สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

เรื่องทั่วไป => ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) => ข้อความที่เริ่มโดย: raponsan ที่ พฤษภาคม 29, 2014, 10:43:12 am



หัวข้อ: บวชทั้งกาย บวชทั้งใจ ได้อะไรมากมายกว่าที่ตั้งใจ
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ พฤษภาคม 29, 2014, 10:43:12 am

(http://www.komchadluek.net/media/img/size_photo_slide/2014/05/27/kba7989d6kgg5jbf7k7aa.jpg)

คนสุก : บาตรเดียวท่องโลก โดยพระพิทยา ฐานิสฺสโร

เครื่องบินลงที่นิวยอร์กเกือบสี่ทุ่ม หลังจากที่เดินทางเกือบเจ็ดชั่วโมงจากซานฟรานซิสโก เวลาที่นิวยอร์กจะเร็วกว่าซานฟรานซิสโก ๓ ชั่วโมง ภิกษุจากสถานปฏิบัติธรรมบลูคลิฟ (Blue Cliff) มายืนรอต้อนรับด้วยรอยยิ้มที่อบอุ่น มีความสุข ทั้งที่ต้องรอคอยเพราะเครื่องบินถึงช้ากว่ากำหนดการเกือบชั่วโมง ทำให้ซาบซึ้งซึ่งน้ำใจแห่งมิตรภาพระหว่างความเป็นพี่น้องทางธรรมแม้บวชต่างนิกาย ห่มจีวรต่างสี พูดภาษาต่างกัน แต่มีหัวใจเดียวกัน คือ เลือกหนทางที่จะเผชิญหน้ากับความทุกข์ทางกายและใจด้วยท่าทีที่อ่อนโยน สงบ และพยายามเปลี่ยนแปลงความทุกข์เหล่านั้นเป็นอิสรภาพจากความยึดมั่นถือมั่นทั้งปวง

ระหว่างทางจากสนามบินนิวยอร์กก่อนถึงสถานปฏิบัติธรรม ต้องผ่านเมืองใหญ่ย่อยๆ ของนิวยอร์ก รถติดเป็นระยะๆ เวลาในขณะนั้นเกือบห้าทุ่ม ได้กล่าวร่วมกันว่า เราโชคดีขนาดไหนที่ไม่ต้องมาอยู่บนถนนเช่นนี้ทุกวัน

 :49: :49: :49:

ย้อนนึกถึงสมัยเป็นผู้จัดการภัตตาคารและห้างใหญ่ก่อนตัดสินใจบวช ที่เกิดคำถามบ่อยๆ เสมอว่า เราต้องทำงานหนักขนาดนี้เชียวหรือ เราต้องอยู่บนท้องถนนมากกว่าอยู่ในห้องพักส่วนตัวของเรา เราเหนื่อยมากมายแต่ต้องทำทั้งที่กายอยากหยุดพัก

โชคดีมากมายที่เราเกิดบนผืนแผ่นดินที่รู้จักคุ้นเคยกับพระพุทธศาสนาถึงแม้อาจไม่ใช่พุทธแท้ทั้งหมดเป็นส่วนใหญ่ แต่เราก็ยังมีหลายๆ ประเพณีวัฒนธรรมที่งดงามยังคงกระทำสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน ขึ้นอยู่กับว่าใครสามารถสัมผัสแก่นแท้ของประเพณีวัฒนธรรมเหล่านั้นหรือไม่ ไม่ใช่แค่เพียงทำตามๆ กันมา เฉกเช่นการบวชทดแทนคุณบิดามารดา

 :96: :96: :96:

