หัวข้อ: ปีติ ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคและวิมุตติมรรค เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ ธันวาคม 01, 2013, 02:58:42 pm (https://fbcdn-sphotos-e-a.akamaihd.net/hphotos-ak-frc3/1382398_643137315726703_813945785_n.jpg) ปีติ จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ปิติ (บาลี: Pīti) หมายถึง ความอิ่มใจ ความดื่มด่ำ ประเภทของปีติ ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค แบ่งปีติเป็นห้าประเภท คือ ๑. ขุททกาปีติ ปีติเล็กน้อย พอขนชูชันน้ำตาไหล ๒. ขณิกาปีติ ปีติชั่วขณะ ทำให้รู้สึกแปลบๆเป็นขณะๆ ดุจฟ้าแลบ ๓. โอกกันติกาปีติ ปีติเป็นระลอก หรือปีติเป็นพักๆ ทำให้รู้สึกซู่ลงมาๆ ในกายดุจคลื่นซัดต้องฝั่ง ๔. อุพเพคาปีติ หรือ อุพเพงคาปีติ ปีติโลดลอย เป็นอย่างแรง ให้รู้สึกใจฟู แสดงอาการหรือทำการบางอย่างโดยมิได้ตั้งใจ เช่น เปล่งอุทาน เป็นต้น หรือให้รู้สึกตัวเบา เหมือนลอยขึ้นไปในอากาศ ๕. ผรณาปีติ ปีติซาบซ่าน ให้รู้สึกเย็นซ่านเอิบอาบไปทั่วสรรพางค์ ปีติที่ประกอบกับสมาธิ ท่านมุ่งเอาข้อนี้ - ขุททกาปีติและขณิกาปีติสามารถเข้าถึงได้ด้วยศรัทธา - โอกกันติกาปีตินั้นถ้ามีมากย่อมทำอุปจารสมาธิให้เกิดขึ้น - อุพเพคาปีติที่ยึดติดกับดวงกสิณ ทำให้ทั้งกุศลและอกุศลเกิดขึ้น และขึ้นอยู่กับความเชี่ยวชาญ - ผรณาปีติบุคคลทำให้เกิดขึ้นในสภาวะแห่งอัปปนาสมาธิ :49: :49: :49: ประเภทของปีติ ในคัมภีร์วิมุตติมรรค ยังมีการแบ่งอีกแบบหนึ่ง แบ่งปีติเป็นหกประการ คือ ๑. ปีติเกิดจากราคะ ความอิ่มใจเพราะความชอบ หลงใหล และความอิ่มใจที่ประกอบด้วยกิเลส ๒. ปีติเกิดจากศรัทธา ความอิ่มใจของบุคคลผู้มีศรัทธาอย่างแรงกล้า ๓. ปีติเกิดจากความไม่ดื้อด้าน ความอิ่มใจอย่างยิ่งของคนดี มีใจบริสุทธิ์ ๔. ปีติเกิดจากวิเวก ความอิ่มใจของบุคคลผู้เข้าปฐมฌาน ๕. ปีติเกิดจากสมาธิ ความอิ่มใจของบุคคลผู้เข้าทุติยฌาน ๖. ปีติเกิดจากโพชฌงค์ ความอิ่มใจที่เกิดจากการดำเนินตามโลกุตตรมรรค ในทุติยฌาน (https://fbcdn-sphotos-d-a.akamaihd.net/hphotos-ak-ash4/1378275_643135132393588_1360735968_n.jpg) ธรรมะที่เกี่ยวข้อง ปีติ พบรวมอยู่ในหลักธรรมอื่นๆทางพุทธศาสนา เช่น - โพชฌงค์ ๗ คือธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ ได้แก่ สติ ธัมมวิจยะ วิริยะ ปีติ ปัสสัทธิ สมาธิ อุเบกขา) - องค์ฌาน ได้แก่ ในปฐมฌานประกอบด้วย วิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกัคคตา) ทุติยฌานประกอบด้วย ปีติ สุข และเอกัคคตา) - นอกจากนี้ ปีติยังเป็นหนึ่งในวิปัสสนูกิเลส ๑๐ (อุปกิเลสแห่งวิปัสสนา) :25: :25: :25: ปีติเจตสิก ในคัมภีร์พระอภิธรรม มีการกล่าวถึงปีติในลักษณะที่เป็นเจตสิก (ธรรมชาติที่อาศัยจิตเกิด) เรียกว่า "ปีติเจตสิก" มีลักษณะดังนี้ คือ - มีความแช่มชื่นใจในอารมณ์เป็น "ลักษณะ" - มีการทำให้อิ่มกายอิ่มใจ หรือทำให้ซาบซ่านทั่วร่างกาย เป็น "กิจ" - มีความฟูใจเป็น "ผล" - มีนามขันธ์ ๓ ที่เหลือ ได้แก่ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และวิญญาณขันธ์) เป็น "เหตุใกล้" ธรรมชาติของปีตินี้ เมื่อเกิดขึ้นกับใครย่อมทำให้ผู้นั้นรู้สึกปลาบปลื้มใจ มีหน้าตาและกายวาจาชื่นบานแจ่มใสเป็นพิเศษ บางทีก็ทำให้รู้สึกซาบซ่านไปทั่วร่างกาย ซึ่งเกิดจากปีติแผ่ซ่านไปทั่วร่างกายนี่เอง และทำให้จิตใจของผู้นั้นแช่มชื่น เข้มแข็ง ไม่รู้สึกเหนื่อยหน่ายต่ออารมณ์ อาการปรากฏของปีตินี้ คือ ทำให้จิตใจฟูอื่มเอิบขึ้นมา ปีติจะเกิดขึ้นได้นั้น ย่อมต้องอาศัยนามขันธ์ ๓ คือ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และวิญญาณขันธ์ เป็นเหตุใกล้ให้เกิด เวทนาขันธ์ที่เป็นเหตุใกล้ให้เกิดปีตินั้น ย่อมอาศัยสุขเวทนา เป็นต้น เป็นเหตุให้ปีติเกิด ด้วยเหตุนี้เอง บางทีเราเข้าใจว่า ปีติและสุขเป็นอันเดียวกัน แยกจากกันไม่ได้ แต่ความจริงนั้นปีติกับสุขต่างกัน คือ ปีติเป็นสังขารขันธ์ สุขเป็นเวทนาขันธ์ และเมื่อมีปีติจะต้องมีสุขเสมอแน่นอน แต่ว่าเมื่อมีสุข อาจจะไม่มีปีติด้วยก็ได้ ที่มา th.wikipedia.org/wiki/ปีติ (http://th.wikipedia.org/wiki/ปีติ) ขอบคุณภาพจาก http://www.flickr.com/photos/90000460@N08/with/8174856134/ (http://www.flickr.com/photos/90000460@N08/with/8174856134/) หัวข้อ: Re: ปีติ ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคและวิมุตติมรรค เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ ธันวาคม 02, 2013, 07:18:45 am (https://fbcdn-sphotos-a-a.akamaihd.net/hphotos-ak-prn2/1393914_643137535726681_1094693742_n.jpg) ปิติ ๕ จากเว็บวัดถ้ำขวัญเมือง อ.สวี จ.