สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

เรื่องทั่วไป => ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) => ข้อความที่เริ่มโดย: Tumdee ที่ มกราคม 21, 2014, 03:55:06 pm



หัวข้อ: ทำบุญโดยไม่หวังผลบุญ ทำอย่างไร เพราะทำที่ไร ก็ปรารถนาได้บุญทุกครั้ง
เริ่มหัวข้อโดย: Tumdee ที่ มกราคม 21, 2014, 03:55:06 pm
 ask1

ทำบุญโดยไม่หวังผลบุญ ทำอย่างไร เพราะทำที่ไร ก็ปรารถนาได้บุญทุกครั้ง

  เคยแต่ฟังมาว่า ทำอะไรไม่ต้องหวังผล ถ้าไม่หวังผลแล้ว จะทำ ไป ทำไม ผมเลยไม่รู้ว่า ทำบุญหวังผลบุญนั้นเป็นความผิดด้วยหรือ และการทำบุญโดยไม่หวังผลบุญ นี้ทำอย่างไร กันละครับ

  thk56


หัวข้อ: Re: ทำบุญโดยไม่หวังผลบุญ ทำอย่างไร เพราะทำที่ไร ก็ปรารถนาได้บุญทุกครั้ง
เริ่มหัวข้อโดย: saieaw ที่ มกราคม 21, 2014, 07:22:33 pm
น่าสนใจ คะ

 :49:


หัวข้อ: Re: ทำบุญโดยไม่หวังผลบุญ ทำอย่างไร เพราะทำที่ไร ก็ปรารถนาได้บุญทุกครั้ง
เริ่มหัวข้อโดย: fasai ที่ มกราคม 21, 2014, 11:41:09 pm
ทานูปฏินิสสัคคา การทำทานแบบพระพุทธศาสนา 8 ประการ ลองค้นหาดู นะ ถ้าจำไม่ผิด

 :58:


หัวข้อ: Re: ทำบุญโดยไม่หวังผลบุญ ทำอย่างไร เพราะทำที่ไร ก็ปรารถนาได้บุญทุกครั้ง
เริ่มหัวข้อโดย: SRIYA ที่ มกราคม 22, 2014, 02:30:17 am
ทำบุญโดยไม่หวังผล เป็นเรื่องที่ส่วนตัวทำไม่ได้คะ เพราะทุกครั้งที่ทำบุญก็จะอธิษฐาน ให้ได้บุญให้ได้ผล โดยไวคะ

แล้วทำอย่างไร ถึงจะทำบุญโดยไม่หวังผล

  :88: :49:


หัวข้อ: Re: ทำบุญโดยไม่หวังผลบุญ ทำอย่างไร เพราะทำที่ไร ก็ปรารถนาได้บุญทุกครั้ง
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ มกราคม 22, 2014, 11:39:07 am
ทานูปฏินิสสัคคา การทำทานแบบพระพุทธศาสนา 8 ประการ ลองค้นหาดู นะ ถ้าจำไม่ผิด

 :58:


     ans1 ans1 ans1

    คุณฟ้าใสเก่งมาก เรื่องนี้มีอยู่ใน สังคีติสูตร
    อยู่ในพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๑  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓ ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค
    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=11&A=4501&Z=7015 (http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=11&A=4501&Z=7015)

    [๓๔๕] ทานวัตถุ ๘ อย่าง
         ๑. ให้ทานเพราะประจวบเหมาะ ๑- (@๑. มีผู้รับมาถึงเข้าก็ให้)
         ๒. ให้ทานเพราะกลัว
         ๓. ให้ทานโดยคิดว่า เขาได้เคยให้แก่เรา
         ๔. ให้ทานโดยคิดว่า เขาจักให้แก่เรา
         ๕. ให้ทานโดยคิดว่า การให้ทานเป็นการดี
         ๖. ให้ทานโดยคิดว่า เราหุงต้ม คนเหล่านี้มิได้หุงต้ม เราหุงต้มอยู่จะไม่ให้แก่ผู้ที่มิได้หุงต้ม ย่อมไม่สมควร
         ๗. ให้ทานโดยคิดว่า เมื่อเราให้ทานนี้ เกียรติศัพท์อันดีงาม ย่อมจะระบือไป
         ๘. ให้ทานเพื่อประดับจิต และเป็นบริขารของจิต ฯ


