สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

เรื่องทั่วไป => forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน => ข้อความที่เริ่มโดย: raponsan ที่ มกราคม 08, 2014, 09:30:36 am



หัวข้อ: 'อุปลวณฺโณคัพ ๒๐๑๓' วิธีดึงคนเข้าวัดในแบบ 'ครูบาจง อุปลวัณโณ'
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ มกราคม 08, 2014, 09:30:36 am

(http://www.komchadluek.net/media/img/size_photo_slide/2014/01/06/aabkbah6f7fbjij98e8bc.jpg)

'อุปลวณฺโณคัพ ๒๐๑๓' วิธีดึงคนเข้าวัดในแบบ 'ครูบาจง อุปลวัณโณ'
เรื่อง : ไตรเทพ ภาพ: กุลพันธ์ ศิริพิมพ์อัมพร

     "อุปลวณฺโณคัพ" หรือ "UPALAWANNO CUP ๒๐๑๓" เป็นโครงการจัดการแข่งขันฟุตบอลต้านภัยยาเสพติด ชิงถ้วย พล.ต.ชาตรี เศษรฐกร หัวหน้าศูนย์ข่าวยาเสพติด กองทัพภาคที่ ๓   ของเจ้าอธิการบุญต่อ อุปลวัณโณ หรือครูบาจง เจ้าอาวาสวัดศรีสว่าง (วัวลาย) และเจ้าคณะตำบลหารแก้ว อ.หางดง จ.เชียงใหม่ หรือที่ชาวบ้านใน อ.หางดง เรียกขานนามของท่านว่า “ตุ๊จง”

      ทั้งนี้ เมื่อวันที่ ๗ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๖ เป็นวันเปิดสนาม ณ สนามศีลพิลาสอนุสรณ์ ต.หารแก้ว อ.หางดง จ.เชียงใหม่ โดยมี พ.อ.จิตติวัศร์ ศรสุวรรณ์ เป็นประธานดำเนินงาน พร้อมด้วยแมทช์การกุศลเป็นการแข่งขันฟุตบอลระหว่าง ทีมศิษย์เจ้าอธิการบุญต่อ ปะทะกับทีมร่วมดารา นำทีมโดย "ออย" ธนา สุทธิกมล และ "ไมค์" ภัทรเดช สงวนความดี โดยมีชาวบ้านร่วมชมนับพัน ได้รับการสนับสนุนและจัดกิจกรรมระหว่างการแข่งขันโดยห้าง PROMENADA Resort Mall Chiang Mai, กุญแจ SOLO, เครื่องเสียงติดรถยนต์ Piority และน้ำดื่มช้าง

      :49: :49: :49:

     "การดึงคนเข้าวัดมีหลายวิธี บางคนเข้าวัดเพื่อกราบไหว้ขอพรพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ บางคนเข้าวัดเพื่อปฏิบัติธรรม บางคนเข้าวัดเพื่อประกอบพิธีกรรม บางคนเข้าวัดเพื่อชื่นชมความงดงานทางสถาปัตยกรรม ส่วนอาตมาใช้ฟุตบอลดึงคนเข้าวัด ไม่ว่าคนจะเข้าวัดด้วยเหตุผลใดก็ตามอย่างน้อยก็ได้เห็นพระ ได้ใกล้ชิดพระพุทธศาสนา อาตมาไม่ได้คาดหวังอะไรมากกว่าได้ข้อคิด หรือคติธรรมเพียงข้อเดียวเท่านั้นพอ" นี่เป็นเหตุผลในสนับสนุนการแข่งขันฟุตบอลของครูบาจง

      พร้อมกันนี้ ครูบาจง ยังยกตัวอย่างบางท่อนของเพลง "เพลงกราวกีฬา" ซึ่งป็นเพลงที่นิยมใช้ในการเชียร์กีฬา ประพันธ์คำร้องโดย ครูเทพ เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี หรือ นามจริง สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา ส่วนทำนองประพันธ์โดย นารถ ถาวรบุตร ซึ่งประพันธ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๔๓๗ เพื่อใช้ในการแข่งกีฬาสีของนักเรียนโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ต่อมาเพลงนี้ได้รับความนิยมและแพร่หลายออกไปสู่การแข่งขันกีฬาทั่วไป

           "ใจคอมั่นคงทรงศักดิ์ รู้จักทีหนีทีไล่
           รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย   ไว้ใจได้ทั่วทั้งรักชัง   
           ไม่ชอบเอาเปรียบเทียบแข่งขัน สู้กันซึ่งหน้าอย่าลับหลัง
           มัวส่วนตัวเบื่อเหลือกำลัง   เกลียดชังการเล่นเห็นแก่ตัว"