ชุมพร ไม่ปรากฏแหล่งอ้างอิง ๑. ขุททกาปีติ มีลักษณะ คือ ๑. เกิดอาการคล้ายหนังหัวพองและขนลุก เป็นดังอาบน้ำในเวลาหนาว ๒. เกิดปรากฏเป็นดังเส้นผมตำแลคายเพียงเล็กน้อย ๓. เกิดในหทัยวัตถุให้สั่นระรัวเป็นดั่งปั่นผลหมาก ๔. เกิดในกายให้เนื้อตัวหนักมึนตึงและเวียนอยู่ ๒. ขณิกาปีติ มีลักษณะ คือ ๑. ให้ปรากฏในจักขุทวารเป็นดังฟ้าแลบและเป็นประกายดังตีเหล็กไฟ ๒. เกิดในกายทวารเป็นดังปลาซิวตอดในเวลาอาบน้ำ ๓. เกิดเนื้อเต้นและเอ็นกระตุก ๔. เกิดในกายให้ตัวร้อนทั่วไป ๕. เกิดแสบทั่วกาย ให้กายแข็งอยู่ ๖. เกิดเป็นดังแมลงเม่าไต่ตอมตามตัว ๗. เกิดในอกให้หัวใจและท้องร้อน ๘. เกิดในใจสั่นหวั่นไหว ๙. เกิดในกายให้เห็นเป็นสีเหลือง สีขาว เป็นไฟไหม้น้ำมันยางลามไปในน้ำ ๓. โอกกันติกาปีติ มีลักษณะ คือ ๑. กายไหวดังคลื่นกระทบฝั่ง ๒. เป็นดั่งน้ำกระเพื่อมเกิดเป็นฟองน้ำ ๓. เกิดเป็นดังขี่เรือข้ามน้ำมีระลอก ๔. กายและใจเป็นดังไม้ปักไว้กลางสายน้ำไหล สั่นระรัวอยู่ ๕. เป็นดังน้ำวน ๖. เป็นดังหัว อก ไหล่ และท้องน้อยหนักผัดผันอยู่ ๗. เกิดวาบขึ้นเป็นดังไฟลุก ๘ .เกิดเป็นดังลมพัดขึ้นทั่วกาย ๔. อุพเพงคาปีติ มีลักษณะ ๘ คือ ๑. เกิดพองกายเนื้อตัวทั้งมวลหวั่นไหวอยู่ ๒. เกิดเต้นเหยงๆ ขึ้น และลุกแล่นไป ๓. เกิดร้อนทั่วตัวและทั่วสันหลัง ศีรษะ สะเอว และท้องน้อย ๔. เกิดแสบร้อนเป็นไอขึ้นทั้งตัว เป็นดังไอข้าวสุกร้อน ๕. เกิดปวดท้อง และปวดน่องเป็นดังลงท้องเป็นบิด ๖. กายและเนื้อตัวเบาและสูงขึ้น ๗. หนักแข้งขา บั้นเอว ศีรษะ เป็นดังไข้จับ ๘. เกิดเป็นสมาธิหนัก และเย็นอยู่ ๕. ผรณาปีติ มีลักษณะ ๘ คือ ๑. เกิดในจักขุทวาร ดูกายเนื้อตัวนั้นแผ่ไป ดูใหญ่ และสูงขึ้น ๒. เกิดแผ่ไปทั่วกาย ให้ตัวเย็นเป็นดังลงแช่น้ำ ๓. กายยิบๆ แยบๆ เป็นดังไรไต่ ๔. เป็นดังประกายไฟพุ่งออกจากกระบอก ๕. กายเบาเป็นดังนั่งและนอนอยู่เหนือสำลี ๖. กายหนาวสั่นตัวงอ และหนักหางตาเป็นดังอาบน้ำในฤดูหนาว ๗. กายอุ่น และเป็นไอขึ้น ๘. กายเย็นซาบซ่านทั่วตัว หมายเหตุ ข้อธรรมนี้อยู่ในกลุ่มธรรมะหลวงพ่อสรวง อาจเป็นท่านที่เรียบเรียงเอาไว้ (พระอาจารย์สรวง ปริสุทฺโธ วัดถ้ำขวัญเมือง ต.นาโพธิ์ อ.สวี จ.ชุมพร) ที่มา http://www.wattham.org/wattham_chan4.php (http://www.wattham.org/wattham_chan4.php) ขอบคุณภาพจาก http://www.flickr.com/photos/90000460@N08/with/8174856134/ (http://www.flickr.com/photos/90000460@N08/with/8174856134/) |