          :25: :25: :25:

ทำบุญโดยไม่หวังผล เป็นเรื่องที่ส่วนตัวทำไม่ได้คะ เพราะทุกครั้งที่ทำบุญก็จะอธิษฐาน ให้ได้บุญให้ได้ผล โดยไวคะ

แล้วทำอย่างไร ถึงจะทำบุญโดยไม่หวังผล

  :88: :49:

 ans1 ans1 ans1

    ในสังคีติสูตร ได้กล่าวถึงการทำบุญแล้วอธิษฐาน ไว้ด้งนี้
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๑  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓ ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค
    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=11&A=4501&Z=7015 (http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=11&A=4501&Z=7015)

     [๓๔๖] ทานุปบัติ ๘ อย่าง
     ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พักและสิ่งที่เป็นอุปกรณ์แก่ประทีป เป็นทานแก่สมณะหรือพราหมณ์ เขาย่อมมุ่งหวังสิ่งที่ตนถวายไป
     เขาเห็นกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล ผู้เพรียบพร้อมพรั่งพร้อม ได้รับการบำรุงบำเรอด้วยกามคุณห้าอยู่
     เขาจึงคิดอย่างนี้ว่า โอหนอเบื้องหน้า แต่ตายเพราะกายแตก เราพึงเข้าถึงความเป็นสหายของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล
     เขาตั้งจิตนั้นไว้ อธิษฐานจิตนั้นไว้ อบรมจิตนั้นไว้ จิตของเขานั้นน้อมไปในสิ่งที่เลว มิได้รับอบรมเพื่อคุณเบื้องสูงย่อมเป็นไปเพื่อเกิดในที่นั้น ก็ข้อนั้นแล เรากล่าวสำหรับผู้มีศีล ไม่ใช่สำหรับผู้ทุศีล ผู้มีอายุทั้งหลาย ความตั้งใจของผู้มีศีลย่อมสำเร็จได้เพราะเป็นของบริสุทธิ์ ฯ

     ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมถวายข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พักและที่เป็นอุปกรณ์แก่ประทีปเป็นทานแก่สมณะ หรือพราหมณ์ เขาย่อมมุ่งหวังสิ่งที่ตนถวายไป
     เขาได้ยินมาว่า พวกเทพเหล่าจาตุมหาราชิกา มีอายุยืน มีวรรณะมากด้วยความสุขดังนี้
     เขาจึงคิดอย่างนี้ว่า โอหนอ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เราพึงเข้าถึงความเป็นสหายของพวกเหล่าจาตุมหาราชิกา
     เขาตั้งจิตนั้นไว้ อบรมจิตนั้นไว้ อธิษฐานจิตนั้นไว้ จิตของเขานั้นน้อมไปในสิ่งที่เลว มิได้รับอบรมเพื่อคุณเบื้องสูง ย่อมเป็นไปเพื่อเกิดในที่นั้น ก็ข้อนั้นแล เรากล่าวสำหรับผู้มีศีล ไม่ใช่สำหรับผู้ทุศีล ผู้มีอายุทั้งหลาย ความตั้งใจของผู้มีศีลย่อมสำเร็จได้ เพราะเป็นของบริสุทธิ์ ฯ

    ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก บุคคลบางคนในโลกนี้ย่อมถวายข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอนที่พักและสิ่งที่เป็นอุปกรณ์แก่ประทีป เป็นทานแก่สมณะหรือพราหมณ์ เขาย่อมมุ่งหวังสิ่งที่ตนถวายไป
    เขาได้ยินมาว่า  พวกเทพเหล่าดาวดึงส์มีอายุยืน มีวรรณะ มากด้วยความสุขดังนี้
    เขาจึงคิดอย่างนี้ว่า โอหนอ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เราพึงเข้าถึงความเป็นสหายของพวกเทพเหล่าดาวดึงส์
    เขาตั้งจิตนั้นไว้ อธิษฐานจิตนั้นไว้ อบรมจิตนั้นไว้ จิตของเขานั้นน้อมไปในสิ่งที่เลวมิได้รับอบรมเพื่อคุณเบื้องสูง ย่อมเป็นไปเพื่อเกิดในที่นั้น ก็ข้อนั้นแลเรากล่าวสำหรับผู้มีศีล ไม่ใช่สำหรับผู้ทุศีล ผู้มีอายุทั้งหลาย ความตั้งใจของผู้มีศีล ย่อมสำเร็จได้เพราะเป็นของบริสุทธิ์ ฯ


     :25: :25: :25:


หัวข้อ: Re: ทำบุญโดยไม่หวังผลบุญ ทำอย่างไร เพราะทำที่ไร ก็ปรารถนาได้บุญทุกครั้ง
เริ่มหัวข้อโดย: Akira ที่ มกราคม 22, 2014, 11:58:44 am
 st11 st11 st12


หัวข้อ: Re: ทำบุญโดยไม่หวังผลบุญ ทำอย่างไร เพราะทำที่ไร ก็ปรารถนาได้บุญทุกครั้ง
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ มกราคม 22, 2014, 12:40:00 pm
ask1

ทำบุญโดยไม่หวังผลบุญ ทำอย่างไร เพราะทำที่ไร ก็ปรารถนาได้บุญทุกครั้ง

  เคยแต่ฟังมาว่า ทำอะไรไม่ต้องหวังผล ถ้าไม่หวังผลแล้ว จะทำ ไป ทำไม ผมเลยไม่รู้ว่า ทำบุญหวังผลบุญนั้นเป็นความผิดด้วยหรือ และการทำบุญโดยไม่หวังผลบุญ นี้ทำอย่างไร กันละครับ

  thk56


     ans1 ans1 ans1

    การทำบุญโดยหวังผลนั้น ไม่ใช่เรื่องเสียหายอะไร หากหวังในสิ่งที่เป็นกุศล ในเรื่องที่เป็นไปโดยไม่เบียดเบียนผู้อื่น ขอให้พิจารณาบารมี ๑๐ ทำไมต้องมีอธิษฐานบารมี การปรารถนาสัมมาสัมโพธิญาณของพระพุทธเจ้าองค์ใดองค์หนึ่งจำเป็นต้องใช้อธิษฐานบารมี ดังนั้นการหวังผลจากบุญ จึงไม่อาจกล่าวว่าผิดได้

    การทำบุญโดยไม่หวังผลนั้น เป็นไปได้ยาก บางคนอาจให้เพราะเพื่อตัดความรำคาญ เพราะความโกรธ เพราะต้องการประชด หรือบางคนอาจบอกว่า ให้เพราะอยากให้ ให้เพื่ออยากเห็นผู้รับดีใจ(ขอให้ดูทานวัตถุ ๘ อย่างประกอบ)
   คติทางพุทธนั้นการทำบุญแม้จะไม่หวังผล ไม่ได้อธิษฐานอะไร แต่ผลที่จะแสดงเป็นวิบากกรรมฝ่ายกุศลนั้น ต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอนในอนาคต จะหลีกเลี่ยงไม่ได้ จะเป็นไปโดยอัติโนมัติ

    ขอยกเรื่อง ตัณหา 3 มาแสดง
    ตัณหา 3 (ความทะยานอยาก)
        1. กามตัณหา (ความทะยานอยากในกาม, ความอยากได้กามคุณ คือสิ่งสนองความต้องการทางประสาททั้งห้า)
        2. ภวตัณหา (ความทะยานอยากในภพ, ความอยากในภาวะของตัวตนที่จะได้จะเป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง อยากเป็น อยากคงอยู่ตลอดไป, ความใคร่อยากที่ประกอบด้วยภวทิฏฐิหรือสัสสตทิฏฐิ)
        3. วิภวตัณหา (ความทะยานอยากในวิภพ, ความอยากในความพรากพ้นไปแห่งตัวตนจากความเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งอันไม่ปรารถนา อยากทำลาย อยากดับสูญ, ความใคร่อยากที่ประกอบด้วยวิภวทิฏฐิหรืออุจเฉททิฏฐิ)