      :welcome: :welcome: :welcome:

     ครูบาจง ยังบอกด้วยว่า การแข่งขันกีฬาทุกชนิดสิ่งที่ได้มากกว่าสุขภายกาย คือ สุขภาพใจ การเรียนรู้ที่จะยอมรับความพ่ายแพ้ และแสดงความยินดีแก่ผู้ชนะ เป็นจุดประสงค์หลักอย่างหนึ่งของกีฬา หากสังคมของเราเต็มเปี่ยมไปด้วยคนที่เปี่ยมไปด้วยสปิริตของนักกีฬา เราคงไม่เห็นความแตกแยกแบ่งฝักแบ่งฝ่าย ความขัดแย้ง การเอารัดเอาเปรียบซึ่งกันในสังคม ไม่รู้จักแพ้ ไม่รู้จักชนะ ไม่รู้จักการให้อภัย สังคมเราคงจะน่าอยู่ขึ้นมาก

     นอกจากนี้แล้วการให้อภัยก็ถือว่าสำคัญไม่ยิ่งหย่อนกว่าอย่างอื่น การรู้แพ้ไม่ใช่เป็นสิ่งที่ไม่ดี มันแตกต่างกับการยอมความแพ้ ทุกครั้งที่เราเล่นด้วยหัวใจ แม้จะรู้ตัวว่าต้องแพ้แน่ๆ ทำหน้าที่ของตัวเองให้สุดความสามารถบนพื้นฐานของกติกามารยาทอย่างสมศักดิ์ศรี เมื่อพบกับความพ่ายแพ้ก็ฝึกฝนตัวเองให้ยอมรับกับมันแต่โดยดีโดยไม่ต้องโทษสิ่งอื่นใด ในทางกลับกันเมื่อเราเป็นผู้ชนะก็ต้องเรียนรู้ที่จะเป็นผู้ชนะที่ดี การเป็นผู้ชนะในสนามแข่งขันไม่ได้หมายความว่าเราจะชนะไปเสียทุกอย่าง

     "หากวงการกีฬาเปี่ยมไปด้วยสปิริตของนักกีฬา หากสังคมของเราเต็มเปี่ยมไปด้วยคนที่เปี่ยมไปด้วยสปิริตของนักกีฬา เราคงไม่เห็นความแตกแยกแบ่งฝักแบ่งฝ่าย ความขัดแย้ง การเอารัดเอาเปรียบซึ่งกันในสังคม ไม่รู้จักแพ้ ไม่รู้จักชนะ ไม่รู้จักการให้อภัย สังคมเราคงจะน่าอยู่ขึ้นมากกว่าที่เป็นอยู่" ครูบาจงกล่าวทิ้งท้าย



(http://www.komchadluek.net/media/img/size1/2014/01/06/bhjfdj88hdegbbfkhb7b9.jpg)


พิพิธภัณฑ์ครูบาจันทร์แก้ว

      วัตถุมงคล “รุ่นเสริมบารมี” ของครูบาจง จัดสร้างขึ้นเพื่อ ๑.สมทบทุนการก่อสร้างพิพิธภัณฑ์ของครูบาจันทร์แก้ว คันธสีโล วัดศรีสว่าง (วัวลาย) ๒.เพื่อใช้เป็นค่าใช้จ่ายในการเททองรูปเหมือนครูบาจันทร์แก้ว คันธสีโล ๓.เพื่อหารายได้สมทบทุนบูรณะพระอุโบสถวัดศรีบุญชู อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร และ ๔.มอบวัตถุมงคลเหรียญหลวงปู่ทวด หลังครูบาศรีวิชัย แจกให้ทหารและตำรวจในสามจังหวัดชายแดนใต้ เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจ

    ประกอบด้วย
    ๑.พระรูปเหมือนครูบาจันทร์แก้ว ขนาดหน้าตัก ๕ นิ้ว และ ๑๒ นิ้วบรรจุอัฐิธาตุและอังคารธาตุของครูบาจันทร์แก้ว
    ๒.พระกริ่งอุปลวัณโณรุ่นแรกบรรจุอัฐิธาตุและอังคารธาตุของครูบาจันทร์แก้ว
    ๓.หลวงพ่อทวดหลังเตารีด
    ๔.ล็อกเกตเล็กครูบาศรีวิชัย สิริวิชโย หลังเหรียญเสือปีเกิด และ
    ๕.วัวธนูมหาอำนาจเสริมบารมีรุ่นแรกของครูบาจงอุปลวัณโณ
    ทั้งนี้ ได้ประกอบพิธีมหาพุทธาภิเษก ระหว่างวันที่ ๑๔-๑๕ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๖ พระธรรมมังคลาจารย์ (ครูบาทองสิริมังคโล) วัดพระธาตุศรีจอมทอง อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ เป็นประธานจุดเทียนชัย