การบวชเป็นเรื่องและโอกาสที่ยิ่งใหญ่งดงามสำหรับบุคคลที่ได้เกิดเป็นบุรุษเพศในภาวะสมมุติ เพราะเขาจะได้โอกาสฝึกฝนเรียนรู้ที่อ่อนน้อมถ่อนตน อดทน อยู่อย่างเรียบง่าย และรับคำสอนจากพระโอษฐ์แห่งพระพุทธองค์ ซึ่งในอดีตของชาติเรา ชายไทยอย่างน้อยต้องบวช ๓ เดือนในหนึ่งชีวิต เพื่อมีเวลาเพียงพอที่ศึกษาเรียนรู้ข้อวัตรปฏิบัติแห่งผู้อยู่อย่างต่ำแต่กระทำอย่างสูงเช่นคำกล่าวของท่านอาจารย์พุทธทาส

เพราะช่วงเวลา ๓ เดือนโดยแท้จริงแห่งการปฏิบัติ เราจะได้ฝึกฟังเสียงของตัวเราทั้งดีและไม่ดี โดยไม่พยายามติดต่อ สื่อสารกับโลก เทคโนโลยีภายนอก ไม่ว่าจะเป็น โทรทัศน์ สื่อบันเทิงต่างๆ มือถือ หรือบุคคลที่ทำให้ยึดติด หลงไหลฯลฯ เราจะฝึกอยู่กับตัวเองยอมรับสิ่งที่ไม่ดีในตัวเองและพยายามเปลี่ยนแปลงสิ่งเหล่านั้น

 :41: :41: :41:

โดยฝึกสำรวมในศีลปาฏิโมกข์ ทำตามข้อวัตรนั้นและเข้าใจอย่างถูกต้อง ตั้งอยู่ในความไม่ประมาทคือมีความเพียรอย่างสม่ำเสมอทุกวัน การบวชจึงเป็นโอกาสงดงามอย่างแท้จริง ในช่วง ๓ เดือนจะเป็นช่วงที่มีค่ายิ่งนักที่เราจะเรียนรู้ รับรู้ประสบการณ์โดยตรงที่เป็นธรรมมะแท้จากตัวเราจากการผ่านความยากลำบาก จากการอดอาหารมื้อเย็น การนอนในที่นอนราบเรียบ

การได้เดินขออาหารอย่างผู้มีเกียรติด้วยความสำนึกบุญคุณ อ่อนน้อมถ่อนตนต่อผู้เอื้อเฟื้อให้เราดำรงในสมณเพศอย่างง่ายดาย ไม่ต้องทำงานออกแรงหนักทางกายเฉกเช่นฆราวาส แต่ออกแรงกายใจที่จะทำหน้าที่ถูกต้องอย่างมีสติ ฝึกดำรงสติในทุกอริยาบถไม่ว่าจะยืน นอน นั่ง นอน ทำความสะอาดเก็บกวาดอาสนะที่อยู่อาศัย ที่ขบฉัน หรือแม้การการฉัน การห่มจีวร

 :25: :25: :25:

ความอดทน ความสุขสงบภายในจะค่อยๆ ปรากฎจากความเป็นอยู่ที่เรียบง่ายพึ่งวัตถุแต่น้อย มีภาระน้อย ได้นั่งเงียบๆ ฟังการเคลื่อนไหวของจิตใจอย่างที่เป็น การบวชจึงเป็นโอกาสให้บุคคลนั้นเป็นคนสุก คือ พร้อมใช้ พร้อมรับประทาน ถ้ายังเลือกวิถีแห่งฆราวาส เขาจะรักษาศีล ๕ อย่างมั่นคงเป็นแบบอย่างของฆราวาสที่งดงาม รักษาศีล ๘ ตามสมควรเพื่อสัมผัสความเรียบง่าย ความสุขภายในเช่นฆราวาสเมื่อลาสิกขาออกไป การบวชเช่นนี้จึงได้ชื่อว่า เป็นการทดแทนตอบแทนบุญคุณต่อตัวเองและบุพพการีอย่างแท้จริง

              บวชกายแต่ไม่บวชใจ จะไม่ได้อะไรในการบวช
              บวชทั้งกาย บวชทั้งใจ ได้อะไรมากมายกว่าที่ตั้งใจ


ขอบคุณภาพและบทความจาก
http://www.komchadluek.net/detail/20140528/185474.html (http://www.komchadluek.net/detail/20140528/185474.html)