    ถามว่า การทำบุญหรือการปฏิบัติธรรมเป็นตัณหาหรือไม่.?
    ตอบว่า แยกเป็นสองกรณี
    กรณีแรก อาจกล่าวได้ว่าเป็นตัณหาฝ่ายกุศล คือ ภวตัณหา หากต้องการไปสุคติ และเป็นวิภวตัณหา หากปรารถนานิพพาน
    อีกกรณีหนึ่ง หลวงพ่อฤาษีลิงดำกล่าวว่า ไม่ควรเรียกว่าตัณหา ให้ใช้คำว่า "ธรรมฉันทะ"
    ฉันทะ คือ ความพอใจ ความต้องการที่จะทำ ใฝ่ใจรักจะทำสิ่งนั้นอยู่เสมอ และปรารถนาจะทำให้ได้ผลดียิ่งๆ
     
    การทำอะไรแล้วไม่มีผลเป็นวิบาก สำหรับปุถุชนแล้วไม่มีครับ เนื่องจากยังมีตัณหา ยังมีความปรารถนาอยู่
    การทำอะไรแล้วไม่มีผลเป็นวิบาก จะเป็นไปได้ต่อเมื่อผู้นั้นไม่มีตัณหา
    จะเป็นใครไปไม่ได้ ต้องเป็นอรหันต์เท่านั้น ไม่ว่าอรหันต์จะทำกรรมอะไร จะไม่มีผลใดๆที่เป็นวิบาก
    ภาษาอภิธรรมเรียกจิตขณะนั้นว่า "มหากิริยาจิต"

    ถึงตรงนี้ขอสรุปว่า การทำบุญโดยไม่หวังผล เป็นไปไม่ได้ในปุถุชน
    การไม่หวังผลบุญเลยนั้น เป็นเรื่องของคนไม่มีกิเลส เป็นอรหันต์นั่นเอง
    คุยเป็นเพื่อนเท่านี้ครับ

     :25: :25: :25:


หัวข้อ: Re: ทำบุญโดยไม่หวังผลบุญ ทำอย่างไร เพราะทำที่ไร ก็ปรารถนาได้บุญทุกครั้ง
เริ่มหัวข้อโดย: nongyao ที่ มกราคม 22, 2014, 02:36:07 pm
บุญเกิดจากการกระทำ  กระทำดีก็เป็นบุญดี  กระทำชั่วก็เป็นบุญชั่ว

หนทางแห่งการทำนั้นเราทำกับใครหรือกับอะไร  เราทำกับพระสงฆ์ก็ให้สิ่งนี้เป็นประโยชน์แก่พระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า  กระทำกับสัตว์ก็ให้สิ่งนั้นเป็นประโยชน์กับสัตว์ที่อยู่ต่อหน้าเรา  กระทำกับเพื่อนร่วมโลกก็ให้สิ่่งนี้เป็นประโยชน์กับเพื่อนร่วมโลกที่อยู่ต่อหน้าเรา

ถามตัวเองว่าสุขไหมในการกระทำของเราแต่ละครั้ง  ถ้าสุขก็เป็นบุญโดยอัตโนมัติ


หัวข้อ: Re: ทำบุญโดยไม่หวังผลบุญ ทำอย่างไร เพราะทำที่ไร ก็ปรารถนาได้บุญทุกครั้ง
เริ่มหัวข้อโดย: Dotahon ที่ มกราคม 22, 2014, 04:34:29 pm
บุญถ้าทำไม่หวังผล นั้น ผู้ทำต้องมีใจระดับ พระอนาคามี ขึ้นไปแล้วครับ เพราะ พระโสดาบัน ก็ยังมีความต้องการได้บุญเช่นกันครับ

