หัวข้อ: คนไทยติดเสพสื่อหน้าจอ เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ มีนาคม 02, 2014, 11:52:38 pm (http://www.posttoday.com/media/content/2014/03/02/5C7B36713543447BA7D6F73C81F9B3A8.jpg) คนไทยติดเสพสื่อหน้าจอ พฤติกรรมคนไทยเสพติดสื่อหน้าจอมากขึ้น แนะธุรกิจลุยคอนเทนต์โดนใจเจาะดีไวซ์ เทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไม่หยุดยั้ง ส่งผลให้พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย เห็นได้จากผู้บริโภคแต่ละคนมีดีไวซ์ (อุปกรณ์สื่อสาร) ติดตัวคนละไม่ต่ำกว่า 2 ชนิด ซึ่งจากแนวโน้มดังกล่าวส่งผลให้คนไทยมีอัตราส่วนการถือครองดีไวซ์ มัลติสกรีนสูงถึง 5.1 ชนิดต่อคน ขณะที่ทั่วโลกมีอัตราส่วนการถือครองอยู่ที่ 6 ชนิดต่อคนจากการศึกษาข้อมูลของ สแทรททิจี แอนด์ อินโนเวชั่น ในเครือไอพีจี มีเดียแบรนด์ เกี่ยวกับพฤติกรรมการเสพสื่อของผู้บริโภค พบว่า กลุ่มวัยรุ่น อายุระหว่าง 12-24 ปี มีการถือครองดีไวซ์อยู่ที่ 4.8 ชนิดต่อคน ขณะที่กลุ่มทำงานถือครองดีไวซ์อยู่ที่ประมาณ 5.5 ชนิดต่อคน *กนกกาญจน์ ประจงแสงศรี* ผู้อำนวยการสมทบ สแทรททิจี แอนด์ อินโนเวชั่น ในเครือไอพีจี มีเดียแบรนด์ กล่าวว่า คนไทยใช้เวลาไปกับดีไวซ์เฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 3.7 ชั่วโมงต่อวัน ซึ่งดีไวซ์ที่ผู้บริโภคให้ความสนใจมากที่สุดยังคงเป็นสื่อทีวี ตามด้วยคอมพิวเตอร์ และแท็บเล็ต โดยในส่วนของการชมฟรีทีวียังคงเป็นสื่อที่ได้รับความสนใจจากผู้บริโภคมากที่สุด ด้วยการรับชมเฉลี่ยต่อวันที่ประมาณ 3.3 ชั่วโมงต่อวัน ตามด้วยสื่อเคเบิลทีวีและดาวเทียม 2.5 ชั่วโมงต่อวัน :49: :49: :49: แม้ว่าพฤติกรรมของผู้บริโภคจะยังให้ความสนใจอยู่กับสื่อทีวี แต่จากการที่อุปกรณ์เสริมเริ่มเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของผู้บริโภคมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นสมาร์ทโฟน และแท็บเล็ต รวมไปถึงคอมพิวเตอร์ ส่งผลให้ความสนใจรับสื่อในช่องทางทีวีเริ่มปรับตัวลดลง ทั้งนี้ เห็นได้จากอัตราส่วนการรับชมทีวี ซึ่งแม้ว่าจะมีสูงถึง 94% ที่ดูคอนเทนต์ต่างๆ จากทีวี แต่มี24% เท่านั้นที่ดูด้วยความสนใจ ที่เหลืออีก 70% เปิดทีวีทิ้งไว้ โดยไม่สนใจคอนเทนต์ เนื่องจากหันไปให้ความสนใจกับดีไวซ์ชนิดอื่นๆ ควบคู่กันไป เช่น สมาร์ทโฟน และแท็บเล็ต เป็นต้น แนวโน้มที่เกิดขึ้นดังกล่าว ถือเป็นการบ้านชิ้นใหญ่ของนักการตลาดและนักโฆษณา ในการวางแผนการตลาดและผลิตคอนเทนต์อย่างไรให้โดนใจผู้บริโภค โดยเฉพาะกลุ่มวัยทำงาน