภัยคุกคาม ระบบอาหารท้องถิ่นภาคเหนือ” ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อเร็ว เพื่อนำเสนอผลการดำเนินงานทุกระดับตามยุทธศาสตร์ 3 ปีที่ผ่านมา และกำหนดยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนงานต่อเนื่องในปี 2557-2560 ตลอดจนแลกเปลี่ยนเรียนรู้นโยบายด้านอาหารและสถานการณ์ที่เป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงด้านอาหารจากภาคีความร่วมมือที่ทำงานด้านนโยบายประเทศ เพื่อเพิ่มเติมมุมมองที่กว้างขึ้นของนักวิจัยเพื่อท้องถิ่นและผู้เกี่ยวข้อง เพื่อให้ชุมชนสามารถตั้งรับและปรับตัวอันจะนำไปสู่การรักษาฐานอาหารให้รุ่นลูกหลานต่อไป

 :welcome: :welcome: :welcome:

รศ.ดร.จันทร์จรัส เรี่ยวเดชะ รองผู้อำนวยการ สกว. ด้านการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ และผู้อำนวยการฝ่ายเกษตร กล่าวว่า ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงด้านอาหาร ได้แก่ โรคสัตว์และโรคพืชซึ่งส่งผลกระทบได้อย่างรุนแรง นอกจากนี้ยังมีพลังงาน น้ำ เศรษฐกิจ โครงสร้างประชากรซึ่งมีผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น และการสูญเสียทางทรัพยากร

ปัจจุบันทั่วโลกมีประชากรที่ขาดอาหารมากกว่า 1,000 พันล้านคน โดยเฉพาะในทวีปแอฟริกาและบางประเทศที่ทรัพยากรไม่เอื้ออำนวยและยากจนทำให้เกิดความอดอยาก รวมถึงปัญหาผลผลิตไม่ดี และขาดการลงทุนในภาคการเกษตรซึ่งต้องมีการใช้เทคโนโลยี ทรัพยากร และที่ดินจำนวนมาก

 :s_good: :s_good: :s_good:

ดังนั้น การดำเนินการเพื่อความมั่นคงด้านอาหารและคุณค่าทางอาหารจึงจำเป็นต้องมีการลงทุนในภาคเกษตรของผู้ประกอบการรายใหญ่ ซึ่งต้องพยายามสนับสนุนนวัตกรรมในการพัฒนาผลิตผลทางการเกษตร รวมถึงระบบ ซึ่ง OECD และ FAO วางเป้าหมายว่าในอนาคตอันใกล้นี้อาหารและพลังงานจะเข้าใกล้กันมากขึ้น ส่วนในระยะยาวมองว่าจะต้องเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ตลอดจนมีการใช้ดิน น้ำ ทรัพยากรชายฝั่ง ระบบนิเวศ พืชพันธุ์อย่างยั่งยืน

อีกทั้งต้องมีการจัดการพืชผลทางการเกษตรที่ดีขึ้น ใช้วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีมากขึ้น และเพิ่มการลงทุนด้านการวิจัยเพื่อจัดการโครงสร้างและส่งเสริมสนับสุนนการผลิตให้มากขึ้น ลดการสูญเสียโดยอาศัยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวและระบบการขนส่งที่จะต้องอาศัยความรู้ด้านวิทยาศาสตร์เพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้น

 gd1 gd1 gd1

ในส่วนของ สกว. มีการสนับสนุนงานวิจัยเพื่อความมั่นคงอาหาร การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ และการวิจัยเพื่อพัฒนาเชิงพื้นที่ ซึ่งในส่วนของงานวิจัยมีทั้งด้านความมั่นคงอาหาร ด้านอาหารปลอดภัยซึ่งดำเนินการร่วมกับ อย. ในการวิเคราะห์ปัญหาเกษตรกรและปัจจัยหรือเงื่อนไขที่มีผลต่อการผลิตอาหารปลอดภัยเพื่อออกแบบการสนับสนุนที่เหมาะสมต่อไป ซึ่งจะต้องเร่งดำเนินการเพื่อก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ตลอดจนโครงการฟุตพริ้นน้ำของพืชอาหาร อาหารสัตว์ และพลังงานเพื่อจัดการทรัพยากรน้ำอย่างปลอดภัย