  :coffee2: :coffee2: :coffee2:


หัวข้อ: Re: ทำบุญโดยไม่หวังผลบุญ ทำอย่างไร เพราะทำที่ไร ก็ปรารถนาได้บุญทุกครั้ง
เริ่มหัวข้อโดย: saiphone ที่ มกราคม 22, 2014, 05:01:08 pm
ก็หมายความว่า ทำบุญ ถึงแม้ไม่หวังผล ก็ได้ผลอยู่แล้วใช่หรือไม่คะ

 :58:


หัวข้อ: Re: ทำบุญโดยไม่หวังผลบุญ ทำอย่างไร เพราะทำที่ไร ก็ปรารถนาได้บุญทุกครั้ง
เริ่มหัวข้อโดย: nongyao ที่ มกราคม 22, 2014, 05:51:41 pm
เข้าใจถูกต้องแล้วค่ะ  แล้วกำลังบุญจะยิ่งใหญ่

เป็นกำลังใจให้นะค่ะ  ;) ;) ;)



หัวข้อ: Re: ทำบุญโดยไม่หวังผลบุญ ทำอย่างไร เพราะทำที่ไร ก็ปรารถนาได้บุญทุกครั้ง
เริ่มหัวข้อโดย: nongyao ที่ มกราคม 22, 2014, 06:10:02 pm
เรื่องระดับชั้น  ใยต้องสนใจละค่ะเราพอใจทำเราก็ทำ เพราะเราทำเพ่ื่อพัฒนาดวงจิต พระพุทธองค์ท่านทรงตรัสไว้ว่า จงตั้งตนอยู่ในความไม่ประมาท เรายังต้องเวียนว่ายอยู่ในวัฏสงสาร เตรียมตัวไว้ไม่เสียหายนะค่ะ

ถ้าเรามีเวลาว่าง (หรือหาเวลาว่างให้กับตนเอง) สำรวจตัวเองสิว่าจิตใจของเรานี้พิการตรงไหนบ้าง สำรวจก่อนนะ (เอาที่ละอย่าง)  เมื่อพบแล้ว (คิดว่าต้องพบล่ะ มีแน่นอน) เราปรารถนาจะขจัดมันออกไปจากดวงจิตของเราไหม หรืออยากพัฒนาให้มันดีขึ้นไหม (ต้องตอบตัวเองให้ได้ก่อนน่ะ) ถ้าอยากก็เริ่มลงมือเลย การรู้จักจิตใจของตนเองนี้แหละสำคัญที่สุด เราได้เริ่มขจัดความโลภ ความโกรธ ความหลง และอุปทานทั้งหลายที่มีอยู่ในจิตในใจเราให้มันเบา ให้มันบาง ให้มันหมดไป ที่ละน้อย ที่ละน้อย 

โดยอาศัยบุญที่ทำไม่หวังผลเป็นกำลังช่วยส่ง และศีล 5 ที่เราต้องฝึกรักษาให้ได้ อย่าลืมกำลังจากการภาวนาด้วยนะค่ะ

เป็นกำลังใจให้นะค่ะ  :96: :96: :96: :25:


หัวข้อ: Re: ทำบุญโดยไม่หวังผลบุญ ทำอย่างไร เพราะทำที่ไร ก็ปรารถนาได้บุญทุกครั้ง
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ มกราคม 20, 2017, 10:35:48 am
(http://www.madchima.net/forum/gallery/30_20_01_17_10_05_36.jpeg)


ส่วนตัวผมสงสัยคำว่า "ปฏินิสสัคคา" ลองค้นดูปรากฏว่า คำนี้เกี่ยวกับวิปัสสนา และอานาปานะสติ เช่น

