หัวข้อ: • ชาวพุทธญี่ปุ่นหันมาลอยอังคารแทนการฝัง เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ เมษายน 04, 2014, 10:17:09 am (http://mpics.manager.co.th/pics/Images/557000003783904.JPEG) • ชาวพุทธญี่ปุ่นหันมาลอยอังคารแทนการฝัง ญี่ปุ่น : เหตุจากการขาดลูกหลานคอยเซ่นไหว้อัฐิ หรือสถานที่ฝังศพมีไม่เพียงพอ ทำให้ปัจจุบันมีชาวพุทธญี่ปุ่นจำนวนมาก หันมาเลือกพิธีลอยอังคารในทะเล แทนการจัดพิธีศพตามประเพณี จึงทำให้เกิดบริษัทรับจัดพิธีลอยอังคารเพิ่มมากขึ้น “ไซเรน” คือหนึ่งในบริษัทรับจัดพิธีลอยอังคาร ตั้งอยู่ในเมืองโยโกฮามา ได้จัดพิธีมาแล้วเกือบ 2,000 ครั้งในรอบ 6 ปีที่ผ่านมา คิดค่าบริการรายละราว 2 แสนเยน (ราว 6 หมื่นบาท) ซึ่งถูกกว่าการฝังศพ โดยจะคัดแยกสิ่งแปลกปลอมออกจากเถ้ากระดูก และใช้เครื่องบดให้เป็นผง จากนั้นจะทำพิธีลอยอังคารในทะเลที่ญาติผู้เสียชีวิตต้องการ รี ชินเนียว วัย 50 ปี ซึ่งเป็นประธานบริษัทไซเรน บอกว่า มีหลายคนที่ย้ายไปอยู่ต่างประเทศหรือย้ายไปอยู่เมืองอื่น เลือกที่จะละทิ้งสุสานของตระกูล แล้วหันมาลอยอังคารในทะเลแทน “การรับประทานอาหารริมทะเล หรือเดินเล่นตามชายฝั่ง กลายเป็นรูปแบบใหม่ในการรำลึกถึงผู้เสียชีวิต แทนการไปคารวะหลุมศพ” อย่างไรก็ดี ธุรกิจนี้ต้องได้รับการตรวจสอบอย่างละเอียด เนื่องจากต้องปฏิบัติตามกฎหมายสิ่งแวดล้อมและข้อบังคับความปลอดภัยที่เข้มงวด เช่น ห้ามลอยอังคารในเขตตกปลาหรือใกล้ฟาร์มเลี้ยงปลา หรือหลีกเลี่ยงเส้นทางสัญจรของเรือเดินสมุทร และไม่ออกเรือไปทำพิธีขณะทะเลมีคลื่นลมแรง เป็นต้น จาก ajw.asahi.com จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 160 เมษายน 2557 โดย เภตรา http://www.manager.co.th/Dhamma/viewnews.aspx?NewsID=9570000036509 (http://www.manager.co.th/Dhamma/viewnews.aspx?NewsID=9570000036509) หัวข้อ: Re: • ชาวจีนโพ้นทะเลอย่าหลงลืมบรรพชน เริ่มหัวข้อโดย: ธุลีธวัช (chai173) ที่ เมษายน 04, 2014, 09:33:20 pm (http://i66.photobucket.com/albums/h261/woranun_2006/views/lines/lins25.gif)
