สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

กรรมฐาน มัชฌิมา => ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน => ข้อความที่เริ่มโดย: ธัมมะวังโส ที่ ตุลาคม 23, 2010, 05:55:30 pm



หัวข้อ: พระอาจารย์มีความเห็นอย่างไร กับการปิดวาจาระหว่างการฝึกกรรมฐาน
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ ตุลาคม 23, 2010, 05:55:30 pm
คำถามจากเมล

พระอาจารย์มีความเห็นอย่างไร กับการปิดวาจาระหว่างการฝึกกรรมฐาน

ตอบ การฝึกกรรมฐาน ไม่ว่าจะเป็น สมถะ หรือ วิปัสสนา ส่วนใหญ่นั้นจะนิยมการปิดวาจา

การปิดวาจา ก็คือ การหยุดพูด เพ้อเจ้อ ส่อเสียด คำหยาบ คำโกหก เป็นต้น

ดังนั้นการปิดวาจา จักให้ทำให้ ศีล ในส่วนนี้สมบูรณ์ มาตรฐานก็เห็นด้วย

แต่ในส่วนของพระอาจารย์เอง เวลาไปฝึกกรรมฐาน ไม่เคยสั่งให้ ศิษย์ปิดวาจา แต่เปิดโอกาส มีการสนทนา

แลกเปลี่ยนกัน เพราะเมื่อทุกคนปฏิบัติในช่วงที่พระอาจารย์ 80 % ได้สมาธิ ขั้นต่ำก็ 30 นาที

และอีก 80 % ที่เจริญวิปัสสนาได้ ดังนั้นจึงไม่ห่วงเรื่องการปิดวาจา เพราะผู้ที่ตั้งใจมาปฏิบัติภาวนา

กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ส่วนใหญ่เป็นผู้มุ่งมั่นในการภาวนา ส่วนใหญ่จะเป็นสาวกภูมิด้วย

จึงไม่มีความจำเป็นต้องสั่งปิดวาจา ให้กับศิษย์กรรมฐาน

เจริญพร

 ;)


หัวข้อ: Re: พระอาจารย์มีความเห็นอย่างไร กับการปิดวาจาระหว่างการฝึกกรรมฐาน
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ ธันวาคม 16, 2011, 08:44:38 am
การปิดวาจา หมายถึง การปิดจิตไม่ให้ พูด ฟุ้งซ่าน พูด ไปโดยไม่ได้ยั้งคิด ไม่ประกอบด้วยกุศล

การปิดวาจา ไม่ได้ หมายถึงการไม่พูดอะไร บางท่าน ปิดด้วยการไม่พูด ฟุ้งซ่านมากกว่าเดิม
การปิดวาจา คือ การพูดคุย เท่าที่จำเป็น พูดคุยด้วยอาการยิ้มแย้มแจ่มใส
การปิดวาจา ต้องงดเสพกิเลสทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้นด้วย ทางสัมผัสด้วย ปิดวาจาไปนั่งดูทีวี เดินเที่ยวห้าง อย่างนี้ใช้ไม่ได้ อันนี้ไม่เรียกว่า ปิดวาจาทางการภาวนา
การปิดวาจา จุดประสงค์ใช่ปิดแต่คำพูด แต่ปิดการเสพอารมณ์กิเลสทั้งหลายด้วย นะจ๊ะ
การปิดวาจา ในระหว่างภาวนานั้น ให้ปิด เฉพาะการพูดคุยกับ เพื่อน ๆ แต่ กับครูอาจารย์ไม่ควรปิด เพราะต้องแจ้งกรรมฐาน ส่งอารมณ์ สอบสภาวะ

ดังนั้นการปิดวาจา จึงมีความจำเป็นต่อการภาวนา มาก ๆ นะจ๊ะ



เจริญธรรม

 ;)



หัวข้อ: Re: พระอาจารย์มีความเห็นอย่างไร กับการปิดวาจาระหว่างการฝึกกรรมฐาน
เริ่มหัวข้อโดย: sunee ที่ ธันวาคม 17, 2011, 11:58:00 am
การพูดที่ทำให้จิตฟุ้งซ่านเกิดจากการพูดในเรื่องที่เป็นเหตุนั้นประจำจนเป็นนิสัย
คำว่านิสัยหมายถึงจิตเปลี่ยนไปเป็นนิสัย
เหมือนกับการเราให้อาหารลิงบางตัวให้ครั้งเดียวก็เชื่องบางครั้งให้หลายๆครั้งจึงเปลี่ยนนิสัย
จิตคนเราก็เหมือนกัน มีที่ฝึกง่าย ฝึกยาก เป็นไปตามกิเลสง่าย เป็นไปตามกิเลสยาก เพราะความต่างของอินทรีย์
เมื่อฟุ้งซ่านแล้วควรทำอย่างไร

ความฟุ้งซ่านอย่างที่กล่าวไว้ตอนแรกความฟุ้งซ่านที่ทำให้เกิดทุกข์  อาจจะกำหนดรู้ทุกข์
เพราะจิตไม่เป็นไปตามอำนาจของคนที่ไม่ได้ฝึกจิต
แต่อาจอาศัยปัญญาแก้เหตุฉุกเฉินนั้นได้แต่ปัญญาพิจารณาก็มีขีดจำกัดของแต่ละคนที่ได้สะสมมา

จึงควรฝึกจิต สะสมปัญญา  เจริญสมถะ วิปัสสนา

ความฟุ้งซ่านที่เกิดจากความยินดี ต้องอาศัยการเจริญสติ เช่นสติปัฎฐาน 4 อนุสติ10
จากคุณ    : aunemaek2

http://www.youtube.com/watch?v=P_vT2uaUxgU# (http://www.youtube.com/watch?v=P_vT2uaUxgU#)