   ในอรรถกถา มหาวิภังค์ ปฐมภาค ปาราชิกกัณฑ์ ตติยปาราชิกสิกขาบท อธิบายว่า
   ปฏินิสสัคคะ (ความสละคืออุปธิ) แม้ในบทว่า ปฏินิสฺสคฺคานุปสฺสี นี้ก็มี ๒ อย่าง คือ
       ปริจจาคปฏินิสสัคคะ ความสละคืนคือความเสียสละ ๑
       ปักขันทนปฏินิสสัคคะ ความสละคืนคือความแล่นไป ๑.
    การพิจารณาเห็น คือความสละคืนนั่นเอง ชื่อว่าปฏินิสสัคคานุปัสสนา.
    คำว่า ปฏินิสสัคคานุปัสสนา นั่นเป็นชื่อแห่งวิปัสสนาและมรรค.


ที่มา : http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=01.0&i=176&p=2 (http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=01.0&i=176&p=2)


    @@@@@@

    วิสุทธิมรรค เล่ม ๒ ภาคสมาธิ ปริเฉทที่ ๘ อนุสสติกัมมัฏฐานนิเทศ อธิบายว่า
    คำว่า ปฏินิสฺสคฺคา แม้ในบทว่า ปฏินิสฺสคฺคานุปสสี นี้มี ๒ อย่างคือ
           ปริจฺจาคปฏินิสฺสคฺค ๑
           ปกฺขนฺทนปฏินิสฺสคฺค ๑
    อนุปัสสนาคือปฏินิสสัคคะ ชื่อว่า ปฏินิสสัคคานุปัสสนา คำนี้เป็นชื่อของวิปัสสนาและมรรค

    จริงอยู่ วิปัสสนาย่อมสลัดเสียซึ่งกิเลสทั้งหลายพร้อมด้วย ขันธาภิสังขารด้วยอำนาจตทังคปหาน และแล่นไปในพระนิพพานอันผิดตรงกันข้ามกับกิเลสนั้น โดยภาวะเป็นที่น้อมไปในพระนิพพานนั้นโดยเห็นโทษในสังขตธรรม
    เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกว่า ปริจฺจาคปฏินิสฺสคฺค ๑ ปกฺขนฺทนปฏินิสฺสคฺค ๑

    ส่วนมรรคย่อมสละซึ่งกิเลสทั้งหลายพร้อมด้วยขันธาภิสังขารด้วยอำนาจสมุจเฉทปหาน และแล่นไปในพระนิพพาน โดยทำพระนิพพานให้เป็นอารมณ์
    เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกว่า ปริจฺจาคปฏินิสฺสคฺค ๑ ปกฺขนฺทนปฏินิสฺสคฺค ๑ ดังนี้

    ก็วิปัสสนาญาณและมรรคญาณทั้ง ๒ ท่านเรียกว่า อนุปัสสนา เพราะตามเห็นญาณก่อนๆ
    ภิกษุผู้ประกอบด้วยปฏินิสสัคคานุปัสสนาทั้ง ๒ อย่างนั้น หายใจออกและหายใจเข้าอยู่ พึงทราบว่า ชื่อว่า สำเหนียกเราจักเป็นผู้ตามเห็นการสละ คือ หายใจออกหายใจเข้า


ที่มา : https://th.wikisource.org/wiki/วิสุทธิมรรค_เล่ม_๒_ภาคสมาธิ_ปริเฉทที่_๘_อนุสสติกัมมัฏฐานนิเทศ_หน้าที่_๗๑_-_๗๕ (https://th.wikisource.org/wiki/วิสุทธิมรรค_เล่ม_๒_ภาคสมาธิ_ปริเฉทที่_๘_อนุสสติกัมมัฏฐานนิเทศ_หน้าที่_๗๑_-_๗๕)


หัวข้อ: Re: ทำบุญโดยไม่หวังผลบุญ ทำอย่างไร เพราะทำที่ไร ก็ปรารถนาได้บุญทุกครั้ง
เริ่มหัวข้อโดย: patra ที่ มกราคม 20, 2017, 10:18:49 pm
 st11 st12 st12