สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

เรื่องทั่วไป => ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) => ข้อความที่เริ่มโดย: raponsan ที่ พฤศจิกายน 28, 2013, 08:58:18 am



หัวข้อ: การเห็นธาตุในจงกรม
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ พฤศจิกายน 28, 2013, 08:58:18 am

(https://fbcdn-sphotos-b-a.akamaihd.net/hphotos-ak-prn2/1450282_660170214023413_935519421_n.jpg)

การเห็นธาตุในจงกรม

    ใน ๖ ส่วน ในแง่ของการยก(เท้าขึ้น) ธาตุทั้ง ๒ คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ มีประมาณต่ำ อ่อน
    ส่วนอีก ๒ ธาตุ(คือ เตโชธาตุ วาโยธาตุ) มีประมาณมาก มีกำลังในการย่างเท้าและในการย้ายเท้าก็เหมือนกัน

    ในการหย่อนเท้าลง ธาตุทั้ง ๒ คือ เตโชธาตุ วาโยธาตุมีปริมาณต่ำ อ่อน
    ส่วนอีก ๒ ธาตุ (คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ) มีประมาณมาก มีกำลัง ในการเหยียบและกดก็เหมือนกัน

    ครั้นโยคีทำ(ระยะของการก้าวเท้าก้าวหนึ่ง) ให้เป็น ๖ ส่วนอย่างนี้แล้ว   
    จึงยกพระไตรลักษณ์เข้าในรูปที่ถึงความแตกดับด้วยความเติบโตขึ้นตามวัยนั้น

     ask1 ask1 ans1 ans1

    โดยส่วนทั้งหลาย ๖ (ของก้าวเท้าก้าวหนึ่ง) เหล่านั้น ยกขึ้นอย่างไร?
    โยคีท่านนั้นพิจรณาเห็นอยู่ดังนี้ว่า ” ธาตุทั้งหลายในที่เป็นไป ในการยกเท้าขึ้นก็ดี รูปทั้งหลายใดอาศัยธาตุนั้นก็ดี สิ่งเหล่านั้นทั้งหมดยังไม่ทันถึงการย่างเท้า ก็ดับไปในการยกเท้าขึ้นนี่เอง
    เพราะฉะนั้น สิ่งเหล่านั้นทั้งหมด จึงเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

    อนึ่ง สิ่งทั้งหลายทั้งปวงที่เป็นไปในการย่างเท้า ยังไม่ทันถึงการย้ายเท้า….
    ที่เป็นไปในการย้ายเท้า ยังไม่ถึงกับการหย่อนเท้าลง ….
    ที่เป็นไปในการหย่อนเท้าลง ยังไม่ทันถึงการเหยียบ …..
    ที่เป็นไปในการเหยียบ ยังไม่ถึงกับการกด ก็ดับไปในการเหยียบนั่นเอง

    สังขารทั้งหลายที่เกิดขึ้นแล้วในนั้นๆ (มีการยกเท้าขึ้นเป็นต้น) ยังไม่ทันถึงส่วนนอกนี้ (และ) นอกนี้ ก็ทำเสียงตฏะตฏะแตกเป็นปล้องๆ เป็นข้อๆ เป็นท่อนๆ ณ ที่นั้นๆ นั่นเอง เหมือนเมล็ดงา ที่เขาวางลงบนแผ่นกระเบื้องอันร้อน ทำเสียงตฏะตฏะ (เปรี๊ยะๆ) แตกไป ฉะนั้น
    เพราะฉะนั้น สังขารทั้งหลายจึงเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ” ฉะนี้แล



(https://fbcdn-sphotos-c-a.akamaihd.net/hphotos-ak-prn1/996948_660169870690114_603762507_n.jpg)


    การกำหนดรู้รูปของโยคีท่านนี้ แจ้งสังขารทั้งหลายที่เป็นปล้องๆอย่างนี้ เป็นการกำหนดรู้ที่ละเอียดอ่อน
    ฉะนั้น การใช้คำในการสอดแทรกการอธิบายของตำราต่างๆ ท่านผู้เขียนตำราจะมีหมายเหตุไว้ว่า ทำไมจึงเรียกแบบนั้นแบบนี้ เพราะบางคำ หาคำเรียกที่ชัดเจนลงไปไม่ได้ เช่น

