สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

เรื่องทั่วไป => forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน => ข้อความที่เริ่มโดย: raponsan ที่ กันยายน 30, 2013, 08:14:51 am



หัวข้อ: วิจัยล้างความเชื่อ "คอมพ์เจ๋ง" ชี้เด็กใช้มากผลเรียนยิ่งตกต่ำ
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ กันยายน 30, 2013, 08:14:51 am

(http://takree.com/wp-content/uploads/2012/07/%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%A1_%E5%89%AF%E6%9C%AC.jpg)

วิจัยล้างความเชื่อ "คอมพ์เจ๋ง" ชี้เด็กใช้มากผลเรียนยิ่งตกต่ำ

เวทีประชุมยกระดับผลสอบ PISA นักวิชาการ สสวท.ยกผลการศึกษานานาชาติ เตือนไม่ควรปล่อยให้เด็กใช้คอมพ์มากเกินไป จะทำให้ผลการเรียนตกต่ำ จี้ปัญหาการศึกษาไทยไม่ได้อยู่ที่หลักสูตร แต่อยู่ที่ครูสอนเด็กยังไม่ดีพอ ด้าน ศธ.วางแผนติวเข้มเด็กตั้งแต่ชั้น ม.2 เพื่อดึงคะแนนพิซซาในปี 58

    กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) จัดประชุมปฏิบัติการเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการประเมินตามโครงการนานาชาติของนักเรียนระดับการศึกษาภาคบังคับ หรือ Program for International Student Assessment (PISA) โดยมีนายจาตุรนต์ ฉายแสง รมว.ศธ. เป็นประธาน พร้อมด้วยผู้แทนจากสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ผู้บริหารองค์กรหลัก นักวิชาการจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง


(http://blog.eduzones.com/images/blog/bangsi/20120611210420.jpg)

    นายจาตุรนต์กล่าวว่า ตนได้ไปหารือกับฝ่ายการศึกษาของประเทศฟินแลนด์ด้วยตนเองแล้ว โดยพบว่าประเทศฟินแลนด์ไม่ได้สนใจคะแนนสอบ PISA รวมถึงประเทศจีนด้วย ที่ไม่เคยเข้าสอบ PISA มาก่อน แต่พอสอบก็ได้คะแนนเป็นอันดับ 1 ทั้งด้านการอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ สำหรับประเทศไทยหากจะพัฒนาทั้ง 3 ด้านให้ดีต้องตั้งเป้าหมาย โดยมีตัวชี้วัดในประเด็นสำคัญๆ เพื่อให้คุณภาพการศึกษาดีขึ้น ซึ่งหากคุณภาพการศึกษาดีขึ้นก็จะส่งผลให้อันดับในการสอบ PISA ดีขึ้นด้วย

    ดังนั้นจึงต้องมีการถอดบทเรียนและประสบการณ์ เพื่อวางแผนพัฒนาการจัดการศึกษาทั้งระบบ อาทิ ต้องรู้ว่าข้อวัดอะไร และถ้าจะสอนให้เด็กสอบได้ต้องสอนอย่างไร โดย สสวท.เคยเสนอว่า ให้โรงเรียนนำข้อสอบ PISA ไปให้เด็กทดลองทำ และนำผลการทดสอบมาวิเคราะห์ว่าเด็กทำข้อสอบข้อใดไม่ได้ และทำไม่ได้เพราะอะไร ครูต้องสอนอย่างไร ทั้งนี้ตนหวังว่าข้อมูลที่ได้จากการเสวนาครั้งนี้จะนำไปสู่กระบวนการวิเคราะห์เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนต่อไป


(http://www.nongmuanghospital.com/home/images/gallery_bancoke/(1).JPG)