เรื่องนี้เป็นอะไรที่น่าพิจารณา..ครับ วิถีการดำรงอยู่ของผู้คนเปลี่ยนปรับตามสภาพเศรษฐกิจ สังคม และ วัฒนธรรมในแต่ละสมัย ผมกำลังหวั่นใจอยู่ว่าประเพณีวัฒนธรรมของลูกหลานมังกรโพ้นทะเลในหลายครัวเรือนที่สูญเสียลูกชายหรือไร้ทายาทจะมีอันต้องล้มเลิกประเพณีการไหว้สุสานหรือตรุษ/สาร์ทกันอย่างแน่แน่ เอกลักษณ์วัฒนธรรมคนโพ้นทะเลจากผืนแผ่นดินใหญ่ที่ผูกพันธ์กันในสายเครือญาติกำลังจะกลายเป็นครอบครัวเนื้อแท้แยกส่วนมีกิจกรรมตามแบบฉบับสังคมรุ่นใหม่ตามภัตตาคาร MK ด้วยค่านิยม อย่างครอบครัวผมหากต้องหมดรุ่นคุณเตี่ยคงเหลือผมซึ่งเป็นพี่ใหญ่ต้องนำ แต่ก็คงไม่มีความหมายอะไรเพราะตัวผมเองก็ครองตัวเป็นโสดขาดสายใยสืบต่อให้แก่บรรพชน ลึกลึกรู้สึกใจหายกับรากฐานวัฒนธรรมดีงามต้องจบ ฮวงซุ้ย ต้องกลายอนาถาไร้ญาติให้มูลนิธิสว่างฯจัดเก็บคละญาติไป คนเราเมื่อชราลูกหลานทอดทิ้งก็เจ็บขั่วหัวใจ ตายร่างกายกระดูกถ่านเถ้ามันยังไม่เอาอีก สิ่งหนึ่งที่ผมเชื่อก็ด้วยรากฐานวัฒนธรรมที่เน้นย้ำกระทำด้วยกตัญญูของกลุ่มชาวจีนที่มีอยู่น่าจะมีผลส่งเสริมความเจริญก้าวหน้าในชีวิตลูกหลานอยู่บ้าง ที่สำคัญมันไม่ขัดกับหลักธรรมคำสอนในพุทธศาสนาพิจารณาแล้วผมคงต้องขวนขวายคงไว้ด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่ง จะอย่างไรเสียพรุ่งนี้ผมต้องไปไหว้สุสานตามวาระประเพณีเหมือนเช่นเคยทุกปีอย่างที่ทำมาอีกแล้วครับ ด้วยเป็นวันเช็งเม้ง (http://i66.photobucket.com/albums/h261/woranun_2006/views/lines/lins25.gif) หัวข้อ: Re: • ชาวจีนโพ้นทะเลอย่าหลงลืมบรรพชน เริ่มหัวข้อโดย: ธุลีธวัช (chai173) ที่ เมษายน 04, 2014, 09:52:15 pm เทศกาลเช็งเม้ง
ประเพณีที่สำคัญมากที่สุดของของชาวจีน คือ ไหว้บรรพบุรุษ ที่ สุสาน ( ฮวงซุ้ย หรือ ฮวงจุ้ย ) เป็นการแสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษ โดยมีอิทธิพลมาจากลัทธิขงจื้อ ที่เน้นเรื่องความกตัญญูเป็นสำคัญ ประเพณีนี้สืบทอดมายาวนานเป็นพันปี โดยขุนนาง สมัยราชวงศ์โจว โจวกงจีตั้น เป็นผู้กำหนด พิธีการจัดงานศพ ในสมัยราชวงศ์ถัง ( ประมาณ ค.ศ. 618 ) พระราชพิธีเซ่นไปไหว้สุสานอดีตกษัตริยาธิราช มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ปีหนึ่งกระทำกันปีละ 2 ครั้ง คือช่วงเช็งเม้ง และประมาณปลายปี ( คาดว่า น่าจะเป็นช่วงตังโจ่ย ) (http://www.myfirstbrain.com/thaidata/image.asp?ID=721068) ชิงหมิง ( qing-ming ) หรือ เชงเม้ง เช็งเม้ง เป็นชื่อของสารท ( 1 ปีมี 24 สารท ) "เช็ง" หมายถึง สะอาด บริสุทธิ์ และ "เม้ง" หมายถึง สว่าง รวมแล้วหมายความถึง ช่วงเวลาแห่งความแจ่มใส รื่นรมย์ สารท เช็งเม้ง หรือ เชงเม้ง เริ่มต้นประมาณ 5 เมษา - 20 เมษา เป็นฤดูใบไม้ผลิ อากาศจะคลายความหนาวเย็น เริ่มเข้าสู่ความอบอุ่น ของประเทศจีนมีฝนตกปรอย ๆ มีบรรยากาศสดชื่น ท้องฟ้าใสสว่าง ( เป็นที่มาของชื่อ สารท เช็งเม้ง ) ประโยชน์ของการไป ไหว้บรรพบุรุษ เทศกาลเชงเม้ง 1. เพื่อรำลึกถึงคุณความดี ที่บรรพบุรุษของเราได้กระทำไว้ ได้ดูแลเรา ลำบากเพื่อเราให้มีความเป็นอยู่ที่ดี เป็นแบบอย่างการดำเนินชีวิต "เราสบาย เพราะพ่อแม่ บรรพบุรุษลำบาก" 2. เป็นศูนย์รวมตระกูล ผังตระกูล โดยทั่วไป การไหว้ที่ดีที่สุด ต้องนัดหมายไปไหว้พร้อมกัน ( วันและเวลาเดียวกัน ) ทำให้ลูกหลานที่อยู่กระจายกันไป ได้มาพบปะ สังสรรค์กันพร้อมหน้า เป็นการสร้างความสามัคคี สร้างจุดศูนย์รวม กล่าวได้ว่าเป็น วันรวมญาติ 3. เป็นกรอบถนนชีวิตของลูกหลานทุกคน "พ่อแม่ตายแล้ว ยังกำหนดชะตาชีวิตลูกหลาน" เป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิต เน้นความกตัญญูที่มีต่อบุพการีและลูกหลานควรปฏิบัติตาม 4. เป็นการเตือนสติตน ความตายต้องเกิดขึ้นกับทุกคน และเป็นธรรมดาของมนุษย์ปุถุชน ประเพณีปฏิบัติในวัน เช็งเม้ง 1. การทำความสะอาด สุสาน ( เซ้าหมอ ) ลงสีที่ป้ายชื่อให้ดูใหม่ - คนตายแล้วลงสีเขียว หรือสีทองขลิบเขียว คนเป็นลงสีแดง ( ห้ามถอนหญ้า - อาจกระทบตำแหน่งห้าม เช่น ทิศอสูร ทิศแตกสลาย ทิศดาวเบญจภูติ ) บ้างก็ตกแต่งด้วย กระดาษม้วนสายรุ้ง ( สุสานคนเป็น - แซกี - ใช้สายรุ้งสีแดง :: สุสานคนตาย - ฮกกี - ใช้หลากสีได้ ) ห้ามปักธง ลงบนหลังเต่า เท่ากับทิ่มแทงหลุม และบางความเชื่อ ทำให้หลังคาบ้านของบรรพบุรุษรั่ว 2. กราบไหว้ เจ้าที่ เป็นการให้เกียรติ และขอบคุณที่ช่วยคุ้มครองดูแล การจัดวางของไหว้ ( เรียงลำดับจากป้าย ) - เทียน 1 คู่ + ธูป 5 ดอก ( อาจปักลงบนฟักได้ ) - ชา 5 ถ้วย - เหล้า 5 ถ้วย - ของไหว้ต่าง ๆ เช่น ขนมอี๋ ผลไม้ *** ควรงดเนื้อหมู - เพราะเคยมีปรากฎว่า เจ้าที่เป็นอิสลาม *** - กระดาษเงิน กระดาษทอง 3. กราบไหว้ ระลึกถึงพระคุณ ของพ่อแม่ บรรพบุรษ ตั้งเครื่องบูชาเซ่นไหว้ดวงวิญญาณของท่าน การจัดวางของไหว้ ( เรียงลำดับจากป้าย - จะต่างกับข้างต้น ) - ชา 3 ถ้วย - เหล้า 3 ถ้วย - ของไหว้ต่าง ๆ เช่น ขนมอี๋ ผลไม้ * ของไหว้ ตามความเชื่อประเพณีของแต่ละท้องถิ่น * ส่วนใหญ่เป็น ขนมถ้วยฟู - ฮวกก้วย * - กระดาษเงิน กระดาษทอง ฯลฯ - เทียน 1 คู่ + ธูป ตามจำนวนบรรพบุรุษ ท่านละ 1 ดอก หมายเหตุ *** ห้ามวางของตรงแท่นหน้า เจีี๊ยะปี ( ป้ายหิน ที่จารึกชื่อ บรรพบุรุษ ) เพราะเป็นที่เข้าออกของ วิญญาณบรรพบุรุษ ไม่ใช่เก้าอี้นั่ง อย่างที่หลายคนเข้าใจผิด*** (http://www.fengshuitown.com/fengshui/images/qing-ming-1.jpg) ปัจจุบัน จีนได้กำหนดวันเช็งเม้ง วันสารทขนมจ้าง และวันไหว้พระจันทร์ เป็นวันหยุด เพื่อปลูกฝังให้ประชาชนรักษาประเพณีดั้งเดิมอันดีงาม เพื่อรำลึก แสดงความรักและความเคารพต่อบรรพบุรุษ พิธีเช็งเม้ง ผู้อาวุโส เป็นผู้นำกราบ ไหว้จนเทียนใกล้หมดก้าน ลูกหลานตีวงล้อมด้วยหวาย เผา กระดาษเงิน กระดาษทอง ฯลฯ เป็นการกำหนดขอบเขตว่า สิ่งเหล่านี้ลูกหลานส่งให้ บรรพบุรุษของครอบครัว นั้น ๆ เป็นการเฉพาะ ป้องกันการแย่งชิง ( ผู้ตีวงล้อม ต้องเป็นลูกหลานเท่านั้น ) *** เป็นอันเสร็จพิธี บางครอบครัวก็จะมานั่งล้อมวงทานอาหารกันต่อ เพื่อเป็นการแสดงความสมานสามัคคีแก่ บรรพบุรุษ ความเชื่อและข้อเท็จจริงตาม หลักฮวงจุ้ย 1. เมื่อทานหอยแครงเสร็จ จะโยนเปลือกหอยแครงลงบนเนินหลังเต่า ( เนินดินด้านหลัง ป้ายสุสานบรรพบุรุษ ) ความหมายคือ มีลูกหลานมาก ประเด็นนี้ ไม่ขัดกับหลักวิชา 2. ทุกครั้งที่มาไหว้ จะขุดเอาดินมากลบบนหลังเต่า โดยเชื่อว่า จะทำให้การค้าเพิ่มพูน ข้อเท็จจริง : จะทำก็ต่อเมื่อ หลังเต่ามีรูแหว่งไป จึงซ่อมแซม และต้องดูฤกษ์ โดยเฉพาะการขุดดิน ถือเป็นการกระทบธรณี 3. ปลูกดอกไม้ รอบๆ สุสานบรรพบุรุษ ข้อเท็จจริง : ห้ามปลูกดอกไม้ รอบๆ สุสานบรรพบุรุษ มีความหมายด้าน ชู้สาว แต่ปลูกหญ้าได้ 4. หากต้องการซ่อมแซม สุสานบรรพบุรุษ ทำได้เฉพาะ สารทเช็งเม้ง เท่านั้น ข้อเท็จจริง : ไม่จำเป็นต้องเป็น เทศกาลเช็งเม้ง ขึ้นอยู่กับฤกษ์ หากทำในสารทนี้โดยไม่ดูฤกษ์ กลับจะเกิดโทษภัยจาก อสูร 5. จุดประทัด เพื่อกำจัดผีร้ายให้พ้นไป ข้อเท็จจริง : ตามหลักวิชา การจุดประทัด เป็นการกระตุ้น หากตำแหน่งถูกต้อง ก็จะได้ลาภ หากผิดตำแหน่ง จะเกิดปัญหา ( ผู้ปฏิบัติต้องเข้าใจเรื่อง