   วิปสฺสติ สมฺมสนฺติ ววฏฺฐเปต ปริคฺคคณหนฺติ ปริจฺฉินฺทติ แปลกันมาทางปริยัติว่า วิปสฺสนฺติ,
   วิปัสสนา = เห็นแจ้ง
   สมฺมสนฺติ, สมฺมสน = พิจรณา
   ววฏฺฐเปนฺติ, ววฏฺฐานํ (หรือ ววตฺถานํ) = กำหนด
   ปริคฺคโห, ปริคฺคหิตํ = ยึดถือ,หวงแหน
   ปริจฺฉินฺทนฺติ, ปริจฺเฉโท = กำหนด,จำแนก,ขอบเขต แต่ในทางปฏิบัติ มีความหมายตามไขคำว่า
   วิปสฺสนฺติ = เห็นด้วยวิปัสสนาญาณ (ตามลำดับญาณนั้นๆ)
   สมฺมสนฺติ, สมฺมสนํ = กำหนดรู้ อธิบายว่า กำหนด (เฉยๆ) ไม่รู้จะกำหนดไปทำไม?

   และจะแปลว่า พิจารณา (ตามที่เรียนมาทางปริยัติ) ก็เช่นกัน จะมัวไปพิจารณาอยู่ทำไม? กำหนดรู้ไปเลย
   และท่านใช้ชื่อญาณด้วย คือ สัมมาสนญาณ = ญาณกำหนดรู้
   ววฏฺฐเปนฺติ ก็แปลว่า กำหนดรู้ เช่น จตุธาตุววฏฺฐาน = กำหนดรู้ะาตุ ๔
   ปริคฺคณฺหนฺติ,ปริคฺคเหตฺวา,ปริคฺโห,ปริคฺคหตํ ก็แปลว่า กำหนดรู้

   ซึ่งในฎีกา(ปรมตฺถมญฺชูสา,ติตยภาค, น. ๔๘๘-๙) ให้แปลอย่างนั้น โดยอธิบายไว้ว่า
   ” ปริคฺคเหตฺวาติ ญาเณน ปริจฺฉิชฺช คเหตฺวา = กำหนดถือไว้ ด้วยญาณ “
   ส่วน ปริจฺฉินฺทนฺติ แปลว่า จำแนก,กำหนด จึงแปลไว้ในที่นี้ ตามแนวไขคำ

     :25: :25: :25:

    สิ่งที่นำมาแสดงตรงนี้ เพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจนขึ้น ในแง่ของสภาวะที่ต้องอาศัยบัญญัติในการคิดพิจารณา แต่โดยตัวสภาวะที่แท้จริง จะรู้ขึ้นในจิตเอง ไม่มีคำเรียก ไม่มีอะไรทั้งสิ้น แต่จะรู้โดยตัวสภาวะที่มาแสดงให้เห็นเอง
    ฉะนั้นการตีความในพระไตรปิฎก ต้องแม่นโดยตัวสภาวะก่อน จึงจะนำมาสื่อในแง่ของบัญญัติที่เป็นรูปธรรมที่สามารถจับต้องได้ แสดงให้เห็นภาพที่ชัดเจนได้ว่า สภาวะที่เกิดขึ้นณขณะนั้นๆโดยตัวของสภาวะเองนั้นเป็นอย่างไร

    การรู้ จะรู้ทีละขั้น คือ รู้แบบหยาบๆตามกำลังของสติ สัมปชัญญะและสมาธิ แล้วรู้นั้นๆจะมีความละเอียดมากขึ้นเรื่อยๆตามสภาวะที่มาแสดงให้เห็น เรียกว่า มหาปัจจเวกขณะ


จากบทความ : การเห็นสภาวะสันตติ-ฆนะ ในแง่ของบัญญัติ by walailoo
walailoo2010.wordpress.com/category/การเดินจงกรม/  (http://walailoo2010.wordpress.com/category/การเดินจงกรม/)
ขอบคุณภาพจาก http://www.flickr.com/photos/90000460@N08/with/8174856134/ (http://www.flickr.com/photos/90000460@N08/with/8174856134/)