ซึ่งมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย คือ การลดปริมารการใช้น้ำของพืช การพัฒนาระบบชลประทานในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อความตึงเครียดด้านน้ำในอนาคต ส่งเสริมให้เกิดการขยายพื้นที่เพาะปลูกในพื้นที่ที่เหมาะสม เพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำในกระบวนการแปรรูปวัตถุดิบและกระบวนการผลิตเอทานอล ตลอดจนส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาด้านฉลาก WF ของผลิตภัณฑ์เกษตรเพื่อสร้างความตระหนักด้านน้ำในภาคการบริโภค



(http://www.komchadluek.net/media/img/size1/2013/09/13/ajc79adb8jc6ie9h9fhbd.jpg)


ส่วนแนวทางในอนาคตคือการเติบโตอย่างยั่งยืน ทั้งการลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ คนและสังคมมีความเข้มแข็ง และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ขณะที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์กำลังเร่งดำเนินการเรื่อง GAP ให้เป็นมาตรฐานบังคับเพื่อสร้างความมั่นใจแก่ผู้บริโภค

ด้านนายวิฑูรย์ เรืองเลิศปัญญากุล ผู้อำนวยการมูลนิธิสายใยแผ่นดิน กล่าวถึงผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและการปรับตัวของเกษตรกร ว่าปัญหาสำคัญคือก๊าซเรือนกระจกจากภาคเกษตร ซึ่งเกิดจากการใช้ยานพาหนะ และการจัดการในภาคการเกษตรที่ไม่ถูกต้อง อาทิ การใช้ที่ดินไม่เหมาะสมทำให้เกิดคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาในปริมาณมาก

 :49: :49: :49:

นอกจากนี้ยังมีก๊าซมีเทนซึ่งมีความรุนแรงมากกว่าคาร์บอนไดออกไซด์กว่า 20 เท่า อันเกิดจากการจัดการมูลวัวและปุ๋ยคอกที่ไม่เหมาะสม รวมถึงการฝังกลบใต้ดินเกิดการย่อยสลายที่ไม่สมบูรณ์ ตลอดจนของเสียจากการใช้ปุ๋ยเคมีและการเลี้ยงสัตว์ ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนเกิดผลกระทบเป็นลูกโซ่

จากข้อมูลภูมิอากาศพบว่าโลกร้อนขึ้นทำให้จากนี้ไปจะต้องเตรียมพร้อมรับมือกับปัญหาที่เกิดขึ้นในประเทศ การแปรปรวนของสภาพอากาศส่งผลให้เกิดพายุที่รุนแรง ฝนตกหนัก น้ำท่วม ภัยแล้งและขาดแคลนน้ำ ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ การกระจายตัวของน้ำจะมีปัญหามากขึ้นและส่งกระทบต่อเกษตรกรอย่างหนัก การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศทำให้แนวโน้มของฝนตกมากขึ้น เพราะอากาศร้อนจะทำให้น้ำระเหยมากขึ้น จึงมีฝนตกมากขึ้น แต่ยังไม่แน่ใจว่าฝนจะตกที่ใด อาจมีวันที่ฝนตกน้อยลงและเกิดภัยแล้งในบางพื้นที่ การเกิดฝนแปรปรวนอาจมาช้าลง ทิ้งช่วงนานขึ้น และตกในช่วงเก็บเกี่ยว

 :sign0144: :sign0144: :sign0144:

