หัวข้อ: 'ม่อนเปี๊ยะ' พระธาตุแห่งการขอฝน เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ มีนาคม 14, 2014, 09:18:05 pm (http://www.komchadluek.net/media/img/size_photo_slide/2014/03/13/a87fk87jkd9d7hf7ae85h.jpg) 'ม่อนเปี๊ยะ' พระธาตุแห่งการขอฝน เรื่องและภาพ ไตรเทพ ไกรงู พระธาตุม่อนเปี๊ยะตั้งอยู่บ้านหาดส้มป่อย หมู่ ๗ ต.แม่สาบ อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่ เป็นบูชนียสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งและเป็นที่เคารพและสักการะของชาวอำเภอสะเมิง ด้วยเหตุที่ตั้งอยู่กลางป่าลึกบนยอดเขาอันสุขสงบและห่างไกล องค์พระธาตุจึงไม่ได้รับการดูแลรักษาเหมือนโบราณสถานทั่วไป ทำให้เกิดการทรุดเอียงและแตกร้าว แต่ด้วยพลังศรัทธาแห่งธรรมนำพาให้สมาคม พร้อมด้วยสมาชิก ผู้ใช้บริการและผู้มีจิตศรัทธา ได้ร่วมกันบูรณปฏิสังขรณ์พระธาตุม่อนเปี๊ยะ ด้วยงบประมาณรวม ๖๐๖,๗๐๐ บาท เมื่อช่วงต้นปี ๒๕๕๔ ได้จัดพิธีสมโภชเริ่มเช้าวันที่ ๗ มีนาคม ตรงกับวันมาฆบูชา ด้วยการสวดมนต์ตั๋นตามประเพณีภาคเหนือ.. ในแต่ละปีจะมีประเพณีสรงน้ำแต่เดิมจะจัดขึ้นในเดือนแปดเหนือ โดยแต่ละหมู่บ้านจะไปขอฝนให้ตกเพื่อจะได้ทำนา ต่อมาได้ยึดถือเอาวันเพ็ญเดือน ๖ เหนือ (เดือน ๔ ใต้) เพื่อสะดวกในการเดินทางไปร่วมนมัสการ จะมีพิธีการทางศาสนาคือ ตอนเช้ามีการถวายอาหารบิณฑบาตแด่พระภิกษุสามเณร ตอนกลางคืนมีการสวดมนต์ฟังเทศน์และการสวดเบิก เพื่อขัดเกลาจิตใจ :25: :25: :25: ความศักดิ์สิทธิ์ขององค์พระธาตุม่อนเปี๊ยะ เล่าสืบมาว่า สามารถดลบันดาลฝนเมื่อใดที่ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล ชาวบ้านจะนำมาลาดอกไม้ ของหอมไปนมัสการสักการบูชาสรงองค์พระธาตุ พร้อมกับขอน้ำฝนให้ตกลงมาและปรากฏว่าสัมฤทธิผลตามประสงค์ ปัจจุบันพระธาตุม่อนเปี๊ยะได้รับการบูรณะเสร็จสมบูรณ์แล้ว องค์พระธาตุเปล่งรัศมีเหลืองทองอร่าม งดงามตามแบบศิลปวัฒนธรรมไทย และเมื่อวันที่ ๖-๗ มีนาคม ๒๕๕๕ อ.สะเมิง ได้จัดพิธีสมโภชพร้อมห่มผ้าทิพย์องค์พระธาตุม่อนเปี๊ยะอย่างยิ่งใหญ่โดยมีคณะสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่ข้าราชการของ อ.เภอสะเมิง พ่อค้า ประชาชน ตลอดจนคณะผู้บริหารสมาคมสโมสรนักลงทุน ประกอบด้วย คุณอัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย คุณสิศิรักษ์ บุษยรัตน์ คุณดุษณีห่วงนิกร คุณณัฐพงษ์ ใบมณฑา และคุณชินทัต เวียร์สุวรรณ กรรมการสมาคม พร้อมด้วยพนักงานเข้าร่วมในพิธีอันเป็นสิริมงคลนี้ st12 st12 st12 โดยในปี ๒๕๕๗ นี้ ประเพณีห่มผ้าทิพย์องค์พระธาตุม่อนเปี๊ยะจะจัดขึ้นในวันเสาร์ที่ ๑๕ มีนาคม ๐๙.๐๐ น. ทั้งนี้คุณชินทัต ได้ประชุมกับชาวบ้านและส่วนราชการท้องถิ่นหลายครั้งเพื่อกำหนดรูปแบบและการดำเนินการให้สวยงามและประทับใจด้วยการตั้งขบวนที่หมู่บ้านห่างจากพระธาตุประมาณกิโลครึ่ง ด้วยริ้วขบวนแห่นำขมิ้นส้มป่อยและแห่ผ้าทิพย์ซึ่งมีประชาชนที่แต่งกายในชุดพื้นเมืองล้านนาและชุดชาวเขาเผ่าต่างๆ ร่วมเดินจนกลายเป็นสายขบวนยาวเลี้ยวตามทางอย่างสวยงาม จากนั้นจึงนำผ้าทิพย์ขึ้นห่มองค์พระธาตุตามด้วยพิธีส่งมอบพระธาตุแก่คณะสงฆ์โดยคณะกรรมการสมาคม อันถือเป็นการสิ้นสุดโครงการนี้อย่างเป็นทางการ และประสบผลสาเร็จตามวัตถุประสงค์ของโครงการที่ตั้งไว้เพื่อให้พระพุทธศาสนาคงอยู่ชั่วลูก ขอบคุณภาพข่าวจาก http://www.komchadluek.net/detail/20140314/180803.html#.UyMPRs49S4l (http://www.komchadluek.net/detail/20140314/180803.html#.UyMPRs49S4l) |