สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

เรื่องทั่วไป => forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน => ข้อความที่เริ่มโดย: raponsan ที่ มีนาคม 05, 2014, 08:02:20 pm



หัวข้อ: นักแชทระวัง!เสี่ยง 'โรคต้อหิน'
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ มีนาคม 05, 2014, 08:02:20 pm

(http://www.komchadluek.net/media/img/size_photo_slide/2014/03/05/jcdd8ceg8ebdkg8bh6ac6.jpg)

นักแชทระวัง!เสี่ยง 'โรคต้อหิน'
สธ.เตือนภัยประชาชน 'ดูทีวี-ดู-ส่งข้อความบนสมาร์ทโฟน ไอแพด ในที่มืด' เสี่ยง 'โรคต้อหิน' เล่นงานจากความเครียด ถึงขั้นตาบอดได้!

5 มี.ค.57 กระทรวงสาธารณสุข เตือนภัยประชาชน ที่ชอบปิดไฟดูทีวี ดูหรือส่งข้อความบนสมาร์ทโฟน ไอแพด ในความมืด จะเกิดโรคที่เรียกว่า เทคโนโลยีซินโดรม สร้างความเครียดผู้ใช้ เพราะต้องเพ่งสายตาที่จอ ทำให้ความดันในลูกตาสูง เสี่ยงเกิดโรคต้อหินถึงขั้นตาบอดได้ แนะวิธีใช้เครื่องมือให้ปลอดภัย คือ ให้เปิดไฟดูทีวี หรือดูสมาร์ทโฟนในที่สว่าง ใช้ 25 นาที ให้พัก 5 นาที หรือใช้ 30 นาที พัก 10 นาที หากรู้สึกปวดตา ให้นอนหลับอย่างน้อย 7 ชั่วโมง ดื่มน้ำบ่อยๆ เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นในดวงตา

พร้อมแนะประชาชนที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป พบจักษุแพทย์ปีละ 1 ครั้ง เพื่อตรวจค้นหาโรคต้อหิน โดยเฉพาะผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน เสี่ยงต่อการเกิดโรคนี้สูงกว่าคนทั่วไป 5-7 เท่าตัว หากพบและรักษาทันท่วงทีจะลดการสูญเสียการมองเห็นได้
 
 :welcome: :welcome: :welcome:

นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า ในวันที่ 6 มีนาคมของทุกปี เป็นวันต้อหินโลก ซึ่งโรคต้อหิน (Glaucoma) เป็นสาเหตุตาบอดอันดับ 2 ของโลก รองจากตาต้อกระจก ประมาณการว่า มีคนตาบอดทั่วโลก 4.5 ล้านคน และจะเพิ่มขึ้นถึง 11.2 ล้านคนในปี พ.ศ.2563 ผู้ป่วยโรคต้อหินส่วนใหญ่ ร้อยละ 90 มักจะไม่ค่อยรู้ตัวมาก่อน เนื่องจากโรคต้อหินมีอาการค่อยเป็นค่อยไป

ดังนั้น องค์กรต้อหินโลก (World Glaucoma Association) ซึ่งมีสมาชิกที่เป็นชมรมหรือสมาคมแพทย์ต้อหินจากกว่า 75 ประเทศทั่วโลก จึงได้รณรงค์ให้ทราบถึงอันตรายของโรคต้อหิน เพื่อป้องกันตาบอดและการสูญเสียการมองเห็น และให้ตระหนักถึงความสำคัญของการตรวจตา และการดูแลถนอมดวงตาให้เป็นปกติให้ได้นานมากที่สุด
 
 :25: :25: :25:

