หัวข้อ: คำทำนายของ "พระปุสสเถระ" : ศาสนา ๕ ยุค เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ ธันวาคม 02, 2013, 09:01:40 am (https://fbcdn-sphotos-a-a.akamaihd.net/hphotos-ak-frc3/1382226_644909565549478_714087629_n.jpg) คาถาสุภาษิตของพระปุสสเถระ [๓๙๕] ฤาษีมีชื่อตามโคตรว่า ปัณฑรสะ ได้เห็นภิกษุเป็นอันมาก ที่น่าเลื่อมใสมีตนอันอบรมแล้ว สำรวมด้วยดี จึงได้ถามพระปุสสเถระว่า ในอนาคตภิกษุทั้งหลายในศาสนานี้จักมีความพอใจอย่างไร มีความประสงค์อย่างไร กระผมถามแล้วขอจงบอกความข้อนั้นแก่กระผมเถิด? พระปุสสเถระจึงกล่าวตอบด้วยคาถาเหล่านี้ ความว่า ดูกรปัณฑรสฤาษี ขอเชิญฟังคำของอาตมา จงจำคำของอาตมาให้ดีอาตมาจะบอกซึ่งข้อความที่ท่านถามถึงอนาคต คือ ans1 ans1 ans1 ในกาลข้างหน้า ภิกษุเป็นอันมาก จักเป็นคนมักโกรธ มักผูกโกรธไว้ ลบหลู่คุณท่าน หัวดื้อ โอ้อวด ริษยา มีวาทะต่างๆ กัน จักเป็นผู้มีมานะในธรรมที่ยังไม่รู้ทั่วถึง คิดว่าตื้นในธรรมที่ลึกซึ้ง เป็นคนเบา ไม่เคารพธรรม ไม่มีความเคารพกันและกัน ในกาลข้างหน้า โทษเป็นอันมากจักเกิดขึ้นในหมู่สัตวโลก ก็เพราะภิกษุทั้งหลายผู้ไร้ปัญญา จักทำธรรมที่พระศาสดาทรงแสดงแล้วนี้ให้เศร้าหมอง ทั้งพวกภิกษุที่มีคุณอันเลว โวหารจัด แกล้วกล้า มีกำลังมาก ปากกล้า ไม่ได้ศึกษาเล่าเรียน ก็จักมีขึ้นในสังฆมณฑล ภิกษุทั้งหลายในสังฆมณฑล แม้ที่มีคุณความดี มีโวหารโดยสมควรแก่เนื้อความ มีความละอายบาป ไม่ต้องการอะไรๆก็จักมีกำลังน้อย :32: :32: :32: ภิกษุทั้งหลายในอนาคตที่ทรามปัญญาก็จะพากันยินดีเงินทอง ไร่นา ที่ดิน แพะ แกะและคนใช้หญิงชาย จักเป็นคนโง่มุ่งแต่จะยกโทษผู้อื่น ไม่ดำรงมั่นอยู่ในศีล ถือตัว โหดร้ายเที่ยวยินดีแต่การทะเลาะวิวาท จักมีใจฟุ้งซ่าน นุ่งห่มแต่จีวรที่ย้อมสีเขียวแดง เป็นคนลวงโลก กระด้าง เป็นผู้แส่หาแต่ลาภผล เที่ยวชูเขา คือ มานะ ทำตนดังพระอริยเจ้า ท่องเที่ยวไปอยู่เป็นผู้แต่งผมด้วยน้ำมัน ทำให้มีเส้นละเอียด เหลาะแหละ ใช้ยาหยอดและทาตา มีร่างกายคลุมด้วยจีวรที่ย้อมด้วยสีงาสัญจรไปตามตรอกน้อยใหญ่ จักพากันเกลียดชังผ้าอันย้อมด้วยน้ำฝาดเป็นของไม่น่าเกลียด พระอริยเจ้าทั้งหลายผู้หลุดพ้นแล้ว ยินดียิ่งนักเป็นธงชัยของพระอรหันต์ พอใจแต่ในผ้าขาวๆ จักเป็นผู้มุ่งแต่ลาภผล เป็นคนเกียจคร้าน มีความเพียรเลวทรามเห็นการอยู่ป่าอันสงัดเป็นความลำบาก จักใคร่อยู่ในเสนาสนะที่ใกล้บ้าน ภิกษุเหล่าใดยินดีมิจฉาชีพจักได้ลาภเสมอๆ จักพากันประพฤติตามภิกษุเหล่านั้น (เที่ยวคบหาราชสกุลเป็นต้น เพื่อให้เกิดลาภแก่ตน) ไม่สำรวมอินทรีย์เที่ยวไป (https://fbcdn-sphotos-g-a.akamaihd.net/hphotos-ak-ash3/1384300_644909728882795_1736643466_n.jpg) อนึ่ง ในอนาคตกาล ภิกษุทั้งหลายจะไม่บูชาพวกภิกษุที่มีลาภน้อย จักไม่สมคบภิกษุที่เป็นนักปราชญ์ มีศีลเป็นที่รักจักทรงผ้าสีแดงที่ชนชาวมิลักขะชอบย้อมใช้ พากันติเตียนผ้าอันเป็นธงชัยของตนเสีย บางพวกก็นุ่งห่มผ้าสีขาวอันเป็นธงของพวกเดียรถีย์ อนึ่ง ในอนาคตกาล ภิกษุเหล่านั้นจักไม่เคารพในผ้ากาสาวะ จักไม่พิจารณาในอุบายอันแยบคาย บริโภคผ้ากาสาวะ เมื่อทุกข์ครอบงำถูกลูกศรแทงเข้าแล้ว ก็ไม่พิจารณาโดยแยบคาย แสดงอาการยุ่งยากในใจออกมา มีแต่เสียงโอดครวญอย่างใหญ่หลวง เปรียบเหมือนช้างฉัททันต์ได้เห็นผ้ากาสาวะอันเป็นธงชัยของพระอรหันต์ที่นายโสณุตระพรานนุ่งห่มไปในคราวนั้น ก็ไม่กล้าทำร้าย ได้กล่าวคาถาอันประกอบด้วยประโยชน์มากมายว่า :96: :96: :96: ผู้ใดยังมีกิเลสดุจน้ำฝาด ปราศจากทมะและสัจจะจักนุ่งผ้ากาสาวะ ผู้นั้นย่อมไม่ควรนุ่งห่มผ้ากาสาวะ ส่วนผู้ใดคายกิเลสดุจน้ำฝาดออกแล้ว ตั้งมั่นอยู่ในศีลอย่างมั่นคง ประกอบด้วยทมะและสัจจะ ผู้นั้นจึงสมควรจะนุ่งห่มผ้ากาสาวะโดยแท้ ผู้ใดมีศีลวิบัติ มีปัญญาทราม ไม่สำรวมอินทรีย์ กระทำตามความใคร่อย่างเดียว มีจิตฟุ้งซ่าน ไม่ขวนขวายในทางที่ควร ผู้นั้นไม่สมควรจะนุ่งห่มผ้ากาสาวะ ส่วนผู้ใดสมบูรณ์ด้วยศีล ปราศจากราคะ มีใจตั้งมั่น มีความดำริในใจอันผ่องใส ผู้นั้นสมควรนุ่งห่มผ้ากาสาวะโดยแท้ ผู้ใดไม่มีศีล ผู้นั้นเป็นคนพาล มีจิตใจฟุ้งซ่าน มีมานะฟูขึ้น เหมือนไม้อ้อ ย่อมสมควรจะนุ่งห่มแต่ผ้าขาวเท่านั้นจักควรนุ่งห่มผ้ากาสาวะอย่างไร :96: :96: :96: อนึ่ง ภิกษุและภิกษุณีทั้งหลายในอนาคตจักเป็นผู้มีจิตใจชั่วร้าย ไม่เอื้อเฟื้อ จักข่มขี่ภิกษุทั้งหลายผู้คงที่มีเมตตาจิต แม้ภิกษุทั้งหลายที่เป็นคนโง่เขลา มีปัญญาทราม ไม่สำรวมอินทรีย์ กระทำตามความใคร่ถึงพระเถระให้ศึกษาการใช้สอยผ้าจีวรก็ไม่เชื่อฟัง พวกภิกษุที่โง่เขลาเหล่านั้นอันพระเถระทั้งหลายให้การศึกษาแล้ว เหมือนอย่างนั้น จักไม่เคารพกันและกัน ไม่เอื้อเฟื้อในพระอุปัชฌายาจารย์ จักเป็นเหมือนม้าพิการ ไม่เอื้อเฟื้อนายสารถีฉะนั้น :91: :91: :91: ในกาลภายหลังแต่ตติยสังคายนา ภิกษุและภิกษุณีทั้งหลายในอนาคต จักปฏิบัติอย่างนี้. ภัยอย่างใหญ่หลวงที่จะทำอันตรายต่อข้อปฏิบัติ ย่อมมาในอนาคตอย่างนี้ก่อน ขอท่านทั้งหลายจงเป็นผู้ว่าง่าย จงพูดแต่ถ้อยคำที่สละสลวย มีความเคารพกันและกัน มีจิตเมตตากรุณาต่อกัน จงสำรวมในศีล ปรารภความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว บากบั่นอย่างมั่นเป็นนิตย์ ขอท่านทั้งหลายจงเห็นความประมาทโดยความเป็นภัย และจงเห็นความไม่ประมาทโดยความเป็นของปลอดภัย แล้วจงอบรมอัฏฐังคิกมรรค เมื่อทำได้ดังนี้แล้วย่อมจะบรรลุพระนิพพานอันเป็นทางไม่เกิดไม่ตาย. ___________________________________________________ เถรคาถา ติงสนิบาต ๑. ปุสสเถรคาถา คาถาสุภาษิตของพระปุสสเถระ พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๘ ขุททกนิกาย วิมาน-เปตวัตถุ เถร-เถรีคาถา http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=26&A=7980&Z=8048 (http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=26&A=7980&Z=8048) ขอบคุณภาพจาก http://www.watpathumwanaram.com/main/gallery_detail.php?id=16 (http://www.watpathumwanaram.com/main/gallery_detail.php?id=16) หัวข้อ: Re: คำทำนายของ "พระปุสสเถระ" : ศาสนา ๕ ยุค เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ ธันวาคม 02, 2013, 09:14:00 am (https://fbcdn-sphotos-c-a.akamaihd.net/hphotos-ak-ash3/1378819_644910022216099_723409029_n.jpg) อรรถกถาปุสสเถรคาถา (ยกมาแสดงบางส่วน) พระเถระเมื่อจะแสดงถึงกาลนั้นนั่นแหละโดยสรุป จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า ปตฺเต กาลมฺหิ ปจฺฉิเม ในกาลภายหลังแต่ตติยสังคายนา ดังนี้. ก็ปัจฉิมกาลในคำนั้นเป็นไฉน? อาจารย์บางพวกตอบว่า ตั้งแต่ตติยสังคายนามา จัดเป็นปัจฉิมกาล, อาจารย์บางพวกไม่รู้คำนั้นเลย จริงอยู่ ยุคแห่งพระศาสนามี ๕ ยุค คือวิมุตติยุค สมาธิยุค ศีลยุค สุตยุคและทานยุค. บรรดายุคเหล่านั้น ยุคแรกจัดเป็นวิมุตติยุค, เมื่อวิมุตติยุคนั้นอันตรธานแล้ว สมาธิยุคก็เป็นไป, แม้เมื่อสมาธิยุคนั้นอันตรธานแล้ว ศีลยุคก็เป็นไป, แม้เมื่อศีลยุคนั้นอันตรธานแล้ว สุตยุคก็เป็นไปทีเดียว. ก็ผู้มีศีลไม่บริสุทธิ์ ประคับประคองปริยัตติธรรมและพาหุสัจจะให้ดำรงอยู่ได้ โดยอย่างเดียวหรือสองอย่าง เพราะค่าที่ตนมุ่งถึงลาภเป็นต้น. ans1 ans1 ans1 ก็ในคราวใด ปริยัตติธรรมมีมาติกาเป็นที่สุดย่อมอันตรธานไปทั้งหมด ตั้งแต่นั้นมาจักเหลือก็เพียงเพศเท่านั้น ในคราวนั้นคนทั้งหลายจะพากันรวบรวมเอาทรัพย์ตามมีตามได้แล้ว เสียสละโดยมุ่งให้ทาน, เล่ากันว่า การปฏิบัตินั้นจัดเป็นสัมมาปฏิบัติครั้งสุดท้ายของคนเหล่านั้น. บรรดายุคเหล่านั้น ตั้งแต่สุตยุคมาจัดเป็นปัจฉิมกาล, อาจารย์พวกอื่นกล่าวว่า ตั้งแต่ศีลยุคมาจึงจัดเป็นปัจฉิมกาลก็มี. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปุรา อาคจฺฉเต เอตํ ความว่า ภัยอย่างใหญ่หลวงที่จะทำอันตรายต่อข้อปฏิบัติที่เรากล่าวแล้วแก่พวกท่านทั้งหลายนั้น ย่อมมาในอนาคตอย่างนี้ก่อน คือจักมาจนถึงในกาลนั้นนั่นแล..ฯลฯ.. ___________________________________________ อรรถกถา ขุททกนิกาย เถรคาถา ติงสนิบาต, ๑. ปุสสเถรคาถา อรรถกถาเถรคาถา ติงสนิบาต, อรรถกถาปุสสเถรคาถาที่ ๑ http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=26&i=395 (http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=26&i=395) ขอบคุณภาพจาก http://www.watpathumwanaram.com/main/gallery_detail.php?id=16 (http://www.watpathumwanaram.com/main/gallery_detail.php?id=16) |