ดาว 9 ยุค และฤกษ์ เป็นอย่างดี ) *** ดังนั้น หากไม่รู้ตำแหน่งที่ควรจุด หรือฤกษ์ที่จุดได้ *** ห้ามจุดประทัด ... เพราะโอกาสเกิดเหตุไม่ดีมีมาก *** ไม่จุดประทัด ไม่เสียหาย *** แล้วเราจะเอาครอบครัวไปเสี่ยงทำไม 6. บางครอบครัวต้องการประหยัด จัดอาหารไหว้เพียง 1 ชุด ไหว้หลายแห่ง ข้อเท็จจริง : ทำเช่นนี้ไม่ถูกต้อง บรรพบุรุษ ชุดแรกสุดเท่านั้นที่ได้รับ 7. บางคนเชื่อว่า จะไม่เผากระดาษทองให้กับ บรรพบุรุษ นอกจากตายมานานแล้ว ถือว่าได้เปลี่ยนสถานภาพเป็นเทพ ข้อเท็จจริง : ตามประเพณีโดยทั่วไปไม่มี 8. การไว้ทุกข์พ่อแม่ ต้องนาน 3 ปี ข้อเท็จจริง : ประเพณีบางท้องถิ่น กำหนดเช่นนั้นจริง โดยเน้นเรื่องความกตัญญูเป็นหลัก 9. การไป ไหว้บรรพบรุษ ครั้งแรก ต้องดูฤกษ์ ข้อเท็จจริง : เป็นเรื่องถูกต้องตามหลักวิชา ฮวงจุ้ย โดยปกติแล้ว ซินแส จะเป็นผู้กำหนดฤกษ์ให้ หากทิศด้านหลัง สุสาน เป็นทิศห้าม ทิศอสูร ทิศแตกสลาย *** ต้องใช้ฤกษ์ปลอดภัยเท่านั้น *** และไม่ได้จำกัดว่าต้องเป็นช่วง เช็งเม้ง เท่านั้น ปีต่อ ๆ ไป ไม่ต้องมีการ ดูฤกษ์ อีก เทศกาล ใน การไหว้บรรพบุรุษ สารท ราศีเดือน ห้ามทิศ( ชง ปะทะ ) ห้ามทิศด้านหลังสุสาน ชุนฮุน ( 21 มีนา - 4 เมษ ) /4 /10( 270 +/- 15 องศา ) ทิศตะวันตก เช็งเม้ง ( 5 เมษ - 20 เมษ ) /5 /11( 300 +/- 15 ) ทิศใต้ ตังโจ่ย ( 22 ธค. - 5 มค. ) /1 /7( 180 +/- 15 ) ทิศใต้ การไหว้ไม่ได้จำกัดว่า จะต้องไหว้ใน เทศกาลเช็งเม้ง เท่านั้น ซึ่งปัจจุบัน จะพบว่า คนกลุ่มหนึ่งจะไปไหว้ก่อนถึง เทศกาลเช็งเม้ง เพื่อหลีกหนีปัญหาการจราจร และเราสามารถเลือกไปไหว้ในช่วง ตังโจ่ย แทน ( โดยเฉพาะหากด้านหลัง สุสาน เป็นทิศตะวันตก ) อากาศเย็นสบายกว่า ปํญหาจราจรน้อย ของไหว้ราคาไม่แพง คนไม่พลุกพล่าน ขอใหสมาชิกทุกท่าน เดินทางโดยสวัสดิภาพ (http://www.fengshuitown.com/fengshui/images/qing-ming-2.jpg) ณ สุสานในอำเภอหวงหลิง มณฑลส่านซีทางภาคกลางตอนเหนือของจีน ชาวจีนต่างพร้อมใจกันมาบวงสรวงแด่จักรพรรดิหวงตี้ ซึ่งถือกันว่าเป็นบรรพบุรุษของชาวจีน http://www.fengshuitown.com/fengshui/fengshui-tip-pray-ancestor.htm หัวข้อ: Re: • ชาวพุทธญี่ปุ่นหันมาลอยอังคารแทนการฝัง เริ่มหัวข้อโดย: komol ที่ เมษายน 05, 2014, 02:57:21 am :c017: thk56
|