หัวข้อ: สืบสานประเพณี "ตานก๋วยสลาก" ได้อานิสงส์แรง เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ กันยายน 30, 2013, 08:30:50 am (http://www.dailynews.co.th/sites/default/files/imagecache/620x245/cover/236517.jpg) สืบสานประเพณีตานก๋วยสลาก ได้อานิสงส์แรง เสาร์ที่ 28 กันยายนที่ผ่านมา เป็นฤกษ์งามยามดีที่มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง (มร.ลป.) กำหนดจัดโครงการ “สืบสานประเพณีตานก๋วยสลาก ประจำปี 2556” ซึ่งถือเป็นประเพณีทำบุญเก่าแก่ของชาวล้านนา ที่นิยมปฏิบัติกันในช่วงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 เหนือ ถึงเดือนเกี๋ยงเหนือ หรือประมาณตั้งแต่เดือนกันยายนถึงเดือนตุลาคมของทุกปี... “ปริตต์ สายสี” ผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มร.ลป. เล่าว่า ประเพณีตานก๋วยสลาก หรือประเพณีกิ๋นข้าวสลาก เป็นประเพณีทำบุญโดยมิได้เลือกเจาะจงพระภิกษุ สามเณรรูปใดรูปหนึ่ง โดยคำว่า “ก๋วย” แปลว่า ภาชนะสาน ประเภทตะกร้าหรือชะลอม ตานก๋วยสลากจึงหมายถึงการถวายทานด้วยวิธีการจับสลากเครื่องไทยทานที่บรรจุมาในชะลอมในวันตานก๋วยสลาก นักศึกษาจะนำเส้นสลากที่ทำมาจากใบตาลหรือใบลาน เขียนชื่อผู้ถวายสลากและชื่อผู้ที่จะอุทิศส่วนกุศลไปให้ จากนั้นนำไปกองรวมกันไว้ในวิหารหน้าพระประธาน เมื่อเสร็จพิธีกรรมทางศาสนาแล้วเส้นสลากจะถูกนำมาแบ่งสันปันส่วนกันไปในหมู่ของพระสงฆ์ที่ได้นิมนต์มาจากวัดต่าง ๆ ก่อนจะถึงเวลาเพล พระสงฆ์ และสามเณรก็จะนำเอาเส้นสลากไปอ่าน ซึ่งจะมีการเรียกชื่อหาเจ้าของสลากนั้น ๆ ว่านั่งอยู่ที่ใด เมื่อพบแล้วจะมีการให้ศีลให้พรมีการหยาดน้ำอุทิศส่วนบุญกุศลไปให้กับผู้ที่ล่วงลับเป็นเสร็จพิธี (http://www.dailynews.co.th/sites/default/files/imagecache/620x245/photos/236517/0.jpg) อ.ปริตต์ เล่าต่อไปว่า การถวายตานก๋วยสลากนี้มีจุดมุ่งหมาย 2 อย่างด้วยกัน อย่างหนึ่งเป็นการอุทิศให้เทพยดาและผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว และอีกอย่างหนึ่งเป็นการอุทิศไว้ให้ตนเอง เมื่อล่วงลับไปในภายหน้า ชาวล้านนาจะถือกันว่าการถวายก๋วยสลากนั้นจะได้อานิสงส์แรง เพราะเป็นการทำบุญแบบสังฆทานผู้ถวายไม่ได้เจาะจงตัวผู้รับ ในส่วนของ มร.ลป.ได้จัดประเพณีนี้ขึ้นติดต่อกันเป็นปีที่ 3 แล้ว ได้รับความร่วมมือทั้งจากนักศึกษาและคนในชุมชนที่ยังคงร่วมใจกันอนุรักษ์ประเพณีท้องถิ่นดั้งเดิม ซึ่งตนมองว่าหลักการของประเพณีตานก๋วยสลากสามารถสอนนักศึกษาในยุคปัจจุบันให้รู้จักการให้ และรู้ว่าการทำบุญไม่จำเป็นต้องเลือกทำบุญกับวัดใหญ่ ๆ หรือพระภิกษุที่มีชื่อเสียงมาก แต่สามารถทำกับพระรูปใดก็ได้ และทำบุญให้ใครก็ได้กุศลแรงเช่นกัน (http://www.dailynews.co.th/sites/default/files/imagecache/620x245/photos/236517/1.jpg) “ธีรชาติ พงศ์นฤมิตร” หรือ แบงก์ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะครุศาสตร์ มร.ลป. ในฐานะประธานชมรม ฮีตฮอยคนเมือง กล่าวว่า ก่อนถึงวันงานนัก ศึกษาทุกคนจะได้รับใบความรู้เกี่ยวกับประเพณีตานก๋วยสลากว่ามีความเป็นมาอย่างไรเพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับประเพณีนี้ โดยนักศึกษาชั้นปีที่หนึ่งจะรับหน้าที่ทำสลากมาทำบุญ ขณะที่รุ่นพี่ในแต่ละคณะ/สาขาวิชาก็จะร่วมกิจกรรมด้วยการแต่งกายประจำคณะและจัดขบวนแห่ต้นสลากซึ่งมีการประดับตกแต่งกันอย่างสวยงาม ซึ่งตนมองว่ากิจกรรมนี้นอกจากทำให้นักศึกษาในพื้นที่ได้รู้จักประเพณีท้องถิ่นของตนและสามารถปฏิบัติได้อย่างถูกต้องแล้ว ยังถือเป็นการสร้างโอกาสทำบุญร่วมกันช่วยให้เกิดความรักความสามัคคีขึ้นในหมู่พี่น้องนักศึกษา st12 st12 st12 “ผมในฐานะคนรุ่นใหม่รู้สึกเป็นห่วงจารีตประเพณีท้องถิ่นหลายอย่างของชาวลำปาง ถ้าไม่มีกิจกรรมเหล่านี้ ถ้าประเพณีต่าง ๆ ถูกลืมไปหรือไม่ได้รับการสืบทอดต่อกัน ก็จะทำให้ความสวยงามหรือความหมายของวัฒนธรรม ซึ่งเป็นสิ่งที่เป็นมงคลต่อตัวเรา เป็นอัตลักษณ์หรือเอกลักษณ์ของชาวลำปางสูญหายไปโดยที่เราไม่สามารถถามใครได้อีก เพราะหลายอย่างหาความรู้จากการอ่านค่อนข้างยากแล้วต้องใช้วิธีการปฏิบัติสืบต่อกัน ทั้งในครอบครัวและสถานศึกษาจึงต้องมีการเพาะบ่มสิ่งเหล่านี้” นายธีรชาติ กล่าวและว่า ตนรู้สึกภาคภูมิใจมากที่ได้มีส่วนสำคัญในการสืบสานประเพณีท้องถิ่นของตนเอง. ขอบคุณภาพข่าวจาก http://www.dailynews.co.th/education/236517 (http://www.dailynews.co.th/education/236517) |