สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

เรื่องทั่วไป => forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน => ข้อความที่เริ่มโดย: raponsan ที่ มีนาคม 10, 2014, 08:26:26 pm



หัวข้อ: พระธรรมทูตกับการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ มีนาคม 10, 2014, 08:26:26 pm

(http://www.komchadluek.net/media/img/size_photo_slide/2014/03/10/g75fdbije9gkjdbh6dg59.jpg)

พระธรรมทูตกับการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
โดย ช.ศรีนอกรายงาน

พระพุทธองค์ ทรงประทานการอุปสมบทแก่พระอัญญาโกณฑัญญะ นับว่าเป็นการสืบศาสนทายาทเป็นครั้งแรก  และทรงประกาศความจริงแห่งชีวิตด้วยการแสดงพระธรรมจักกัปวัตนสูตร เป็นปฐมฤกษ์แห่งการประกาศพระพุทธศาสนา ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน  หลังจากนั้นทรงส่งพระสาวกไปประกาศพระสัทธรรม  ด้วยพระพุทธดำรัสว่า

   “ภิกษุทั้งหลาย  พวกเธอจงเที่ยวจาริกไปเพื่อประโยชน์และความสุขแก่ชนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูล และความสุขแก่พวกทวยเทพและมนุษย์  อย่าไปโดยทางเดียวกันสองรูป จงแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง  และความงามในที่สุด จงประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน”    (วิ.ม. (ไทย) ๔/๓๒/๔๐.)

 :25: :25: :25:

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยมีบทบาทในการสร้างพระธรรมทูตโดยเฉลี่ยในแต่ละปีนั้นมีพระธรรมฑูตประมาณ ๖๐ รูป ซึ่งได้อบรมก่อนที่จะส่งไปจำพรรษาในต่างประเทศ โดยยึดหลักการทางพระพุทธศาสนาในการออกไปยังต่างแดนคือ การไม่กล่าวร้ายคนอื่น การไม่เบียดเบียนคนอื่น ความสำรวมในพระปาฏิโมกข์ ความเป็นผู้ไม่ประมาทในการบริโภค การอยู่ในเสนาสนะอันสงัด และการฝึกฝนจิต

ในขณะเดียวกันพระธรรมทูตนั้นจะต้องมีคุณสมบัติ คือ ปิโย น่ารักมีเสน่ห์ ครุ น่าเคารพน่าศรัทธา ภาวนีโย น่ายกย่อง  วัตตา รู้จักพูดแนะนำ วจนักขโม อดทนต่อคำตำหนิ คัมภีรัญจ กถัง กัตตา  กล่าวชี้แจงแถลงไขได้ลึกซึ้ง และ โน จัฏฐาเน นิโยชเย ไม่ชักจูงไปในทางที่เสียหาย

 :96: :96: :96:

อย่างไรก็ตามก่อนที่จะออกสู่สนามจริงในการเผยแผ่ พระธรรมทูตจะต้องมีหลักธรรมดังต่อไปนี้ คือ  ธัมมัญญุตา มีธรรมมีหลักการ อัตถัญญุตา  รู้จุดมุ่งหมาย อัตตัญญุตา รู้จักตนเอง มัตตัญญุตา รู้จักประมาณ กาลัญญุตา รู้จักเวลา ปริสัญญุตา รู้จักชุมชน รู้จักสังคม และปุคคลปโรปรัญญุตา รู้จักความแตกต่าง

สรุปพระธรรมฑุตจะต้องอาวุธพร้อมก่อนที่จะออกศึกในการเผยแผ่ที่ท้าทาย อาวุธตัวนี้คือปัญญานั้นเอง ยังมีงานที่ท้าทายอีกมากมายข้างหน้าที่จะต้องทดสอบบทพิสูจน์พระธรรมฑูตในสายของมหาจุฬาฯ...

 st12 st12 st12

ขณะเดียวกันมหาจุฬาฯได้อนุมัติตั้งวิทยาลัยพระธรรมทูตขึ้นมาเพื่อสร้างพระธรรมทูตให้มีคุณภาพและสานความร่วมมือกับคณะสงฆ์พุทธศาสนาประเทศต่างๆด้วย ซึ่งต่อไปนี้ไม่ใช่เฉพาะการเปิดการอบรมเท่านั้น ซึ่งจะทำให้งานมีระบบมากขึ้นและถือเป็นงานของมหาเถรสมาคม พร้อมกันนี้ให้มีสมณศักดิ์สายต่างประเทศด้วยเพื่อเป็นการสร้างขวัญกำลังใจ ผลงานเหล่านี้สืบเนื่องมาจากงานของสมเด็จพระพุฒาจารย์ที่ได้สร้างมา

วิทยาลัยพระธรรมทูตนี้จะเปิดการเรียนการสอนในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก โดยจะเริ่มปีการศึกษา ๒๕๕๗ นี้ ซึ่งจะรับทั้งพระและฆราวาส แต่รุ่นแรกนี้คงจะรับเฉพาะพระก่อน ส่วนหลักสูตรนั้นก็จะเกี่ยวกับวิธีการเผยแพร่ ภาษา ศาสนาพิธี และประเทศที่จะเดินทางไปปฏิบัติศาสนกิจ

 st11 st11 st11

จะแบ่งเป็นช่วงๆ สลับกันคือปีแรกเรียนวิชาการ ปีที่สองจะต้องเดินทางไปปฏิบัติศาสนกิจที่ประเทศต่างๆ โดยจะต้องไปปฏิบัติหน้าที่ในการเผยแพร่ด้านต่างๆ รวมถึงการเขียนบทความ รายงาน เผยแพร่ผ่านสื่อประเทศนั้นๆ ปีที่สามกลับมาเรียนที่ประเทศไทยและปีที่สี่ก็กลับไปปฏิบัติที่ประเทศนั้นๆอีก ดังนั้น พระธรรมทูตจะต้องเรียนรู้ภาษาของประเทศที่จะไปปฏิบัติศาสนกิจถือเป็นภาคบังคับ


ขอบคุณภาพข่าวจาก
http://www.komchadluek.net/detail/20140310/180538.html#.Ux28Is49S4k (http://www.komchadluek.net/detail/20140310/180538.html#.Ux28Is49S4k)