เพราะความสนใจรับชมสื่อทีวีมีแรงเหวี่ยงขึ้นลงค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับกลุ่มวัยรุ่น เนื่องจากในมือมีดีไวซ์ที่หลากหลายและมีอำนาจเงินและอำนาจในการตัดสินใจมากกว่า :s_hi: :s_hi: :s_hi: นอกจากนี้ ยังพบว่าดีไวซ์แต่ละชนิดยังมีการแบ่งประเภทการใช้งาน เช่น ทีวี มีไว้สำหรับรับชมรายการบันเทิงต่างๆ ขณะที่คอมพิวเตอร์จะเน้นการใช้งานด้านการค้นหาข้อมูล สร้างบล็อก และอ่านคอนเทนต์ต่างๆ ส่วนสมาร์ทโฟนจะเน้นการใช้งานด้านโซเชียลเน็ตเวิร์ก เล่นเกม และแชต ขณะที่แท็บเล็ตจะเน้นใช้เล่นเกมเป็นหลัก จากพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงดังกล่าว ส่งผลให้นักการตลาดเรียกผู้บริโภคกลุ่มนี้ว่า “ออลเวย์-ออน” หรือกลุ่มอยู่หน้าจอตลอดเวลา กนกกาญจน์ กล่าวอีกว่า การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อการวางแผนการตลาดของนักการตลาดไปบ้าง แต่ก็ควรพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส ด้วยการดึงความสนใจของกลุ่มเป้าหมายที่อยู่ในช่องทางต่างๆ ผ่านคอนเทนต์และแพลตฟอร์มที่ตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายนั้นๆ เช่น70% ของผู้บริโภคที่ชอบดูละคร 50% ดูรายการสด 15% ดูผ่านสตรีมมิ่ง และ 35% ดูย้อนหลัง :32: :32: :32: สำหรับผู้บริโภคที่ชอบดูข่าว เกือบ 100% นิยมดูรายการสด เนื่องจากต้องการข้อมูลข่าวสารที่รวดเร็วทันสถานการณ์ ส่วนเพลงนิยมดูทั้งสดและย้อนหลัง ซิตคอมนิยมดูสดและย้อนหลัง ขณะที่เกมโชว์นิยมดูสดและสตรีมมิ่ง และจากข้อมูลที่ได้มาดังกล่าวนักการตลาดสามารถนำไปวางแผน เพื่อพัฒนาคอนเทนต์ที่ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคได้ หนึ่งในกลยุทธ์ที่เริ่มเห็นนักการตลาดนำมาใช้คือ การทำแบรนด์เด็ด คอนเทนต์ แฝงไปกับคอนเทนต์บันเทิง ซึ่งส่วนใหญ่จะเห็นในคอนเทนต์ภาพยนตร์ จากช่องว่างที่ยังมีให้เข้าไปทำตลาด ขณะเดียวกันก็ต้องระวังการทำแบรนด์เด็ดผ่านคอนเทนต์ ที่ต้องไม่ทำรายการเนื้อหาคอนเทนต์เดิม และไม่ทำให้ผู้บริโภครู้สึกว่าเป็นการยัดเยียดคอนเทนต์ ดังนั้น การใช้กลยุทธ์ดังกล่าวจึงควรสร้างคอนเทนต์ที่มีอรรถรสในการชม และเป็นส่วนหนึ่งของคอนเทนต์บันเทิงนั้นๆ ซึ่งสิ่งดังกล่าวต้องใช้เวลาในการแทรกซึม เพราะปัจจุบันผู้บริโภคมีความรู้ในการรับข้อมูลข่าวสารมากขึ้น เนื่องจากมีอุปกรณ์สื่อสารอยู่ในมือพร้อมที่จะค้นหาข้อมูลและความจริงได้ตลอดเวลา ขอบคุณภาพข่าวจาก www.posttoday.com/ดิจิตอลไลฟ์/281072/คนไทยติดเสพสื่อหน้าจอ (http://www.posttoday.com/ดิจิตอลไลฟ์/281072/คนไทยติดเสพสื่อหน้าจอ) |