นอกจากนี้อุณหภูมิสูงขึ้นจะทำให้พืชทุกชนิดเติบโตดีขึ้นเพราะมีเมตาบอลิซึมสูงขึ้นแต่ถ้าร้อนเกินไปพืชจะตาย สิ่งสำคัญของการปรับตัวจะต้องมีเครื่องมือและเลือกใช้เครื่องมือที่แตกต่างกันอย่างเหมาะสม มีการจัดการน้ำในไร่นา ปรับปรุงดิน เกษตรอินทรีย์ การกระจายการผลิตที่ไม่ใช่ข้าว เปลี่ยนวันเพาะปลูก รวมถึงวิธีการตกกล้าและวิธีปลูก

ตัวอย่างโครงการวิจัยเพื่อท้องถิ่นด้านความมั่นคงทางอาหารของชุมชน ได้แก่ โครงการนวัตกรรมองค์กรกับการพัฒนาเครือข่ายเกษตรกรรมยั่งยืนจังหวัดลำพูน ซึ่งเกิดการรวมตัวของเครือข่ายเกษตรกรในจังหวัดลำพูนหลังได้รับผลกระทบจากการพัฒนาเกษตรแผนใหม่ทำให้ละทิ้งการเกษตรแบบยังชีพเลี้ยงตัวเองมาปลูกพืชเชิงเดี่ยวจนมีภาระหนี้สินเพิ่มมากขึ้นเพราะต้นทุนจากการใช้สารเคมีและปัจจัยการผลิตอื่น ๆ ขณะที่ราคาผลผลิตคงที่และบางฤดูกาลลดลง

 :character0029: :character0029: :character0029:

ส่งผลให้เกษตรกรหันกลับมาทำเกษตรกรรมยั่งยืนโดยเน้นการเกษตรอินทรีย์ บางแห่งรวมตัวกันเป็นกลุ่มหรือเครือข่ายและขยายผลไปยังผู้บริโภคที่ต้องการบริโภคพืชผักอาหารปลอดภัย อาทิ โครงการสัมมากิจเกษตรอินทรีย์วิถีพุทธธรรม ซึ่งเป็นโครงการและกิจกรรมของมูลนิธิสวนพุทธธรรม จังหวัดลำพูน ที่ทำเกษตรอินทรีย์พืชผักปลอดภัยตั้งแต่ปี 2545

ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผักสลัด 9 ชนิด และผักตามฤดูกาล เช่น หน่อไม้ กล้วย ถั่ว ฯลฯ โดยนำรายได้จากการจำหน่ายพืชผักส่งห้างแมคโคร 11 สาขา ทั้งกรุงเทพฯ เชียงใหม่ ลำพูน และเพชรบูรณ์ มาร่วมขับเคลื่อนโครงการสนับสนุนงานสัมมากิจเพื่อพระพุทธศาสนาและแผ่นดิน



(http://www.komchadluek.net/media/img/size1/2013/09/13/j8g5d6b8bi5kah5hkcb9e.jpg)


ผู้ร่วมโครงการจะต้องมีคุณธรรมจริยธรรมอันดี มุ่งมั่นในการทำเกษตรอินทรีย์เพื่อให้เกิดความยั่งยืน จึงต้องเริ่มจากการปรับเปลี่ยนทัศนะคติของ “คน” ก่อนจะปรับเปลี่ยนพื้นที่และสร้างเมล็ดพันธุ์ดี ๆ ให้งอกเงยสู่สังคม จนได้รับมาตรฐานผลิตภัณฑ์อินทรีย์ (Organic Thailand) จากกรมวิชาการเกษตร
    และหากพืชผักมีอายุเกิน 7 วันก็จะไม่ส่งขายเพราะไม่มีคุณค่าทางอาหารแล้วมีแต่เพียงไฟเบอร์    
     สำหรับต้นกล้าทางมูลนิธิจะทำการเพาะให้เกษตรกรโดยไม่คิดเงิน
    ซึ่งเป็นการทำบุญ และสร้างความปลอดภัยทางอาหารทั้งแก่เกษตรกรผู้ปลูกและผู้บริโภค


