หัวข้อ: ตามรอย′สยามวงศ์′ ไทย-ศรีลังกา วัดธรรมาราม เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ กุมภาพันธ์ 15, 2014, 09:31:56 pm (http://www.matichon.co.th/news-photo/matichon/2014/02/pra02140257p1.jpg) หอไตรที่พระอุบาลีมหาเถระจำพรรษา ตามรอย′สยามวงศ์′ ไทย-ศรีลังกา วัดธรรมาราม โดย ตวงศักดิ์ ชื่นสินธุ และกฤตยา เชื่อมวราศาสตร์ วัดธรรมาราม ต.บ้านป้อม อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา แต่เดิมชื่อ วัดสนามไชย หากจะเทียบกับวัดแห่งอื่นในจังหวัด วัดนี้เป็นเพียงวัดเล็กๆ บนเนื้อที่ 25 ไร่ ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ตรงข้าม อนุสาวรีย์ศรีสุริโยทัย แต่ประวัติศาสตร์ของวัดธรรมารามนั้นไม่ธรรมดา สมัยกรุงศรีอยุธยา กองทัพพม่าจะมาตั้งค่ายบริเวณวัดธรรมาราม เพื่อล้อมกรุงทุกครั้ง เพราะอยู่ตรงข้ามพระราชวังโบราณ ถือเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญทั้งยังสามารถควบคุมการสัญจรทางน้ำของอยุธยาได้ :49: :49: :49: ปัจจุบัน หากขับรถเข้ามายังวัดซึ่งในอดีตเป็นเพียงทางเกวียนเล็กๆ จะเห็นว่าถนนคั่นกลางระหว่าง เขตสังฆาวาส ซึ่งติดแม่น้ำ ประกอบด้วยหอไตร หอระฆัง เรือนหมู่กุฏิ และพิพิธภัณฑ์พระอุบาลีเถระ และ เขตพุทธาวาส ล้อมรอบด้วยระเบียงแก้วสมัยอยุธยา อันประกอบด้วยวิหารสมัยอยุธยาที่เครื่องหลังคาและหน้าบันเป็นไม้ทั้งหมด ด้านในประดิษฐานพระพุทธรูปของพระพุทธเจ้า 4 องค์ คือ พระกกุสันธพุทธเจ้า, พระโกนาคมพุทธเจ้า, พระกัสสปพุทธเจ้า และพระโคตมพุทธเจ้า (พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน) และอุโบสถด้านในประดิษฐานพระพุทธรูปพี่น้อง ปางมารวิชัย ศิลปะสมัยอยุธยาตอนปลาย ซึ่งพระพักตร์เหมือนกันมาก เจดีย์ประธาน และหน่อจากต้นพระศรีมหาโพธิ์ จากประเทศศรีลังกา ทั้งสองพื้นที่ล้วนถูกจัดวางอย่างเป็นระเบียบ ร่มครึ้มไปด้วยร่มเงาของไม้ยืนต้นอายุกว่าร้อยปี อาทิ ต้นตะเคียนคู่ในเขตสังฆาวาส และต้นเขยตายซึ่งดั้งเดิมใช้ทำปลัดขิกในเขตพุทธาวาส ใกล้กับโบสถ์หลังเก่าสมัยอยุธยา และถูกขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน แม้เป็นวัดเล็กๆ ของกรุงศรีอยุธยา แต่เป็นส่วนหนึ่งซึ่งสะท้อนว่า พุทธศาสนาในแผ่นดินสยาม เจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุด (http://www.matichon.co.th/news-photo/matichon/2014/02/pra02140257p2.jpg) (ซ้าย) ประตูพระวิหารขนาดใหญ่ (ขวา) หน้าต่างหอไตร หากย้อนหลังไปราว 700 ปีในสมัยกรุงสุโขทัย พุทธศาสนาในแดนลังกา เจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุด เช่นกัน มีพระธรรมทูตเดินทางมาเผยแผ่ศาสนาในสยาม จน ศาสนาพุทธแบบเถรวาท