สำหรับประเทศไทย ข้อมูลจากสถิติสาธารณสุข ปี 2555 พบผู้ป่วยโรคต้อหิน ทั่วประเทศ 17,687 ราย ชายหญิงพอๆ กัน พบมากสุดที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 4,831 ราย ภาคกลาง 4,352 ราย กรุงเทพมหานคร 3,486 ราย ภาคเหนือ 3,084 ราย และภาคใต้ 1,934 ราย โดยในคนปกติทั่วไปที่อายุ 40 ปีขึ้นไป มีโอกาสเป็นโรคต้อหินประมาณ ร้อยละ 1 ส่วนผู้ที่เป็นโรคเบาหวานมีโอกาสเป็นต้อหินมากถึงร้อยละ 5-7 หรือมากกว่าคนปกติ 5-7 เท่าตัว แนวโน้มผู้ป่วยโรคนี้จะมากขึ้นตามจำนวนผู้ป่วยเบาหวาน

ซึ่งขณะนี้ไทยมีประมาณ 3.5 ล้านคน ได้กำชับให้โรงพยาบาลทั่วประเทศรณรงค์ให้ผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป พบจักษุแพทย์เพื่อตรวจตาปีละ 1 ครั้ง และผู้มีอายุ 60 ปีขึ้นไป พบจักษุแพทย์ปีละ 2 ครั้ง เพื่อตรวจหาโรคแต่เนิ่นๆ จะช่วยลดปัญหาการสูญเสียการมองเห็นจากโรคต้อหินได้ จัดบริการตรวจตาให้ผู้ป่วยเบาหวานทุกราย เพื่อค้นหาโรคและรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ
 
 :s_good: :s_good: :s_good:

ด้าน นพ.ฐาปนวงศ์ ตั้งอุไรวรรณ ผู้เชี่ยวชาญโรคตาประจำโรงพยาบาลพระนั่งเกล้า จังหวัดนนทบุรี กล่าวว่า โรคต้อหิน เป็นกลุ่มโรคของดวงตา โรคนี้จะมีการทำลายของเส้นประสาทตาจากหลายสาเหตุ ที่สำคัญคือ เกิดจากความดันในลูกตาสูง ทั้งจากการสร้างน้ำในลูกตามากเกินไป หรือระบายออกน้อยเกินไป ซึ่งอาจเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน หรือค่อยๆ เพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ คนเป็นจะไม่รู้ตัว ขึ้นกับชนิดของต้อหิน แล้วมีผลให้ลานสายตาแคบลงเรื่อยๆ จนสูญเสียการมองเห็นไปในที่สุด

ปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการรักษาโรคนี้และได้ผลดี ทั้งการใช้ยาหยอดตา เลเซอร์ ผ่าตัด มีเครื่องมือที่สอดไปเพื่อระบายน้ำในลูกตา อย่างไรก็ตาม ขึ้นอยู่กับการตรวจและให้การรักษาอย่างทันท่วงทีเป็นเรื่องสำคัญมาก หากปล่อยทิ้งไว้จนสูญเสียการมองเห็น แม้จะรักษาความดันได้เป็นปกติ แต่สายตาจะไม่กลับคืนเป็นปกติ หรือเรียกว่าสูญเสียอย่างถาวร หากบอดแล้วบอดเลย หรือตาพร่ามัวตลอดชีวิต
 
 :41: :41: :41:

“ที่น่าห่วงเป็นอย่างยิ่งในขณะนี้ พบว่า สาเหตุสำคัญของการเกิดโรคต้อหิน อีกอย่างหนึ่งคือ ความเครียด ทำให้เกิดความดันลูกตาขึ้นได้ ซึ่งขณะนี้ประชาชนมีการใช้เทคโนโลยีมากขึ้นทั้งคอมพิวเตอร์ มือถือ โทรทัศน์ จนทำให้เกิดปัญหาที่เรียกว่า เทคโนโลยีซินโดรม ซึ่งเทคโนโลยีซินโดรมไม่ได้ทำให้เกิดจุดรับภาพจอตาเสื่อม หรือตาบอด แต่จะทำให้เกิดความล้าของสายตา ตาแห้ง