ส่วนโครงการวิจัย “การฟื้นฟูวิถีชีวิตผ่านการจัดการท่องเที่ยวเชิงชาติพันธุ์ บ้านดอยมด ตำบลแม่เจดีย์ใหญ่ อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย” ได้มีส่วนในการฟื้นฟูวิถีชีวิตการประกอบอาชีพเกษตรกรรมแบบดั้งเดิมของชาวลาหู่ ซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ของหมู่บ้านแห่งนี้ให้สามารถพึ่งพาตนเอง และลดรายจ่ายจากการปุ๋ยเคมี การซื้อวัตถุดิบเพื่อประกอบอาหาร เพื่อเป็นการสร้างความมั่นคงทางอาหารผ่านมิติวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวเชิงชาติพันธุ์ ทั้งนี้ชาวบ้านยังคงรักษาความเชื่อเกี่ยวกับการเกษตร

 :96: :96: :96:

อาทิ การประกอบพิธีกรรมบนเจ้าที่เพื่อให้ได้ผลผลิตดี คุ้มครองให้ปลอดภัยจากอุบัติเหตุที่เกิดจากการทำงานและของมีคมต่าง ๆ รวมถึงการช่วยกันอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติโดยการทำแนวกันไฟ ทำฝาย กั้นแนวป่าไว้เป็นเขตหวงห้ามนอกจากนี้ยังพยายามฟื้นฟูวิถีชีวิตในสภาพบริบทของตนผ่านภูมิปัญญาที่มีอยู่ ไม่ว่าจะเป็นการเก็บเมล็ดพันธุ์โดยการใส่ถุงผ้า กระสอบ กระบอกไม้ไผ่ แล้วเก็บไว้บนหิ้งแทนการเก็บในห้องเย็นเพื่อรักษาเมล็ดพันธุ์ ป้องกันมอดและแมลง

นอกจากการปลูกพืชผักสวนครัว อาทิ แตงกวา ฟักทอง ทานตะวัน พริก ขิง มะเขือ ฯลฯ ไว้รับประทานแล้วยังปลูกพืชโครงการหลวงเป็นรายได้เสริมอีกด้วย แต่เนื่องจากพื้นที่มีจำกัดทำให้ยังต้องซื้อเนื้อสัตว์มาบริโภค แต่ละเดือนมีค่าใช้จ่ายด้านอาหารประมาณ 1,500 บาทต่อครัวเรือน

 :88: :88: :88:

ซึ่งในระยะ 5 ปีที่ผ่านมามีรถเร่ขายอาหาร กับข้าวสำเร็จรูป ขนม และเครื่องดื่มต่าง ๆ เข้ามาในหมู่บ้าน ชาวบ้านนอกจากทำเกษตรกรรมแล้วบางส่วนมีอาชีพรับจ้างต้องออกไปทำงานแต่เช้าจึงพึ่งบริการรถเร่เพื่อความสะดวกสบาย เมื่อเทียบกับรายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนเพียง 6,000 บาท ชาวบ้านจึงต้องหาอาหารจากฐานทรัพยากรในชุมชนเพิ่มเติม นั่นคือ สัตวว์จำพวกแมลงและพืชผักจากผืนป่า อีกทั้งยังเป็นสมุนไพรรักษาโรคชั้นดีอีกด้วย


ขอบคุณภาพข่าวจาก
www.komchadluek.net/detail/20130913/168142/ยกเกษตรอินทรีย์วิถีพุทธช่วยมั่นคงอาหาร.html#.UjPGeH_KXHt  (http://www.komchadluek.net/detail/20130913/168142/ยกเกษตรอินทรีย์วิถีพุทธช่วยมั่นคงอาหาร.html#.UjPGeH_KXHt)