นิกายลังกาวงศ์หยั่งรากลึกในสยาม ทว่าในยุคอาณานิคม แผ่นดินซึ่งมีรูปร่างเสมือนหยดน้ำของอินเดียแห่งนี้ถูกปกครองทั้งจากโปรตุเกส อังกฤษ และฮอลันดา พุทธศาสนาจึง "หายไป" เมื่อศรีลังกาได้รับเอกราช พระเจ้ากีรติศรีราชสิงหะ กษัตริย์ลังกา จึงส่งราชทูตมาเข้าเฝ้าฯ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เพื่อขอนิมนต์สงฆ์ไทยไปฟื้นฟูศาสนา ณ ศรีลังกา ทราบความดังนั้นกษัตริย์สยามจึงส่ง พระอุบาลีมหาเถระ พระราชาคณะฝ่ายอรัญวาสี ผู้เชี่ยวชาญพระไตรปิฎกทั้งฝ่ายปริยัติและปฏิบัติ ซึ่ง พระอธิการประสาทเขมะปุญโญ เจ้าอาวาสวัดธรรมารามบอกว่า ตำแหน่งเทียบเท่านายกรัฐมนตรีของสงฆ์ในสมัยนั้น :96: :96: :96: พระอุบาลีมหาเถระ รอนแรมไปกลางทะเลกับเรือสินค้าสัญชาติดัตช์นานกว่า 5 เดือน เมื่อถึงศรีลังกาจึงเป็นพระอุปัชฌาย์ อุปสมบทพระ 700 และบรรพชาสามเณร 2,300 รูป พระพุทธรูปในศรีลังกาจึงเจริญรุ่งเรืองกระทั่งปัจจุบันรวม 260 ปี และให้เกียรติตั้งชื่อว่า นิกายสยามวงศ์ หรือ อุบาลีวงศ์ พระอธิการประสาทเขมะปุญโญเล่าว่า อุปสมบทและจำพรรษาที่วัดธรรมารามมา 25 ปีแล้ว อยากคงความดั้งเดิมและเรียบง่ายของวัดไว้ แต่เนื่องในวาระครบรอบ 260 ปีสยามวงศ์ รัฐบาลไทยและศรีลังกาจึงร่วมกันก่อสร้างพิพิธภัณฑ์พระอุบาลีเถระ เปิดเมื่อธันวาคม 2556 โดยใช้ศาลาการเปรียญหลังเก่า ใช้งบประมาณ 10 ล้านบาท จากสำนักพุทธศาสนาแห่งชาติ ด้านหน้าพิพิธภัณฑ์ประดิษฐานรูปจำลองของพระอุบาลีมหาเถระขนาดเท่าองค์จริง ด้านในพิพิธภัณฑ์มีรูปจำลองของพระอุบาลีมหาเถระอีกองค์ เป็นไม้มะฮอกกานีแกะสลักปิดทอง ที่รัฐบาลศรีลังกามอบให้ ans1 ans1 ans1 "บอกเล่าเรื่องราว ความสัมพันธ์ทางศาสนาระหว่างนิกายลังกาวงศ์ในไทย และนิกายสยามวงศ์ในศรีลังกา" สถานที่หนึ่งที่บอกเล่าตัวตนของพระอุบาลีเถระ คือ "หอไตรและหอระฆัง" ที่ปัจจุบันเป็นอาคารสีขาวหลังกะทัดรัด ริมแม่น้ำเจ้าพระยา "จากประวัติศาสตร์และตำนานที่เล่าขานกันมา หอไตรเป็นสถานที่ที่พระอุบาลีจำพรรษาและปรึกษากับ พระอริยมุนี ถึงการเดินทางไป "ปักหลัก" พุทธศาสนา ณ ศรีลังกา แม้ในสมัยรัชกาลที่ 5 มีการบูรณะครั้งใหญ่ หลักฐานหนึ่งคือตราสัญลักษณ์ประจำรัชกาลที่หน้าประตูทางเข้า แต่บานประตูและหน้าต่างไม้แกะสลักลวดลายวิจิตรยังเป็นของเดิมสมัยกรุงศรี ส่วนจิตรกรรมฝาผนังเลือนรางเกือบหมด" เจ้าอาวาสกล่าว :25: :25: :25: สหภูมิ ภูมิธฤติรัฐ ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ 3 พระนครศรีอยุธยา เล่าว่า วัดธรรมารามมีการบูรณะเรื่อยมา ล่าสุดเป็นการบูรณะโบสถ์และวิหารเมื่อ 2555 เมื่อดูจากรูปแบบสถาปัตยกรรมของตัวพระอุโบสถจะมีลักษณะโค้งเหมือนท้องสำเภา