หัวข้อ: เก็บภาพ “สุริยุปราคา” หายากพาดผ่านอเมริกา-ยุโรป-แอฟริกา เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ พฤศจิกายน 05, 2013, 08:35:59 am (http://mpics.manager.co.th/pics/Images/556000014356501.JPEG) ดาเมน วากาแมน (Damien Wagaman) ช่างภาพผู้บันทึกภาพนี้ เก็บภาพเหตุการณ์ขณะเกิดสุริยุปราคาในระยะบางส่วน ขณะพระอาทิตย์เหนืออ่าวในแอนนาโพลิส แมรีแลนด์ สหรัฐฯ (Damien Wagaman) เก็บภาพ “สุริยุปราคา” หายากพาดผ่านอเมริกา-ยุโรป-แอฟริกา ผ่านไปแล้วสำหรับปรากฏการณ์ “สุริปราคาแบบผสม” ซึ่งเป็นปรากฏการณ์หายาก สุริยุปราคาเต็มดวงและสุริยุปราคาวงแหวนเกิดขึ้นพร้อมๆ กัน โดยคราสได้พาดผ่านอเมริกา ยุโรป และแอฟริกาเมื่อดึกวันที่ 3 พ.ย. สุริยุปราคาแบบผสม (Hybrid Solar Eclipse) เป็นปรากฏการณ์สุริยุปราคาที่ไม่เกิดขึ้นบ่อย โดยบางที่พื้นที่จะเห็นเป็นปรากฏการณ์สุริยุปราคาวงแหวน ขณะที่บางที่เห็นเหตุการณ์เดียวกันนี้เป็นสุริยุปราคาเต็มดวง โดยปรากฏการณ์ล่าสุดเพิ่งเกิดขึ้นเมื่อกลางดึกวันที่ 3 พ.ย.2013 ตามเวลาประเทศไทย ซึ่งคราสเริ่มต้นที่ตอนใต้ของสหรัฐฯ และเคลื่อนไปเหนือมหาสมุทรแอตแลนติกและทวีปแอฟริกา http://www.youtube.com/watch?v=sJPhI6QcxPo#ws (http://www.youtube.com/watch?v=sJPhI6QcxPo#ws) บีบีซีนิวส์อ้างข้อมูลจากองค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐ (นาซา) ว่า จุดที่เกิดสุริยุปราคาเต็มดวงยาวนานที่สุดอยู่เหนือมหาสมุทรแอตแลนติก ขณะที่มุมมองที่ดีที่สุดอยู่ทางตอนเหนือของประเทศเคนย่า ทำให้บริษัททัวร์ต่างจัดนำเที่ยวไปชมปรากฏการณ์ดวงจันทร์บังดวงอาทิตย์ในครั้งนี้ ข้อมูลจากสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) อธิบายว่า ปรากฏการณ์สุริยุปราคาหายากนี้มีสาเหตุมาจาก โลก ดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์ อยู่ในตำแหน่งที่ทำให้มองเห็นขนาดปรากฏของดวงจันทร์และของดวงอาทิตย์มีขนาด เกือบเท่ากัน หรือใกล้เคียงกันมาก ทำให้มีทั้งเงามืดและเงามัวของดวงจันทร์ทอดลงบนพื้นโลก โดยบางตำแหน่งบนผิวโลกเห็นเป็นสุริยุปราคาเต็มดวง แต่บริเวณอื่นเห็นเป็นสุริยุปราคาวงแหวน (http://mpics.manager.co.th/pics/Images/556000014356502.JPEG) เคน กูดแมน (Ken Goodman) เก็บภาพสุริยุปราคาบางส่วนเหนือเมืองนิวยอร์กซิตียามเช้า ก่อนดวงอาทิตย์จะหลบเข้าไปในก้อนเมฆ โดยบันทึกภาพจากมุมเวสต์ออเรนจ์ นิวเจอร์ซี สหรัฐฯ (http://mpics.manager.co.th/pics/Images/556000014356503.JPEG) ภาพสุริยุปราคาระยะบางส่วนก่อนเต็มดวงจากเมืองไนโรบี เคนย่า ซึ่งเป็นทำเลที่เห็นปรากฏการณ์ครั้งนี้ได้ดีที่สุด