หัวข้อ: สัมปยุตธรรม สัปยุตธาตุ คืออะไร คะ เริ่มหัวข้อโดย: ฟ้าใหม่แจ่มใส ที่ มีนาคม 30, 2014, 12:23:36 pm ask1
สัมปยุตธรรม สัปยุตธาตุ คืออะไร คะ :58: :58: :58: thk56 หัวข้อ: Re: สัมปยุตธรรม สัปยุตธาตุ คืออะไร คะ เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ เมษายน 01, 2014, 10:24:51 am ask1 (http://www.madchima.net/images/290_SAM_0923ree.jpg) ans1 ans1 ans1 เรื่องนี้เป็นเรื่องเฉพาะของกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ หน้าที่การตอบคำถามควรเป็นของผู้สืบทอดกรรมฐานโดยตรง ผมเองไม่ใช่ผู้สืบทอดกรรมฐาน เห็นแก่จิตอันเป็นกุศลของคุณฟ้าใหม่แจ่มใส จึงขออนุญาตครูอาจารย์อธิบายข้อสงสัยดังนี้ การสัมปยุต คือ การนำจิตประกอบกับกายและจิตให้ล่วงพ้นจากกิเลส เพื่อให้กายและจิตเปี่ยมไปด้วยองค์ธรรม ในการวิปัสนาขั้นสูงมีการสัมปยุตอยู่ ๒ แบบ ๑. สัมปยุตธรรม หรือ ธรรมสัมปยุต การสัมปยุตธรม คือ การตามระลึกถึงองค์ธรรมในธรรมใดธรรมหนึ่ง เช่นตามระลึกถึงบุญกุศล เมื่อสัมปยุตจนเต็มเปี่ยม จะทำให้จิตประกอบด้วยความผ่องแผ้ว ทำให้กายและจิตมีอานุภาพสูง ๒. สัมปยุตธาตุ หรือ ธาตุสัมปยุต สัมปยุตธาตุ คือ การใช้จิตที่เป็นสมาธิ ทำการระลึกเข้าไปในธาตุทั้ง ๗ มี ดิน น้ำ ไฟ ลม อากาศ วิญญาณ และธรรมธาตุ เพื่อให้กายและจิตบรรลุซึ่งธรรมอันเป็นภาวะสูงสุด เรียกว่า นิพพานธาตุ การสัมปยุตธรรมกระทำตอนไหนอย่างไร ตัวอย่างเช่น ในส่วนพระพุทธคุณ ในห้องพระธรรมปิติธรรมเจ้า ขั้นตอนแรกของกรรมฐาน ก่อนการเดินจิตตามฐานต่างๆ จะต้องสัมปยุตธรรมลงศูนย์นาภีก่อน มีวิธีปฏิบัติ ๓ วิธี ๑. สำหรับบุคคลผู้เปี่ยมไปด้วยทานหรือปฏิบัติในศีลในธรรมอยู่บ้างแล้ว ให้ทำการระลึกถึงบุญกุศลที่ได้ทำไว้ โดยให้ระลึกย้อนไปไม่เกิน ๓ วัน และอธิษฐานสัมปยุตธรรมลงรวมที่ศูนย์นาภี ๒. สำหรับบุคคลทีมั่นคงในธรรม มีการฝึกมาบ้างแล้ว ให้ทำการสวดบทพระพุทธคุณ(อิติปิโสฯ)ในใจ ๓ จบ พร้อมสัมมาอะระหังและอะระหัง ๓ ครั้ง จากนั้นอธิษฐานสัมปยุตธรรมลงรวมที่ศูนย์นาภี ๓. สำหรับบุคคลที่อ่อนในการสร้างกุศลและศีล ให้ภาวนาคำว่า "สัมมาอะระหัง" ไปเรื่อยๆ จนกว่าพระอาจารย์กรรมฐานจะบอกให้อธิษฐานสัมปยุตธรรมลงรวมที่ศูนย์นาภี การสัมปยุตธาตุกระทำตอนไหนอย่างไร ในตอนท้ายของการปฏิบัติกรรมฐานมัชฌิมาฯ จะต้องเข้าวิปัสสนาภาวนา ในเบื้องต้นการภาวนาธาตุสัมปยุต เท่าที่เปิดเผยได้ จะใช้คำภาวนาในใจว่า "กายนี้ไม่ใช่เรา เรานี้ไม่ใช่กาย กายนี้ไม่เป็นในเรา เรานี้ไม่เป็นในกาย กายนี้ไม่มีในเรา เรานี้ไม่มีในกาย มีแต่จิตล้วนๆ" :25: |