เป็นสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยาตอนปลาย ส่วนหอไตรบูรณะในสมัยรัชกาลที่ 5 เพราะมีจิตรกรรม มีพระบรมสาทิสลักษณ์ (รูปวาด) ของรัชกาลที่ 5 ปรากฏอยู่ จากวัตรปฏิบัติของสงฆ์ไทยในอดีต ศรีลังกาจึงมีศาสนาพุทธหยั่งรากอีกครั้งในชื่อ "นิกายสยามวงศ์" (http://www.matichon.co.th/news-photo/matichon/2014/02/pra02140257p3.jpg) พระอุบาลีมหาเถระ พระอุบาลีมหาเถระ เป็นพระธรรมทูตในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศแห่งกรุงศรีอยุธยา ที่เดินทางไปยังประเทศศรีลังกาตามคำร้องของฝ่ายศรีลังกาในการเป็นพระอุปัชฌาย์ อุปสมบทแก่ สามเณรสรณังกร ชาวสิงหล เพื่อสืบทอดพุทธศาสนาในศรีลังกา ได้รับการจดจำในเรื่องความกล้าหาญของท่านที่ได้ข้ามน้ำข้ามทะเลไปยังศรีลังกา และได้มรณภาพที่นั่นหลังจากปักหลักเผยแผ่ศาสนานาน 2 ปี 9 เดือน นับเป็นพระธรรมทูตที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย พระอุบาลีมหาเถระ เมื่อแรกได้พำนักอยู่ที่วัดธรรมาราม ซึ่งเป็นวัดเล็กๆ มีอาณาเขตทิศเหนืออยู่ติดกับวัดท่าการ้อง ทิศใต้อยู่ติดกับวัดกษัตราธิราช ทิศตะวันออกอยู่ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา ทิศตะวันตกอยู่ติดกับถนนบางบาล ตั้งอยู่ที่ ต.บ้านป้อม อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา st12 st12 st12 พระอุบาลีมรณภาพด้วยโรคหูอักเสบ ภายในกุฏิวัดบุปผาราม (มัลวัตตวิหาร) เมืองแคนดี เมื่อปี พ.ศ.2299 พระเจ้าแผ่นดินศรีลังกาให้จัดพิธีถวายเพลิงศพอย่างยิ่งใหญ่สมเกียรติ โดยจัดขึ้นที่สุสานหลวงนามว่าอาดาหะนะมะลุวะ ปัจจุบันคือวัดอัศคิริยะเคดิเควิหาร เมืองกัณฏี ปัจจุบันได้ก่ออิฐล้อมสถานที่เผาศพท่านไว้ หลังเสร็จสิ้นพิธีถวายเพลิงศพแล้ว ทรงมีรับสั่งให้สร้างเจดีย์บนยอดเขาใกล้วัดอัสคีริยะบรรจุอัฐิเพื่อสักการบูชาซึ่งมีปรากฏอยู่จนถึงปัจจุบัน กุฏิท่านพระอุบาลีและห้องพักของท่านได้รับการอนุรักษ์ไว้เป็นอย่างดี แม้จะเป็นเพียงห้องเล็กๆ มีเพียงเตียงเก่าๆ และโต๊ะเก้าอี้อีกหนึ่งชุดเท่านั้น บริขารและสิ่งของที่ท่านเคยใช้สอยที่ยังเหลืออยู่ ชาวศรีลังกาก็ถือว่าเป็นสิ่งที่ควรเคารพเช่นกันและได้เก็บรักษาไว้จนทุกวันนี้ หน้า 21 มติชนรายวัน ฉบับวันศุกร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2557 http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1392374575&grpid=&catid=08&subcatid=0804 (http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1392374575&grpid=&catid=08&subcatid=0804) หัวข้อ: Re: ตามรอย′สยามวงศ์′ ไทย-ศรีลังกา วัดธรรมาราม เริ่มหัวข้อโดย: Mario ที่ กุมภาพันธ์ 16, 2014, 02:34:01 pm st12 st12 st12 st12
|