เนื่องจากต้องใช้สายตาเพ่งที่ภาพ หรือตัวอักษรที่มีขนาด เล็ก และอยู่ในจอ การเพ่งจะทำให้ม่านตาขยายใหญ่ขึ้นกว่าปกติ โดยเฉพาะผู้ที่นิยมปิดไฟดูทีวี เล่นสมาร์ทโฟน ไอแพด มีแอพพลิเคชั่นมาก ๆ ไม่ว่าจะเป็นเฟชบุ๊ก หรือไลน์ต่าง ๆ การส่องไฟฉายอ่านหนังสือ จะมีความเสี่ยงเกิดเทคโนโลยีซินโดรมได้ง่าย เพราะต้องใช้สายตากำกับตลอดเวลา จะทำให้กล้ามเนื้อตาล้า ตาแห้ง เครียดตลอดเวลา ยิ่งรายละเอียดเยอะ ตายิ่งทำงานหนัก” นายแพทย์ฐาปนวงศ์ กล่าว
 
 :32: :32: :32:

นพ.ฐาปนวงศ์ กล่าวต่อว่า การใช้เทคโนโลยีมาก ไม่ว่าจะดูเพื่อความบันเทิง ดูข่าวสารทั่วโลกนาน คุยกัน ความระทึกต่าง ๆ จะทำให้ผู้ใช้เกิดความเครียด โดยอาการเตือนของความเครียด จะเริ่มรู้สึกแสบตา ตาแห้ง น้ำตาไหล กะพริบตาบ่อย ปวดเมื่อยล้าที่กระบอกตา สายตาพร่า มองเห็นไม่ชัด บางคนมีอาการปวดศีรษะไมเกรนร่วมด้วย วิธีรักษาด้วยตนเอง สามารถทำได้ง่ายๆ คือ ให้นอนหลับเป็นเวลา 7 ชั่วโมงเป็นอย่างต่ำ

ซึ่งจะเป็นการรักษาที่ให้ผลดีที่สุด และดื่มน้ำบ่อย ๆ เพื่อเพิ่มน้ำให้ตาให้ชุ่มชื้นขึ้น หรือทำประคบเย็น โดยให้ใช้ผ้าขนหนูหนาหรือผ้าเช็ดหน้า พับ 3 ส่วน นำไปแช่น้ำที่มีน้ำแข็งจนเย็น บิดหมาด ๆ วางปิดตั้งแต่ขมับให้ทับพาดผ่านดวงตา เว้นสันจมูก ไปถึงขมับอีกข้าง ถ้าเย็นเกินไปให้เอาออก หากหายเย็นให้นำไปแช่น้ำเย็นใหม่อีกครั้ง ติดต่อกันอย่างน้อย 20 นาที พัก 1 นาที วันละ 2 หน จะช่วยลดความเครียด เพิ่มความชุ่มชื้นให้ดวงตา

นอกจากนี้ ควรเปิดไฟดูทีวี การอ่านหนังสือในที่แสงสว่างเพียงพอ ดีที่สุดควรใช้เทคโนโลยีเท่ที่จำเป็น ใช้ให้ปลอดภัย เหมาะสม คือ ใช้นานประมาณ 25 นาที และให้พัก 5 นาที หรือใช้นาน 30 นาที และพัก 10 นาที เปลี่ยนอิริยาบถสลับกันไป จะช่วยได้ให้เหมาะสม ถ้าไม่จำเป็นอย่ายุ่งกับเทคโนโลยี ให้ควบคุมใจตัวเอง
 
 :88: :88: :88:

ทั้งนี้ ผลการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2551 พบคนไทย อายุ 6 ปีขึ้นไป ดูทีวี 57 ล้านคน และล่าสุดปี 2555 คนไทยใช้คอมพิวเตอร์ 21 ล้านกว่าคน ใช้โทรศัพท์มือถือ 44 ล้านกว่าคนและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ในกรุงเทพมหานครมากที่สุดร้อยละ 84 ภาคกลางร้อยละ 75 ภาคเหนือร้อยละ 68 ภาคใต้ร้อยละ 67 ต่ำสุดภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยละ 64


ขอบคุณภาพข่าวจาก
http://www.komchadluek.net/detail/20140305/180203.html#.Uxcfg849S4l (http://www.komchadluek.net/detail/20140305/180203.html#.Uxcfg849S4l)