แต่ระยะคราสเต็มดวงเกิดขึ้นเป็นเวลาสั้นๆ เพียง 15 วินาที (รอยเตอร์) (http://mpics.manager.co.th/pics/Images/556000014356504.JPEG) ปรากฏการณ์แหวนเพชรก่อนสุริยุปราคาเต็มดวงในระยะเวลาสั้นๆ ซึ่งบันทึกโดย เบน คูเปอร์ (Ben Cooper) ที่นั่งเครื่องบินพิเศษสำหรับตามล่าปรากฏการณ์สุริยุปราคา ซึ่งบันทึกที่ความสูง 43,000 ฟุต (สเปซด็อทคอม) (http://mpics.manager.co.th/pics/Images/556000014356505.JPEG) ภาพสุริยุปราคาระยะวงแหวนก่อนเต็มดวง ซึ่งบันทึกโดย เบน คูเปอร์ (Ben Cooper) ที่นั่งเครื่องบินพิเศษสำหรับตามล่าปรากฏการณ์สุริยุปราคา พร้อมผู้โดยสารอีก 12 คน โดยบันทึกภาพที่ความสูง 43,000 ฟุตเหนือมหาสมุทรแปซิฟิก (http://mpics.manager.co.th/pics/Images/556000014356506.JPEG) ภาพสุริยุปราคาในช่วงไม่กี่วินาทีก่อนเต็มดวงที่ช่างภาพรอยเตอร์บันทึกจากเมืองอัมมาน จอร์แดน (รอยเตอร์) (http://mpics.manager.co.th/pics/Images/556000014356507.JPEG) ประชาชนส่องปรากฏการณ์สุริยุปราคาจากอัมมาน จอร์แดน ผ่านกล้องที่ติดอุปกรณ์กันแสงดวงอาทิตย์ (รอยเตอร์) (http://mpics.manager.co.th/pics/Images/556000014356508.JPEG) ประชาชนส่องปรากฏการณ์สุริยุปราคาจากอัมมาน จอร์แดนด้วยแผ่นกรองแสงสำหรับชมปรากฏการณ์สุริยุปราคา (รอยเตอร์) (http://mpics.manager.co.th/pics/Images/556000014356509.JPEG) บรรยากาศชมปรากฏการณ์สุริยุปราคาที่สเปน (เอพี) (http://mpics.manager.co.th/pics/Images/556000014356510.JPEG) หนูน้อยเคนย่าใช้ฟิล์มเอ็กซเรย์ส่องปรากฏการณ์สุริยุปราคา (เอพี) (http://mpics.manager.co.th/pics/Images/556000014356511.JPEG) เด็กๆ ในเคนย่าใช้ฟิล์มเอ็กซเรย์ส่องปรากฏการณ์สุริยุปราคา (เอพี) (http://mpics.manager.co.th/pics/Images/556000014356512.JPEG) ประชาชนในอัมมาน จอร์แดน ใช้อุปกรณ์ส่องสุริยุปราคา ที่มีสัญลักษณ์สนับสนุน นายโมฮัมมัด มัวร์สี (Mohamed Mursi) อดีตประธานาธิบดีอียิปต์ (รอยเตอร์) (http://mpics.manager.co.th/pics/Images/556000014356513.JPEG) ชาวตูร์กานา (Turkana) ทั้งร้องทั้งเต้นระหว่างเกิดสุริยุปราคาตามความเชื่อ (รอยเตอร์) (http://mpics.manager.co.th/pics/Images/556000014356514.JPEG) เบน คูเปอร์ และเพื่อนร่วมทริปบนเที่ยวล่าสุริยุปราคา (สเปซด็อทคอม) อ่านเพิ่มเติม รู้ไหม "สุริยุปราคา" มีกี่ประเภท? (http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9520000080630) ขอบคุณภาพข่าวจาก http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9560000137133 (http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9560000137133) |