     :49: :49: :49:

      นอกจากนี้แล้วเมื่อวันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๖ คณะกรรมการวัด ได้จัดให้มีพิธีสืบชะตาหลวงครูบาจง พร้อมทำพิธีเททองหล่อ พระพุทธพรรณีศรีอริยเมตไตย (ถวายนามโดยพระธรรมคุณาภรณ์ เจ้าอาวาสวัดปทุมคงคง กรุงเทพฯ) พระพุทธอุปลวณฺโณสัมปันโณ และองค์รูปเหมือนสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ขนาดใหญ่ โดยมีเจ้าอธิการบุญต่อ อุปลวณฺโณ, พล.ต.ศรายุท รังษี ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ ๓๓ ค่ายกาวีละ จ.เชียงใหม่, นายกิตติพงศ์ สุประดิษฐ์ ณ อยุธยา ลูกหลานสายตรงสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นที่ ๗ พร้อมด้วยชาวบ้าน ร่วมเททองหล่อ


(http://www.komchadluek.net/media/img/size1/2014/01/06/6jcc5feg97hbbcekff8gj.jpg)


งานเพื่อ“คนบ้านกวน"

      “กลุ่มเครื่องปั้นดินเผาบ้านกวน” เป็นวิสาหกิจชุมชนของบ้านกวน หมู่ ๖ ต.หารแก้ว อ.หางดง จ.เชียงใหม่ เป็นการร่วมกลุ่มของคนในชุมชนในการปั้นเครื่องปั้นดินเผาเป็นสินค้าโอท็อปของชุมชน ได้แก่ การปั้นหม้อน้ำ กระถาง เตาอังโล่ ฯลฯ โดยความอุปถัมภ์ของครูบาจง
 
      ครูบาจงเล่าให้ฟังว่า การทำเครื่องปั้นดินเผาหรือการปั้นหม้อแบบพื้นบ้านของชุมชนบ้านกวนเริ่มทำกันมาตั้งแต่สมัยพญามังรายมหาราช คือเมื่อกว่า ๗๐๐ ปีที่ผ่านมา เมื่อพญามังรายมหาราช ยกทัพจากเมืองไชยปราการมาตีเมืองลำพูนได้แล้วก็มาสร้างเมืองกุมกามขึ้นและอพยพผู้คนมาจากเมืองแสนทวีและสิบสองปันนามาอยู่ ณ เวียงกุมกาม ในจำนวนนั้นมีช่างที่ทำเครื่องเงินและช่างปั้นหม้อร่วมเดินทางมาด้วย

      st12 st12 st12

     หลังจากสร้างเวียงกุมกามได้ ๓ ปี มีน้ำท่วมตลอดทุกปี จึงโปรดให้ย้ายขึ้นไปสร้างเมืองเชียงใหม่และโปรดให้ย้ายช่างทำเครื่องปั้นดินเผาไปอยู่ที่บ้านกวน ช่างทำเครื่องเงินไปอยู่ที่บ้านวัวลาย เพื่อทำเป็นสินค้าส่งออกให้อาณาจักรใกล้เคียงและเพื่อใช้ในชีวิตประจำวันของคนในชุมชนด้วย

     ทั้งนี้ ครูบาจงพูดทิ้งท้ายไว้อย่างน่าคิดว่า “คนบ้านกวนทำเครื่องปั้นดินเผาขายเลี้ยงครอบครัวมาตั้งแต่สมัยโบราณ  อาตมาไม่อยากให้ประวัติศาสตร์การปั้นหม้อของชุมชนบ้านกวนสูญหายจากแผ่นดินล้านนา หากปล่อยให้ต่างคนต่างปั้น ต่างคนต่างขาย จำนวนคนปั้นก็จะน้อยลง ในที่สุดก็จะหมดไป แต่เมื่อตั้งกลุ่มขึ้นมาเมื่อ พ.ศ.๒๕๕๔ สิ่งที่ตามมาคือทั้งจำนวนคนปั้นและจำนวนหม้อก็เพิ่มขึ้น รวมทั้งรายได้ของชาวบ้านที่เพิ่มขึ้น”


ขอบคุณภาพข่าวจาก
http://www.komchadluek.net/detail/20140107/176300.html (http://www.komchadluek.net/detail/20140107/176300.html)


หัวข้อ: Re: 'อุปลวณฺโณคัพ ๒๐๑๓' วิธีดึงคนเข้าวัดในแบบ 'ครูบาจง อุปลวัณโณ'
เริ่มหัวข้อโดย: kobyamkala ที่ มกราคม 08, 2014, 09:45:04 am
 st12 st12 st12