สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

เรื่องทั่วไป => ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) => ข้อความที่เริ่มโดย: raponsan ที่ ตุลาคม 15, 2013, 12:24:53 pm



หัวข้อ: สัตว์เล็ก สัตว์ใหญ่ ฆ่าแล้วมีโทษต่างกันอย่างไร.?
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ ตุลาคม 15, 2013, 12:24:53 pm

(http://board.postjung.com/data/645/645608-topic-ix-25.jpg)

สัตว์เล็ก สัตว์ใหญ่ ฆ่าแล้วมีโทษต่างกันอย่างไร.?

วรรณนาจุลศีล             
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระพุทธประสงค์จะทรงแก้เนื้อความที่ได้ตรัสถามด้วยกเถตุกัมยตาปุจฉานั้น จึงตรัสพระบาลีอาทิว่า ปาณาติปาตํ ปหาย ดังนี้.
    ในคำว่า ละปาณาติบาต. ปาณาติบาต แปลว่า ทำสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วงไป.
    อธิบายว่า ฆ่าสัตว์ ปลงชีพสัตว์.
    ก็ในคำว่า ปาณะ นี้ โดยโวหาร ได้แก่สัตว์. โดยปรมัตถ์ ได้แก่ชีวิตินทรีย์.

    อนึ่ง เจตนาฆ่าอันเป็นเหตุยังความพยายามตัดรอนชีวิตินทรีย์ให้ตั้งขึ้น เป็นไปทางกายทวารและวจีทวาร ทางใดทางหนึ่งของผู้มีความสำคัญในชีวิตนั้นว่าเป็นสัตว์มีชีวิต ชื่อว่าปาณาติบาต.

     ans1 ans1 ans1

    ปาณาติบาตนั้น ชื่อว่ามีโทษน้อย ในสัตว์เล็ก.
    บรรดาสัตว์ที่เว้นจากคุณมีสัตว์เดรัจฉานเป็นต้น ชื่อว่ามีโทษมาก ในเพราะสัตว์มีร่างกายใหญ่.
    เพราะเหตุไร? เพราะต้องขวนขวายมาก.
    แม้เมื่อมีความพยายามเสมอกัน ก็มีโทษมาก เพราะมีวัตถุใหญ่.

    ในบรรดาสัตว์ที่มีคุณมีมนุษย์เป็นต้น สัตว์มีคุณน้อยมีโทษน้อย สัตว์มีคุณมากมีโทษมาก.
    แม้เมื่อมีสรีระและคุณเท่ากัน ก็พึงทราบว่า มีโทษน้อยเพราะกิเลสและความพยายามอ่อน มีโทษมากเพราะกิเลสและความพยายามแรงกล้า.



(http://picpost.postjung.com/data/149/149305-12-9819.jpg)


    ปาณาติบาตนั้นมีองค์ ๕ คือ               
       ๑. ปาโณ สัตว์มีชีวิต
       ๒. ปาณสญฺญิตา ตนรู้ว่าสัตว์มีชีวิต
       ๓. วธกจิตฺตํ จิตคิดจะฆ่า
       ๔. อุปกฺกโม มีความพยายาม ( ลงมือทำ )
       ๕. เตน มรณํ สัตว์ตายด้วยความพยายามนั้น.

    ปาณาติบาตนั้นมีประโยค ๖ คือ               
       ๑. สาหัตถิกประโยค ประโยคที่ฆ่าด้วยมือตนเอง
       ๒. อาณัตติกประโยค ประโยคที่สั่งให้คนอื่นฆ่า
       ๓. นิสสัคคิยประโยค ประโยคที่ฆ่าด้วยอาวุธที่ซัดไป
       ๔. ถาวรประโยค ประโยคที่ฆ่าด้วยอุปกรณ์ที่อยู่กับที่
       ๕. วิชชามยประโยค ประโยคที่ฆ่าด้วยวิชา
       ๖. อิทธิมยประโยค ประโยคที่ฆ่าด้วยฤทธิ์.

    st12 st12 st12

    ก็เมื่อข้าพเจ้าจะพรรณนาเนื้อความนี้ให้พิสดาร ย่อมจะเนิ่นช้าเกินไป ฉะนั้น จะไม่พรรณนาความนั้นและความอื่นที่มีรูปเช่นนั้นให้พิสดาร ส่วนผู้ที่ต้องการพึงตรวจดูสมันตปาสาทิกาอรรถกถาพระวินัย ถือเอาความเถิด.

    บทว่า ปหาย ความว่า ละโทษอันเป็นเหตุทุศีล นี้กล่าวคือ เจตนาทำปาณาติบาต.
    บทว่า ปฏิวิรโต ความว่า งด คือเว้นจากโทษอันเป็นเหตุทุศีลนั้น.
    จำเดิมแต่กาลที่ละปาณาติบาตได้แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นไม่มีธรรมที่จะพึงรู้ทางจักษุและโสตว่า เราจักละเมิดดังนี้ จะป่วยกล่าวไปไยถึงธรรมที่เป็นไปทางกายเล่า.
    แม้ในบทอื่นๆ ที่มีรูปอย่างนี้ ก็พึงทราบเนื้อความโดยนัยนี้แหละ.

    พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงได้โวหารว่า สมณะ เพราะเป็นผู้มีบาปสงบแล้ว.
    บทว่า โคตโม ความว่า ทรงพระนามว่า โคดม ด้วยอำนาจพระโคตร.
    มิใช่แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์เดียวเท่านั้นที่เว้นจากปาณาติบาต แม้ภิกษุสงฆ์ก็เว้นด้วย.
    .......ฯลฯ.....

___________________________________
อรรถกถา ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค พรหมชาลสูตร
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=9&i=1&p=4 (http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=9&i=1&p=4)
ภาพจาก http://board.postjung.com/ (http://board.postjung.com/) , http://picpost.postjung.com/ (http://picpost.postjung.com/)