    นางสุนีย์ คล้ายนิล ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ สสวท. กล่าวว่า ระบบโรงเรียนที่ประสบความสำเร็จจะต้องสามารถจัดให้นักเรียนมีโอกาสทางการศึกษาเท่าเทียมกัน ไม่ว่านักเรียนจะมีภูมิหลังทางเศรษฐกิจอย่างไร อาทิ ประเทศที่ได้คะแนนสูงๆ อย่างประเทศฟินแลนด์ เนเธอร์แลนด์ และเกาหลี เป็นต้น สำหรับประเทศไทยค่าดัชนีเฉลี่ยของสถานะทางสังคม ฯลฯ ของโรงเรียนกลุ่มสูงและต่ำมีความแตกต่างกันค่อนข้างมาก ขณะที่ระบบโรงเรียนที่ประสบความสำเร็จส่วนใหญ่ให้อิสระแก่โรงเรียนในการกำหนดการเรียนการสอน และออกแบบการประเมินเอง

    นักวิชาการจาก สสวท.กล่าวอีกว่า
    ขณะที่ผลการศึกษาการเรียนการสอนในระดับนานาชาติพบว่า ยิ่งเด็กใช้คอมพิวเตอร์มาก คะแนนยิ่งต่ำ
    ส่วนเด็กที่ใช้คอมพิวเตอร์ในระดับปานกลางคะแนนจะดีขึ้น เพราะคอมพิวเตอร์ไม่สามารถมาแทนครูได้
    ดังนั้นจึงไม่ควรให้เด็กใช้คอมพิวเตอร์มากเกินไป และหากจะใช้ก็ควรให้อยู่ในการดูแลของครู
    "โดยสิ่งสำคัญที่จะต้องเร่งดำเนินการตอนนี้ไม่ใช่การปรับหลักสูตร เพราะหลักสูตรส่วนใหญ่ดีอยู่แล้ว แต่ควรคิดว่าจะทำอย่างไรให้ครูสอนเด็กให้คิดวิเคราะห์เป็น" นางสุนีย์กล่าว


(http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/634/23634/images/GAMEs/ComputerGame1.jpg)

    นายธงชัย ชิวปรีชา ผู้ทรงคุณวุฒิ กล่าวว่า สำหรับข้อเสนอในการเตรียมความพร้อมในการเข้าร่วมโครงการ PISA อันดับแรกจะต้องพัฒนาสื่อในการอ่าน การเขียนและการคิดวิเคราะห์ขึ้นเป็นการเฉพาะ ใช้ตั้งแต่เด็กระดับประถมศึกษาเป็นต้นไป และในระยะเร่งด่วน ปีการศึกษา 2556-2557 ส่วนกลาง/เขตพื้นที่ ควรจัดทำข้อสอบกลางตามแนว PISA สำหรับให้โรงเรียนนำไปใช้ในการสอบปลายภาค และจะต้องศึกษาวิเคราะห์ข้อสอบที่โรงเรียนใช้ว่ามีความเหมาะสม มีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด และควรต้องพัฒนาอย่างไร ทั้งหมดนี้จะต้องกำหนดให้เกิดความชัดเจนลงไปในระดับเขตพื้นที่การศึกษา รวมถึงต้องปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมการเรียนการสอนใหม่ด้วย

    ศ.พิเศษ ภาวิช ทองโรจน์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการ ศธ. กล่าวว่า จากนี้ ศธ.จะต้องมีแผนปฏิบัติการ PISA โดยจะเริ่มจากระยะสั้น เตรียมการกับนักเรียน ม.2 ที่จะสอบในปี 2558 แผนระยะกลาง ที่จะเตรียมสำหรับการสอบในปี 2561 และแผนระยะยาว เพื่อส่งเสริมการเรียนการสอน โดยจะต้องตั้งศูนย์ปฏิบัติการ PISA ขึ้นมาเป็น PISA วอลล์รูม ที่มีรัฐมนตรีว่าการ ศธ. เป็นประธาน.


ที่มา http://www.thaipost.net/sunday/290913/79972 (http://www.thaipost.net/sunday/290913/79972)
ภาพจาก
http://takree.com/ (http://takree.com/)
http://blog.eduzones.com/ (http://blog.eduzones.com/)
http://www.nongmuanghospital.com/ (http://www.nongmuanghospital.com/)
http://www.oknation.net/ (http://www.oknation.net/)