สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

เรื่องทั่วไป => forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน => ข้อความที่เริ่มโดย: raponsan ที่ มิถุนายน 13, 2014, 11:40:07 am



หัวข้อ: 'ออฟฟิศซินโดรม' คุกคามคนออฟฟิศ (ชมคลิป)
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ มิถุนายน 13, 2014, 11:40:07 am

(http://www.thairath.co.th/media/EyWwB5WU57MYnKOuFVTPuNIEKxASq7cOlcwucUb5AGpBDMHoPLLpt8.jpg)

'ออฟฟิศซินโดรม' คุกคามคนออฟฟิศ (ชมคลิป)

ปวดตึงที่คอ บ่า และไหล่ ปวดหลัง ขาเป็นเหน็บชาปวดศีรษะ  เป็นอาการที่หนุ่ม-สาวออฟฟิศยุคนี้เป็นกันมาก...

รูปแบบการทำงานที่บังคับให้นั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานติดต่อกัน เป็นภัยคุกคามใกล้ตัวที่อาจกำลังเสี่ยงเป็น โรคออฟฟิศซินโดรม



(http://www.thairath.co.th/media/NjpUs24nCQKx5e1DHNSmb5N2JQ59BvZ06ucj6jLD1vY.jpg)
นั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน

คนจำนวนไม่น้อยเชื่อว่าการทำงานหนัก หมกหมุ่น และทุ่มเทเวลาให้กับการทำงานมากกว่า 50-70 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ถือว่าเป็นสิ่งที่ดี แต่งานวิจัยทางด้านจิตวิทยา กลับระบุว่า การทำงานหนักจนเสียสมดุลระหว่างเวลางานและชีวิตส่วนตัว คนติดงานมักมีความเครียดสูง และมีแนวโน้มจะมีความเจ็บป่วยได้ง่าย

อาการป่วย หรือปวดเฉพาะส่วนที่ใช้กล้ามเนื้อมัดเดิมซ้ำ ๆ  ของโรคออฟฟิศซินโดรม สามารถบรรเทาได้ด้วยการยืดหยุ่นร่างกาย

ท่าบริหารต้นคอ เริ่มต้นด้วยการไขว้แขนขวาไปด้านหลัง เอียงคอไปด้านซ้าย แล้วเอื้อมมือซ้ายข้ามศีรษะ ไปวางแนบด้านข้างของศีรษะด้านขวา



(http://www.thairath.co.th/media/NjpUs24nCQKx5e1DHNSmb5N2JQ59BvgMTyKx3It31v1.jpg)
ท่าบริหารต้นคอ

ท่าบริหารบ่าและไหล่ ยืนตัวตรง ประสานมือเหยียดแขนไปข้างหน้า ก้มศีรษะ พร้อมกับยืดตัวไปข้างหน้าเล็กน้อย


(http://www.thairath.co.th/media/NjpUs24nCQKx5e1DHNSmb5N2JQ59Bve4YBWslcshBQJ.jpg)
ท่าบริหารบ่าและไหล่

และท่าบริหารหน้าอก ยืนตัวตรง กางแขนทั้งสองข้างออกในลักษณะตั้งฉาก แล้วค่อย ๆ ดึงแขนไปด้านหลัง


(http://www.thairath.co.th/media/NjpUs24nCQKx5e1DHNSmb5N2JQ59BvbYYKfJuYgnKX9.jpg)
ท่าบริหารหน้าอก

หรือถ้าใครไม่มีเวลาออกกำลังกาย ก็สามารถสร้างภูมิคุ้มกันโรคออฟฟิศซินโดรมได้หาต้นไม้ในร่มมาปลูก เพื่อช่วยดูดซับสารพิษ และเป็นที่พักสายตาอันอ่อนล้า


(http://www.thairath.co.th/media/4DQpjUtzLUwmJZZC1w42vSRRkR5Z9Sdtb25tWtJeHLgU.jpg)
หาต้นไม้ในร่มมาปลูก

ปรับระดับความสูงของเก้าอี้ให้สามารถนั่งทำงานในท่าที่สบาย และปรับหน้าจอคอมพิวเตอร์ให้อยู่ในระดับสายตา

ลองให้เวลาตัวเองสักนิด หันกลับมาสำรวจความผิดปกติของร่างกาย เพื่อสุขภาพที่แข็งแรง และพร้อมที่จะสู้กับงานต่อไป

ชมคลิป


http://www.youtube.com/watch?v=m2AsyXDCIVU#ws (http://www.youtube.com/watch?v=m2AsyXDCIVU#ws)


ขอบคุณภาพและบทความจาก
http://www.thairath.co.th/content/429052 (http://www.thairath.co.th/content/429052)